เทศบาลเมืองวารินชำราบ
หน้าตา
เทศบาลเมืองวารินชำราบ | |
---|---|
สำนักงานเทศบาลเมืองวารินชำราบ | |
คำขวัญ: วารินเมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก และสุขใจ | |
พิกัด: 15°12′02″N 104°51′41″E / 15.20056°N 104.86139°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุบลราชธานี |
อำเภอ | วารินชำราบ |
จัดตั้ง |
|
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | จีระชัย ไกรกังวาร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.9 ตร.กม. (5.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 27,249 คน |
• ความหนาแน่น | 2,112.33 คน/ตร.กม. (5,470.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04341501 |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลเมืองวารินชำราบ ถนนประทุมเทพภักดี ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190 |
โทรศัพท์ | 0 4526 9680 |
เว็บไซต์ | www.warincity.go.th |
เทศบาลเมืองวารินชำราบ เป็นเทศบาลเมืองตั้งอยู่ที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตครอบคลุมเขตตำบลวารินชำราบทั้งหมด โดยห่างจากเทศบาลนครอุบลราชธานีเพียงแค่ 2 กิโลเมตรเท่านั้น และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของจังหวัดอุบลราชธานี รองจากเทศบาลนครอุบลราชธานี เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจอย่างมากในจังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติ
[แก้]- เทศบาลเมืองวารินชำราบเดิมชื่อ "บ้านคำน้ำแซบ" ต่อมาเป็นชุมชนที่มีความสำคัญ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศใช้ในราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 45 ตอนที่ 76 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2480 ยกฐานะบ้านคำน้ำแซบขึ้นเป็นเทศบาล โดยใช้ชื่อว่า เทศบาลตำบลธาตุ มีพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร[2] พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๔๘๐] โดยมีนายกเทศมนตรีคนแรกคือพระยาประทุมเทพภักดี
- ต่อมา พ.ศ. 2486 ได้ประกาศในราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 60 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2486 ได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก เทศบาลตำบลธาตุ เป็น เทศบาลตำบลวารินชำราบ[3] เพื่อให้ตรงกับชื่อของอำเภอวารินชำราบ
- พ.ศ. 2490 มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นอีก มีเนื้อที่ 5.7 ตารางกิโลเมตร[4]
- พ.ศ. 2534 มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นอีก มีเนื้อที่ 12.9 ตารางกิโลเมตร[5] โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2538 มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจากเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็น เทศบาลเมืองวารินชำรา�� เป็นต้นมา[6]
ตราประจำเทศบาล
[แก้]- ตราประจำเทศบาลเมืองวารินชำราบเป็นรูป "พระแม่ธรณีหลั่งน้ำสังข์" หมายถึง มีน้ำไหลตลอดไม่ขาด ข้อเท็จจริงแล้วในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบมีลำธารเล็ก ๆ เรียกว่า ลำคำน้ำแซบ ไหลผ่านเป็นลำธารที่มีน้ำซับไหลซึมจากใต้พื้นดินอยู่ชั่วตลอดนาตาปี ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ต่อท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปได้ใช้น้ำตลอดทั้งปี
การศึกษา
[แก้]สถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองวารินชำราบ 3 โรงเรียน คือ
- โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ
- โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ
- โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5
การคมนาคม
[แก้]- ทางบกในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ มีการบริการด้วยรถโดยสารสองแถวประจำทาง รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถแท็กซี่มิเตอร์ และรถสามล้อเครื่อง
- ทางรถไฟ โดยมีรถไฟบริการ ณ สถานีรถไฟอุบลราชธานี จากกรุงเทพมหานคร (หัวลำโพง) - อุบลราชธานี ทุกวัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองวารินชำราบ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๔๘๐
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเทศบาลตำบลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๔๘๖
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๐๙
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๓๘