วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Puey Ungphakorn School of Development Studies, Thammasat University | |
สถาปนา | 5 มีนาคม พ.ศ. 2512[1] |
---|---|
คณบดี | ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล |
ที่อยู่ | ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 |
วารสาร | วารสารพัฒนศาสตร์ |
สี | สีเขียวรวงข้าวอ่อน |
เว็บไซต์ | psds.tu.ac.th |
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือชื่อเดิมคือ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสถานะเทียบเท่าคณะวิชา[2] รับผิดชอบดำเนินการให้การศึกษา อบรม ฝึกฝน การให้บริการแก่ชุมชน และสร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับท้องถิ่นชนบทให้แก่ บัณฑิต ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากทุกสาขาวิชา และทุกสถาบัน เพื่อให้มีความสนใจและเข้าใจปัญหาของชนบท
ประวัติ
[แก้]สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยก่อตั้งขึ้นตามดำริของศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์อดีตอธิการบดี เพื่อรับผิดชอบดำเนินการให้การศึกษา อบรม ฝึกฝน การให้บริการแก่ชุมชน และสร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับท้องถิ่นชนบทให้แก่บัณฑิต ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากทุกสาขาวิชา และทุกสถาบัน โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยเป็นลักษณะเปิดโอกาสให้บัณฑิตได้ไปเรียนรู้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหา และความต้องการของชาวชนบท ทั้งยังได้ใช้ความรู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมา ทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนชนบท[3]
พ.ศ. 2558 สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ได้รับการเปลี่ยนชื่อและขยายบทบาทให้เป็น วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (Puey Ungphakorn School of Development Studies: PSDS) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 และทางวิทยาลัยจะเป็นหน่วยงานในการจัดการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร) หลักสูตรปริญญาโท และการเปิดหลักสูตรปริญญาเอกในอนาคต รวมทั้งการทำหน้าที่บริการวิชาการแก่สังคม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 เก็บถาวร 2016-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หลักสูตร
[แก้]โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
[แก้]เป็นโครงการฝึกอบรมสำหรับบุคคลทั่วไป ได้แก่
- เทคนิคการจัดการความรู้ในงานพัฒนา
- เทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ในงานพัฒนา
- การเขียนและวิเคราะห์โครงการพัฒนา
- การพัฒนาโครงการและการติดตามอย่างมีส่วนร่วม
- การติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนา
- เทคนิคการจัดการความรู้ในงานพัฒนา
ปริญญาตรี
[แก้]- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และสังคม) (Bachelor of Arts Program in Innovation for Human and Social Development) เป็นหลักสูตรโครงการพิเศษ ปริญญาตรี 4 ปี ที่พัฒนามาจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ (Bachelor of Arts Program in Creative Development) โดยเปิดรับผู้จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่อ โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Active Learning) และเน้นการปฏิบัติ ผ่านการเรียนรู้จากการทำโครงการ (Project Based) และโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาในสังคม (Problem Based) มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ 1. การพัฒนาชุมชนร่วมสมัย 2. การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม และ 3. การจัดการงานอาสาสมัคร เพื่อผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม วัฒนธรรม และชุมชน ผู้ประกอบการงานสัมมนา และผู้ประกอบการทางสังคม นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาวัฒนธรรม ผู้จัดการงานอาสาสมัคร ผู้จัดการ���ครงการทางสังคม วัฒนธรรม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ผู้จัดการงานธุรกิจทารับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ฯลฯ
พท.240 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม (PE240 Volunteerism and Social Development) เป็นรายวิชาเลือกเสรีสำหรับนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานอาสาสมัคร พัฒนาการของงานอาสาสมัครและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมขององค์กรอาสาสมัคร และการพัฒนาตนเอง โดยมีการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัตินอกสถานที่
บอ.200 ความรู้เบื้องต้นว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านสังคมชนบทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (GV200 Introduction to Rural Transformation in Southeast Asia) เป็นรายวิชาเลือกเสรีสำหรับนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยส่งเสริมองค์ความรู้ของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรม โดยมีการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและการศึกษาดูงานในเขตชายแดนและ/หรือประเทศเพื่อนบ้าน
ประกาศนียบัตรบัณฑิต
[แก้]- หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาบัณฑิตอาสาสมัคร (Graduate Diploma Program, Graduate Volunteer) เป็นหลักสูตร 2 ภาคการศึกษาปกติ เพื่อทำความเข้าใจสังคมชนบทไทย ศึกษาแนวคิดการพัฒนาชนบท รวมถึงการเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน และฝึกปฏิบัติงานในชุมชน ต่อมาได้พัฒนาเป็นวิชาเอกปฏิบัติการพัฒนา ในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาร่วมสมัยและปฏิบัติการพัฒนา
ปริญญาโท
[แก้]- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาร่วมสมัยและปฏิบัติการพัฒนา (ศศ.ม., การพัฒนาร่วมสมัยและปฏิบัติการพัฒนา) Master of Arts, Contemporary Development and Development Practice (M.A., Contemporary Development and Development Practice) มีการจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น 2 วิชาเอก ได้แก่
วิชาเอกการพัฒนาร่วมสมัยและการประเมินผลเชิงพัฒนา ซึ่งพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรมาจาก หลักสูตรเดิม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ (ศศ.ม., การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์) Master of Arts, Creative Development (M.A., Creative Development) และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา (ศศ.ม., ชนบทศึกษาและการพัฒนา) Master of Arts, Rural Studies and Development (M.A., Rural Studies and Development) เป็นการศึกษาภาคปกติและภาคค่ำในระบบทวิภาค จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นนักวิจัย นักวิชาการ และผู้รับผิดชอบงานพัฒนาชนบท ที่มีความสามารถ ทักษะ และจริยธรรม ในการใช้ความรู้ และสร้างความรู้ ได้อย่างสอดคล้องกับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการทฤษฎีและศาสตร์แห่งการพัฒนา เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
และ วิชาเอกปฏิบัติการพัฒนา ซึ่งพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรมาจาก หลักสูตรเดิม ประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร) (Graduate diploma, Graduate Volunteer)
การบริหาร
[แก้]ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]ทำเนียบผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ||
ชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
| |
---|---|---|
1. ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ศาสตราจารย์ | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2512 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2514 | |
2. วิญญู วิจิตรวาทการ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2514 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 | |
3. ณรงค์ชัย อัครเศรณี | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 | |
4. สิริ สมบัติศิริ, ศาสตราจารย์ | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2512 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2513 | |
5. จำเรียง ภาวิจิตร, รองศาสตราจารย์ | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2513 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 | |
6. อคิน รพีพัฒน์, รองศาสตราจารย์ รตอ.ม.ร.ว. | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2515 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 | |
7. นิพัทธ์ จิตรประสงค์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | 24 มกราคม พ.ศ. 2517 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 | |
8. ณัฐไชย ตันติสุข, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 | |
9. เฉลิมศรี ธรรมบุตร, รองศาสตราจารย์ | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2523 | |
10. สมควร กวียะ, รองศาสตราจารย์ | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 – 12 มกราคม พ.ศ. 2526 | |
11. วนิดา จิตต์หมั่น,ศาสตราจารย์ | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2529 | |
12. สุขุม อัตวาวุฒิชัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2533 | |
13. ฉันทลักษณ์ ณ ป้อมเพ็ชร์, รองศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2536 | |
14. เต็มใจ สุวรรณทัต, รองศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2539 | |
15. วันชัย ธนะวังน้อย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2542 | |
16. ศุภรัตน์ รัตนมุขย์, รองศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2545 | |
17. วรวุฒิ หิรัญรักษ์, รองศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2551 | |
18. สุรัสวดี หุ่นพยนต์, รองศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2554 | |
19. นภาพร อติวานิชยพงศ์, รองศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2557 | |
20. จิตติ มงคลชัยอรัญญา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2557– พ.ศ. 2563 | |
21. นิธินันท์ วิศเวศวร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566 | |
22. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีและผู้รักษาการแทนคณบดีเป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้อง
[แก้]ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ก่อตั้ง
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ปี พ.ศ. 2560
เดช พุ่มคชา (บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 3) ผู้ร่วมจัดตั้งมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
รองศาสตราจารย์ สุรัสวดี หุ่นพยนต์ (บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 5) อดีตผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร และประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
เตือนใจ ดีเทศน์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา ปี พ.ศ. 2558 (บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 6)
คุณหญิง สุพัตรา มาศดิตถ์ (บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 3) รัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยที่มาจากการเลือกตั้ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภา กาหยี (บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 1) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
รองศาสตราจารย์ พรรณยุพา นพรัก (บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 1) คณบดีคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยันต์ รัชชกูล (บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ ) อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประยงค์ ดอกลำไย (บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 21) นักพัฒนาอิสระ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. 15 ปี สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร.กรุงเทพฯ : ธรรมศาสตร์,2527.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. (2533). พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๓ . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1] เก็บถาวร 2014-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553).
- ↑ หลักสูตร/การรับสมัคร รายละเอียดการรับสมัคร [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. (เข้าถึงเมื่อ: 6 มกราคม 2565).