ข้ามไปเนื้อหา

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Allied Health Science,
Thammasat University
ตราประจำมหาวิทยาลัย
สถาปนา21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 (28 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร. กำพล รุจิวิชญ์
ที่อยู่
สี   สีน้ำเงินสีเหลือง
เว็บไซต์allied.tu.ac.th

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเปิดสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย การฝึกสอนกีฬา และการจัดการกีฬา

ประวัติ

[แก้]

ปี พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายขยายการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ จากท่าพระจันทร์ มาศูนย์รังสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะที่จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาสาธารณสุขซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของประเทศไทยจึงจัดตั้งคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพขึ้น โดยเริ่มจากตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ต่อมา ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคณะใหม่เพิ่มอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะเทคนิคการแพทย์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีคำสั่งที่ 30/2537 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อจัดทำหลักสูตรตลอดจนวางแผนเรื่องอัตรากำลังให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน ต่อมา คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมและมีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิม " คณะเทคนิคการแพทย์ " เป็น " คณะสหเวชศาสตร์ " เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า คณะสหเวชศาสตร์ต้องรองรับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆ ที่จะเปิดในอนาคตนอกเหนือจากสาขาเทคนิคการแพทย์ด้วย เช่น สาขากายภาพบำบัด เป็นต้น จึงเสนอขอเปลี่ยนชื่อด้วยเหตุผลดังกล่าว ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาให้ก่อตั้งคณะสหเวชศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 โดยมหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ ไวยนันท์ รักษาการในตำแหน่งคณบดีและเป็นคณบดีคณะสหเวชศาสตร์คนแรก ซึ่งดำรงตำแหน่ง 2 วาระต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และกลับมาดำรงตำแหน่งคณบดีอีกครั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550

ระยะแรกคณะสหเวชศาสตร์ไม่มีสถานที่ทำการถาวร จึงต้องอาศัยพื้นที่หน่วยงานอื่นเป็นสถานที่ทำการชั่วคราว เริ่มต้นจากขอใช้พื้นที่อาคารคุณากรของคณะแพทยศาสตร์ หลังจากนั้น จึงย้ายไปที่อาคารกิตติวัฒนาของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อนุมัติให้สร้างอาคารปิยชาติและอาคารราชสุดา เพื่อเป็นพื้นที่ใช้ร่วมกันระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งคณะสหเวชศาสตร์ได้รับจัดสรรให้ใช้พื้นที่บางส่วนจากทั้งสองอาคาร อีกทั้งภายหลังยังได้ใช้พื้นที่บางส่วนภายในอาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (ปิยชาติ 2) ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์​ และวิทยาลัยโลกคดีศึกษา

หน่วยงาน

[แก้]

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ แบ่งส่วนราชการเป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้[1]

  1. ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
  2. ภาควิชากายภาพบำบัด
  3. ภาควิชารังสีเทคนิค
  4. ภาควิชาอาชีวบำบัด (ขณะนี้ยังไม่เปิดดำเนินการ)
  5. สำนักงานเลขานุการ

เพื่อให้การดำเนิน��านเกิดความคล่องตัวมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 คณะสหเวชศาสตร์จึงกำหนดให้แบ่งส่วนราชการเป็นการภายในเพิ่มอีก 1 หน่วยงาน ได้แก่ โครงการบัณฑิตศึกษาสาขาชีวเวชศาสตร์ และแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ ดร. เกศรา ณ บางช้าง เป็นผู้อำนวยการ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งที่ 11/2545 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีมติเห็นชอบให้คณะสหเวชศาสตร์จัดตั้ง "ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการทางสหเวชศาสตร์" และแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ ไวยนันท์ เป็นผู้อำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม และพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้แก่อาจารย์และนักศึกษา โดยแบ่งเป็น 4 หน่วยงานย่อย ดังนี้

  1. หน่วยวิจัยและบริการวิชาการเภสัชวิทยาโรคติดเชื้อ
  2. หน่วยวิจัยและบริการวิชาการตรวจวินิจฉัยและป้องกันโรคติดเชื้อ
  3. หน่วยวิจัยและบริการวิชาการวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
  4. หน่วยวิจัยและบริการวิชาการกายภาพบำบัด

หลักสูตร

[แก้]

สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น คณะสหเวชศาสตร์เริ่มรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในปีการศึกษา 2539 จำนวน 1 สาขา ได้แก่ สาขาเทคนิคการแพทย์ หลังจากนั้น ในปีการศึกษา 2541 จึงเปิดรับสาขากายภาพบำบัด เป็นลำดับถัดมา และเปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ในปีการศึกษา 2544 ซึ่งได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (โครงการปกติ) ทั้งในระดับปริญญาโทและเอก และในปีการศึกษา 2553 เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นปีการศึกษาแรก ต่อมาได้เปิดสาขาทางด้านการกีฬาขึ้นเพิ่มเติมอีก 2 สาขา ในปีการศึกษา 2557 คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการการกีฬาและสาขาการฝึกสอนกีฬา (โครงการพิเศษ)

ในปี พ.ศ. 2560 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (โครงการพิเศษ) ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนเป็นปีการศึกษาแรก[2] และในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการปรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เป็นหลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และเพิ่มเติมหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการสมัยใหม่ทางการกีฬา และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการฟื้นฟูและวิทยาศาสตร์การออกกาลังกาย (หลักสูตรนานาชาติ)

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • สาขาวิชารังสีเทคนิค (โครงการพิเศษ)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการการกีฬา (โครงการพิเศษ)
  • สาขาวิชาการฝึกสอนกีฬา (โครงการพิเศษ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาพัฒนาการสมัยใหม่ทางการกีฬา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการฟื้นฟูและวิทยาศาสตร์การออกกาลังกาย (หลักสูตรนานาชาติ)

รายชื่อศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ระดับบัณฑิต (ปริญญาตรี)

[แก้]
รายชื่อ สาขาวิชา/ภาควิชา ปัจจุบัน หมายเหตุ/อ้างอิง
สารัช อยู่เย็น นักฟุตบอลทีมชาติไทยและนักฟุตบอลอาชีพ [3][4]
ชนาธิป สรงกระสินธ์ การจัดการกีฬา [3][5][6]
อดิศักดิ์ ไกรษร [3][7]
ชนินทร์ แซ่เอียะ การจัดการกีฬา [3]
โทร่า เจริญสุข นักฟุตบอลอาชีพ [3]
พชร สิงห์มานนท์ การจัดการกีฬา นักกีฬาว่ายน้ำพิการเยาวชนทีมชาติไทย [8][9]
วรกันต์ ศรีนวลนัด นักกีฬาฟันดาบสากลทีมชาติไทย ประเภทเซเบอร์ [10]
นันท์ภัส คนเจริญไกร นักกีฬาคริกเกตทีมชาติไทย [10]
ภูริพงค์ แสงธนะพาณิช นักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย [11][12][10]
ชลธิชา คะบุตร นักกีฬากระโดดค้ำถ่อทีมชาติไทย [13][10]
ธิติวุฒิ เพิ่มพูน นักกีฬากระโดดน้ำทีมชาติไทย [10]
สิปปกร ทองงิ้ว นักกีฬาซอฟต์เทนนิสทีมชาติไทย [10]
อภิสรา พิริยะพฤทธิ์ นักกีฬากรีฑาทีมชาติไทย [14]
ดารารัตน์ สร้อยสุวรรณ [14]
จีระภัทร โพธิ์คำ นักกีฬาไตรกีฬาทีมชาติไทย
ธนโชติ อเนกจินต์ นักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย [15][16]
นพวิชญ์ เศวตมาลานนท์ วิทยาศาสตร์การกีฬาฯ นักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย [11][12][10]
วุฒิภัทร สงวนวงศ์ นักกีฬาฟินสวิมมิ่งทีมชาติไทย [17][18][19][10][20]
ศุภกฤต เจริญศิลป์ นักกีฬาซอฟต์เทนนิสทีมชาติไทย [10]
ภัคพล เธียรชัยพงษ์ นักกีฬาซอฟต์เทนนิสทีมชาติไทย [10]
ณฐวรรธ เอี่ยมอุดม นักกีฬากรีฑาทีมชาติไทย [14]
ณัชชา กล่อมกมล การฝึกสอนกีฬา นักกีฬาซอฟต์เทนนิสทีมชาติไทย [10]
ปณิฎฐา จัตนะภวิบูล นักกีฬาฟุตบอลหญิงเยาวชนทีมชาติไทย [21][10]
นวนิตย์ อินทรวิเชียร นักกีฬาฟินสวิมมิ่งทีมชาติไทย [19][14]
กิตติสุข ดำดี [14]
ปพนพัชญ์ วงศ์เอก [20][10]
ศุภิสรา เงินดิษฐ นักกีฬากรีฑาทีมชาติไทย ประเภทพุ่งแหลน [10]
วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ วิทยาศาสตร์การกีฬาฯ นักแสดง นักร้อง และนายแบบ [22]
รพีพงศ์ ทับสุวรรณ การจัดการกีฬา นักแสดงและนายแบบ [23]

ระดับมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)

[แก้]
รายชื่อ สาขาวิชา/ภาควิชา ปัจจุบัน หมายเหตุ/อ้างอิง
รศ. ดร. ภูมิ อดิศักดิ์วัฒนา ชีวเวชศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาหนอนปรสิตพยาธิ คณะคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล [24][25]
ศนนท์ จิวรากรานนท์ กายภาพบำบัด นักกายภาพประจำทีมเทควันโดทีมชาติไทย [26][27]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติ". allied.tu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-03. สืบค้นเมื่อ 3 July 2024.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 2017-07-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "'สารัช-อดิศักดิ์'นำทีมธรรมศาสตร์ บู๊บอลประเพณีครั้งที่ 72". มติชน. 31 January 2018. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  4. "ริมขอบสนามให้ใจ 'สารัช อยู่เย็น'". โพสต์ทูเดย์. 21 February 2016. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  5. "ยินดีด้วย "ชนาธิป" เรียนจบแล้ว เตรียมรับปริญญา ม.ดัง แฟนฟุตบอลแห่ร่วมยินดี". ไทยรัฐ. 25 November 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  6. "'เมสซี่เจ ชนาธิป'หล่อเท่ไม่เบาในชุดครุย เตรียมเป็นบัณฑิตป้ายแดงม.ดัง". แนวหน้า. 25 November 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  7. "อดิศักดิ์ ไกรษร : ผมไม่เสียใจที่เจ็บจาก ฟุตบอลประเพณี". trueid. 6 February 2018. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  8. "นักศึกษา มธ. คว้าเหรียญอาเซียนพาราเกมส์ เล่าเบื้องหลังความสำเร็จและมุมมองถึงกีฬาคนพิกา���". มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 16 June 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  9. "ว่ายน้ำพิการไทยเก็บอีก 2 ทอง กีฬาคนพิการชิงแชมป์โลก". มติชน. 5 December 2017. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 10.13 "ธรรมศาสตร์ร่วมยินดีนักศึกษา คว้าชัยซีเกมส์ ครั้งที่ 32 กวาดเหรียญกลับมา 18 เหรียญ". มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  11. 11.0 11.1 "รายชื่อนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย ซีเกมส์ 2023" (PDF). swimming.or.th. สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  12. 12.0 12.1 "รายชื่อนักกีฬาโปโลน้ำชุดเข้าร่วมเก็บตัวฝึกซ้อมเพื่อเตรียมเข้าแข่งขันรายการ 19th Asian Games Hangzhou 2022". swimming.or.th/. สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  13. "'ชลธิชา'เฮกระโดดค้ำหญิง 'กรีฑาไทย'กวาดแล้ว12ทอง". เดลินิวส์. 10 May 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 "นักศึกษาธรรมศาสตร์สร้างชื่อ คว้าชัยซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่เวียดนาม กวาด 16 เหรียญรางวัล". 14 June 2022. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  15. "รักบี้ 7 คนนักเรียนไทยโคตรเจ๋งคว้าทองแดงศึกเอเชีย". มติชน. 6 July 2019. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  16. "ลูกชาย"อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์"ติดทีมรักบี้ไทยลุยศึกอาเซียน". siamsport. 31 March 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  17. ""เจ้น" วุฒิภัทร สงวนวงศ์ โชว์ฟอร์มสุดแกร่ง วันเดียวคว้า 2 เหรียญทอง ให้ทัพสวิมมิ่งไทย ประเดิมศึกซีเกมส์ 2023 อย่างสวยงาม". เดลินิวส์. 14 May 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  18. "'วุฒิภัทร' ซิว 2 ทองวันเดียวให้ฟินสวิมมิ่งไทย". มติชน. 14 May 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  19. 19.0 19.1 "ขอแสดงความยินดีกับนักกีฬาฟินสวิมมิ่งคนเก่ง เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2564". atus-thailand.org. สมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  20. 20.0 20.1 "ผลการแข่งซีเกมส์ ครั้งที่ 31วันที่ 22-05-2022". สมาคมกีฬาใต้น้ำแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  21. "แข้งสาวไทย ซ้อมมื้อสุดท้ายก่อนดวล อินเดีย ประเดิม เอเชียนเกมส์ หางโจว". ข่าวสด. 23 September 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  22. "ทำความรู้จัก 'ออกัส วชิรวิชญ์ ' พระเอกดังที่คนส่องมากที่สุดในตอนนี้". คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์). 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  23. "ไบร์ท เฮ จบ ป.ตรี พร้อมลุยงานละครเต็มที่". ไทยรัฐ. 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  24. "Staff". tm.mahidol.ac.th (ภาษาอังกฤษ). คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  25. "คณะสหเวชศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2567 เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะสหเวชศาสตร์ ครบรอบ 28 ปี". คณะสหเวชศาสตร์ มธ. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  26. ""ทีมกายภาพบำบัด" เบื้องหลังความสำเร็จนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย BY ศิษย์เก่า สหเวชฯ ธรรมศาสตร์". มธ. 16 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  27. "'ศนนท์ จิวรากรานนท์' นักกายภาพบำบัดหนุ่ม หนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนักกีฬา 3 sport magazine". เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์. 19 May 2020. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]