ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานพัฒนาพิงคนคร
(องค์การมหาชน)
Pinkanakorn Development Agency (Public Organization)
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556; 11 ปีก่อน (2556-02-12)
ยุบเลิกรอประกาศ
หน่วยงานสืบทอด
ประเภทองค์การมหาชน
เขตอำนาจจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่เชื่อมโยง
สำนักงานใหญ่33 หมู่ 12 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
งบประมาณต่อปี137,122,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • พลเอก โกศล ประทุมชาติ, ประธานกรรมการ
  • กฤษดา ลาพิมล, ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ
  • ฐิติรัตน์ ต๊ะวันวงศ์, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสำนักงานสำนักนายกรัฐมนตรี
เอกสารหลัก
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Pinkanakorn Development Agency (Public Organization)) เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2556 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ที่เชื่อมโยงหรือต่อเนื่องกับเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวกับทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว

ประวัติ

[แก้]

สำนักงานพัฒนาพิงคนครจัดตั้งขึ้นจากเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และบริเวณที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งมีศักยภาพสูงมีความพร้อมในด้านต่างๆ โดยคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งหน่วยงานรูปแบบพิเศษขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่

11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ ปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแลหน่วยงาน[2] และมีการแต่งตั้งนายศราวุฒิ ศรีศกุน ผู้จัดการพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร

ในสามปีแรกตั้งแต่จัดตั้ง พิงคนครได้รับงบประมาณรวมเป็นวงเงินกว่าสองพันล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ถึงแม้ได้รับงบประมาณสูงในช่วงปีแรก กลับไม่มีผลงานที่จับต้องได้แม้แต่โครงการเดียว มีการตั้งงบประมาณศึกษาโครงการใหม่มากมายแต่ท้ายที่สุดก็ไม่เกิดขึ้นจริง มีความพยายามสรรหาผู้อำนวยการถึงเจ็ดครั้งแต่ล้มเหลวทุกครั้งเนื่องจากถูกขัดขวางโดยผู้มีอำนาจเดิม[3] ส่งผลให้พิงคนครถูกปรับลดงบประมาณตามลำดับ

ภายหลังการรัฐประหารในปี 2557 พิงคนครถูกตรวจสอบและนำไปสู่การเปลี่ยนผู้บริหารคนใหม่ ท้ายที่สุดมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสำนักงานเมื่อปี 2562 [4] แต่ยังคงให้พิงคนครเปิดดำเนินการต่อไปจนกว่ากระบวนการถ่ายโอนภาระหน้าทั้งหมดจะแล้วเสร็จ อีกด้านหนึ่ง อดีตผู้บริหารพิงคนครก็ถูกชี้มูลความผิดทางอาญาและถูกดำเนินคดี

ในวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ส่วนงานศูนย์ประชุมฯถูกส่งมอบพื้นที่ให้แก่กรมธนารักษ์ ส่งผลให้หลังจากวันดังกล่าว พิงคนครมีสถานที่ภายใต้ความรับผิดชอบเพียงแห่งเดียวคือเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ในช่วงนี้ มีแนวคิดที่จะโอนเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีให้แก่องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ต่อมามีความเห็นว่าเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีและองค์การสวนสัตว์มีระบบการบริหารที่แตกต่างกัน และมีการทบทวนนโนบาย ท้ายที่สุด คณะรัฐมนตรีมีมติให้พิจารณาจัดตั้งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีขึ้นเป็นองค์การมหาชน

คาดว่ากฎหมายจัดตั้งองค์การเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีจะประกาศใช้ไม่เกินปี 2568 จากนั้น สำนักงานพิงคนครก็จะยุติการดำเนินการ

ประธานกรรมการ

[แก้]

หน่วยงานในการดูแล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. ครม.มอบ"ปลอดประสพ"ดูแลสำนักงานพัฒนาพิงคนคร[ลิงก์เสีย]
  3. "อดีตผอ.พิงค์นครร้องทหารช่วย หลังบอร์ดตั้งคนใหม่". เดลินิวส์. เชียงใหม่. 2018-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-16.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ disband_org
  5. สำนักงานพัฒนาพิงคนคร. รายงานประจำปี 2564

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]