รถไฟฟ้าสายสีทอง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รถไฟฟ้าสายสีทอง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | เปิดให้บริการ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปลายทาง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนสถานี | 4 (ทั้งหมด) 3 (เปิดให้บริการ) 1 (โครงการ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การดำเนินงาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปแบบ | ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สัญญาร่วมลงทุนโครงการ หมด พ.ศ. 2593) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศูนย์ซ่อมบำรุง | ศูนย์ซ่อมบำรุงกรุงธนบุรี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขบวนรถ | บอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 3 ขบวน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปีที่เริ่ม | พ.ศ. 2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดเมื่อ | 16 มกราคม พ.ศ. 2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะทาง | 1.72 กิโลเมตร (1.07 ไมล์) (est.) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะทางวิ่ง | ยกระดับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบจ่ายไฟ | 750 V DC | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเร็ว | 80 km/h (50 mph) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาณัติสัญญาณ | บอมบาร์ดิเอร์ ซิตี้โฟล650 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
รถไฟฟ้าสายสีทอง[1] หรือ โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง[2] เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบนถนนเจริญนคร และเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์การค้าไอคอนสยาม ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานคร, บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ดำเนินการในรูปแบบระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติโดยใช้รถไฟฟ้าล้อยาง และมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม วิ่งไปตามแนวถนนเจริญนคร ผ่านศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน สิ้นสุดในช่วงแรกที่บริเวณแยกวงเวียนเล็ก (สมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก) รวมระยะทาง 2.7 กิโลเมตร โดยในปี 2567 กรุงเทพธนาคม เปิดเผยว่า มีผู้ใช้บริการ เที่ยวละ 7,400 คน ต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ว่า จะมีผู้ใช้บริการเที่ยวละ 30,000 คน[3]
เดิมทีเส้นทางสายนี้เป็นหนึ่งใน 8 เส้นทางศึกษาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง ของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานครตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบนถนนเจริญนคร ไปจนถึงถนนสมเด็จเจ้าพระยา แต่เนื่องจากแผนการดำเนินการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้แผนโครงการเส้นทางสายรองทั้งหมดถูกยกเลิก ต่อมาใน พ.ศ. 2560 ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้บริหารกลุ่มสยามพิวรรธน์ ได้รับคำแนะนำจาก คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกลุ่มบีทีเอส ให้เข้าพูดคุยกับกรุงเทพมหานครเพื่อขอรื้อฟื้นโครงการและสร้างเส้นทางรองเพื่อขนส่งผู้โดยสารจากโครงการไอคอนสยามเข้ารถไฟฟ้าสายหลัก 3 เส้นทางโดยรอบ ไอคอนสยามจึงเสนองบประมาณการก่อสร้างให้กรุงเทพมหานครเข้าดำเนินการ ก่อนได้รับการอนุมัติการดำเนินการจริงใน พ.ศ. 2561
โครงการทดลองเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564[4] เดิมกรุงเทพมหานครจะประเมินยอดผู้โดยสาร 6 เดือน[5]เพื่อก่อสร้างสถานีระยะที่หนึ่งเข้าสู่ถนน���ระชาธิปกอันเป็นที่ตั้งของสถานีสะพานพุทธของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เพิ่มอีก 1 สถานี แต่ในปี 2565 กรุงเทพมหานครได้หยุดแผนก่อสร้างออกไปก่อนเนื่องจากปริมาณผู้โดยสารน้อยกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งเป็นผลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีกทั้งไอคอนสยามไม่ได้สนับสนุนงบดำเนินการก่อสร้าง[6] ขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานครเองยังมีแผนที่จะโอนโครงการทั้งหมดให้อยู่ภายใต้การดูแลของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เนื่องมาจากโครงการขาดทุนอย่างต่อเนื่องและส่งผลต่องบประมาณรวมของกรุงเทพมหานครซึ่งจะทำให้การต่อขยายเส้นทางเป็นไปได้ลำบาก
ภาพรวม
[แก้]เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างแบบยกระดับ ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในลักษณะของการจ้างเดินรถจาก บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เจ้าของโครงการที่ได้รับสัมปทานในการดำเนินโครงการจากกรุงเทพมหานครในการลงทุนและดำเนินการเชิงพาณิชย์ หรือ PPP-Net Cost ภายในกรอบระยะเวลา 30 ปี มีแนวเส้นทางที่เน้นการเชื่อมโยงการเดินทางบนถนนเจริญนครเป็นหลัก เริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีวิ่งไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวซ้ายขึ้นทางเหนือเข้าสู่ถนนเจริญนคร ผ่านด้านหน้าศูนย์การค้าไอคอนสยาม และยกระดับข้ามแนวของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะก่อสร้างขึ้นในอนาคตตามแนวถนนลาดหญ้า เพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสิ้นสุดโครงการบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลตากสิน ระยะทางรวม 2.7 กิโลเมตร เป็นแนวเส้นทางระยะสั้นเพื่อเน้นขนถ่ายผู้โดยสารจากถนนเจริญนคร และศูนย์การค้าไอคอนสยาม เข้าสู่เส้นทางหลักคือรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม โดยในแผนระยะที่สอง จะมีการก่อสร้างสถานีอีกหนึ่งสถานีบริเวณด้านหลังอนุสรณ์สถานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ส่วนต่อขยายเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน
[แก้]แขวง | เขต | จังหวัด |
---|---|---|
สมเด็จเจ้าพระยา / คลองสาน / คลองต้นไทร | คลองสาน | กรุงเทพมหานคร |
วัดกัลยาณ์ | ธนบุรี | |
วัดท่าพระ | บางกอกใหญ่ | |
แผนที่เส้นทาง
[แก้]
แนวเส้นทาง
[แก้]ช่วงที่ 1 : สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี - สำนักงานเขตคลองสาน - สะพานพุทธ
[แก้]เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน โดยแบ่งออกได้อีก 2 ระยะดังนี้
- ระยะที่ 1 แนวเส้นทางจะเริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางซ้ายบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญ��ครฝั่งเหนือ ผ่านวัดสุวรรณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านโรงพยาบาลตากสิน และไปสิ้นสุดที่สถานีคลองสาน บริเวณระหว่างด้านหลังคอนโดศุภาลัย พรีเมียร์ เจริญนคร กับตรงหน้าสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และตรงข้ามซอยสมเด็จเจ้าพระยา 17 ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม
- ระยะที่ 2 แนวเส้นทางจะวิ่งตรงต่อไปตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ผ่านถนนท่าดินแดง ที่สีแยกท่าดินแดง โรงเรียนจันทรวิทยา วัดอนงคารามวรวิหาร และวัดพิชยญาติการามวรวิหาร สิ้นสุดบริเวณแยกวงเวียนเล็ก (สมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก) บริเวณด้านหลังอนุสรณ์สถานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน
ช่วงที่ 2 : สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สะพานพุทธ - สถานีรถไฟฟ้ามหานคร อิสรภาพ
[แก้]เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดสถานีสะพานพุทธ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนประชาธิปก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีสะพานพุทธ (วงเวียนเล็ก) แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนอิสรภาพ ผ่านบิ๊กซี อิสรภาพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีอิสรภาพ ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[7]
ช่วงที่ 3 : สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี - โรงแรมอนันตรากรุงเทพริเวอร์ไซด์
[แก้]เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางขวาบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเจริญนครฝั่งใต้ ผ่านวัดเศวตฉัตรวรวิหาร กระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย และสิ้นสุดบริเวณซอยเจริญนคร 60 ใกล้กับศูนย์การค้าริเวอร์ไซด์ พลาซ่า โรงแรมอวานีริเวอร์ไซด์กรุงเทพ และโรงแรมอนันตรากรุงเทพริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา[7]
รายชื่อสถานี
[แก้]ชื่อและสีของสถานี | รหัสสถานี | จุดเปลี่ยนเส้นทาง | วันที่เปิดให้บริการ | ||
---|---|---|---|---|---|
กรุงธนบุรี | G1 | สายสีลม สถานีกรุงธนบุรี | 16 มกราคม พ.ศ. 2564 | ||
เจริญนคร (ไอคอนสยาม) | G2 | เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าไอคอนสยาม (ผ่านไอคอนสยาม) | |||
คลองสาน | G3 | สายสีแดงเข้ม สถานีคลองสาน (โครงการ) | |||
การเชื่อมต่อ
[แก้]สถานีรถไฟฟ้าสายสีทอง | เชื่อมต่อกับ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
G1 | สถานีกรุงธนบุรี | สายสีลม สถานีกรุงธนบุรี | |
G3 | สถานีคลองสาน | สายสีแดงเข้ม สถานีคลองสาน | โครงการศึกษาแนวทางการเชื่อมต่อเป็นสกายวอล์กต่อเนื่องจากทางเชื่อม อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลตากสินเข้าสู่พื้นที่บริเวณสถานี |
G4 | สถานีประชาธิปก | สายสีม่วง สถานีสะพานพุทธ | โครงการศึกษาแนวทางการเชื่อมต่อเป็นสกายวอล์กเข้าสู่พื้นที่บริเวณสถานี ทั้งนี้โครงการยังมีแผนศึกษาการก่อสร้างสถานีอีกหนึ่งแห่งคร่อมตัวสถานีสายฉลองรัชธรรม เนื่องจากวัดระยะทางพบว่าเกิน 250 เมตร จึงถือว่าไม่ได้เชื่อมต่อกันโดยสมบูรณ์ |
ทางเดินเข้าอาคาร
[แก้]ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ ดังนี้
- สถานีเจริญนคร : ไอคอนสยาม (อาคารพื้นที่ค้าปลีกหลักและศูนย์ความบันเทิง), ไอซีเอส และโรงแรมฮิลตัน การ์เดน อินน์ กรุงเทพ
- สถานีคลองสาน : โรงพยาบาลตากสิน
รถบริการรับส่ง
[แก้]ปัจจุบันมีเอกชนร่วมให้บริการรถรับส่งจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทองไปยังสถานที่ แต่ละฝ่ายให้บริการอยู่ โดยปัจจุบันมีดังนี้
- กรุงธนบุรี – ไอคอนสยาม
เรือรับส่ง
[แก้]ที่ สถานีเจริญนคร สามารถเดินทางไปยังอาคารบางแห่งด้วยเรือรับส่งจากท่าเรือไอคอนสยาม ดังต่อไปนี้
- เรือรับส่งของศูนย์การค้าไอคอนสยาม
- อาคารเอ็นทีบางรัก
- อาคารไปรษณีย์กลาง
- ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้
รูปแบบของโครงการ
[แก้]- เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover Transit)
- ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 14-17 เมตรตลอดทั้งโครงการ
- มีรางจ่ายไฟบริเวณกึ่งกลางทางวิ่ง สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้า (ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์) ป้อนให้กับระบบขับเคลื่อนของตัวรถ
- ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถที่ศูนย์ควบคุมรถหมอชิตของรถไฟฟ้าบีทีเอส ความถี่เดินรถ 4-5 นาที สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 4,200 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง สามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุม และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
[แก้]โครงการมีสถานีซ่อมบำรุงขนาดย่อยต่อจากสถานีกรุงธนบุรีโดยใช้โครงสร้างร่วมกัน (ในลักษณะเดียวกับสถานีซ่อมบำรุงย่อยบางหว้า ถนนราชพฤกษ์) สถานีซ่อมบำรุงดังกล่าวจะไว้ใช้สำหรับงานบำรุงรักษาที่ไม่หนักจนเกินควร ในส่วนของการจอดพักขบวนรถหลังปิดให้บริการ จะใช้วิธีการจอดตามสถานีรายทางเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับให้บริการในวันถัดไป แต่สำหรับการซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) จะใช้วิธีการถอดขบวนรถออกจากระบบเพื่อนำไปซ่อมที่ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส โครงการมีศูนย์ควบคุมการเดินรถระยะไกลตั้งอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต (ที่ทำการใหญ่ของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) และมีศูนย์ควบคุมสำรองอยู่ภายในสถานีซ่อมบำรุงกรุงธนบุรี
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีต้นทาง (กรุงธนบุรี)
สถานี
[แก้]มีทั้งหมด 3 สถานี (และสถานีเพิ่มเติมในอนาคตอีก 1 สถานี) เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 40-50 เมตร ชานชาลายาว 42-48.5 เมตร สามารถรองรับรถไฟฟ้าได้สูงสุด 3 คันต่อขบวน มีทั้งรูปแบบชานชาลาด้านข้างและชานชาลากลาง มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง (Half-height) ทุกสถานี ตัวสถานีออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณทางเดินเท้าริมถนนในบางช่วง
ขบวนรถไฟฟ้า
[แก้]รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง ได้เลือกใช้รถไฟฟ้ารุ่น อินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 จากบอมบาร์ดิเอร์ เป็นรถไฟฟ้าแบบเดียวกับที่ใช้งานในโครงการรถไฟฟ้าแอลอาร์ที สาย Bukit Panjang ประเทศสิงคโปร์ ผลิตโดยซีอาร์อาร์ซี ผู่เจิ้น บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชัน ซิสเท็ม (CRRC-PBTS) ในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน ขนาดกว้าง 3.6 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 3.7 เมตร จุผู้โดยสารได้สูงสุด 280 คันต่อขบวน รองรับผู้โดยสารสูงสุด 4,200 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางไปกลับ รับไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์จากรางนำทางที่ติดตั้งบนโครงสร้าง ตัวยางล้อใช้ยางรุ่น เอ็กซ์ เมโทร จากมิชลิน ประเทศไทย มีทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 คัน จัดส่งจากประเทศจีนถึงไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบังครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563[8] และยกขึ้นสู่สถานีกรุงธนบุรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ระบบในการเดินรถ
[แก้]ในการเดินรถไฟฟ้าได้นำระบบอาณัติสัญญาณ CITYFLO 650 ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว, ปลอดภัยสูงสุด และรองรับการเดินรถไฟฟ้าแบบไม่ใช่คนควบคุมขบวนรถ โดยโครงการนี้ถือเป็นโครงการต้นแบบในการนำระบบอาณัติสัญญาณอัตโนมัติมาใช้ในการเดินรถแบบไม่ใช้คนควบคุม (Driverless Operation) ซึ่งผลที่ได้บีทีเอสซีจะนำไปปรับใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองต่อไป
การให้บริการ
[แก้]การดำเนินการ
[แก้]ภายหลังจากที่ กรุงเทพมหานคร ได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างจาก บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด หรือศูนย์การค้าไอคอนสยาม เป็นจำนวนเงิน 2,080 ล้านบาท เพื่อขอให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อไม่ให้เป็นการปฏิบัติขัดต่อ พ.ร.บ. องค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานครจึงเซ็นสัญญามอบสัมปทานโครงการให้กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินงาน โดยกรุงเทพธนาคมได้ว่าจ้างให้ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธาของโครงการในราคาต่ำสุดที่ 1,070 ล้านบาท และได้ว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ซึ่งเป็นผู้เสนองานติดตั้งระบบรถไฟฟ้าในราคาต่ำสุดที่ 13,520 ล้านบาท โดยบีทีเอสซี ได้ว่าจ้างกลุ่มกิจการร่วมค้าซึ่งประกอบไปด้วย บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอสที อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบเครื่องกล ระบบการจัดเก็บค่าโดยสาร และระบบโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนบีทีเอสซีจะรับหน้าที่เป็นผู้เดินรถไฟฟ้า จัดเก็บค่าโดยสาร และซ่อมบำรุงรักษาโครงการตลอดอายุสัมปทานของกรุงเทพธนาคม หรือจนกว่าสัญญาสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสหมดอายุ
การพัฒนาและบริหารพื้นที่บนสถานีและป้ายโฆษณาบนสถานีและบนตัวรถ เป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน ถือเป็นหนึ่งในข้อตกลงในการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างโครงการ โดยไอคอนสยาม มีแผนใช้โครงการประชาสัมพันธ์ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในศูนย์การค้าไอคอนสยาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มยอดลูกค้าของศูนย์การค้าโดยตรง
การให้บริการปกติ
[แก้]รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง เปิดให้บริการเดินรถโดยเริ่มเดินรถขบวนแรกในเวลา 06.00 น. จากสถานีกรุงธนบุรี และสถานีคลองสาน โดยความถี่การเดินรถจะขึ้นอยู่กับเวลา และความหนาแน่นของผู้โดยสาร และจะมีรถให้บริการตลอดวันจนถึงเวลา 24.00 น. ของแต่ละวัน แต่สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเชื่อมต่อไปยัง รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท มุ่งหน้าสถานีปลายทางเคหะฯ หรือสถานีปลายทางคูคต จะต้องขึ้นรถขบวนสุดท้ายในเวลา 23.41 น. (สถานีคลองสาน) และ 23.42 น. (สถานีเจริญนคร) ตามลำดับ เพื่อให้เดินทางมายังสถานีกรุงธนบุรีได้ทันรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมเชื่อมต่อสายสุขุมวิทเต็มระยะสองขบวนสุดท้าย
อัตราค่าโดยสาร
[แก้]รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 16 บาทตลอดสาย โดยมีส่วนลดพิเศษให้กับผู้ถือบัตรโดยสารประเภทผู้สูงอายุที่ 8 บาทตลอดสาย ทั้งนี้ค่าโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง ไม่ได้รวมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก ผู้โดยสารที่จะเดินทางจากรถไฟฟ้าสายหลักไปสถานีสายสีทอง จะต้องชำระค่าโดยสารเพิ่มต่างหากที่สถานีกรุงธนบุรีเพื่อเข้าสู่ระบบของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทองต่อไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เส้นทางและอัตราค่าโดยสาร". BTS Skytrain. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
- ↑ "สายสีทอง". บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีทองได้แค่ 7 พันจาก 3 หมื่น ผู้โดยสารต่ำจากประมาณการ KT หาทางแก้". www.thairath.co.th. 2024-06-05.
- ↑ ประยุทธ์ กดปุ่มเปิด “รถไฟฟ้าสีเขียว-สีทอง” คูคต-ไอคอนสยาม ยังนั่งฟรี - ประชาชาติธุรกิจ 16 ธันวาคม 2563
- ↑ "ประเมิน6เดือนสร้างเฟส 2'สายสีทอง' เพิ่ม'สถานีประชาธิปก'". dailynews. 2020-10-08.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2022-07-26). "ผู้โดยสารลดฮวบ กทม.พับแผนสร้าง 'รถไฟฟ้าสายสีทอง'เฟส 2". thansettakij.
- ↑ 7.0 7.1 สำนักการจราจรและการขนส่ง กรุงเทพมหานคร (21 November 2017). รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก). สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ “รถไฟฟ้าสายสีทอง” ขบวนแรกถึงไทยแล้ว เตรียมทดสอบระบบเดือนนี้