ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

พิกัด: 13°44′50″N 100°31′31″E / 13.747180°N 100.525384°E / 13.747180; 100.525384
หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนช่างกลปทุมวัน)

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
Pathumwan Institute of Technology
ที่ทำการสถาบัน
ชื่อเดิมวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
ชื่อย่อสทป. / PIT
คติพจน์รักเรียน เพียรงาน สร้างสรรค์สังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541; 26 ปีก่อน (2541-11-02)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ323,105,300 บาท
(พ.ศ. 2567)[1]
นายกสภาสถาบันจรูญ ชูลาภ[2]
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ เสถียร ธัญญศรีรัตน์[3]
อาจารย์97 คน (พ.ศ. 2565)
บุคลากรทั้งหมด211 คน (พ.ศ. 2565)
ที่ตั้ง
สัญลักษณ์เฟืองทองแดง
สี████ สีเหลือง สีเลือดหมู
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสถาบัน

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (อังกฤษ: Pathumwan Institute of Technology; ชื่อย่อ: สปท. - PIT) เป็นสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ยกฐานะขึ้นมาจาก "วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน" เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาด้านอาชีวศึกษาเข้ามาศึกษาต่อเฉพาะทางในระดับปริญญา

ประวัติ

โรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ในนาม "โรงเรียนอาชีพช่างกล" ณ ตึกพระคลังข้างที่ ตรอกกัปตันบุช ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยคณะนายทหารเรือ นำโดย น.อ. พระประกอบกลกิจ ร.น. และพลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. พลเรือตรีพระยาวิจารณ์จักรกิจ นามเดิมบุญรอด สวาทะสุข(อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ)กับเรือเอกทิพย์ ประสานสุข ร.น. เป็นผู้ช่วยเหลือในการก่อกำเนิดโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ปลูกฝังอาชีพช่างให้กับเยาวชนไทย อีกสองปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2477 โรงเรียนอาชีพช่างกลจึงย้ายไปตั้งแทนที่กรมแผนที่ทหารบก ซึ่งได้ย้ายไปจากบริเวณท่าเรือ โรงเรียนราชินีล่าง จนปีต่อมาได้โอนโรงเรียนอาชีพช่างกลมาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พร้อมชื่อโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการดำเนินการเช่าที่ดินตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เดิม มีเนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ ได้จัดสร้างอาคารเรียน 1 หลัง โรงฝึกงานอีก 8 หลัง แล้วย้ายโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกลมาอยู่ที่โรงเรียนใหม่นี้

ถนนพระราม 1 ด้านหน้าสถาบัน (ตรงข้ามกับสนามกีฬาแห่งชาติ)
อาคารสถาบัน

ในระหว่างเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นประมาณร้อยนาย ได้เข้ายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวัน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2485 เวลา 19.00 น. ปีการศึกษา 2484 ทางโรงเรียนจึงได้อพยพนักเรียนไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ จนจบปีการศึกษา 2484

ต่อมาในวันที่ 4 มิถุนายน 2485 ได้ย้ายไปทำการสอนที่เชิงสะพานเฉลิมโลก ประตูน้ำปทุมวัน ซึ่งเป็นโรงเรียนการช่างอินทราชัยในขณะนั้น และในระหว่างเกิดสงครามนั้น โรงเรียนช่างกลปทุมวันได้ส่งนักเรียนแผนกช่างยนต์ปีสุดท้ายจำนวน 32 คนและคุณครูอีกสองท่านไปช่วยงานด้านการซ่อมพาหนะที่แนวหน้ากองทัพสนามภาคพายัพของกระทรวงกลาโหม เมื่อสงครามสงบ กองทัพทหารสหประชาชาติ ได้เข้ายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวันคืนจากญี่ปุ่นได้ นักเรียนจึงได้กลับมาเรียนที่ช่างกลปทุมวันดังเดิม

ในปี พ.ศ. 2511 โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ได้อยู่ในการพัฒนาอาชีวศึกษา ตามแผนโครงการเงินกู้เพื่อปรับปรุงโรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร และส่งครูอาจารย์ฝึกงานและดูงานต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน เปิดสอนหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปี พ.ศ. 2533 เริ่มเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) และ พ.ศ. 2537 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ (ป.วศ.) สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ในปี พ.ศ. 2540 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ว่า "ปทุมวัน" (ที่ รล. 0003/12644 สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง กทม. 10200 24 กรกฎาคม 2540. เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ว่า "ปทุมวัน")

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ได้ยกฐานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2541 และเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เป็นครั้งแรกในปีเดียวกัน

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตพิจิตร

ในปี 2557 สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้วางแนวทางการขยายพื้นที่การศึกษา สู่ภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ จึงได้ทำความร่วมมือกับจังหวัดพิจิตรที่มีความสนใจที่จะจัดการศึกษาของจังหวัดไปสู่ระดับอุดมศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสาขาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของในพื้นที่ บนเนื้อที่กว่า 600 ไร่ คาดน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2559[4] แต่ท้ายที่สุดโครงการดังกล่าวไม่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อปี 2559[5]

ศูนย์การเรียนกาญจนบุรี

ศูนย์การเรียนกาญจนบุรี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ให้บริการจัดการสอนในรูปแบบเดียวกับโรงเรียนพระดาบส โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียนกองทุนการศึกษาและโรงเรียนในพื้นที่ มุ่งเน้นจัดการสอนให้เยาวชนในพื้นที่ที่ห่างไกล เข้าไม่ถึงทางการศึกษาของเด็กชายขอบ ในรูปแบบของ กศน. วิชาชีพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พัฒนาคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ให้นำความรู้ไปทำงานหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้[6]

หน่วยงาน

ได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต(วศ.ด.) ในปีการศึกษา 2556 โดยเริ่มเปิดสาขาวิชาดังนี้

    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • สาขาวิชาปิโตรเคมีและการจัดการสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง

รายนามนายกสภาสถาบัน และผู้บริหาร

นายกสภาสถาบัน

ลำดับ ชื่อ-สกุล วาระ
1. นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[7] - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
2. วีรวร สิทธิธรรม 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[8] - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
3. ว่าที่ร้อยตรี จรูญ ชูลาภ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555[9] - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 (วาระที่ 1)
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[10] - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (วาระที่ 2)
4. พลตำรวจเอก เหมราช ธารีไทย 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[11] - 22 กันยายน พ.ศ. 2564
5. ว่าที่ร้อยตรี จรูญ ชูลาภ 23 กุมภาพันธ์ 2565[12] - ปัจจุบัน

ผู้บริหาร

ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ

  • นาวาเอก พระประกอบกลกิจ ร.น. (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2478
  • เรือเอก หลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2478
  • เรือโท สมบุญ กายสุต ร.น. (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2479
  • พลเรือโท พระวิจิตรนาวี (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2479
  • นาวาตรี หลวงกลกิจกำจร ร.น (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2483
  • นาวาตรี หลวงประจักรกิจ ร.น. (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2485
  • นาวาตรี หลวงประพรรดิ์จักรกิจ ร.น. (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2497
  • นายสิทธิผล พลาชีวิน (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2503
  • นายปัญญัติ สูญสิ้นภัย (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2504
  • นายพิชัย อังค์จันทร์เพ็ญ (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2508
  • นายอรรณพ ประชัยรณรงค์ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2522
  • นายอาทร จันทวิมล (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2527
  • นายจรูญ ชูลาภ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2530
  • นายสงวน บุญปิยทัศน์ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2538
  • นายเดชา ศิริรัตน์ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539
  • นายวิจิตร ติจันทึก (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
  • นายโชค อ่อนพรม (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543

อธิการบดี

ลำดับ ชื่อ-สกุล วาระ
1. อาจารย์ โชค อ่อนพรม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543 (รักษาการ)
2. อาจารย์ สงวน บุญปิยทัศน์ พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545
3. รองศาสตราจารย์ ดร. สุธีร์ อักษรกิตติ์ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ทองงอก 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[13] - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
5. ดร.อาทร จันทวิมล 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (รักษาการ)
6. รองศาสตราจารย์สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551[14] - 31 มกราคม พ.ศ. 2552
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิศิษฏ์ ประทุมสุวรรณ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[15] - พ.ศ. 2553
8. อาจารย์ สมศักดิ์ เบญจาทิกุล พ.ศ. 2553 (รักษาการ)
9. ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล พึ่งมา พ.ศ. 2553 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (รักษาการ)
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา มินยง 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2555 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)

1 มิถุนายน พ.ศ. 2555[16] - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

11. รองศาสตราจารย์ กฤษฏา ประศาสน์วุฒิ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559[17] - พ.ศ. 2560 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)
12. รองศาสตราจารย์ ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ พ.ศ. 2560 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)
28 เมษายน พ.ศ. 2564[18] - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565(รักษาราชการแทนอธิการบดี)
13. รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร สุรินทร์ พ.ศ. 2563 - 27 เมษายน พ.ศ. 2564 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)
14. รองศาสตราจารย์ ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[19] - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-31. สืบค้นเมื่อ 2022-07-31.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-31. สืบค้นเมื่อ 2022-07-31.
  4. จ่อย้าย นศ.ปทุมวันเรียนพิจิตร เหตุที่ตั้งปัจจุบันราคาแพง ด้านปทุมวันแจงไม่ย้าย แค่เปิดวิทยาเขต
  5. ๔.๙ พิจารณาการเสนอจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตทับคล้อ
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-15. สืบค้นเมื่อ 2022-08-24.
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/00185192.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/119/24.PDF
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/151/12.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/321/6.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/278/T_0029.PDF
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-31. สืบค้นเมื่อ 2022-07-31.
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (นายสมศักดิ์ ทองงอก)
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (นายสมเกียรติ จงประสิทธิ์พร)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (นายวิศิษฎ์ ประทุมสุวรรณ)
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (นายปัญญา มินยง)
  17. คำสั่งที่ 008/2559
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 2021-08-02.
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-31. สืบค้นเมื่อ 2022-07-31.

แหล่งข้อมูลอื่น

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

13°44′50″N 100°31′31″E / 13.747180°N 100.525384°E / 13.747180; 100.525384