ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโกะ-ซันโจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิโกะ-ซันโจ
後三条天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์22 พฤษภาคม ค.ศ. 1068 – 18 มกราคม ค.ศ. 1073
ราชาภิเษก21 สิงหาคม ค.ศ. 1068
ก่อนหน้าโกะ-เรเซ
ถัดไปชิรากาวะ
ประสูติ3 กันยายน ค.ศ. 1034 [1]
เฮอังเกียว (ปัจจุบัน: เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น) [2]
ทากาฮิโตะ (尊仁、たかひと) [3]
สวรรคต15 มิถุนายน ค.ศ. 1073 (38 พรรษา) [4]
เฮอังเกียว (ปัจจุบัน: เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น) [5]
ฝังพระศพเอ็นโซ-จิ โนะ มิซาซางิ (圓宗寺陵; เกียวโต)
คู่อภิเษกคาโอรูโกะ (สมรส 1051)
พระราชบุตร
พระ��ามเต็ม
ทากาฮิโตะ (尊仁たかひと)
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิโกะ-ซันโจ (後三条院 หรือ 後三条天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโกะ-ซูซากุ
พระราชมารดาเทชิ

จักรพรรดิโก-ซันโจ (ญี่ปุ่น: 後三条天皇โรมาจิGo-Sanjō-tennō; 3 กันยายน ค.ศ. 1034 - 15 มิถุนายน ค.ศ. 1073)[6] เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 71[7] ตามที่ได้บันทึกไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[8] พระองค์มีพระนามเดิมว่า ทากาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 尊仁โรมาจิTakahito)[9]

จักรพรรดิโกะ-ซันโจครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1068 ถึง 1073[10]

พระนามของพระองค์นำมาจากพระนามของจักรพรรดิซันโจ พระอัยกา และ โกะ- (後) มีความหมายตรงตัวว่า "ยุคหลัง" ดังนั้น จึงมีการเรียกพระองค์ในบางครั้งเป็น "จักรพรรดิซันโจยุคหลัง" หรือในข้อมูลเก่ากว่าบางแหล่งอาจระบุเป็น "จักรพรรดิซันโจที่ 2"

ในรัชสมัยของพระองค์ การยึดครองอำนาจของตระกูลฟูจิวาระแตกหักลง หลังรัชสมัยของโกะ-ซันโจ อำนาจของพวกเขาเริ่มเสื่อมถอยจนถึง ค.ศ. 1150 ที่อำนาจของตระกูลหายไปจนหมดสิ้น

พระราชประวัติ

[แก้]
จักรพรรดิโะก-ซันโจผู้สละราชสมบัติ, ภาพอูกิโยะ

ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ โกะ-ซันโจมีพระนามส่วนพระองค์ (諱, อิมินะ)[11] ว่า เจ้าชายทากาฮิโตะ (尊仁親王, たかひとしんのう)[9]

เจ้าชายทากาฮิโตะเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิโกะ-ซูซากุกับพระราชมารดานามจักรพรรดินี (โคโง) ซาดาโกะ (禎子内親王) พระราชธิดาองค์ที่ 3 ในจักรพรรดิซันโจ ทำให้พระองค์เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกในรอบ 170 ปี (นับตั้งแต่จักรพรรดิอูดะ) ที่พระราชมารดามิได้สืบจากตระกูลฟูจิวาระทางฝ่ายบิดา พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์เป็นหลานทางฝ่ายมารดาของฟูจิวาระ โนะ มิจินางะ จักรพรรดินีมารดามีอีกพระนามว่า เทชิ และโยเม-มง อิง (1012–94)[12] การที่โกะ-ซันโจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตระกูลฟูจิวาระทำให้พระองค์ไม่ได้ตกเป็นหนี้ในความภักดีเป็นพิเศษต่อพวกเขา นั่นหมายความว่าพระองค์สามารถต่อต้านพวกเขาได้

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิโก-ซันโจ

[แก้]
  • 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1068 (วันที่ 19 เดือน 4 ปี จิเรียกุ ที่ 4): ปีที่ 23 ในรัชสมัยจักรพรรดิโก-เรเซสวรรคตโดยไร้รัชทายาททำให้ราชบัลลังก์มาอยู่ที่เจ้าชายทะกะฮิโตะพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาที่รัชทายาทพระชนมายุ 33 พรรษาขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโก-ซันโจ หลังจากนั้นไม่นานจึงได้มีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิโก-ซันโจที่ พระราชวังหลวงเฮอัง
  • 18 มกราคม ค.ศ. 1073 (วันที่ 8 เดือน 12 ปี เอ็งคิว ที่ 4): ปีที่ 4 ในรัชสมัยพระองค์สละราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสองค์โปรดคือ เจ้าชายซะดะฮิโตะ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิชิรากาวะ
  • 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1073 (วันที่ 29 เดือน 12 ปี เอ็งคิว ที่ 4): จักรพรรดิชิรากาวะประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง
  • พฤษภาคม ค.ศ. 1073 (เดือน 4 ปี เอ็งคิว ที่ 5): อดีตจักรพรรดิโก-ซันโจออกผนวชได้รับฉายาทางธรรมว่า คงโง-เกียว
  • 15 มิถุนายน ค.ศ. 1073 (วันที่ 7 เดือน 5 ปี เอ็งคิว ที่ 5): อดีตจักรพรรดิโก-ซันโจหรือท่านคงโง-เกียวสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อพระชนมายุเพียง 38 พรรษา

รัชสมัย

[แก้]

ปีในรัชสมัยโกะ-ซันโจมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือ เน็งโง[13]

พระมเหสี

[แก้]

จักรพรรดิโกะ-ซันโจมีพระมเหสี 3 พระองค์[14]

จักรพรรดินี (ชูงู): เจ้าหญิงคาโอรูโกะ (馨子内親王) ภายหลังเป็น ไซอิง-โนะ โคโงะ (西院皇后)[15] พระราชธิดาในจักรพรรดิโกะ-อิจิโจ

พระมเหสี: ฟูจิวาระ ชิเงโกะ (藤原茂子; สวรรคต ค.ศ. 1062) ธิดาในฟูจิวาระ คินนาริและบุตรีบุญธรรมของฟูจิวาระ โยชิโนบุ

  • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงซาโตโกะ (聡子内親王; 1050-1131)
  • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายซาดาฮิโตะ (貞仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิชิรากาวะ
  • พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงโทชิโกะ (俊子内親王; 1056-1132)
  • พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงโยชิโกะ (佳子内親王; 1057-1130)
  • พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงโทกูชิ (篤子内親王; 1060–1114) สมรสกับจักรพรรดิโฮริกาวะ

พระมเหสี: มินาโมโตะ โมโตโกะ (源基子; 1047-1134) ธิดาในมินาโมโตะ โมโตฮิระ

  • พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายซาเนฮิโตะ (実仁親王; 1071-1085) ลูกหลานของตระกูลมินาโมโตะ - โกะ-ซันโจเก็นจิ
  • พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายซูเกฮิโตะ (輔仁親王; 1073-1119) ลูกหลานของตระกูลมินาโมโตะ - โกะ-ซันโจเก็นจิ

พระมเหสี: ฟูจิวาระ อากิโกะ (藤原昭子) ธิดาในฟูจิวาระ โยริมูเนะ

นางใน: ไทระ ชิกาโกะ (平親子) ธิดาในไทระ สึนากูนิ

พระราชพงศาวลี

[แก้]

[16]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  3. "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  5. "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  6. "Go-Sanjō | emperor of Japan | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. Imperial Household Agency (Kunaichō): 陽成天皇 (71)
  8. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 76.
  9. 9.0 9.1 Titsingh, p. 166; Brown, p. 314; Varley, p. 198.
  10. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 166–168; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 314–315; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. p. 198-199.
  11. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  12. Brown, p. 314.
  13. Titsingh, p. 165-168; Brown, p. 313-315.
  14. Brown, p. 315.
  15. Ponsonby-Fane, Richard. (1915). The Imperial Family of Japan, p. x.
  16. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 26 May 2018.

ข้อมูล

[แก้]