ข้ามไปเนื้อหา

สถานีแคราย

พิกัด: 13°51′45″N 100°31′14″E / 13.86250°N 100.52056°E / 13.86250; 100.52056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคราย
PK02

Khae Rai
สถานีแครายเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
พิกัด13°51′45″N 100°31′14″E / 13.86250°N 100.52056°E / 13.86250; 100.52056
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการนอร์ทเทิร์�� บางกอกโมโนเรล (เอ็นบีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีPK02
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ7 มกราคม พ.ศ. 2567; 9 เดือนก่อน (2567-01-07)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ศูนย์ราชการนนทบุรี
สถานีปลายทาง
สายสีชมพู สนามบินน้ำ
มุ่งหน้า มีนบุรี
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีแคราย (อังกฤษ: Khae Rai station; รหัส: PK02) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีชมพู โดยยกระดับเหนือถนนติวานนท์บริเวณใกล้กับทางแยกแคราย ในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานีแครายตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณปากซอยติวานนท์ 20 (สี่ไชยทอง) ใกล้สถาบันโรคทรวงอก และโลตัส สาขารัตนาธิเบศร์ ในพื้นที่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

รายละเอียด

[แก้]

สีสัญลักษณ์

[แก้]

ใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รูปแบบ

[แก้]

เป็นสถานียกระดับ มีชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง

ทางเข้า–ออก

[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่

  • 1 ซอยติวานนทํ 11 (สัมฤทธิ์ผล)
  • 2 โลตัส รัตนาธิเบศร์
  • 3 ซอยติวานนท์ 20 (สี่ไชยทอง)
  • 4 สถาบันโรคทรวงอก

แผนผัง

[แก้]
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี
ชานชาลา 2 สายสีชมพู มุ่งหน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนติวานนท์, สถาบันโรคทรวงอก, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, โลตัส รัตนาธิเบศร์

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง เชื่อมต่อ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีชมพู[1][2]
ชานชาลาที่ 1
PK30 มีนบุรี เต็มระยะ 05.56 00.02
PK14 สายสีแดงเข้ม 23.32
PK16 สายสุขุมวิท (คูคต) 23.52
PK16 สายสุขุมวิท (เคหะฯ) 22.42
ชานชาลาที่ 2
PK01 ศูนย์ราชการนนทบุรี เต็มระยะ 06.10 01.04
PK01 สายสีม่วง (คลองบางไผ่) 23.34
PK01 สายสีม่วง (เตาปูน) 23.04

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
32 (2-5) (1) ปากเกร็ด วัดโพธิ์ รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง ขสมก.
505 (2-24E) (3) วงเวียนใหญ่ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
2-2 (2) ท่าน้ำสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
33 (2-6) Handicapped/disabled access ปทุมธานี เทเวศร์ 1. รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีเหลือง
2. รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีฟ้า
3. รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
บจก.บัส 33
(ในเครือกิตติสุนทร)
69 (2-13) Handicapped/disabled access ตลาดท่าอิฐ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
69E (2-18E) Handicapped/disabled access บจก.ไทยสมายล์บัส รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านงามวงศ์วาน ลงทางด่วนด่านอโศก)
90 (1-27) ปทุมธานี บีทีเอสหมอชิต รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีฟ้า บจก.บัส 90
(ในเครือกิตติสุนทร)
มีรถให้บริการน้อย
104 (2-16) Handicapped/disabled access ปากเกร็ด รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
110 (2-35) Handicapped/disabled access ประชานิเวศน์ 3 เทเวศร์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
110 (2-35) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู". 2023-12-28.
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูขบวนสุดท้าย - ข่าวรถไฟ". 2023-12-28.