ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Rajabhat Rajanagarindra
ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏราชนครินทร์
ชื่อย่อมรร. / RRU
คติพจน์สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ
พึงศึกษา ในสิ่งที่ควรศึกษา
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ423,876,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯรองศาสตราจารย์ พินิติ รตะนานุกูล
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดวงพร ภู่ผะกา
อาจารย์294 คน (พ.ศ. 2565)[2]
บุคลากรทั้งหมด644 คน (พ.ศ. 2565)[2]
ผู้ศึกษา4,500 คน (พ.ศ. 2565)[2]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตวิทยาเขต
สี   เขียว-เหลือง

เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (อังกฤษ: Rajabhat Rajanagarindra University) ตั้งอยู่ที่ถนน 442 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา บนเนื้อที่ 43 ไร่เศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์เปิดสอนในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มีทั้งหมด 5 คณะ ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมชาย

[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมชาย ต่อมาเมื่อโรงเรียนฝึกหัดครูกสิก���รมชายย้ายไปตั้งใหม่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ทางราชการได้ปรับปรุงโดยการขยายสถานที่เดิมให้กว้างขวางขึ้น โดยขอใช้ที่ดินจากทางการทหารและจัดซื้อเพิ่มเติม จัดสร้างหอนอนและเรือนพักครูแล้วย้ายนักเรียนสตรีแผนกฝึกหัดครูซึ่งเรียนรวมอยู่กับนักเรียนสตรีประจำจังหวัดฉะเชิงเทราดัดดรุณี มาเรียนแทนในปี พ.ศ. 2483 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศ��ียบัตรจังหวัด เปิดสอนหลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู ว.) จึงถือได้ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ได้ถือกำเนิดในปี พ.ศ. 2483 จากนั้นก็ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ กล่าวคือ
พ.ศ. 2485 ได้เปิดสอนหลักสูตรครูประชาบาล (ป.ป.) และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา ต่อมาได้ตัดหลักสูตรครูประชาบาล และหลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัดออกปีละชั้นจนหมดในปี พ.ศ. 2491 และ พ.ศ. 2495 ตามลำดับ

พ.ศ. 2493 เปิดสอนหลักสูตรครูมูล และในปี พ.ศ. 2494 เปิดสอนหลักสูตรฝึกหัดครูประถม (ป.ป.) ซึ่งเป็นการเปิดสอนนักเรียนฝึกหัดครู ป.ป. หญิงเป็นครั้งแรกในส่วนภูมิภาคของไทย ในระยะนี้เองที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นสถานที่ทดลองปรับปรุงส่งเสริมการศึกษา โดยความร่วมมือขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ได้แก่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การบริหารความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งอนามัยโลก (WHO) องค์การบริหารความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USOM) มีชาวต่างประเทศเข้ามาดำเนินงานในโครงการนี้จากหลายชาติ คือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ออสเตรเลีย นิวซีแลนต์ แคนาดา อินเดีย ศรีลังกา และญี่ปุ่น ในการนี้ทางโรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทราได้ให้ความร่วมมือกับโครงการ โดยจัดสถานที่ไว้ส่วนหนึ่งสำหรับให้โรงเรียนต่าง ๆ ใช้เป็นสถานที่ประชุม การสาธิตการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและประเทศต่างๆ

พ.ศ. 2498 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร โดยใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) แทนหลักสูตร ป.ป. โดยรับนักเรียนชายเข้าเรียนด้วย จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา เป็น โรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา สังกัดกรมการฝึกหัดครู ซึ่งตั้งขึ้นในปีนี้เอง ในช่วงถัดมาโรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทราได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งด้านอาคารสถานที่และด้านการเรียนการสอน โดยได้รับการช่วยเหลือจากองค์การปรับปรุงส่งเสริมการศึกษาและองค์การ ยูนิเซฟ (UNICEF) และได้มีโครงการฝึกหัดครูชนบทขึ้นในระยะนี้ด้วย

วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา

[แก้]

1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 โรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา ได้รับการสถาปนาเป็น วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา เปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ทั้ง ภาคปกติและภาคค่ำ (Twilight) ในด้านอาคารสถานที่ได้มีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแทนอาคารเรียนไม้ที่มีอยู่แต่เดิม และมีอาคารอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ

พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงได้รับการยกฐานะตามพระราชบัญญัติให้สามารถผลิตครูได้ถึงระดับปริญญาตรี และให้มีภารกิจอื่น ๆ คือ วิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมวิทยฐานะครูและอบรมครูประจำการ จึงได้มีโครงการอบรมครูประจำการ (อ.คป.) ขึ้น โดยได้เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนถึง พ.ศ. 2530

ในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) ให้อำนาจวิทยาลัยครูเปิดสอนสาขาวิชาต่าง ๆ ถึงระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงเปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการศึกษา (ค.บ.) สาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) ทั้งนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษาตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ในวันเสาร์ – อาทิตย์

สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา

[แก้]

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า สถาบันราชภัฏ ซึ่งเมื่อพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา โดยสมบูรณ์

ในปี พ.ศ. 2536 คณะผู้บริหารสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ภายใต้การบริหารงานของอธิการบดี รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน ได้ดำเนินการขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์บริเวณหนองกระเดือย หมู่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ส่วนขยายของสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา โดยดำเนินการประสานงานกับบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ผู้เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อาทิ สภาตำบลหัวไทร ทางการอำเภอบางคล้า ทางการจังหวัดฉะเชิงเทรา กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น จนได้รับการอนุมัติให้ใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ศูนย์บางคล้า ตามหนังสือที่ มท 0618 / 11964 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2541 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทานนามสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทราว่า สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมายตามความในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 72 ก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2541 สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฏราชนครินทร์[3]

วันที่ 14 มิถุนายน 2547 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก. สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ จึงได้เปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นมา

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้]

ตราประจำมหาวิทยาลัย

[แก้]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออก ในรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ และรอบนอกด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ " ด้านล้างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY

ธงและสี

[แก้]

ธงและสีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีขียว และสีเหลือง

ดอกไม้

[แก้]

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกสารภี

ตัวอักษรย่อ

[แก้]

ชื่อย่อมหาวิทยาลัย ภาษาไทย มรร. : ภาษาอังกฤษ RRU

คติธรรม

[แก้]

คติธรรมประจำมหาวิทยาลัย คือ สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ หมายถึง พึงศึกษาในสิ่งที่ควรศึกษา

การศึกษา

[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์เปิดการเรียนการสอนคลอบคลุมทั้งหมด 5 คณะ 3 สถาบัน บัณฑิตวิทยาลัย และโรงเรียนสาธิต ประกอบไปด้วย

คณะ

[แก้]

คณะครุศาสตร์

[แก้]

เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 10 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและการศึกษา

คณะวิทยาการจัดการ

[แก้]

เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

[แก้]

เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 12 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาอาหารและธุรกิจบริการ
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา (ปริญญาโท)
  • สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ (ปริญญาโท)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศ���สตร์

[แก้]

เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชานิติศาสตร์บัณฑิต
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาดนตรีสากล
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษ์ศาสตร์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

[แก้]

เปิดการเรียนการสอน 7 สาขาวิชาได้แก่

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกลยานยนต์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติ
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม (ปริญญาโท)

สถาบัน

[แก้]
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สถาบันพัฒนาคุณภาพครู (สพค.)
  • สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

หน่วยงานภายใน

[แก้]
  • สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ]
  • หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (RRUBI)

ศูนย์

[แก้]
  • ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมและท้องถิ่น
  • ศูนย์ภาษา
  • ศูนย์การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์
  • ศูนย์เครือข่ายสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

โรงเรียนสาธิต

[แก้]
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

บัณฑิตวิทยาลัย

[แก้]
  • บัณฑิตวิทยาลัย

พื้นที่มหาวิทยาลัย

[แก้]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีสถานที่ปฎิบัติงานแยกกันเป็น 3 แห่ง คือ[2]

  • แห่งแรก ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 422 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 พื้นที่ 43 ไร่
  • แห่งที่สอง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 30 ถนนศรีโสธรตัดใหม่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 พื้นที่ประมาณ 17 ไร่
  • แห่งที่สาม ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 6 หมู่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ เป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ใช้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539

รายนามอธิการบดี

[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์มีอธิการบดีมาแล้ว 13 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
รายนามครูใหญ่ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นางสาวชิตพันธ์ นคาวัฒน์ พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2485
2. นางทวี ชุติวงศ์ พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2494
3. นางสาวจรัสสม ปุณณะหิตานนท์ พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2497
รายนามอาจารย์ใหญ่ วาระการดำรงตำแหน่ง
3. นางสาวจรัสสม ปุณณะหิตานนท์ พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2498
4. นางฉวีวรรณ ดุลยจินดา พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2501
5. นายสนอง ศุขสมาน พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2503
6. นายพิษณุ ชัชวาลย์ปรีชา พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2505
7. นายทวีสิน ชุติวงศ์ พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2508
8. นางสาววัชรี พิมพยะจันทร์ พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2515
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
8. นางสาววัชรี พิมพยะจันทร์ พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2518
รายนามอธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง
8. นางสาววัชรี พิมพยะจันทร์ พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2528
9. นายฉลอง ภิรมย์รัตน์ พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532
10. รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2538
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
10. รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546
11. ผศ.เอนก เทพสุภรณ์กุล พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2556
12. ผศ.ดร.อุทัย ศิริภักดิ์ พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2559 [4]
13. รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 [5] - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 สารสนเทศประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  3. https://www.komchadluek.net/news/local/415576
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พ้นจากตำแหน่ง (นายอุทัย ศิริภักดิ์)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (นางสาวดวงพร ภู่ผะกา)