ข้ามไปเนื้อหา

วิกฤตการณ์คลองสุเอซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิกฤตการณ์สุเอซ)
วิกฤตการณ์สุเอซ
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็นและ ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

อาวุธยุโธปกรณ์ของอียิปต์ได้รับความเสียหาย
วันที่29 ตุลาคม ค.ศ. 1956 – 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956
(ไซนายภายใต้การยึดครองของอิสราเอลจนกระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957)
สถานที่
ผล

อียิปต์ได้รับชัยชนะทางการเมือง
พันธมิตรได้รับชัยชนะทางทหาร[1]

  • อังกฤษ​-ฝรั่งเศส​ได้ถอนกำลัง​ หลังได้รับแรงกดดัน​จากนานาชาติ​ (ธันวาคม​ ค.ศ. 1956)
  • อิสราเอล​ยึดครองคาบสมุทร​ไซนาย​ (จนกระทั่งเดือนมีนาคม​ ค.ศ.​ 1957)
  • UNEF ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในคาบสมุทรไซนาย [2]
  • ช่องแคบติราน ได้ถูกเปิดอีกครั้งเพื่อการเดินเรือของอิสราเอล
  • แอนโทนี อีเดน ได้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีอักกฤษ, สิ้นสุดของบทบาทของอังกฤษในฐานะ มหาอำนาจ[3][4][5]
  • การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสของ Guy Mollet ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • อิสราเอล 175,000
  • สหราชอาณาจักร 45,000
  • ฝรั่งเศส 34,000
300,000[6]
ความสูญเสีย
Israel:
  • 231 killed[7]
  • 899 wounded
  • 4 captured[8]
United Kingdom:
  • 16 killed
  • 96 wounded
France:
  • 10 killed
  • 33 wounded

วิกฤตการณ์สุเอซ (อังกฤษ: The Suez Crisis) หรือสงครามอิสราเอล-อาหรับครั้งที่สอง[14][15][16] ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า การบุกครองไตรภาคี ในโลกอาหรับ และปฏิบัติการคาเดช หรือ สงครามไซนายในอิสราเอล[17] เป็นการบุกครองอียิปต์ในปลายปี ค.ศ. 1956 โดยอิสราเอล, ตามมาด้วยสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส จุดมุ่งหมายคือการควบคุมทางด้านตะวันตกของคลองสุเอซ และเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ ญะมาล อับดุนนาศิร ที่ได้ถือสิทธิ์ว่าคลองนั้นให้กลายเป็นของรัฐ[18] ภายหลังการสู้รบเริ่มต้นขึ้น ภาวะแรงกดดันทางการเมืองจากสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหประชาชาติจนนำไปสู่การถอนกำลังโดยประเทศทั้งสามผู้รุกราน นับว่าเป็นความอับอายขายหน้าอย่างมากสำหรับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส และเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของนาศิร[19][20][21]

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม อิสราเอลได้บุกรุกคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ อังกฤษและฝรั่งเศสได้ออกคำสั่งในการร่วมกันเพื่อยุติการยิง ซึ่งได้ถูกเมินเฉย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน อังกฤษและฝรั่งเศสได้ส่งทหารโดดร่มลงพื้นตามคลองสุเอซ กองทัพอียิปต์ต้องประสบความปราชัย แต่พวกเขาได้ปิดกั้นคลองขวางการขนส่งทางเรือเอาไว้ทั้งหมด ต่อได้กลายเป็นที่แน่ชัดว่าการบุกครองของอิสราเอลและการโจมตีที่ตามมาทีหลังของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ถูกวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าโดยทั้งสามประเทศ

ฝ่ายพันธมิตรทั้งสามประเทศต่างได้บรรลุเป้าหมายทางทหารจำนวนมากแต่คลองกลับใช้การไม่ได้ แรงกดดันทางการเมืองอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้นำไปสู่การถอนกำลัง ประธานาธิบดีสหรัฐ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ได้ตักเตือนอย่างยิ่งว่าอังกฤษไม่ควรจะเข้าไปบุกรุก; เขาได้ข่มขู่ว่าจะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อระบบการเงินของอังกฤษโดยการขายพันธบัตรเงินปอนด์สเตอร์ลิงของรัฐบาลสหรัฐ นักประวัติศาตร์ได้สรุปวิกฤตการณ์ครั้งนี้ว่า"ได้บ่งบอกถึงการสิ้นสุดบทบาทของบริเตนใหญ่ในฐานะหนึ่งในมหาอำนาจที่สำคัญของโลก"[22][23] คลองสุเอซได้ถูกปิดตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1956 จนกระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 อิสราเอลได้บรรลุเป้าหมายบางประการ เช่น ได้ให้อิสระในการเดินเรือผ่านช่องแคบติราน ซึ่งอียิปต์ได้ปิดกั้นการเดินเรือบนคาบสมุทรไซนายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950[24]

ด้วยผลลัพธ์ของความขัดแย้งครั้งนี้ สหประชาชาติได้ก่อตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (UNEF) เพื่อเป็นตำรวจบนชายแดนระหว่างอียิปต์-อิสราเอล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ แอนโทนี อีเดนได้ประกาศลาออก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายนอกของแคนาดา เลสเตอร์ เพียร์สัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและสหภาพโซเวียตได้มีความฮึกเหิม​ในการบุกครองฮังการี[25][26]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mart, Michelle. Eye on Israel: How America Came to View the Jewish State as an Ally. p. 159. ISBN 0791466876.
  2. Kunz, Diane B. The Economic Diplomacy of the Suez Crisis. p. 187. ISBN 0-8078-1967-0.
  3. Brown, Derek (14 March 2001). "1956: Suez and the end of empire". The Guardian. London.
  4. Reynolds, Paul (24 July 2006). "Suez: End of empire". BBC News.
  5. History's worst decisions and the people who made them, pp. 167–172
  6. Casualties in Arab–Israeli Wars, Jewish Virtual Library
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ jsource
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Dupuy 1343
  9. 9.0 9.1 Varble, Derek The Suez Crisis 1956, Osprey: London 2003, p. 90
  10. "Britain France Israel Egypt War 1956". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-03-04.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Schiff 1974, p. 70
  12. A History of the Israeli Army: 1870 - 1974 - Zeev Schiff - كتب Google
  13. Israel – The Suez War of 1956: U.S. newsreel footage. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 0:30–0:40.
  14. Ross, Stewart (2004). Causes and Consequences of the Arab–Israeli Conflict. Evans Brothers. pp. 76–. ISBN 978-0-237-52585-9.
  15. Isacoff, Jonathan B. (2006). Writing the Arab–Israeli Conflict: Pragmatism and Historical Inquiry. Lexington Books. pp. 79–. ISBN 978-0-7391-1273-1.
  16. Caplan, Neil (1983). Futile Diplomacy: Operation Alpha and the Failure of Anglo-American Coercive Diplomacy in the Arab–Israeli Conflict, 1954–1956. Psychology Press. pp. 15–. ISBN 978-0-7146-4757-9.
  17. Also named: Suez Canal Crisis, Suez War, Suez–Sinai war, Suez Campaign, Sinai Campaign, Operation Musketeer"Port Said Remembers 'Tripartite Aggression' of 1956'". Daily News Egypt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2011. (อาหรับ: أزمة السويس /‎ العدوان الثلاثي Azmat al-Suways / al-ʻUdwān al-Thulāthī , "Suez Crisis"/ "the Tripartite Aggression"; ฝรั่งเศส: Crise du canal de Suez; ฮีบรู: מבצע קדש Mivtza' Kadesh "Operation Kadesh", or מלחמת סיני Milẖemet Sinai, "Sinai War")
  18. Mayer, Michael S. (2010). The Eisenhower Years. Infobase Publishing. p. 44. ISBN 9780816053872.
  19. Abernathy, David (2000). The Dynamics of Global Dominance: European Overseas Empires, 1415–1980. Yale University Press. p. CXXXIX. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  20. Roger Owen "Suez Crisis" The Oxford Companion to the Politics of the World, Second edition. Joel Krieger, ed. Oxford University Press Inc. 2001.
  21. "An affair to remember". The Economist. 27 June 2006. สืบค้นเมื่อ 3 September 2014.
  22. Sylvia Ellis (2009). Historical Dictionary of Anglo-American Relations. Scarecrow Press. p. 212. ISBN 9780810862975.
  23. Peden, G. C. (December 2012), "Suez and Britain's Decline as a World Power", The Historical Journal, 55 (4): 1073–1096, doi:10.1017/S0018246X12000246
  24. Major Jean-Marc Pierre (15 August 2014). 1956 Suez Crisis And The United Nations. Tannenberg Publishing. ISBN 978-1-78289-608-1. Still in 1950 Egypt blocked the Straits of Tiran barring Israel from the waterway ( Longgood 1958, xii-xiii).
  25. Mastny, Vojtech (March 2002). "NATO in the Beholder's Eye: Soviet Perceptions and Policies, 1949–56" (PDF). Cold War International History Project. Woodrow Wilson International Center for Scholars. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ April 30, 2018.
  26. Christopher, Adam (2010). The 1956 Hungarian Revolution: Hungarian and Canadian Perspectives. University of Ottawa Press. p. 37. ISBN 9780776607054.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]