ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิซากูรามาจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิซากูรามาจิ
桜町天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์13 เมษายน ค.ศ. 1735 – 9 มิถุนายน ค.ศ. 1747
ก่อนหน้านากามิกาโดะ
ถัดไปโมโมโซโนะ
โชกุน
ประสูติ8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1720(1720-02-08)
เกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
เทรูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 昭仁โรมาจิTeruhito)
สวรรคต28 พฤษภาคม ค.ศ. 1750(1750-05-28) (30 ปี)
เกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
ฝังพระศพสึกิ โนะ วะ โนะ มิซาซางิ เกียวโต
คู่อภิเษกนิโจ อิเอโกะ
พระราชบุตร
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิซากูรามาจิ (桜町院 หรือ 桜町天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดินากามิกาโดะ
พระราชมารดาโคโนเอะ ฮิซาโกะ

เทรูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 昭仁โรมาจิTeruhito; 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1720 – 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1750) ได้รับการเลื่อนพระเกียรติหลังสวรรคตเป็น จักรพรรดิซากูรามาจิ (ญี่ปุ่น: 桜町天皇โรมาจิSakuramachi-tennō) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 115 ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แบบดั้งเดิม[1][2] พระองค์ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิในปี 1735 ครองราชย์จนถึงปี 1747 จึงสละราชบัลลังก์[3] เช่นเดียวกับจักรพรรดิองค์ก่อน ๆ ในยุคเอโดะ โชกุนตระกูลโทกูงาวะเป็นผู้ปกครองญี่ปุ่น

บทบาทของจักรพรรดิคือผู้นำทางศาสนาที่มีพระราชอำนาจจำกัด เมื่อจักรพรรดิซากูรามาจิได้รับอนุญาตจากโชกุนให้ฟื้นฟูพิธีกรรมบางอย่าง สถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เทศกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเคยถูกห้ามมายาวนานกว่า 250 ปี กลับมาได้รับอนุญาตให้จัดขึ้นอีกครั้ง จักรพรรดิซากูรามาจิมีจักรพรรดินี 1 พระองค์ พระสนม 1 พระองค์ พระองค์มีพระโอรสธิดารวม 4 พระองค์ พระโอรสองค์โตของพระองค์คือ เจ้าชายโทฮิโตะ (ต่อมาคือจักรพรรดิโมโมโซโนะ) และพระธิดาองค์ที่ 2 คือ เจ้าหญิงโทชิโกะ (ต่อมาคือจักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ) จักรพรรดิซากูรามาจิสวรรคตเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 1750 ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 3 ปีหลังจากพระองค์สละราชบัลลังก์

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิซากูรามาจิ

[แก้]

ช่วงต้นพระชนม์

[แก้]

ก่อนที่จักรพรรดิซากูรามาจิจะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายเทรูฮิโตะ (昭仁)[4] เจ้าชายเทรูฮิโตะประสูติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1720 เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของจักรพรรดินากามิกาโดะ เหตุการณ์ในช่วงต้นพระชนม์ของเจ้าชายเทรูฮิโตะคือเอโดะกลายเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในปี 1721 ด้วยจำนวนประชากรถึง 1.1 ล้านคน[5] ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1728 เจ้าชายเทรูฮิโตะได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท และได้รับพระอิสริยยศก่อนขึ้นครองราชย์ว่า วากะโนะมิยะ (若宮)[6] เหตุการณ์สำคัญเพียงเหตุการณ์เดียวหลังจากนั้นคือภัยพิบัติในปี 1732–33 ที่เรียกว่า ความอดอยากปีเคียวโฮ เหตุการณ์นี้เกิดจากฝูงตั๊กแตนที่เข้าทำลายพืชผลทางการเกษตรในชุมชนเกษตรกรรมรอบทะเลสาบ[7]

ครองราชย์

[แก้]

เจ้าชายเทรูฮิโตะขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิซากูรามาจิ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 1735 เมื่อจักรพรรดินากามิกาโดะ พระราชบิดา สละราชบัลลังก์ให้ โดยเปลี่ยนชื่อศักราชจากเคียวโฮเป็นเก็มบุน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเหตุการณ์นี้[8]

พระบรมวงศานุวงศ์

[แก้]

จักรพรรดิซากูรามาจิมีพระราชโอรสธิดาอย่างน้อย 3 พระองค์จากพระมเหสี 2 พระองค์:

พระมเหสี

[แก้]
บรรดาศักดิ์ พระนาม ประสูติ สวรรคต พระบิดา พระราชโอรสธิดา
ชูงู นิโจ อิเอโกะ (ญี่ปุ่น: 二条舎子โรมาจิNijō Ieko) 1716 1790 นิโจ โยชิตาดะ  • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงโนริโกะ
 • พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงโทชิโกะ
(ภายหลังเป็น จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ)

พระสนม

[แก้]
พระนาม ประสูติ สวรรคต พระบิดา พระราชโอรสธิดา
อาเนงาโกจิ ซาดาโกะ (ญี่ปุ่น: 姉小路定子โรมาจิAnegakōji Sadako) 1717 1789 อาเนงาโกจิ ซาเนตาเกะ  • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายโทฮิโตะ
(ภายหลังเป็น จักรพรรดิโมโมโซโนะ)

พระราชโอรสธิดา

[แก้]

จักรพรรดิซากูรามาจิมีพระราชโอรสธิดา 3 พระองค์จากพระมเหสีและพระสนม

สถานะ พระนาม พระราชสมภพ สวรรคต พระราชมารดา สมรส พระะราชโอรสธิดา
พระราชธิดาองค์แรก เจ้าหญิงโนริโกะ (ญี่ปุ่น: 盛子内親王) 1737 1746 นิโจ อิเอโกะ
พระราชธิดาองค์ที่ 2 เจ้าหญิงโทชิโกะ (ญี่ปุ่น: 智子内親王)
(ภายหลังเป็น จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ)
1740 1813 นิโจ อิเอโกะ
พระราชโอรสองค์แรก เจ้าชายโทฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 遐仁親王)
(ภายหลังเป็น จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ)
1741 1762 อาเนงาโกจิ ซาดาโกะ อิจิโจ โทมิโกะ  • เจ้าชายฮิเดฮิโตะ
(ภายหลังเป็น จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ)
 • เจ้าชายฟูชิมิ-โนะ-มิยะ ซาดาโมจิ

พระราชพงศาวลี

[แก้]

[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 桜町天皇 (115)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 119.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 417–418.
  4. Klaproth, Julius von (1834). Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon (ภาษาฝรั่งเศส). Oriental Translation Fund.
  5. Foreign Press Center. (1997). Japan: Eyes on the Country, Views of the 47 Prefectures, p. 127.
  6. Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, pp. 47–48.
  7. Hall, John. (1988). The Cambridge History of Japan, p. 456.
  8. Meyer, p. 47.
  9. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.

ข้อมูล

[แก้]