คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
School of Fine and Applied Arts Bangkok University | |
สถาปนา | พ.ศ. 2532 |
---|---|
คณบดี | ผศ. สรรเสริญ มิลินทสูต |
ที่อยู่ | อาคาร7 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต, 9/1 หมู่ 5 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120. Tel. 02 902 0299 ต่อ 2610 |
สี | สีชมพูก���ีบบัว |
มาสคอต | The Golden Spiral |
เว็บไซต์ | http://fab.bu.ac.th/ |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นคณะลำดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ประวัติ
[แก้]คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะลำดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แรกเริ่มเปิดหลักสูตรปริญญาตรีศิลปบัณฑิต 2 สาขาวิชาคือสาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน และสาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ได้จัดการเรียนการสอนขึ้น ณ อาคาร 4 และอาคารฝึกงาน (ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานฝ่ายกิจการนักศึกษา) วิทยาเขตรังสิต
ต่อมาในปีการศึกษา พ.ศ. 2533 จึงได้ย้ายมาจัดการเรียนการสอนในอาคาร 7 และอาคาร 8 วิทยาเขตรังสิต และได้ปรับการใช้พื้นที่สำนักงานฝ่ายอาคารสถานที่ วิทยาเขตรังสิต เป็นอาคารโรงฝึกงานเพื่อใช้สอนวิชาพื้นฐาน
ในปีการศึกษา พ.ศ. 2538 คณะฯได้ทำการปรับหลักสูตรของคณะให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในขณะนั้น รวมทั้งได้ขออนุมัติเปิดสอนอีก 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาทัศนศิลป์ และได้ดำเนินการขออนุมัติเปิดหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทออีกสาขาหนึ่งในปีการศึกษา พ.ศ. 2547
นอกจากภารกิจในด้านการผลิตบัณฑิต ภารกิจสำคัญของคณะศิลปกรรมศาสตร์คือการผลิตผลงานสร้างสรรค์ งานวิจัยและการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยที่ผ่านมาคณาจารย์ของคณะฯได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมงานค้นคว้าวิจัยเผยแพร่ออกสู่สังคมอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ริเริ่มโครงการหอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยได้มีการปรับพื้นที่ห้องเรียน บริเวณชั้น 3 อาคาร 9 (ปัจจุบันคือ อาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์) วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ขึ้นเป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานศิลปะเมื่อปี พ.ศ. 2539 คณะศิลปกรรมศาสตร์ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหอศิลปะที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของสังคม
ซึ่งจากการจัดกิจกรรมที่มีคุณค่าอย่างสม่ำเสมอหอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็ได้เปิดให้บริการอีกแห่ง ณ บริเวณชั้น 2 อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ วิทยาเขตรังสิต ในปี พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2549 ก็ได้ย้ายที่ทำการจากบริเวณชั้น 3 อาคารดร.เจริญ คันธวงศ์ มาที่อาคารวิทยาลัยนานาชาติและหอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตกล้วยน้ำไท ซึ่งเป็นอาคารที่ออกแบบมาเพื่อลองรับ การจัดกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมโดยตรง
ทำเนียบคณบดี
[แก้]คณบดี | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|
อาจารย์ยงสฤษดิ์ จารุบูรณะ | 2532-2533 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมิตรา ศรีวิบูลย์ | 2534-2548 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ มิลินทสูต | 2548-ปัจจุบัน |
สาขาวิ���าในคณะ
[แก้]- สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (Department of Communication Design)
- สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ (Department Fashion and Textile Design)
- สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (Department Art and Design)
สัญลักษณ์ประจำคณะฯ
[แก้]- ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ เริ่มใช้เมื่อปี (พ.ศ. 2549) ออกแบบโดย SPA Advertising
- ตราสัญลักษณ์ที่ทางคณะฯออกแบบ (เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2549)
- ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์คณะฯ (เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2548) ออกแบบโดย Practical Studio
- สีประจำคณะ ได้แก่ สีชมพูกลีบบัว โดยมีที่มาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่อง บัวสี่เหล่า โดยบัวที่พ้นน้ำและเบ่งบานรับแสงอรุณ เปรียบเสมือนบุคคลผู้หลุดพ้นจากอวิชชา พร้อมจะรับการอบรมสั่งสอนและเจริญขึ้นอย่างสง่างาม
นิทรรศการศิลปนิพนธ์
[แก้]รุ่น (ปีการศึกษา) | ชื่อโครงการ | สถานที่ วันและเวลาจัดนิทรรศการ | จำนวนผู้แสดงผลงาน (คน) |
---|---|---|---|
ภาควิชาการออกแบบตกแต่งภายใน | |||
9 (2543) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่9 "ต่างดาว" | บริเวณชั้น 2 ศูนย์การค้า ดิเอ็มโพเรียม ระหว่างวันที่ 2-7 เมษายน 2544 | 17 |
10 (2544) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่10 | บริเวณชั้นโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ศูนย์การค้า อิเซตัน | |
11 (2545) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่11 "อินทีเรีย บางกอก" | 3 - 5 พฤศจิกายน 2546 | |
12 (2546) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่12 | โรงยิมบาสเกตบอลล์ ชั้น 6 อาคารดร.เจริญ คันธวงศ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท | |
13 (2547) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่13"ก้าวเดิน" | ||
14 (2548) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่14 | ||
15 (2549) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่15 "BRAIN SOCIETY" | ดิเอสพละนาด ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร | |
16 (2550) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่16 "DNA- Design iNterior fAshion" | 31มีนาคม–3เมษายน 2551 ณ บริเวณโถงชั้น 1 หน้า ZEN ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ | 70 |
17 (2551) | นิทรรศการโครงการออกแบบตกแต่งภายใน ครั้งที่17 "SEVENTY-FIVE SENSES" | 23 มีนาคม–26 มีนาคม 2552 ณ บริเวณโถงชั้น 1 ศูนย์การค้าเช็นทรัลเวิลด์ | 75 |
ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ | |||
9 (2543) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่9 "ต่างดาว" | บริเวณชั้น B1 ศูนย์การค้าเกษร พลาซ่า ระหว่างวันที่ 5-11 เมษายน 2544 | 24 |
10 (2544) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่10 | ||
11 (2545) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่11 | ||
12 (2546) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่12 "BASE" | ห้างสรรพสินค้า Central World Plaza ชั้น1 โซนC | 46 |
13 (2547) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่13 "SELECT-START" | อาคารบางกอกโคด ใกล้รถไฟฟ้า สถานีสุรศักดิ์ | 48 |
14 (2548) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่14 "14 Volt" | Playground Store ซอยสุขุมวิท55 (ทองหล่อ) 28 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2549 | 45 |
14/2 (2548) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่14/2 "The Post" | อาคาร The Style by TOYOTA สยามสแควร์ | 16 |
15 (2549) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่15 "Falcon The : Magenta" | ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น1 บริเวณ Forum Zone ระหว่างวันพุธที่ 28 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 2550 |
59 |
16 (2550) | นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ครั้งที่16 "M16" | ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น1 บริเวณ Zone A Atrium Hall ระหว่างวันอังคารที่ 18 มีนาคม ถึง 23 มีนาคม 2551 |
50 |
ภาควิชาทัศนศิลป์ | |||
3 (2543) | นิทรรศการศิลปะ ครั้งที่3 "ต่างดาว" | ณ SI-AM Art Space ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม - 8 เมษายน 2544 | 12 |
4 (2544) | นิทรรศการศิลปะ ครั้งที่4 | ||
5 (2545) | นิทรรศการศิลปะ ครั้งที่5 | ||
6 (2546) | นิทรรศการศิลปะ ครั้งที่6 | ||
7 (2547) | นิทรรศการศิลปะ ครั้งที่7 | ||
8 (2548) | นิทรรศการศิลปะ ครั้งที่8 | ||
9 (2549) | นิทรรศการศิลปะ ครั้งที่9 "Dialect" | โกดังเก็บสี TOA(เก่า) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ระหว่างวันที่ 19 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2550 |
23 |
10 (2550) | นิทรรศการศิลปะ "Re-act" | ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ วันที่ 29 มีนาคม - 11 เมษายน 2551 | |
ภาควิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ | |||
1 (2550) | นิทรรศการโครงการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ ครั้งที่1 "ULTIMATE SOURCE" | ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น1 บริเวณ Zone A Atrium ระหว่างวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 2551 |
กิจกรรมต่างๆ
[แก้]คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้มีการสนับสนุนกิจกรรมของนักศึกษาอยู่เป็นประจำ กิจกรรมของนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีกิจกรรรมหลักทั้งหมด 7 กิจกรรม ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
- 7 DAYS with your idols
กิจกรรมที่น้องๆม.ปลายได้มาสัมผัสกับบรรยากาศจริงของคณะที่ตนเองสนใจ สนุกและได้ประสบการณ์ตรงกับคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ไอดอล
- Prink
กิจกรรมเทศกาลดนตรีและขายของ เป็นกิจกรรมประจำคณะศิลปกรรมศาตร์ที่มีการจัดคอนเสปงานที่มีสไตล์ของเด็กศิลปกรรม
- ปฐมนิเทศ
กิจกรรมปฐมนิเทศเด็กใหม่ ให้ทำความคุ้นเคยกับมหาวิทยาลัยและเพื่อนๆโดยได้รับการดูแลพี่สต๊าฟของคณะศิลปกรรมศาสตร์
- พี่พบน้อง
กิจกรรมพี่พบน้องนี้เป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์รุ่นพี่ รุ่นน้อง และคณะศิลปกรรมศาสตร์ทำให้น้องปี1 รู้จักเพื่อนๆ รู้จักรุ่นพี่ และปรับตัวได้ดียิ่งขึ้น
- ปล่อยเป็ด
กิจกรรมปล่อยเป็ดเป็นกิจกรรมของภาควิชาสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีกิจกกรมทุกๆปี ที่สระน้ำหน้าตึก Diamond Building
- Sport Day
กิจกรรมกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงความเป็นศิลปกรรมศาสตร์ได้ดี ซึ่งพวกเราชาวศิลปกรรมศาสตร์ได้ทุ่มเทให้กับการแข่งขันเป็นอย่างมาก
- พิธีครอบครู ปลดไทด์ และพิธีตัดเงา
กิจกรรมพิธีครอบครู และปลดไทด์ เป็นพิธีสำคัญอย่างหนึ่งของคณะศิลปกรรมศาสตร์ และพิธีตัดเงา เป็นกิจกรรมที่ทางคณะพึ่งจัดขึ้นเป็นปีแรก
มีกิจกรรมดั้งเดิมที่อยู่ในความทรงจำของนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์รุ่นแรกๆ ซึ่งเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็ได้ปรับปลี่ยนกิจกรรมเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ
และกิจกรรมที่รุ่นพี่คณะศิลปกรรมศาตร์อาจจะรู้จักกันดี
- กิจกรรมงานเทศการดนตรี และบา-บี-ชิว (Bar-B-Chill)
นักศึกษาของคณะศิลปกรรมศาสตร์ นอกจากมีความสนใจในเรื่องของศิลปะและการออกแบบแล้ว นักศึกษาส่วนมากยังสนใจในเรื่องของดนตรีอีกด้วย มีนักศึกษาจำนวนมากที่เล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกและมีการตั้งวงดนตรีกันเอง กิจกรรมนี้จึงจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีออกสู่สาธารณะ ในงานนอกจากมีดนตรีแล้วยังมีการจัดบุฟเฟต์บา-บี-คิว อีกด้วย กิจกรรมนี้จึงมีชื่อว่า "บา-บี-ชิว" จะจัดขึ้นประจำทุกปี ณ บริเวณอาคาร 7 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ทั้งนี้จะต้องซื้อบัตรเข้างาน เนื่องจากจะต้องใช้งบประมาณในการจัดงานสูง
ศิษย์เก่า
[แก้]- สันติ ลอรัชวี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ บริษัทออกแบบเพื่อการสื่อสารชั้นนำของวงการ -Designer of the Year Awards 2015 สาขาการออกแบบกราฟิก (Graphic Design)
- กนกนุช ศิลปวิศวกุล หนึ่งในผู้ก่อตั้ง แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ บริษัทออกแบบเพื่อการสื่อสารชั้นนำ Graphic Designer ภัณฑารักษ์ Emerging Awards 2015 สาขาการออกแบบกราฟิก (Graphic Design)
- ธาดา วาริช ช่างภาพแฟชั่น (ตากล้องมือโปรในแนวถ่ายบุคคล ของเมืองไทย)
- นุวีร์ เลิศบรรณพงษ์ ประธานอำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์และนวัตกรรมด้านดิจิตอล Mindshare Worldwide (WPP Group)Head Of Invention, Mindshare Worldwide (WPP Group)และอาจารย์พิเศษภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- สันติ แต้พานิช ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีภาพยนตร์ส่วนหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ เรื่อง"สปช." และเรื่อง "เสือร้องไห้" และเรื่อง “ตัวกูของกู”
- ศริญญา ลิมทองทิพย์ นักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Srinlim
- ยุรี เกนสาคู ศิลปิน/นักวาดภาพประกอบ
- จักรกฤษณ์ อนันตกุล กราฟิคดีไซน์ illustrator และผู้ก่อตั้ง Design Reform Council ในปี 2005 และ Hello I am JK ในปี 2014ปัจจุบันนี้ได้มีผลงานอีกมากมายที่แสดงไปทั่วโลก
- พนิดา เอี่ยมศิรินพกุล polkadot Editor Director polkadot publishing
- เอกลักษณ์ เพียรพนาเว นักออกแบบตัวอักษร Type Designer
- เรืองฤทธิ์ สันติสุข ผู้สรรค์สร้างโลกแห่งแสง-สี-เสียง ในนาม "DuckUnit"
- ยงวิทย์ สันธนะพานิช Animator และเจ้าของบริษัท Animation & Motion Graphic Application & Game Character Design & Illustration
- คามิน เจริญสุข ช่างภาพรางวัล Best of Show Awards จากการประกวดรายการ Spring Show in USA ประจำปี 2014
- ศิกานต์ เตชะคฤห นักออกแบบคาแรกเตอร์ และเจ้าของ เวบไซด์ Studioaiko
- ฉัตรณรงค์ จริงศุภธาดา นักออกแบบตัวอักษร Type Designer
- ชานนท์ ยอดหงส์ Art Director Genie records
- อนวัช วัชราภิชาต ผู้ก่อตั้งบริษัท Pixel One Design Co,.Ltd
- ปริวัฒน์ อนันตชินะ ผู้ก่อตั้ง Unfinished Project Publishing
- พัชรียา อาจวิชัย ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแบรนด์ Happy Pills
- ปาณิสรา ขาวงาม Beauty Editor L’Officiel Thailand
- วีระเดช ช้างมิง Senior Designer ASV
- ชลิดา มหาสวัสดิ์ Senior Designer Lyn Around รับรางวัลจากการประกวด Inspy U Fashion Contest ในปี 2007 เป็นหนึ่งในเจ็ดผู้เข้าร่วมโครงการ “ผ้าขาวม้า” กับนิตยสาร Lips
- ปฏิพัทธ์ ชัยภักดี เจ้าของแบรนด์ Drycleanonly
- ฬียฑา ชลิตณัฐกุล นักออกแบบแฟชั่นแบรนด์ Fly Now และเจ้าของแบรนด์ Serioustic
- วธูอร แก้วเวชบุตรผู้ก่อตั้งและเจ้าของแบรนด์ VVOK
- พงศ์ภัทร พงศ์สุริยา ผู้ก่อตั้งแบรนด์ sobasizรางวัล Bronze Award งานประกวด TGFW 2010 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงาน Touch Garland โครงการ "จากเส้นใยสู่ภูมิปัญญา จากภูมิปัญญา สู่อาภรณ์ (Contemporary Fashion Contest 2011)"
- พินิจนันท์ กังแฮ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Maison Muscovyได้ยกย่อง 1 ใน 5 นักออกแบบรุ่นใหม่ สายเลือดไทยใน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้บริหาร บริษัท ลากุดุเอ จำกัด
- กฤช งามสม ศิลปินร่วมสมัย
- พรทวีศักดิ์ ริมสกุล ศิลปินร่วมสมัย
- เจตสุภา เครือแตง อดีตสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตรุ่น1
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- กลุ่มกิจกรรมหรือกรรมการนักศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บถาวร 2008-02-03 ท���่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายละเอียดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี เก็บถาวร 2008-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายละเอียดหลักสูตรในระดับปริญญาโท เก็บถาวร 2008-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายละเอียดโครงการปริญญาที่สอง สาขาการออกแบบตกแต่งภายใน[ลิงก์เสีย]