คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Medicine, Mahasarakham University | |
ชื่อย่อ | พ. / MED |
---|---|
คติพจน์ | ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อสุขภาพมหาชน[1] |
สถาปนา | โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วารสารมหาสารคามเวชสาร |
สี | สีเขียว |
มาสคอต | คทาคาดูเซียส |
สถานปฏิบัติ | โรงพยาบาลสุทธาเวช |
เว็บไซต์ | https://med.msu.ac.th/web/ |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Medicine, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาลำดับที่ 15 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2546 เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามการจัดตั้ง และเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับการรับ��องจากแพทยสภา[2]ถัดจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในเขตพื้นที่ในเมือง (Downtown Campus) พื้นที่เดียวกับโรงพยาบาลสุทธาเว�� (โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับตติยภูมิขั้นสูง Super Tertiary Care) คณะศึกษาศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นพื้นที่ใจกลางเขตธุรกิจและการเงินของจังหวัดมหาสารคาม ด้านหน้าติดกับถนนนครสวรรค์ สามารถเดินทางมาถึงได้โดย รถยนต์ส่วนตัว และรถโดยสารประจำทาง (เขตพื้นที่ในเมือง แบ่งเป็น 2 ฝั่งคือ ฝั่งวิทยาลัยวิชาการศึกษาเดิม (คณะแพทยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลสุทธาเวช) กับฝั่งวิทยาลัยคณาสวัสดิ์เดิม (คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม และโรงเรียนสาธิตฝ่ายประถม) โดยมีคลองคะคางเป็นเส้นแบ่งเขต)
ประวัติ
[แก้]การก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์
[แก้]คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งในสมัยของอธิการบดี ศาสตราจารย์(พิเศษ) เภสัชกร ดร.ภาวิช ทองโรจน์ โดยทาบทาม ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมพร โพธินาม เป็นประธานในการริเริ่มโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในวันที่ 21 ธันวาคม 2540 ซึ่งมีแนวคิดให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันที่เป็นเลิศทางวิชาการด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของท้องถิ่น ประเทศชาติ และนานาชาติและยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์[3]
ต่อมา หลังจากศึกษาดูงานและจัดเตรียมโครงการกว่า 5 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 10/2546 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2546 และสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้วางระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะแพทยศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2547[4] โดยดำเนินการในรูปแบบหน่วยงานนอกระบบราชการที่เน้นความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองมากที่สุด ในระยะเริ่มดำเนินงานสำนักงานตั้งอยู่ ณ อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ห้อง 305 ชั้น 3 วิทยาเขตขามเรียง (ม.ใหม่) คณะแพทยศาสตร์ได้รับโอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จากคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเข้ามาสังกัดในคณะแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2547 โดยนิสิต 84 คน จำนวน 2 รุ่น และได้เปิดรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (6 ปี) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549 ซึ่งได้การรับรองจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2549 และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5 / 2549 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เป็นรุ่นแรก ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้ย้ายคณะแพทยศาสตร์มาดำเนินงาน ณ ที่ตั้ง 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง)[5]
ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานนอกระบบราชการในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานออกเป็นสำนักงานเลขานุการคณะแพทยศาสตร์และงานบริการวิชาการคณะแพทยศาสตร์ ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 5 หลักสูตร 7 สาขาวิชา คือ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (6 ปี) หลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชานวัตกรรมสุขภาพเขตร้อน (นานาชาติ) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชานวิทยาศาสตร์สุขภาพ (นานาชาติ)[6]
การก่อสร้างโรงพยาบาล
[แก้]โรงพยาบาลสุทธาเวช พัฒนามาจาก ศูนย์บริการทางการแพทย์ ซึ่งดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ณ อาคารประกอบการหอพัก ระหว่างหอพักเชียงยืนและหอพักชื่นชม ภายในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ได้เปิดศูนย์บริการทางการแพทย์แห่งที่ 2 ณ ที่ทำการคณะแพทยศาสตร์ อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และมีแผนการพัฒนาศูนย์บริการทางการแพทย์แห่งที่ 2 เป็นโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยได้เริ่มก่อสร้างอาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกีรยติขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 แล้วเสร็จวันที่ 15 มีนาคม 2556 ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินร่วมกับเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมทั้งสิ้น 279,538,600 บาท (สำหรับเครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ และการปรับปรุงตกแต่งห้องพิเศษ) และได้รับความร่วมมือจากแรงศรัทธาของชาวจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียงร่วมบริจาคเพิ่มเติมจากเงินงบประมาณอาคาร โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า "ศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติ" ซึ่งเป็นชื่อในขั้นตอนของการของบประมาณและในภายหลังได้พัฒนามาเป็น"โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ในเวลาต่อมา[7]
ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อโรงพยาบาลว่า“สุทธาเวช” หมายถึง โรงพยาบาลซึ่งพร้อมด้วยการแพทย์อันดีงาม และพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” ประดับที่ป้ายชื่อโรงพยาบาลด้วย[8]
การเปิดโรงพยาบาล
[แก้]วันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2559 เวลา 14.35 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากอาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไปยังโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์” ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการผลการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ และทรงลงพระนามาภิไธยในแผ่นศิลา[9] ถือเป็นการเปิดใช้งานโรงพยาบาลสุทธาเวชอย่างเป็นทางการ
สัญลักษณ์
[แก้]- ตราประจำคณะ
ตราประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ พญานาค 2 ตนลำตัวพันกัน ตรงกลางเป็นตราโรจนากร อยู่ในวงกลมสีเขียวพร้อมชื่อคณะและปีที่ก่อตั้งทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- สัญลักษณ์ประจำคณะ
สัญลักษณ์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ คทาคาดูเซียส เป็นคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา (สำหรับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้พญานาคแทนงู แสดงถึงความยิ่งใหญ่และการเคารพบูชาพญานาคของคนในภูมิภาคนี้) โดยคทาคะดูเซียส เป็นไม้เท้าของเทพเฮอร์มีส ตามตำนานเทพของกรีก หรือเทพเมอร์คิวรี ในตำนานเทพของโรมัน มีรูปเป็นไม้เท้ามีปีกหนึ่งคู่ และมีงูสองตัวเลื้อยกระวัดพันอยู่ตั้งแต่ด้ามจนปลาย เป็นสัญลักษณ์ของการค้า การอาชีพ และกิจการอื่น ๆ ที่เนื่องด้วยเทพเฮอร์มีส ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์[10]
- สีประจำคณะ
- ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ
ต้นพญายา คือต้นไม้ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หน่วยงานภายในคณะ
[แก้]คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
[แก้]เปิดการเรียนการสอนในด้านการแพทย์แผนไทย รับนิสิตรุ่นแรกปี 2545 เดิมทีเป็นสาขาในคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และในปี 2547 จึงได้โอนมาสังกัดยังคณะแพทยศาสตร์]] และเป็นโครงการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ในอนาคต
ภาควิชา
[แก้]คณะแพทยศาสตร์ มีหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชา ดังนี้
|
|
หน่วยวิจัย
[แก้]หน่วยวิจัยภายในคณะแพทยศาสตร์
- หน่วยวิจัยคณะแพทยศาสตร์ฯ
- หน่วยวิจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- หน่วยวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัยในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
- หน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์
- หน่วยวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
- หน่วยวิจัยด้านภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
- หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนและโรคปรสิตฯ
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดทำการเรียนการสอนใน 5 หลักสูตร 8 สาขาวิชา ดังต่อไปนี้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[11] | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) |
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
หมายเหตุ
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เรียน 6 ปี ไม่เกิน 12 ปีการศึกษา
- หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ฉุกเฉินการแพทย์) เรียน 4 ปี ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
สีประจำหลักสูตร
[แก้]- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) สีเขียว ( Permanent green middle )
- หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.) สีเขียวไพล ( Permanent green light )
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ฉุกเฉินการแพทย์) (วท.บ.) สีเขียวตั้งแช ( Viridian green light )
สีเขียวตั้งแช (สีเขียวเวอร์ริเดียน)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สีเขียวเข้ม ( Permanent green deep )
การรับบุคคลเข้าศึกษา
[แก้]หลักสุตรแพทยศาสตรบัณฑิต
[แก้]คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2549 โดยใช้ระบบรับตรงของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ เปิดรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร์ทั้งสิ้น 1 โครงการ ได้แก่
- โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) คณะแพทยศาสตร์[12]
โดยคณะเปิดรับเฉพาะนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม สกลนคร บึงกาฬ และ หนองบัวลำภู
หลักสูตรอื่น ๆ
[แก้]- ระดับปริญญาตรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต และวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฉุกเฉินการแพทย์ ทั้งสิ้น 5 โครงการ ได้แก่
- โครงการเด็กดีมีที่เรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[13]
- โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่นด้านกีฬา[14]
- โครงการโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[15]
- โครงการรับตรงร่วมกัน (แอดมิสชัน 1)[16]
- โครงการรับกลางร่วมกัน (แอดมิสชัน 2)[17]
- ระดับปริญญาโท
การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [18]
- ผู้สมัครต้องสำเร็จปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
- ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50, หรือ
- มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 3 ปี และมีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [19]
- กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
- มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาโท ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- ระดับปริญญาเอก
การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [18]: 5
- ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
- ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 81.25 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25, หรือ
- มีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [19] โดยพิจารณาผลการสอบข้อเชียนและผลงานวิชาการอื่นประกอบ
- กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
- มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
การเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
[แก้]การเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1 - 3) และระดับชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4 - 6) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ระดับชั้นปรีคลินิก
[แก้]ในระดับชั้นนี้จะเป็นการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานก่อนที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วยในระดับชั้นคลินิกต่อไป โดยในชั้นปีที่ 1 นิสิตแพทย์จะเรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไปร่วมกับนิสิตคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียนที่อาคารราชนครินทร์ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และปรีคลินิก (ตึกสาธาฯ) และกลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์ (SC1-3) ส่วนในชั้นปีที่ 2-3 จะเรียนในรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามระบบต่างๆ ของร่างกาย และบูรณาการร่วมกับความรู้ในชั้นคลินิกโดยคณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์และบางรายวิชาที่ตึกสาธาฯ
ระดับชั้นคลินิก
[แก้]เป็นการเรียนต่อยอดจากระดับชั้นปรีคลินิกโดยเน้นการนำไปใช้กับผู้ป่วยจริง ในระดับชั้นนี้ นิสิตแพทย์จะแยกกันเรียนในโรงพยาบาลต่างๆ ตามโครงการที่เข้ามาตั้งแต่แรกรับ โดยนิสิตแพทย์จะแยกไปเรียนในโรงพยาบาลร่วมผลิตแพทย์ ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนจะอยู่ในกำกับของคณะแพทยศาสตร์ ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์จะจัดการเรียนการสอนที่โรงพยาบาลสุทธาเวช โดยในชั้นปีที่ 4 - 5 จะเรียนโดยการตรวจรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยต่างๆ ร่วมกับการเรียนภาคบรรยาย และในชั้นปีที่ 6 (Extern) จะเน้นการเรียนเสมือนการทำงานจริงภายใต้การควบคุมของแพทย์ใช้ทุน (Intern) และอาจารย์แพทย์ โดยจะมีการออกฝึกในโรงพยาบาลอื่นๆ ได้แก่ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ก่อนจบการศึกษา นิสิตแพทย์จะต้องผ่านการสอบวัดความรู้รวบยอดภาคทฤษฎี ในชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 5 และสอบวัดผลภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 6 โดยเป็นการสอบเพื่อปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (Comprehensive examination) ซึ่งจัดสอบโดยคณะแพทยศาสตร์เอง รวมทั้งการสอบเพื่อใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม (National license) ซึ่งเป็นการสอบส่วนกลาง จัดสอบโดยศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา (ศรว.) ทั้งนี้เพื่อควบคุมให้บัณฑิตแพทย์มีมาตรฐานเดียวกัน
เมื่อจบการศึกษา บัณฑิตแพทย์จะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ตามมาตรฐานสากลจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) แล้ว[20]
กีฬาโฮมหมอเกมส์
[แก้]กีฬาโฮมหมอเกมส์ หรือ กีฬาสานสัมพันธ์นิสิตกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[21] เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีต่อกันระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน จัดโดยโดยสโมสรนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ และสโมสรคณะสัตวแพทยศาสตร์
กีฬาสานสัมพันธ์ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เป็นการสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน เนื่องจากอนาคตต้องมีการทำงานร่วมกัน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย โดยในงานได้มีการเดินขบวนพาเหรดของสโมสรนิสิตแต่ละคณะ และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ฟุตซอล, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ, เปตอง และกีฬฮาเฮ อาทิ ชักเย่อ, วิ่งกระสอบ เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์ นักฉุกเฉินการแพทย์
[แก้]หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
[แก้]โรงพยาบาลที่ผลิตแพทย์ร่วมกับสาขาวิชาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) มีทั้งสิ้น 2 โรงพยาบาล โดยได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" ในโรงพยาบาลต่างๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
---|---|---|---|
โรงพยาบาล | จังหวัด | สังกัด | |
โรงพยาบาลสุทธาเวช | จังหวัดมหาสารคาม | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
โรงพยาบาล | จังหวัด | สังกัด | |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ | จังหวัดกาฬสินธุ์ | กระทรวงสาธารณสุข | |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด | จังหวัดร้อยเอ็ด | กระทรวงสาธารณสุข |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์
[แก้]โรงพยาบาลที่ร่วมผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่
สถาบันร่วมผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
---|---|---|---|
โรงพยาบาล | จังหวัด | สังกัด | |
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา | จังหวัดนครราชสีมา | กระทรวงสาธารณสุข |
ทำเนียบคณบดี
[แก้]รายนามคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||
---|---|---|
ลำดับที่ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมพร โพธินาม | 2546 - 2554[22] |
2 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.เรือน สมณะ(ราชบัณฑิต) | 2554 - 2558[23] |
3 | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุชาติ อารีมิตร | 2558 - 2560[24] |
4 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พลตรีหญิง แพทย์หญิงวณิช วรรณพฤกษ์ | 2560 - 2562[25] |
5 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย | 2562 - ปัจจุบัน[26] |
สถานที่ตั้งและพื้นที่
[แก้]คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่เลขที่ 77/99 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วยอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ 8 หลัง (รวมโรงพยาบาลสุทธาเวช) ได้แก่ อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์หลังเก่า (สำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์) อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติฯ 1 (โรงพยาบาลสุทธาเวช) อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติฯ 2 (อาคารคณะแพทยศาสตร์) อาคารผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาคารศูนย์บริการแพทยแผนไทย อาคารรังสีวินิจฉัย อาคารเอนกประสงค์คณะแพทยศาสตร์ อาคารผู้ป่วยนอก 1 และกลุ่มที่พักบุคลากรทางการแพทย์ 4 หลัง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอาคารหลักคือ "อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติ หลังที่ 2" (อาคารคณะแพทยศาสตร์ 2) ความสูง 12 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 15,025.53 ตารางเมตร วงเงินจัดสรร 253,200,000 บาท โดยในปัจจุบันอาคารดังกล่าวเป็นสถานที่ติดต่อราชการ ที่ทำการศึกษาของแต่ละภาควิชา และห้องประชุม ภายในอาคารประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
- ชั้น 1 ห้องสมุดขนาด 150 ที่นั่งและสำนักงาน
- ชั้น 2 ห้องสัมมนาขนาด 300 ที่นั่ง และขนาด 150 ที่นั่ง
- ชั้น 3 ห้องเรียนขนาด 60 ที่นั่ง จำนวน 6 ห้อง
- ชั้น 4 ห้องศึกษาหุ่น และห้องเรียนกลุ่มขนาด 15 ที่นั่ง จำนวน 12 ห้อง
- ชั้น 5 ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้องใหญ่และจำนวน 4 ห้องเล็ก
- ชั้น 6 เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้องใหญ่และ 4 ห้องเล็ก
- ชั้น 7 และชั้น 8 สำนักงานบริหารคณะแพทยศาสตร์
- ชั้น 9 และชั้น 10 สำนักงานของอาจารย์ พร้อมห้องประชุม
- ชั้น 11 ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง
- ชั้น 12 ห้องสอนภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ขนาด 120 เตียง
นอกจากอาคารคณะแพทยศาสตร์ 2 แล้ว ยังมีอาคารอื่นๆ ได้แก่
- อาคารรังสีวินิจฉัย เป็นอาคารที่ใช้งานร่วมกันกับคณะแพทยศาสตร์ โดยเป็นอาคารสำหรับกิจการด้านรังสิวิทยาสำหรับการวินิจฉัยและการแพทย์และภาควิชารังสีวิทยา
- อาคารคณะแพทยศาสตร์ 1 เป็นอาคาร 4 ชั้น เดิมเป็นอาคารเรียนหลักของคณะแพทย์ ปัจจุบันปรับปรุงเป็นตึกจ่ายกลางและคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์
- อาคารสถานผลิตยา เป็นอาคารสำหรับการผลิตยาและสมุนไพร
- ศูนย์อาหารคณะแพทยศาสตร์ เป็นศูนย์อาหารสำหรับนิสิตแพทย์ บุคลากรโรงพยาบาลและผู้ป่วย ตั้งอยู่ระหว่างอาคารคณะแพทยศาสตร์ 2 กับตัวโรงพยาบาลสุทธาเวช
- อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติ หลังที่ 1 เป็นอาคารหลักของโรงพยาบาลสุทธาเวช รองรับผุ้ป่วยได้ 120 เตียง
- อาคารผู้ป่วยนอก 1 หรือตึก OPD รองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ : ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. เก็บถาวร 2021-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564.
- ↑ แพทยสภา. โรงเรียนแพทย์ภายในประเทศ ที่แพทยสภารับรอง เรียงลำดับ. 18 กุมภาพันธ์ 2565
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ : วัตุประสงค์ในการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564.
- ↑ กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี : ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๗. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ : รายงานประจำปี 2563 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564.
- ↑ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หลักสูตรที่เปิดสอน. 16 กันยายน 2564
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ : ประวัติสถานพยาบาล. เก็บถาวร 2021-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564.
- ↑ ศิลปวัฒนธรรม : รู้ไหมว่า “มหาสารคามเคยมีสนามบิน”…แล้วทำไมถึงเปลี่ยนไป?. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ข่าวประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เก็บถาวร 2021-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564.
- ↑ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานประจำปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2564. 17 มีนาคม 2565.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี : รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 132 เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564
- ↑ MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการเด็กดีมีที่เรียน ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่นด้านกีฬา ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 1 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 2 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ 18.0 18.1 บัณฑิตวิทยาลัย (2560). การรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2561 (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 19.0 19.1 บัณฑิตวิทยาลัย. รายละเuอียดและคุณสมบัตเฉพาะสาขาของผู้สมัครสอบระดับปริญญาโท (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ แพทยสภา : รายชื่อสถาบัน ที่ผ่านการรับรองจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) หรือ Institute for Medical Education Accreditation (IMEAc) ตามมาตรฐานสากล WFME. เก็บถาวร 2021-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ ข่าวประชาสัมพันธ์ มมส. [http://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=6317&uf=&qu= มมส จัดการแข่งขันกีฬาโฮมหมอเกมส์ ครั้งที่ 8.] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.
- ↑ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๑๑๓/๒๕๕๑. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
- ↑ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๔๔๕/๒๕๕๔. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
- ↑ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๑๕๑/๒๕๕๘. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
- ↑ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๔๘๕/๒๕๖๐. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
- ↑ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๐๓๕/๒๕๖๒. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564