เทศบาลเมืองสิงห์บุรี
เทศบาลเมืองสิงห์บุรี | |
---|---|
ตลาดเมืองสิงห์บุรี | |
สมญา: เมืองสิงห์ | |
คำขวัญ: ตึกเก่า ร.5 นาวาสองสาย หลากหลายช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี | |
พิกัด: 14°53′28″N 100°24′11″E / 14.89111°N 100.40306°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สิงห์บุรี |
อำเภอ | เมืองสิงห์บุรี |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ณรงศักดิ์ วิงวอน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 7.81 ตร.กม. (3.02 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 17,421 คน |
• ความหนาแน่น | 2,230.60 คน/ตร.กม. (5,777.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04170102 |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ถนน��ิไลจิตต์ ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16000 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลเมืองสิงห์บุรี เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งอยู่ในอำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการขนส่งของจังหวัด มีพื้นที่ 7.81 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลบางพุทราทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลบางมัญ ตำบลม่วงหมู่ ตำบลต้นโพธิ์ และตำบลบางกระบือ มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 17,421 คน[1]
ประวัติ
[แก้]เทศบาลเมืองสิงห์บุรีเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และเป็นเทศบาลขนาดกลาง ประวัติการจัดตั้งดังนี้ คือ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2460 สมัยมหาเสวกเอกเจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศัก���ิ์ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มีการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลเมืองสิงห์บุรี มณฑลกรุงเก่า ตำบลบางพุทรา (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองสิงห์บุรี) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 34 ปี 2460
ต่อมาในปี 2478 ได้ยกฐานะสุขาภิบาลเมืองสิงห์บุรีเป็นเทศบาลเมืองสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52) ในขณะนั้นมีพื้นที่การปกครอง 1.7 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้ขยายเขตเทศบาลออกไปอีก 6.11 ตารางกิโลเมตร ทำให้ปัจจุบันเทศบาลมีพื้นที่ทั้งหมด 7.81 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตัวเทศบาลเป็นที่ราบริมฝั่งน้ำ ย่านเศรษฐกิจอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 142 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลพบุรีประมาณ 26 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอ่างทองประมาณ 41 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดชัยนาทประมาณ 55 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 90 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ 95 กิโลเมตร มีพื้นที่ 7.81 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางมัญ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ประชากรและชุมชน
[แก้]ในเขตเทศบาลมีจำนวนประชากรชาย 8,098 คน จำนวนประชากรหญิง 9,323 คน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 17,421 คน มีจำนวนครัวเรือน 9,027 ครัวเรือน จำนวนชุมชน 13 ชุมชน ได้แก่
- ชุมชนวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์
- ชุมชนวัดตึกราชา
- ชุมชนวัดสังฆราชาวาส
- ชุมชนวัดโพธิ์ข้าวผอก
- ชุมชนวัดหัวว่าว
- ชุมชนวัดสว่างอารมณ์
- ชุมชนวัดพรหมสาคร
- ชุมชนวัดโพธิ์แก้วนพคุณ
- ชุมชนชาวตลาดสิงห์บุรี
- ชุมชนวิทยาลัยเทคนิค
- ชุมชนบ้านบางแคใน
- ชุมชนบ้านบางแคนอก
- ชุมชนบ้านบางกระบือ
การศึกษา
[แก้]เทศบาลเมืองสิงห์บุรีจัดเป็นแหล่งศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบด้วยสถานศึกษาที่เป็นของรัฐและเอกชน ดังนี้
|
|
สาธารณสุข
[แก้]ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรีมีหน่วยบริการด้านสาธารณสุขประกอบด้วย ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง โรงพยาบาล 4 แห่ง ดังนี้
- โรงพยาบาลสิงห์บุรี
- โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชการ
- โรงพยาบาลขุนสรรค์
- โรงพยาบาลแพทย์ชูชัย
สถานที่สำคัญ
[แก้]- ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรีและศาลจังหวัดสิงห์บุรี (เก่า) ตั้งอยู่บนถนนวิไลจิตต์ ตำบลในเมือง ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลจังหวัดสิงห์บุรีสร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) และศาลากลางจังหวัดสร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454) สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตึกก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวทรงยุโรป มีความสวยงามและมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2533
- วัดสวางอารมณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดหลังเก่าไปทางลำน้ำเจ้าพระยาประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูปมาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถเล่นได้กว่า 300 ตัว ซึ่งพระครูสิหมุณี อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้ และส่วนหนึ่งได้รับมอบหมายจากครูเปีย หัวหน้าคณะหนังเร่ ผู้ที่มีความสามารถในการเชิด-พาทย์หนังใหญ่ และได้ถ่ายทอดการแสดงหนังใหญ่สืบต่อกันมา
- วัดกระดังงาบุปผารม ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลบางกระบือ อยู่เลยจากวัดประโชติการามไปเล็กน้อย มีโบสถ์รูปทรงสมัยใหม่ที่งดงามไม่เหมือนโบสถ์แห่งไหนสร้างอยู่บนฐานศาลาการเปรียญหลังเก่า และวัดนี้ยังมีเจดีย์โบราณทรงระฆังคว่ำคล้ายเจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น ฐานเป็นชั้น มีซุ้มทรงระฆังตั้งแต่ปล้องไฉนขึ้นไป เจดีย์องค์นี้นับว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดที่มีอยู่ในสมัยเดียวกันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว นอกจากนี้ ด้านหน้าเจดีย์ยังมีวิหารเก่าแก่หลังคามุมด้วยกระเบื้องดิน บานประตูโบสถ์เป็นไม้แกะสลักลวดลายสวยงามมาก การเดินทางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 เส้นสิงห์บุรี–ชัยนาท (สายเก่า) กิโลเมตรที่ 6 ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง