ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอแม่แจ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอแม่แจ่ม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Chaem
วัดพุทธเอ้น
คำขวัญ: 
เที่ยวบ่อน้ำแร่ ล่องแพน้ำแจ่ม
พักแรมน้ำตก ผ้าตีนจกยอดน้ำมือ
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอแม่แจ่ม
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอแม่แจ่ม
พิกัด: 18°29′56″N 98°21′43″E / 18.49889°N 98.36194°E / 18.49889; 98.36194
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,686.571 ตร.กม. (1,037.291 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด60,605 คน
 • ความหนาแน่น22.56 คน/ตร.กม. (58.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50270
รหัสภูมิศาสตร์5003
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม หมู่ที่ 4 ถนนสุดสนิท ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 50270
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แม่แจ่ม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยแยกออกจากอำเภอจอมทอง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2499 มีชื่อเสียงในเรื่องของผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของอำเภอแม่แจ่ม[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอแม่แจ่มตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ที่มาของชื่ออำเภอ

[แก้]

อำเภอแม่แจ่มหรือ "เมืองแจ๋ม" นั้นแต่เดิมเรียกกันว่า "เมืองแจม" มีตำนานว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหากัจจายนะได้จาริกผ่านมาทางยอดดอยอ่างกา (ดอยอินทนนท์) เช้าวันหนึ่งเมื่อพระองค์เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ มีย่าลัวะเฒ่า (หญิงชราชาวลัวะ) คนหนึ่งนำปลาปิ้งเพียงครึ่งตัวมาใส่บาตรถวาย พระบรมศาสดาทอดพระเนตรด้วยความเมตตาและความสงสัย จึงตรัสถามย่าลัวะว่า "แล้วปลาอีกครึ่งตัวล่ะอยู่ไหน" ย่าลัวะทูลตอบว่า "เก็บไว้ให้หลาน" พระองค์จึงทรงรำพึงว่า "บ้านนี้เมืองนี้มันแจมแต๊นอ" (= เมืองนี้ช่างอดอยากจริงหนอ) ซึ่งต่อมาดินแดนนี้จึงได้ชื่อว่า "เมืองแจม" คำว่า "แจม" เป็นภาษาลัวะแปลว่า มีน้อย ไม่พอเพียง หรือขาดแคลน ต่อมาเมื่อกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) มาอยู่ จึงเรียกชื่อตามสำเนียงไท-ยวนว่า "เมืองแจ๋ม" และเพี้ยนเป็นเมืองแจ่มหรือ "แม่แจ่ม" อันเป็นนามมงคล หมายถึงให้เมืองนี้เป็นเมืองแห่งความแจ่มใส ลบความหมายของคำว่า "แจม"

ตำนานเมืองที่เกี่ยวข้องกับสิงห์

[แก้]

มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า มีสิงห์สองตัวเป็นพี่น้องกันหากินอยู่ในป่าใหญ่ เกิดแย่งชิงอำนาจการปกครองและพื้นที่ทำกินกันเองจนเกิดข้อพิพาทกันอยู่เนือง ๆ จนพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ได้พบเห็น จึงได้กำหนดแบ่งเขตหากินโดยใช้ลำห้วยแห่งหนึ่งเป็นเขตแสดง ลำห้วยนั้นชื่อ "ห้วยช่างเคิ่ง" (ชึ่งหมายถึงแบ่งครึ่งกัน) ครั้นพระปัจเจกเจ้าเสด็จไปที่ดอยสะกาน (ตั้งอยู่ตรงข้ามบ้านกองกานกับบ้านต่อเรือ) มีราษฎรนำอาหารไปถวาย แต่เนื่องจากว่าราษฎรเหล่านั้นยากจน ข้าวปลาที่นำมาถวายมีน้อยขาดแคลน จึงได้ขนานเมืองนี้ว่า "เมืองแจม" ซึ่งแปลว่าเมืองที่มีความอดอยากขาดแคลน และเรียกลำน้ำใหญ่ว่า "น้ำแม่แจม" ต่อมาชาวบ้านขานชื่อเมืองนี้เพี้ยนไปเป็น "เมืองแจ่ม" จนกระทั่งทุกวันนี้

ประวัติ

[แก้]

อำเภอแม่แจ่มเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้านอยู่ตามที่ราบและกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาใหญ่น้อยที่ล้อมรอบเรียงรายอยู่ มองจากที่สูงลงมาจะเหมือนแอ่งกระทะ มีลำน้ำไหลผ่าน ท่ามกลางมวลพฤกษชาตินานาพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งนี้เดิมเป็นที่อาศัยของชนชาติลัวะ (ละว้า) ซึ่งครอบครองดินแดนแถบนี้ตลอดจนถึงบางส่วนของอาณาจักรล้านนาในอดีต ชนเผ่าลัวะมีความเจริญไม่แพ้พวกขอม-มอญ ซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนแห่งนี้ร่วมกัน เพียงแต่แยกการปกครองออกเป็นหมู่เหล่า เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อพวกใด ชนใดมีความเข้มแข็งก็ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองขึ้นปกครองกันเอง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และได้สร้างวัฒนธรรมของตนจนรุ่งเรือง ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องปั้นดินเผา อาจจะเป็นเพราะในอดีตเมืองแจ๋มเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่าง พม่า ไทย จีน และอินเดียก็เป็นได้ เพราะสินค้าของทุกประเทศตกทอดมาสู่รุ่นลูกหลานซึ่งได้รับจากบรรพบุรุษที่อยู่ในสมัยนั้นด้วย ต่อมาเมื่อมีกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) เข้ามามากเข้า อำนาจของลัวะจึงหมดไป แต่ลัวะเริ่มเรืองอำนาจขึ้นมาใหม่อีกครั้งในยุคสมัยของพญามังรายซึ่งถือว่าเป็นเชื้อสายลัวะเหมือนกัน

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น คิชฌกูฏ ในวิหารของวัดยางหลวง พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน พระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะตระกูลช่างเชียงแสนและตระกูลช่างสุโขทัยซึ่งมีอายุเกิน 500 ปีขึ้นไป ดังนั้น เมืองแจ๋มก็น่าจะตั้งมาไม่ต่ำว่า 500 ปี ราว ๆ ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1800) สิงหนวัติกุมารได้พากลุ่มคนไท-ยวนอพยพมาจากยูนนานทางตอนใต้ของจีน ยึดอำนาจจากลัวะในสมัยปู่จ้าวลาวจก (ลวจักราช) บรรพบุรุษของพญามังราย แล้วสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่มีชนพื้นเมืองลัวะอาศัยอยู่ก่อน แต่อาศัยการวางตนเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมสูงกว่าลัวะ ต่อมาเมื่อกลุ่มคนไทเสื่อมอำนาจลง ปู่จ้าวลาวจกจึงสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์ กลุ่มคนไทจึงกระจัดกระจายกันไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งตามประวัติของเมืองแจ๋มที่กล่าวไว้ว่าเริ่มมีคนไทเข้ามา ก็คงจะในสมัยของสิงหนวัติกุมารนั่นเอง เพราะประวัติของเมืองแจ๋มก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิงห์อยู่เหมือนกัน แล้วถ้าเราลองมานับปีกันแล้ว ปีนี้ พ.ศ. 2545-1800 จะได้ประมาณ 745 ปี ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอายุของหลักฐานที่อยู่ตามวัดต่าง ๆ เช่น คิชฌกูฏ

ต่อมามีคนไทยพื้นที่ราบทั้งจากอำเภอจอมทองและอำเภอสันป่าตองเข้ามาหากินและตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำแม่แจ่ม และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2451 ตั้งชื่อว่า อำเภอเมืองแจ่ม[2] และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอช่างเคิ่ง ในปี พ.ศ. 2460[3](ปัจจุบันช่างเคิ่งเป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอแม่แจ่ม) ตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลท่าผา มีนายชื่นดำรงตำแหน่งนายอำเภอ แต่ขณะนั้นราษฎรอดอยากขาดแคลนและไม่นิยมการปกครองที่มีการเก็บภาษีอากร ในที่สุดจึงมีราษฎรกลุ่มหนึ่งเข้าปล้นที่ว่าการอำเภอและทำร้ายนายอำเภอจนเสียชีวิต ทางราชการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอาศัยที่วัดช่างเคิ่งเพื่อความปลอดภัย มีนายสนิทเป็นนายอำเภอจนกระทั่งปี พ.ศ. 2481 ทางราชการได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอ และตั้งชื่อว่า กิ่งอำเภอแม่แจ่ม ขึ้นกับอำเภอจอมทอง[4] และเมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอแม่แจ่ม[5] และ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2552 ได้มีการแบ่งพื้นที่ของตำบลแจ่มหลวง ตำบลบ้านจันทร์ และ ตำบลแม่แดด ออกไปจัดตั้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จึงทำให้อำเภอแม่แจ่ม มี 7 ตำบล จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะภูมิอากาศ

[แก้]

ภูมิอากาศพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่ - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพาเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนลงมาปกคลุม ประเทศไทยตอนบน - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมฝ่ายใต้ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป อากาศมรสุมเมืองร้อน ช่วง พฤษภาคม - กันยา��น มีฝนตกชุก ช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวและแห้งแล้ง อุณหภูมิประมาณ 9.7 องศา สูงสุดประมาณ 39.6 องศา

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอแม่แจ่มแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 104 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2566)[6]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2566)[6]
1. ช่างเคิ่ง Chang Khoeng 19 10,225 2,559
7,666
(ทต. แม่แจ่ม)
(อบต. ช่างเคิ่ง)
2. ท่าผา Tha Pha 10 4,939 4,939 (ทต. ท่าผา)
3. บ้านทับ Ban Thap 13 6,610 6,610 (อบต. บ้านทับ)
4. แม่ศึก Mae Suek 17 13,286 13,286 (อบต. แม่ศึก)
5. แม่นาจร Mae Na Chon 19 11,374 11,374 (อบต. แม่นาจร)
6. ปางหินฝน Pang Hin Fon 14 7,548 7,548 (อบต. ปางหินฝน)
7. กองแขก Kong Khaek 12 6,623 6,623 (อบต. กองแขก)
รวม 104 60,605 7,498 (เทศบาล)
53,107 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอแม่แจ่มประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแม่แจ่ม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลช่างเคิ่ง
  • เทศบาลตำบลท่าผา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าผาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่างเคิ่ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่แจ่ม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านทับทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ศึกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาจร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่นาจรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปางหินฝน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปางหินฝนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกองแขก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกองแขกทั้งตำบล

สถานศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนแม่แจ่ม
  • โรงเรียนเมืองเด็กวิทยา
  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31
  • โรงเรียนเซนต์โยเซฟแม่แจ่ม
  • โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม
  • โรงเรียนบ้านทุ่งยาว
  • โรงเรียนบ้านต่อเรือ
  • โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง
  • โรงเรียนบ้านแม่ปาน
  • โรงเรียนอินทนนท์วิทยา
  • โรงเรียนบ้านสามสบ
  • โรงเรียนบ้านผานัง
  • โรงเรียนบ้านป่าแดด (ชุมชนตำบลท่าผา)
  • โรงเรียนบ้านยางหลวง
  • โรงเรียนบ้านกองแขก
  • โรงเรียนบ้านอมเม็ง
  • โรงเรียนออป.13
  • โรงเรียนบ้านโม่งหลวง
  • โรงเรียนบ้านอมขูด
  • โรงเรียนบ้านกองแขก สาขาบ้านแม่หลุ
  • โรงเรียนบ้านโม่งหลวง สาขาบ้านแม่อมลานใน
  • โรงเรียนบ้านแม่ซา
  • โรงเรียนบ้านแม่หอย
  • โรงเรียนบ้านแม่มุ
  • โรงเรียนบ้านแม่เอาะ
  • โรงเรียนบ้านแม่นาจร
  • โรงเรียนบ้านแม่มะลอ
  • โรงเรียนบ้านแม่วาก
  • โรงเรียนบ้านสบวาก
  • โรงเ���ียนบ้านนากลาง
  • โรงเรียนบ้านนาฮ่อง
  • โรงเรียนบ้านสบวาก สาขาแม่จอนหลวง
  • โรงเรียนบ้านนากลาง สาขาห้วยผักกูด
  • โรงเรียนบ้านสองธาร
  • โรงเรียนบ้านปางหินฝน
  • โรงเรียนบ้านพุย
  • โรงเรียนบ้านแม่ตูม
  • โรงเรียนบ้านเฮาะวิทยา
  • โรงเรียนบ้านแปะ
  • โรงเรียนบ้านแม่แฮใต้
  • โรงเรียนบ้านทุ่งแก
  • โรงเรียนบ้านแม่หงานหลวง
  • โรงเรียนบ้านขุนแม่นาย
  • โรงเรียนบ้านพุย สาขาพุยใต้
  • โรงเรียนบ้านอมเม็งสาขาสบลอง
  • โรงเรียนบ้านแม่ศึก
  • โรงเรียนบ้านทัพ
  • โรงเรียนชุมชนบ้านพร้าวหนุ่ม
  • โรงเรียนบ้านผาละปิ
  • โรงเรียนบ้านปางอุ๋ง
  • โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด
  • โรงเรียนบ้านสบแม่รวม
  • โรงเรียนบ้านห้วยผา
  • โรงเรียนบ้านปางอุ๋ง สาขาแม่สะต๊อป
  • โรงเรียนบ้านปางเกี๊ยะ

สถานที่สำคัญ

[แก้]
วัดป่าแดด
  • หมู่บ้านทอผ้าซิ่นตีนจก บ้านท้องฝาย ช่างเคิ่ง
  • สวนป่าแม่แจ่ม
  • ดอยม่อนหมาก
  • แม่น้ำแม่แจ่ม
  • น้ำตกแม่ปาน
  • นาขั้นบันไดแม่แจ่ม
  • วัดพุทธเอ้น
  • วัดยางหลวง
  • น้ำตกห้วยทรายเหลือง
  • วัดพุทธเอิ้น
  • วัดกองกาน
  • วัดป่าแดด
  • ป่าสนบ้านวัดจันทร์
  • น้ำพุร้อนเทพพนม
  • สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง
  • วัดกองแขก
  • สวนป่าแม่แจ่ม
  • น้ำออกรู บ้านทุ่งยาว
  • พระเจ้าตนหลวง
  • พระเจ้าแสนตอง
  • น้ำบ่อเย็น บ้านแม่ปาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. “ผ้าตีนจกแม่แจ่ม” สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของคนแม่แจ่ม
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบและตั้งอำเภอในมณฑลพายัพ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-01-02.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-01-02.
  5. "พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2017-01-02.
  6. 6.0 6.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]