การปฏิวัติ ค.ศ. 1989
การปฏิวัติ ค.ศ. 1989 | ||
---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น | ||
การทลายกำแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1989 | ||
วันที่ | 9 มีนาคม ค.ศ. 1989 – 27 เมษายน ค.ศ. 1992 (3 ปี 1 เดือน 2 สัปดาห์ 4 วัน) | |
สถานที่ | ทวีปยุโรป (โดยเฉพาะยุโรปตอนกลาง ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันออก) จีน รัสเซีย ประเทศคอมมิวนิสต์ในส่วนอื่นของทวีปยุโรปและของโลก | |
สาเหตุ | ||
เป้าหมาย |
| |
วิธีการ | การประท้วงและอื่น ๆ | |
ผล |
| |
คู่ขัดแย้ง | ||
| ||
ยังรู้จักกันในชื่อการเสื่อมอำนาจของคอมมิวนิสต์ การล่มสลายของลัทธิสตาลิน การล่มสลายของคอมมิวนิสต์ การล่มสลายของระบอบสังคมนิยม การเสื่อมอำนาจของระบอบสังคมนิยม ฤดูใบไม้ร่วงของประชาชาติ การเสื่อมอำนาจของประชาชาติ และยุโรปสปริง |
กลุ่มตะวันออก |
---|
การปฏิวัติ ค.ศ. 1989 (อังกฤษ: Revolutions of 1989) เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นการปฏิวัติในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อันส่งผลให้ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออกรวมถึงภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกล่มสลาย ในบางครั้งช่วงสมัยนี้ถูกเรียกขานว่าเป็น ฤดูใบไม้ร่วงของประชาชาติ (Autumn of Nations)[1][2][3][4][5] ซึ่งเป็นวาทกรรมล้อเลียนของ ฤดูใบไม้ผลิของประชาชาติ (Spring of Nations) ที่บางครั้งใช้หมายถึงการปฏิวัติ ค.ศ. 1848 การปฏิวัตินี้เริ่มมาจากเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตผ่อนปรนนโยบายต่างประเทศกับชาติตะวันตกส่งผลให้ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเริ่มสั่นคลอนนำไปสู่การเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยในยุโรปตะวันออกให้มีสิทธิมากขึ้นส่งผลให้ประเทศคอมมิวนิสต์ในหลายๆประเทศล่มสลายและนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตอีกด้วย
ภูมิหลัง
[แก้]ในปี ค.ศ.1980 ประเทศโปแลนด์มีการรวมตัวและเรียกร้องของสหภาพแรงงานหรือโซลิดาริตีภายใต้การนำของแลค วาแวนซาซึ่งต่อมากลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของโปแลนด์ได้มีการเดินขบวนในการต่อต้านรัฐโดยใช้วิธีดื้อแพ่งเพื่อแสดงออกทางด้านสิทธิของชนชั้นแรงงานทำให้กองทัพโปแลนด์ซึ่งนำโดยวอยแชค ยารูแซลสกีได้ทำการประกาศกฎอัยการศึกในปี 1981
นโยบายของกอร์บาเชฟ
[แก้]ในช่วงที่ผู้นำสหภาพโซเวียตมีฮาอิล กอร์บาชอฟมีนโยบายปฎิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศหรือที่เราเรียกกันว่าเปเรสตรอยคาซึ่งปัจจัยที่นายกอร์บาเชฟปฎิรูปนั้นก็คือเศรษฐกิจของสภาพโซเวียตในช่วงนั่นอยู่ในระดับต่ำเพราะงบประมาณที่โซเวียตได้นั้นหันไปทำสงครามในอัฟกานิสถานและผลิตยุทธโนปกรณ์จนหมดส่งผลให้ประเทศสหภาพโซเวียตขนาดนั้นมีรายได้ต่ำมากทำให้นโยบายของกอร์บาเชฟดังกล่าวมีการปฎิรูปให้ทันสมัยมากขึ้นรวมไปถึงให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและวิจารณ์การทำงานของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วยซึ่งนโยบายดังกล่าวเรียกว่ากลัสนอสต์
การตื่นตัวทางการเมือง
[แก้]หลังจากเหตุการณ์ที่โปแลนด์ประกาศกฎอัยการศึกในปี พ.ศ.2524 ผู้คนต่างลี้ภัยและไปจัดตั้งกลุ่มโซลิดาริตีอย่างลับๆในช่วงกลางคริสตวรรษที่ 80 อย่างไรก็ตามในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ความเป็นปึกแผ่นเริ่มแข็งแกร่งพอที่จะขัดขวางความพยายามในการปฏิรูปของนายพลจารูเซลสกี้ได้มีการประท้วงใหญ่ในปี 1988 เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้งเสรีและสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกจนกระทั่งในปี 1989 ฝ่ายนิติบัญญัติของโปแลนด์มีมติเห็นชอบให้จัดการเลือกตั้งเสรีทำให้ประชาชนมีสิทธิมากขึ้น
การเลือกตั้งสายเสรีในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ค.ศ. 1989–1991
[แก้]- สหภาพโซเวียต – 26 มีนาคม ค.ศ. 1989
- โปแลนด์ – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1989
- เติร์กเมนิสถาน – 7 มกราคม ค.ศ. 1990
- อุซเบกิสถาน – 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990
- ลิทัวเนีย – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990
- มอลโดวา – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990
- คีร์กีซสถาน – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990
- ทาจิกิสถาน – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990
- เบลารุส – 3 มีนาคม ค.ศ. 1990
- รัสเซีย – 4 มีนาคม ค.ศ. 1990
- ยูเครน – 4 มีนาคม ค.ศ. 1990
- เยอรมนีตะวันออก – 18 มีนาคม ค.ศ. 1990
- เอสโตเนีย – 18 มีนาคม ค.ศ. 1990
- ลัตเวีย – 18 มีนาคม ค.ศ. 1990
- ฮังการี – 25 มีนาคม ค.ศ. 1990
- คาซัคสถาน – 25 มีนาคม ค.ศ. 1990
- สโลวีเนีย – 8 เมษายน ค.ศ. 1990
- โครเอเซีย – 24 เมษายน ค.ศ. 1990
- โรมาเนีย – 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1990
- อาร์มีเนีย – 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1990
- เช็กโกสโลวาเกีย – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1990
- บัลแกเรีย – 10 มิถุนายน ค.ศ. 1990
- อาเซอร์ไบจาน – 30 กันยายน ค.ศ. 1990
- จอร์เจีย – 28 ตุลาคม ค.ศ. 1990
- มาซิโดเนีย – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา – 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990
- เซอร์เบีย – 8 ธันวาคม ค.ศ. 1990
- มอนเตเนโกร – 9 ธันวาคม ค.ศ. 1990
- แอลเบเนีย – 7 เมษายน ค.ศ. 1991
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nedelmann, Birgitta; Sztompka, Piotr (1 January 1993). Sociology in Europe: In Search of Identity. Walter de Gruyter. pp. 1–. ISBN 978-3-11-013845-0.
- ↑ Bernhard, Michael; Szlajfer, Henryk (1 November 2010). From the Polish Underground: Selections from Krytyka, 1978–1993. Penn State Press. pp. 221–. ISBN 0-271-04427-6.
- ↑ Luciano, Bernadette (2008). Cinema of Silvio Soldini: Dream, Image, Voyage. Troubador. pp. 77–. ISBN 978-1-906510-24-4.
- ↑ Grofman, Bernard (2001). Political Science as Puzzle Solving. University of Michigan Press. pp. 85–. ISBN 0-472-08723-1.
- ↑ Sadurski, Wojciech; Czarnota, Adam; Krygier, Martin (30 July 2006). Spreading Democracy and the Rule of Law?: The Impact of EU Enlargemente for the Rule of Law, Democracy and Constitutionalism in Post-Communist Legal Orders. Springer. pp. 285–. ISBN 978-1-4020-3842-6.