ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม

พิกัด: 13°44′35.0″N 100°19′29.3″E / 13.743056°N 100.324806°E / 13.743056; 100.324806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม
ทม.กระทุ่มล้มตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม
ทม.กระทุ่มล้ม
ทม.กระทุ่มล้ม
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม
พิกัด: 13°44′35.0″N 100°19′29.3″E / 13.743056°N 100.324806°E / 13.743056; 100.324806
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอสามพราน
จัดตั้ง • 2 มีนาคม 2538 (อบต.กระทุ่มล้ม)
 • 2 มิถุนายน 2551 (ทม.กระทุ่มล้ม)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายสุรินทร์ แคบำรุง
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.9 ตร.กม. (4.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด28,221 คน
 • ความหนาแน่น2,589.08 คน/ตร.กม. (6,705.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04730602
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 99/99 หมู่ที่ 7 ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73220
เว็บไซต์krathumlom.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ตำบลกระทุ่มล้ม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Krathum Lom
ประเทศไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอสามพราน
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.9 ตร.กม. (4.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด28,221 คน
 • ความหนาแน่น2,589.08 คน/ตร.กม. (6,705.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73220
รหัสภูมิศาสตร์730610
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม เป็นเทศบาลเมืองแห่ง��นึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลกระทุ่มล้มทั้งตำบล

ประวัติ

[แก้]

บริเวณพื้นที่กระทุ่มล้มแต่เดิมชื่อว่า หมู่บ้านทุ่งกระทุ่มล้ม มีที่มาจากพื้นที่ที่มีต้นกระทุ่มขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำจำนวนมาก เป็นแหล่งอาหารของสัตว์และนกที่เกาะตามกิ่งของต้นกระทุ่ม จนต้นกระทุ่มโค่นล้มลง ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตำบลนี้ว่า "กระทุ่มล้ม"

แต่เดิมเทศบาลเมืองกระทุ่มล้มมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 ต่อมาได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลเมืองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

สำนักงานเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม (ตั้งอยู่ในซอยกระทุ่มล้ม 11 (ซอยวัดนครชื่นชุ่ม) ถนนพุทธมณฑล สาย 4 หมู่ที่ 7 ตำบลกระทุ่มล้ม ห่างจากที่ว่าการอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมประมาณ 18 - 20 กิโลเมตร เขตเทศบาลมีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

หมู่บ้าน

[แก้]

เทศบาลเมืองกระทุ่มล้มรอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลกระทุ่มล้มซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่[3]

  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองงูเหลือม
  • หมู่ที่ 2 บ้านแคราย
  • หมู่ที่ 3 บ้านเพลินพัฒนา
  • หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาน้อย ถิ่นกมล คงสุข
  • หมู่ที่ 5 บ้านบางพระ
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองตาช้าง
  • หมู่ที่ 7 บ้านหนองตามล
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองตามล
  • หมู่ที่ 9 บ้านหนองเสา

ชุมชน

[แก้]

เทศบาลเมืองกระทุ่มล้มมีชุมชนทั้งหมด 27 ชุมชน ดังต่อไปนี้

  • ชุมชนหนองงูเหลือม (หมู่ที่ 1)
  • ชุมชนเอื้ออาทรเพลินเพชร (หมู่ที่ 3)
  • ชุมชนโชคไชโย (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนสิวารัตน์ก้าวหน้า (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนหมู่บ้านพฤกษาวิลล์ 10 (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนหลังตลาดมาลี (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนหนองตาช้าง (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนธนาวรรณ เพลส (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนบ้านหนองตามล (หมู่ที่ 7)
  • ชุมชนหมู่บ้านเสรีเพลส (หมู่ที่ 7)
  • ชุมชนบุศรินทร์ปิ่นเกล้า (หมู่ที่ 8)
  • ชุมชน ว. นิเวศน์ (หมู่ที่ 8)
  • ชุมชนหมู่บ้านพุทธานี (หมู่ที่ 9)
  • ชุมชนหมู่บ้านปรีชา (หมู่ที่ 9)
  • ชุมชนแครายพัฒนา (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนเพลินเพชร (หมู่ที่ 3)
  • ชุมชนสิวารัตน์ 514 (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนหมู่บ้านฉัตรมณี (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนหมู่บ้านพัชรวิลล์ 2 (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนบางพระ (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนเอื้ออาทรพุทธมณฑลสาย 4 (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนบ้านมณฑลทิพย์ (หมู่ที่ 7)
  • ชุมชนหมู่บ้านจัดสรรนาราวดี (หมู่ที่ 7)
  • ชุมชนเอื้ออาทรนครชื่นชุ่ม (หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9)
  • ชุมชนหนองฉลาก (หมู่ที่ 8)
  • ชุมชนกรีนพาร์คโฮม (หมู่ที่ 8)
  • ชุมชนหมู่ใหญ่ (หมู่ที่ 9)

การขนส่ง

[แก้]

ถนนสายหลักในเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม คือ ถนนพุทธมณฑล สาย 4 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3310 มีบริการขนส่งสาธารณะทางรถยนต์โดยสารประจำทาง โดยรถโดยสารที่ผ่านเขตเทศบาลตำบลกระทุ่มล้ม แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ หมวด 1 คือรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ทั้งหมด ส่วนหมวด 3 และหมวด 4 คือ รถสองแถวทั้งหมด (ยกเว้นสาย 402 และ 8138)

สายการเดินรถที่ผ่านถนนพุทธมณฑลสาย 4 ได้แก่

  • สาย 84ก (หมวด 1): หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา–วงเวียนใหญ่ ( ยกเลิกการเดินรถ )
  • สาย 163 (หมวด 1): ศาลายา–สนามกีฬาแห่งชาติ
  • สาย 382 (หมวด 3): วงกลมถนนพุทธมณฑล สาย 5 – หมู่บ้านสินสมบูรณ์
  • สาย 384 (หมวด 3): วัดนครชื่นชุ่ม–หมู่บ้านสวนทิพย์ 1
  • สาย 539 (หมวด 1): อ้อมน้อย–อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สาย 547 (หมวด 1): หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา–ถนนตก
  • สาย 725 (หมวด 3): ปากทางวัดเทียนดัด–วัดนครชื่นชุ่ม

วัด

[แก้]

วัดในเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้มมีทั้งหมด 2 วัด ได้แก่ วัดนครชื่นชุ่มและวัดเพลินเพชร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประวัติและตราสัญลักษณ์". เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (พิเศษ 102 ง): 22. 18 มิถุนายน 2551.