ข้ามไปเนื้อหา

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้าเอรา วัน ซิตี้(แอร์พอร์ตเรลลิงก์)
รถไฟฟ้าซิตี้ไลน์ หมายเลข 1 ณ สถานีพญาไท
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่น
  • รถไฟฟ้าเออาร์แอล
  • รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
��ถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
ปลายทาง
จำนวนสถานี10 (ทั้งหมด)
8 (เปิดให้บริการ)
2 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้าชานเมือง, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน
ระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ผู้ดำเนินงานบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด
(สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2612)
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน สำนักบริหารโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย
ขบวนรถSiemens Desiro Bangkok Class 360/3
ผู้โดยสารต่อวัน85,888 คน[1]
(31 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
ประวัติ
เปิดเมื่อ23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (14 ปีก่อน)[2]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง
  • 28.4 km (17.6 mi) (ประมาณ)
  • 48.6 km (30.2 mi) (โครงการ)
จำนวนทางวิ่ง2
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ และใต้ดินในสถานีสุวรรณภูมิ
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV 50 Hz จ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็ว120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง)
อาณัติสัญญาณSiemens LZB 700M
แผนที่เส้นทาง

ดอนเมือง ท่าอากาศยานดอนเมือง
กรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีบางซื่อ
พญาไท
ราชปรารภ ทางรถไฟสายตะวันออก
มักกะสัน
รามคำแหง ทางรถไฟสายตะวันออก
หัวหมาก
บ้านทับช้าง ทางรถไฟสายตะวันออก
ลาดกระบัง ทางรถไฟสายตะวันออก
สุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สุวรรณภูมิใต้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพมหานคร, รถไฟฟ้าเอรา วัน ซิตี้ (อังกฤษ: AERA1 CITY) หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์[3] (อังกฤษ: Airport Rail Link) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ เดิมอยู่ในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ภายหลังรัฐบาลได้นำโครงการนี้มาเป็นโครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อ พ.ศ. 2553 โดยบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ต่อมาได้มีการโอนกิจการทั้งหมดให้กับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เพื่อรวมเส้นทางสายนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ประวัติ

[แก้]

ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชน เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการเข้า-ออกท่าอากาศยานฯ โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างทั้งงานโยธา และจัดหาผู้ให้บริการ โดยในระยะแรกหลังการลงมติ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปรับรายละเอียดของโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน เฉพาะช่วงลาดกระบัง - พระจอมเกล้าฯ ให้มีแนวเส้นทางแยกเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่จากความล่าช้าในการออกแบบ ตลอดจนความล่าช้าในการปรับแบบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงความชัดเจนของโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ทำให้ในคราวการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้แยกการก่อสร้างออกมาดำเนินการต่างหาก และตั้งเป้าใช้โครงการนี้เป็นโครงการต้นแบบในการก่อสร้างของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงแทน

การก่อสร้างสามารถเริ่มดำเนินการได้เมื่อ พ.ศ. 2549 ก่อนเปิดใช้ท่าอากาศยานเพียงไม่กี่เดือน และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นในหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในเรื่องข้อสรุปของผู้ดำเนินการรถไฟฟ้า ความปลอดภัยโดยรวมของทั้งระบบ รวมไปถึงการที่ผู้รับเหมาไม่ยอมเซ็นโอนโครงการให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และความล่าช้าในการก่อตั้งบริษัทดำเนินการ จนในที่สุดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ก็เริ่มดำเนินการเปิดทดสอบแบบวงจำกัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552 จากนั้นก็ได้เปิดทดสอบแบบไม่จำกัดจำนวนอีกครั้งในวันที่ 5-7 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และเปิดทดสอบระบบกับสื่อมวลชนกลุ่มเล็ก ๆ เรื่อยมาจนถึงช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 เดิมทีการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งเป้าเปิดทดสอบการเดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น ทำให้ต้องเลื่อนการทดสอบจริงออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยในระยะแรกเป็นการดำเนินการเปิดทดสอบฟรีในช่วงเช้าและเย็นเฉพาะจากสถานีมักกะสันถึงสถานีสุวรรณภูมิ แล้วค่อยทยอยเปิดเพิ่มทีละสถานีจนสามารถเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

ในระยะแรก รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ว่าจ้างด็อยท์เชอบานเป็นผู้เดินรถชั่วคราวเนื่องจากไม่มีประสบการณ์ โดยเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย สำหรับการเดินทางในด้วยรถซิตี้ไลน์ ก่อนปรับเป็นอัตราค่าโดยสารตามระยะทางสูงสุด 15-45 บาท ในเดือนธันวาคม และเริ่มเปิดให้บริการรถเอ็กซ์เพรสไลน์และจุดเช็คอินในเมืองในเดือนเดียวกันด้วยอัตราค่าโดยสาร 160 บาทต่อเที่ยว ทำให้แผนการใ���้บริการถูกร้องเรียนจากประชาชนอย่างหนัก และประชาชนหันไปใช้บริการรถซิตี้ไลน์และเผื่อระยะเวลาการเดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิแทนเพราะมีราคาถูกกว่า ทำให้ใน พ.ศ. 2554 หลังสัญญาว่าจ้างด็อยท์เชอบานหมดลง รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ได้ปรับแผนการให้บริการใหม่ ด้วยการเปิดให้บริการ พญาไท เอ็กซ์เพรส ไลน์ ให้บริการจากชานชาลา 1 สถานีพญาไท ไปสถานีปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในอัตราค่าโดยสาร 90 บาท พร้อมทั้งลดราคาค่าโดยสารมักกะสัน เอ็กซ์เพรส ไลน์ ลงมาเหลือ 90 บาทเช่นกัน จนกระทั่ง พ.ศ. 2556 เกิดเหตุที่ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ไม่สามารถบริหารอะไหล่ให้เพียงพอต่อการให้บริการ และขบวนรถเข้าสู่ระยะการเดินรถเกินระยะการรับประกันและต้องเข้าซ่อมบำรุงใหญ่ ทำให้ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ตัดสินใจยุติการให้บริการเอ็กซ์เพรส ไลน์ ทั้งสองสาย เพื่อนำขบวนรถเข้ามาเพิ่มความถี่ให้รถซิตี้ไลน์แทน และทำให้คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งนำโดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รศ. ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ศึกษาในการเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานที่ดำเนินการไม่ได้ตามแผนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้งบประมาณการพัฒนารถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาทของกระทรวงคมนาคม แต่แล้วแผนทั้งหมดก็ถูกระงับเนื่องมาจาก ศาลรัฐธรรณูญวินิจฉัยแล้วว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขัดและแย้งกับเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8 จนกระทั่งในสมัยคณะรัฐมนตรีนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยให้เอกชนเซ้งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปดำเนินการควบคู่ด้วย

รูปแบบการให้บริการ

[แก้]
  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 20 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้นช่วงเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าจะลดลงเป็นระดับดินหลังข้ามถนนสุวรรณภูมิ 2 แล้วลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวดิน
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยบางกะปิของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

รายชื่อสถานีรถไฟฟ้า

[แก้]
สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (สถานีมักกะสัน)
ชื่อและรหัสของสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
A1 สุวรรณภูมิ สายสีเงิน สถานีสุวรรณภูมิ (โครงการ) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 สมุทรปราการ
A2 ลาดกระบัง สายสีแดงอ่อน สถานีลาดกระบัง (โครงการ) กรุงเทพมหานคร
A3 บ้านทับช้าง สายสีแดงอ่อน สถานีบ้านทับช้าง (โครงการ)
A4 หัวหมาก สายสีเหลือง สถานีหัวหมาก
สายสีแดงอ่อน สถานีหัวหมาก (โครงการ)
A5 รามคำแหง สายสีแดงอ่อน สถานีรามคำแหง (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่ารามคำแหง 1
A6 มักกะสัน สายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี
สายสีแดงอ่อน สถานีมักกะสัน (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าอโศก
A7 ราชปรารภ สายสีส้ม สถานีราชปรารภ (กำลังก่อสร้าง)
A8 พญาไท สายสุขุมวิท สถานีพญาไท
สายสีแดงอ่อน สถานีพญาไท (โครงการ)
ภายในห้องโดยสารรถไฟฟ้าซิตี้ไลน์ขณะดำเนินการทดสอบแบบวงจำกัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2552

การเชื่อมต่อ

[แก้]

เส้นทางคมนาคมทางราง

[แก้]

รถไฟทางไกล

[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟทางไกล ได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีรถทางไกล หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริกาบแล้ว
A2 สถานีลาดกระบัง สายตะวันออก : สถานีลาดกระบัง เชื่อต่อโดยตรง
A3 สถานีบ้านทับช้าง สายตะวันออก : สถานีบ้านทับช้าง เชื่อต่อโดยตรง
A4 สถานีหัวหมาก สายตะวันออก  : สถานีหัวหมาก เชื่อต่อโดยตรง
A5 สถานีรามคำแหง สายตะวันออก : ป้ายหยุดรถไฟสุชุมวิท 71 เชื่อต่อโดยตรง
A6 สถานีมักกะสัน สายตะวันออก  : ป้ายหยุดรถไฟอโศก เชื่อต่อโดยตรง
A8 สถานีพญาไท สายตะวันออก : ป้ายหยุดรถไฟพญาไท เชื่อต่อโดยตรง
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่ยังไมเปิดให้บริการ
A9 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สายเหนือ : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เชื่อมต่อโดยตรง
สายตะวันออกเฉียงเหนือ : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สายใต้ : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
A10 สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง สายเหนือ : สถานีดอนเมือง เชื่อมต่อโดยตรงภายในสถานี
สายตะวันออกเฉียงเหนือ : สถานีดอนเมือง

รถไฟฟ้าชานเมือง

[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมือง ได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่ยังไมเปิดให้บริการ [4]
A2 สถานีลาดกระบัง RE08 สายสีแดงอ่อน  : สถานีลาดกระบัง เชื่อมต่อโดยตรง
A3 สถานีบ้านทับช้าง RE07 สายสีแดงอ่อน  : สถานีบ้านทับช้าง
A4 สถานีหัวหมาก RE06 สายสีแดงอ่อน  : สถานีหัวหมาก
A5 สถานีรามคำแหง RE05 สายสีแดงอ่อน  : สถานีรามคำแหง
A6 สถานีมักกะสัน RE04 สายสีแดงอ่อน  : สถานีมักกะสัน
A8 สถานีพญาไท RE03 สายสีแดงอ่อน  : สถานีพญาไท
A9 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ RN01
RS01
สายสีแดงเข้ม  : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
RW01
RE01
สายสีแดงอ่อน  : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
A10 สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง RN08 สายสีแดงเข้ม  : สถานีดอนเมือง เชื่อมต่อโดยทางเดินยกระดับ

รถไฟฟ้าบีทีเอส

[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
A8 สถานีพญาไท N2 สายสุขุมวิท : สถานีพญาไท เชื่อมโดยใช้สถานีรถไฟฟ้าพญาไทของบีทีเอสเป็นตัวกลาง

รถไฟฟ้ามหานคร

[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้ามหานคร ได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้ามหานคร หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
A4 สถานีหัวหมาก YL11 สายสีเหลือง : สถานีหัวหมาก เชื่อมต่อโดยตรง
A6 สถานีมักกะสัน BL21 สายสีน้ำเงิน : สถานีเพชรบุรี ทางเดินยกระดับ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่ยังไม่เปิดให้บริการ
A1 สุวรรณภูมิใต้ SL11 สายสีเงิน : สุวรรณภูมิใต้ เชื่อมต่อโดยตรงภายในอาคารผู้โดยสาร
A7 สถานีราชปรารภ OR09 สายสีส้ม : สถานีราชปรารภ ทางเดินยกระดับ
A9 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ BL11 สายสีน้ำเงิน : สถานีบางซื่อ ทางเดินยกระดับ

เส้นทางคมนาคมทางน้ำ

[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือโดยสารคลองแสนแสบ ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ท่าเรือคลองแสนแสบ หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
A5 สถานีรามคำแหง  เรือโดยสารคลองแสนแสบ  : ท่าเรือรามคำแหง 1
A6 สถานีมักกะสัน  เรือโดยสารคลองแสนแสบ  : ท่าเรืออโศก เชือมต่อโดยผ่านทางออกหมายเลข 2 ของสถานีเพชรบุรี

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

[แก้]

ทางเดินเข้าอาคาร

[แก้]

ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ดังนี้

รถบริการรับส่ง

[แก้]

ปัจจุบันมีเอกชนร่วมให้บริการรถรับส่งจากสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปยังสถานที่ แต่ละฝ่ายให้บริการอยู่ โดยปัจจุบันมีดังนี้

  • มักกะสัน (อาคารสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ชั้น G) – สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต แบงค็อก
  • หัวหมาก – เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ (เฉพาะวันที่มีการแสดง BNK48 The Campus เท่านั้น ให้บริการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ สามรอบ ได้แก่ 11.00 และ 15.00 น. วันเสาร์ และ 15.00 น. วันอาทิตย์)
  • ลาดกระบัง – เซ็นทรัล วิลเลจ
  • สุวรรณภูมิ (ทางออกโรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุวรรณภูมิ) – เซ็นทรัล วิลเลจ

บริการ

[แก้]

การให้บริการปกติ

[แก้]

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดให้บริการเดินรถในแต่ละสถานีไม่เท่ากัน โดยเริ่มเดินรถขบวนแรกในเวลา 05.30 น. จากสถานีสุวรรณภูมิ และสถานีพญาไท โดยความถี่การเดินรถตามปกติอยู่ที่ 10-15 นาที และมีขบวนรถขบวนสุดท้ายให้บริการในเวลา 0.05 น. ก่อนปิดให้บริการในเวลา 0.30 น. ทั้งนี้ผู้โดยสารต้องใช้งานบัตรโดยสารให้ถูกประเภท

ตั้งแต่เวลา 7.00 - 9.00 น. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะมีขบวนรถระยะสั้นให้บริการจากสถานีพญาไทจนถึงสถานีหัวหมาก ผู้ที่มากับขบวนรถระยะสั้นและต้องการเดินทางต่อไปยังสถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง และสถานีสุวรรณภูมิ จะต้องรอรถขบวนถัดไปที่สถานีหัวหมาก โดยใช้เวลารอขบวนถัดไป 10 นาที

อัตราค่าโดยสาร

[แก้]
  1. อัตราค่าโดยสารสำหรับเหรียญโดยสาร
    • บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท
  2. อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตร AERA1 Smart Pass และ ARL Smart Pass
    • บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 15 บาทสูงสุด 45 บาท
    • นักเรียน นักศึกษา รับส่วนลด 20% จากอัตราค่าโดยสารของบุคคลทั่วไป
    • ผู้สูงอายุ รับส่วนลด 50% จากอัตราค่าโดยสารของบุคคลทั่วไป
    • สุวรรณภูมิแคร์เรียร์พาส อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาทกรณีเดินทางด้วยรถซิตี้ไลน์ และอัตราค่าโดยสารพิเศษเที่ยวละ 45 บาท กรณีเดินทางด้วยรถเอ็กซ์เพรสไลน์ (มักกะสัน - สุวรรณภูมิ) ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรใบนี้จะต้องเป็นพนักงานของสายการบินในประเทศทุกสายการบิน พนักงานภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทุกตำแหน่ง พนักงานภาคเอกชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เท่านั้น
    • หมายเหตุ: บัตร ARL Smart Pass จะถูกยกเลิกการใช้งานตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป โดยผู้ถือบัตรทั่วไป บัตรนักเรียน และบัตรผู้สูงอายุ สามารถขอเปลี่ยนเป็นบัตร AERA1 Smart Pass by True Money ได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ผู้ถือบัตรเดิมยังคงสามารถเติมเงินลงในบัตรได้ตามปกติ
    • บัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ เริ่มต้น 15 บาทสูงสุด 45 บาท โดยมีงบค่าโดยสารในบัตรให้เดือนละ 500 บาท
  3. เงื่อนไขการใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา
    • ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา จะต้องมีอายุไม่เกิน 23 ปี และ/หรือไม่เกินวันเกิดอายุครบ 23 ปี ในสังกัดสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ขอสงวนสิทธิ์ให้ใช้ร่วมกับบัตรนักเรียน/นักศึกษาและบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่แสดงอายุได้ กรณีที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าวเมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ หรือใช้บัตรโดยสารผิดประเภทบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้โดยสารในอัตราไม่เกิน 20 เท่าของอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ บริษัทเรียกเก็บ ณ เวลานั้นๆ พร้อมทั้งส่งดำเนินคดีความตามกฎหมาย

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

[แก้]
  1. สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 12 ปี และ/หรือ ไม่เกินวันเกิดอายุครบ 12 ปี และมีช่วงความสูงไม่เกิน 90 ซม. ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร
  2. สำหรับประชาชนทุกคนในโอกาสวันสำคัญทางราชการเช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฯลฯ โดยสารรถไฟฟ้าโดยได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลา ที่ประกาศกำหนด
  3. สำหรับประชาชนทุกคนในพิธีการสำคัญระดับประเทศ เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯลฯ โดยสารรถไฟฟ้าโดยได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลา ที่ประกาศกำหนด
  4. สำหรับประชาชนที่เป็นบิดาหรือมารดาในวันพ่อแห่งชาติ และ วันแม่แห่งชาติ
  5. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปๆด้รับการยกเว้นค่าโดยสารช่วงวันสงกรานต��� 13-15 เมษายน

การสนับสนุนภาครัฐ

[แก้]
คนพิการขึ้นรถไฟฟ้าฟรี

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นระบบรถไฟฟ้าที่สนับสนุนโยบายภาครัฐในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ถือบัตรผู้พิการ โดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรผู้พิการและไม่จำกัดการใช้งานและระยะทางรวมถึงระยะเวลาในการใช้สิทธิ หรือตลอดชีวิตจนกว่าผู้พิการจะถึงแก่ความตาย รวมถึงสนับสนุนการใช้ลิฟต์เพื่อผู้พิการ การลัดคิว ในกรณีเร่งเด่น ทั้งนี้ผู้พิการจำเป็นต้องแสดงบัตรทุกครั้งก่อนใช้สิทธิเหล่านี้ เพื่อให้พนักงานจดบันทึกและบอกสถานีปลายทาง อย่างไรก็ตามหากประสงค์จะเปลี่ยนสถานีกะทันหันก็สามารถกระทำได้ ผู้พิการจะมีผู้ดูแลหรือไม่ดูแลมาด้วยหรือไม่ก็ได้เพียงแต่สิทธิจะให้เพียงแต่ผู้ถือบัตรผู้พิการที่ ออกโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เท่านั้น ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269/1 ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท มาตรา 269/4 ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งสิ่งใดๆ ตาม มาตรา 269/1 อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสิ่งใดๆ ที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้นตาม มาตรา 269/1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นผู้ปลอมซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา 269/1 ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว[5]ทั้งนี้ตั้งแต่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี

ตามนโยบายของภาครัฐฯ ที่ต้องการสนับสนุนสวัสดิการในการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทโดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ธนาคารกรุงไทยจึงได้ผนวกบัตรแมงมุมเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมมณฑล รวมถึงจังหวัดบริวารโดยรอบ และกำหนดให้มีงบค่าโดยสารในบัตรเดือนละ 500 บาท โดยผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปใช้งานที่สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองได้ทันทีเมื่อเปิดใช้บริการ

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ร่วมกับกรมบัญชีกลาง และธนาคารกรุงไทย พร้อมให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ได้ฟรีตั้งแต่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โดยผู้โดยสารจะต้องแสดงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อรับเหรียญโดยสารรถไฟฟ้าแบบเที่ยวเดียว จำกัดครั้งละ 2 เหรียญ ทั้งนี้ยอดค่าโดยสารต้องไม่เกินวงเงินคงเหลือในบัตร และไม่เกินกรอบวงเงินสำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน 500 บาท/เดือน หากใช้บริการเกินวงเงิน เจ้าหน้าที่จะออกเหรียญโดยสารเที่ยวเดียวมูลค่าต่ำสุด (15 บาท) ให้ผู้ถือบัตรฯ สามารถเข้าระบบได้ และผู้ถือบัตรฯ จะต้องชำระส่วนต่างที่เหลือที่สถานีปลายทางก่อนออกจากระบบ

การช่วยเหลือคนที่มีความต้องการพิเศษ

การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการออกแบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สำหรับผู้พิการโดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ที่จอดรถของผู้พิการโดยเฉพาะ ลิฟท์โดยสารที่มีขนาดกว้างเป็นพิเศษทำให้ผู้ที่นั่งรถเข็นสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย ภายในลิฟท์มีอักษรเบลและเสียงแจ้งบอกชั้นที่ใช้บริการอยู่สำหรับผู้พิการทางสายตา ภายในรถไฟฟ้าก็จัดพื้นที่โดยสารในส่วนของผู้พิการไว้โดยเฉพาะ นอกจากนั้นการออกแบบช่องจำหน่ายบัตรโดยสาร ทางเข้า-ออก ก็คำนึงถึงผู้พิการ โดยมีความสูงและความกว้างเหมาะกับผู้ที่นั่งรถเข็นอีกด้วย พร้อมทั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของคนพิการก็จะมีบอกไว้เป็นระยะ พร้อมทั้งพนักงาน รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยมีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้มีความพิการ อาทิ การจูงผู้พิการทางสายตาไปยังสถานี การให้บริการติดตามผู้โดยสารที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษโดยให้พนักงานเดินทางไปด้วย เช่น ผู้โดยสารที่เดินทางครั้งแรก ฯลฯ เพียงท่านแจ้งให้พนักงานสถานีทราบเท่านั้น

การรักษาความสะอาด

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อยู่ภายใต้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535[6] ซึ่งหากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,000 บาท ทั้งนี้อาจมีข้อบังคับอื่น ๆ เช่นห้ามนำอาหารที่มีกลิ่นแรงเข้าภายในสถานีรถไฟฟ้า ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม และสุราภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า, ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล, ห้ามถมน้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ ,อาเจียน, ปัสสาวะ และคายหมากฝรั่งภายในสถานีบริเวณสถานีอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืน จะมีโทษ ตามกฎกระทรวง และพรบ.ความสะอาด จำคุก 1 เดือน ปรับ 3000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การสูบบุหรี่ภายในสถานีถือว่ามีความผิด มีโทษปรับ 2,000 บาท และหากทิ้งบุหรี่ภายในสถานีจะมีโทษปรับเพิ่ม 2,000 บาท อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 [7]และพระราชบั���ญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

การตรวจค้นกระเป๋า

[แก้]

อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 63 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวงหรือตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1.ค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย[8]พนักงานเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จึงมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 การตรวจค้นสิ่งของในความครอบครองของบุคคลในที่สาธารณะจะกระทำไม่ได้เลย เว้นแต่เจ้าพนักงานปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด[9]

เจ้าหน้าที่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 93 ตรวจค้นบุคคลที่เครื่องตรวจจับโลหะชนิดเดินผ่าน[10]ส่งสัญญาณเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด [11]

บริการอื่นๆ

[แก้]
  • ที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร มีพื้นที่จอดรถสำหรับการจอดรถให้ทุกสถานี และมีพื้นที่สำหรับการจอดรถแบบรายวัน ที่สถานีมักกะสัน ซึ่งสามารถจอดได้ประมาณ 500 คัน
  • ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีบริการศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและซื้อสินค้าที่สถานีพญาไท (ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท) สถานีมักกะสัน และสถานีสุวรรณภูมิ (โดยกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
  • ศูนย์การค้า มีบริการร้านค้าและร้านอาหารภายในสถานีทุกแห่ง อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตให้นำเข้าในบริเวณพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารแล้ว
  • ธนาคาร และจุดแลกเงินตรา มีบริการธนาคารสาขาของ ธนาคารทหารไทย และธนาคารกรุงไทย ที่สถานีสุวรรณภูมิ และมีบริการจุดแลกเงินตราต่างประเทศที่สถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ
  • ตู้ถอนเงิน มีบริการตู้ถอนเงินทุกสถานี จากหลากหลายธนาคาร ปัจจุบันมี 6 ธนาคาร
  • โทรศัพท์ ในอดีตโครงการมีบริการโทรศัพท์จากทีโอทีให้บริการในสถานี นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ เอไอเอส, ดีแทค และ ทรูมูฟ เอช ในการวางโครงข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3G และ 4G ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า และมีบริการ Free Wi-Fi on Station และ Charging Station โดยความร่วมมือกับ กสท. โทรคมนาคม และ ทีโอที ให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ฟรีขณะรอรถไฟฟ้าบนสถานี

สถิติผู้ใช้บริการ

[แก้]
  • 4 กันยายน พ.ศ. 2561 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า จากการเก็บรวบรวมสถิติผู้ใช้บริการตลอดปี 2561 ที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราการใช้บริการของผู้โดยสารสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการสูงสุดต่อเดือนนับตั้งแต่เริ่มให้บริการที่จำนวน 2,102,326 คน รวมทั้งในวันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2561 มียอดผู้โดยสารสูงสุดในหนึ่งวัน ( New High ) ที่จำนวน 85,888 คน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่บริษัทได้ดำเนินการตามแผนงานและนโยบายที่วางไว้ โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดในส่วนงานซ่อมบำรุง ที่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) ที่วางไว้ ทำให้มีขบวนรถไฟฟ้าใช้บริการได้ 8 ขบวน จึงสามารถทำให้รองรับความต้องการใช้บริการของผู้โดยสารได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆที่ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการจัดกิจกรรม งานนายอินสนามอ่านเล่น บริเวณแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีมักกะสัน ซึ่งจากการที่มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการสูงขึ้นทำให้ในเดือนสิงหาคม 2561 บริษัทได้รับรายได้จากการให้บริการมากสุดต่อเดือนนับตั้งแต่เปิดให้บริการจำนวน 64,199,674 บาท โดยจากอัตราความต้องการใช้บริการของผู้โดยสารที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น บริษัทจึงเตรียมแผนการดำเนินงานต่างๆในการให้บริการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และรองรับกับความต้องการใช้บริการของผู้โดยสารได้อย่างเพียงพอ โดยเตรียมติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสเตนเลสใน 7 สถานี รวม 14 ชานชาลา คาดว่าจะใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 2-3 เดือน รวมทั้งเตรียมดำเนินการติดตั้งยางปิดช่องว่างระหว่างชานชาลาและประตู (Platform Gap Filler) เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร และเร่งดำเนินการซ่อมบำรุงขบวนรถไฟฟ้าให้กลับมาใช้บริการได้ 9 ขบวน ภายในเดือน ธันวาคม 2561 นี้ [12]

ส่วนต่อขยาย

[แก้]

ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ในย่านศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และท่าอากาศยานดอนเมือง และจากทางด้านทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี และเดินทางไปถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แอร์พอร์ต ลิงก์โชว์ยอดผู้โดยสารเพิ่ม สิงหาคมแตะ2.1ล้านคน
  2. Oops! We ran into some problems.
  3. "Airport Rail Link". www.srtet.co.th.[ลิงก์เสีย]
  4. จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง
  5. การสนับสนุนภาครัฐ
  6. พระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
  7. อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2018-09-28.
  9. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93
  10. อุ่นใจนั่ง “รถไฟฟ้า MRT” เที่ยวปีใหม่
  11. กฎหมายฮาเฮ : ตรวจกระเป๋าก่อนลงรถไฟใต้ดิน
  12. แอร์พอร์ต ลิงก์โชว์ยอดผู้โดยสารเพิ่ม สิงหาคมแตะ2.1ล้านคน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เก็บถาวร 2014-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน