ข้ามไปเนื้อหา

รัฐประหารในเชโกสโลวาเกีย พ.ศ. 2491

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 พรรคคอมมิวนิสต์เชโกสโลวาเกียซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต เข้าควบคุมรัฐบาลเชโกสโลวาเกียอย่างไม่มีปัญหาผ่านการรัฐประหาร นับเป็นการเริ่มต้นการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศนี้เป็นเวลาสี่ทศวรรษ

พรรคคอมมิวนิสต์เชโกสโลวาเกียได้รับความนิยมในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากการสถาปนารัฐเชโกสโลวาเกียก่อนสงครามขึ้นมาใหม่ หลังจากประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งรัฐสภาในปี พ.ศ. 2489 คลีเมนต์ ก็อตต์วอลด์ ผู้นำพรรคกลายเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลผสมตามคำสั่งของประธานาธิบดีแอ็ดวาร์ต แบแน็ช อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงฤดูร้อน พ.ศ. 2490 ความนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์ได้ลดน้อยลงอย่างมาก และคาดว่าพรรคจะพ่ายแพ้อย่างยับเยินในการเลือกตั้งที่จะจัดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2491 สิ่งนี้ ประกอบกับความล้มเหลวในการเลือกตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสและอิตาลี กระตุ้นให้โจเซฟ สตาลินเข้มงวดแนวทางของตนและสั่งให้ก็อตต์วอลด์ยึดอำนาจ

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 รัฐมนตรีที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ 12 คนลาออกเพื่อประท้วง พวกเขาคัดค้านการที่ก็อตต์วอลด์ปฏิเสธที่จะหยุดรวมตัวตำรวจกับคอมมิวนิสต์ และเชื่อว่าก็อตต์วาลด์จะหลีกทางให้ แต่ฝ่ายหลังกลับขู่ว่าจะประกาศนัดหยุดงาน เว้นแต่แบแน็ชจะแต่งตั้งรัฐบาลที่ครอบงำโดยคอมมิวนิสต์ กองกำลังติดอาวุธคอมมิวนิสต์และตำรวจเข้ายึดกรุงปราก และมีการประท้วงครั้งใหญ่ แบแน็ชกลัวสงครามกลางเมืองและการแทรกแซงของสหภาพโซเวียต จึงยอมจำนนและอนุญาตให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ตามข้อเรียกร้องของพรรคคอมมิวนิสต์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ คอมมิวนิสต์ได้รวบรวมอำนาจอย่างรวดเร็วภายหลังการรัฐประหาร[1] สภาแห่งชาติอนุมัติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม โดยประกาศเชโกสโลวาเกียให้เป็น "รัฐประชาธิปไตยของประชาชน" การเลือกตั้งวันที่ 30 พฤษภาคมซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับรายชื่อผู้สมัครเพียงรายชื่อเดียว[2] ทั้งหมดนี้ถือเป็นการยืนยันชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ แบแน็ชลาออกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน และก็อตต์วอลด์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ

ความสำคัญของรัฐประหารครั้งนี้ขยายออกไปเกินขอบเขตของรัฐ เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่ชัดเจนบนเส้นทางสู่สงครามเย็นที่ก้าวหน้าไปมากแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกให้กับประเทศตะวันตกและช่วยกระตุ้นการยอมรับแผนมาร์แชลล์อย่างรวดเร็ว การสถาปนาเยอรมนีตะวันตก มาตรการกึ่งทหารเพื่อกีดกันคอมมิวนิสต์ออกจากอำนาจในฝรั่งเศส กรีซ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอิตาลี และก้าวไปสู่ความมั่นคงร่วมกันซึ่งจะส่งผลให้มีการสถาปนาเนโท และร่างม่านเหล็กขั้นสุดท้ายจนกระทั่งการปฏิวัติใน พ.ศ. 2532

อ้างอิง

[แก้]
  1. Koester, p. 18.
  2. "Czechoslovak Unit" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Behrman, Greg. The Most Noble Adventure: The Marshall Plan and the Time When America Helped Save Europe. Simon & Schuster, 2007, ISBN 0-7432-8263-9.
  • Blaive, Muriel, "The Danger of Over-Interpreting Dissident Writing in the West: Communist Terror in Czechoslovakia, 1948–1968", in Friederike Kind-Kovács and Jessie Labov (eds.), Samizdat, Tamizdat, and Beyond: Transnational Media During and After Socialism. Berghahn Books, 2013, ISBN 978-0-857-45586-4.
  • Cabada, Ladislav and Waisová, Šárka. Czechoslovakia and the Czech Republic in World Politics. Lexington Books, 2011, ISBN 0-7391-6734-0.
  • Europa Publications Limited. Eastern Europe and the Commonwealth of Independent States, Volume 4. Routledge, 1999, ISBN 1-85743-058-1.
  • Grenville, John Ashley Soames. A History of the World from the 20th to the 21st Century. Routledge, 2005, ISBN 0-415-28954-8.
  • Grogin, Robert C. Natural Enemies: The United States and the Soviet Union in the Cold War, 1917–1991. Lexington Books, 2001, ISBN 0-7391-0160-9.
  • Hixson, Walter L. George F. Kennan: Cold War Iconoclast. Columbia University Press, 1989, ISBN 0-231-06895-6.
  • Hunter, Allen. Rethinking the Cold War. Temple University Press, 1998, ISBN 1-56639-562-3.
  • Kaplan, Morton A. Macropolitics: Essays on the Philosophy & Science of Politics. Transaction Publishers, 1969, ISBN 0-2023-6716-9.
  • Killingsworth, Matt. Civil Society in Communist Eastern Europe. ECPR Press, 2012, ISBN 1-9073-0127-5.
  • Koester, Otto. Seeing Babies in a New Light: the Life of Hanuš Papoušek. Routledge, 2005, ISBN 0-8058-4270-5.
  • Kofsky, Frank. Harry S. Truman and the War Scare of 1948: A Successful Campaign to Deceive the Nation. Palgrave Macmillan, 1995, ISBN 0-312-12329-9
  • Korbel, Josef. The Communist Subversion of Czechoslovakia, 1938–1948: The Failure of Co-existence (1959).
  • Lonsdale, Kathleen Is Peace Possible?. Penguin Books, 1957.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
  • Lukes, Igor. "The 1948 Coup d'État in Prague through the Eyes of the American Embassy." Diplomacy & Statecraft 22.3 (2011) : 431–449.
  • Matthias, Willard C. America's Strategic Blunders: Intelligence Analysis and National Security Policy, 1936–1991. Penn State Press, 2003, ISBN 0-271-02290-6.
  • Offner, Arnold A. Another Such Victory: President Truman and the Cold War, 1945–1953. Stanford University Press, 2002, ISBN 0-8047-4774-1.
  • Pedaliu, Effie G. H. Britain, Italy, and the Origins of the Cold War. Palgrave Macmillan, 2003, ISBN 0-333-97380-1.
  • Saxonberg, Steven. The Fall: A Comparative Study of the End of Communism in Czechoslovakia, East Germany, Hungary and Poland. Routledge, 2001, ISBN 90-5823-097-X.
  • Skroug, Kenneth N. Czechoslovakia's Lost Fight for Freedom, 1967–1969. Greenwood Publishing Group, 1999, ISBN 0-275-96622-4.
  • Smetana, Vít. "The US “Loss” of Czechoslovakia: On the Edge of Historical Truth." Journal of Cold War Studies 17.3 (2015) : 220–226.
  • Steel Ronald. Walter Lippmann and the American Century. Transaction Publishers, 1999, ISBN 0-7658-0464-6.
  • Taborsky, Edward. Communism in Czechoslovakia, 1948–1960 Princeton University Press, 1961.
  • Thies, Wallace J. Friendly Rivals: Bargaining and Burden-Shifting in NATO. M.E. Sharpe, 2002, ISBN 0-7656-1017-5.
  • Ventresca, Robert. From Fascism to Democracy: Culture and Politics in the Italian Election of 1948. University of Toronto Press, 2004, ISBN 0-8020-8768-X.
  • Vertzberger, Yaacov. Risk Taking and Decisionmaking: Foreign Military Intervention Decisions. Stanford University Press, 1998, ISBN 0-8047-2747-3.
  • Waller, Michael. The End of the Communist Power Monopoly. Manchester University Press ND, 1993, ISBN 0-7190-3819-7.


หนังสือเพิ่มเติม

[แก้]
  • Kaplan, Karel. Pět kapitol o Únoru. Brno: Doplněk, 1997, ISBN 80-85765-73-X.
  • Wójtowicz, Norbert. ''Nástup komunistickej diktatúry v Československu z pohľadu Poľska'', [in:] ''Február 1948 a Slovensko (Zborník z vedeckej konferencie, Bratislava 14. – 15. február 2008)'', red. Ondrej Podolec, Bratislava: Ústav pamäti národa, 2008, p. 63-83.
  • Wójtowicz, Norbert. ''Przewrót komunistyczny w Czechosłowacji 1948 roku widziany z polskiej perspektywy'', Warszawa: Instytut Pamięci Narodowej, 2021, 368 pp., ISBN 978-83-8229-162-9