จิรเดช คชรัตน์
พลเอก จิรเดช คชรัตน์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 และ อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1]เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2492 จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 9 (ตท.9), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 20 (จปร.20), โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 61, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.4515)
พล.อ.จิรเดช เป็นนายทหารปืนใหญ่ รับราชการในตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้ ได้แก่ เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 3, เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 3, ราชองครักษ์, รองแม่ทัพภาคที่ 3, แม่ทัพน้อยที่ 3, แม่ทัพภาคที่ 3, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, รองผู้บัญชาการทหารบก ในยุคที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้บัญชาการทหารบก
หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.จิรเดช ในยศ พลโท (พล.ท.) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย
หลังเกษียณราชการ พล.อ.จิรเดช ได้เปิดตัวเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 พร้อมกับอดีตนายทหารในกองทัพหลายคน อาทิ พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี เป็นต้น[2] แต่ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554 พล.อ.จิรเดชก็ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการลาออกหลังจากที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกได้ไม่นาน หลังจากมีการแสดงบทบาทของกองทัพเรื่องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่มีสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคนที่เป็นแกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีพฤติกรรมการปราศรัยพาดพิงไปถึงก่อนหน้านั้นไม่นาน[3]
ชีวิตส่วนตัว พล.อ.จิรเดช มีชื่อเล่นว่า "จ๊อก" ทำให้สื่อมวลชนตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "บิ๊กจ๊อก" ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางสุรภา คชรัตน์ มีบุตร 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ประกอบด้วย นายอัมเรศ คชรัตน์, นายดิษพงษ์ คชรัตน์ และ นางสาววิสสุตา คชรัตน์ [4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
- ↑ "จิรเดช คชรัตน์ รองผบ.ทบ.ยุคคมช ตาสว่าง เข้าพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-18. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20110424125520/http://www.thaipost.net/news/210411/37432 เก็บถาวร 2011-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตท.9ออกตามจิ๋ว แจงเหตุเพื่อไทยไม่ยึดสถาบันแม้วด่าไล่หลัง‘ไปก็ดีคนล้น’ จากไทยโพสต์]
- ↑ ประวัติจากเว็บไซต์ไทยรัฐ
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-05-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2550 เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 124 ตอนที่ 18ข วันที่ 5 ธันวาคม 2550
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- แม่ทัพภาคที่ 3
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา