ข้ามไปเนื้อหา

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Environment and Resource Studies, Mahasarakham University
ชื่อย่อสวล. / ENV
สถาปนา17 กันยายน พ.ศ. 2547 (20 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีรศ.ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว
ที่อยู่
อาคารวิทยาศาสตร์สุขภาพ เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
สี  สีเขียวอ่อน
มาสคอต
ช่อประดู่ป่า
เว็บไซต์env.msu.ac.th

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Environment and Resource Studies, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นโดยมติสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อวันที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นคณะลำดับที่ 16 ของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่���ขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) และได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ประวัติ

[แก้]

เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์โดยสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดสอนเป็นครั้งแรกใน 3 หลักสูตร ได้แก่ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2547 และได้เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าวตั้งแต่ภาคเรียนปลาย ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา โดยการเรียนการสอนในหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จะมุ่งเน้นการแก้ปัญหาและส่งเสริมการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคอีสาน และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในขณะเดียวกันการศึกษาวิจัย การให้บริการสังคม และการประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นภารกิจสำคัญของโครงการฯไปพร้อมกันด้วย[1]

ในภาคเรียนต้นปีการศึกษา 2548 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ขยายการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาโท ไปที่ศูนย์ฯ อุดรธานีอีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับการขยายการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ได้รับโอนย้ายสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จากคณะเทคโนโลยี มาเป็นหน่วยงานในสังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์[2]

ปัจจุบัน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานเป็นสำนักเลขานุการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และสำนักวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา และในปีการศึกษา 2560 มีบุคคลากรทั้งหมดรวม 54 คน มีจำนวนนิสิตทั้งหมด 1,011 คน[3]

สัญลักษณ์

[แก้]
  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากรประดับด้วยใบประดู่ป่า ด้านล่างเป็นแถบชื่อคณะภาษาอังกฤษเขียนว่า “Faculty of Environment and Resource studies”

  • สีประจำคณะ

  สีเขียวอ่อน

  • ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ

ต้นประดู่ป่า คือต้นไม้ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยงานภายใน

[แก้]

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้


การบริหารงานภายในคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ด้านการบริหารงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • สำนักงานเลขานุการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    • งานบริหารทั่วไป
    • งานวิชาการ
    • งานวิจัยและบริการวิชาการสังคม
    • งานประกันคุณภาพ
    • งานพัฒนานิสิตและกิจการพิเศษ
  • สำนักวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยกรศาสตร์ (เทียบเท่าภาควิชา)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
  • ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง
  • ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษา
  • ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน
  • ศูนย์สหวิทยาการการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
  • ศูนย์บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว

หลักสูตร

[แก้]

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดทำการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โทและเอกใน 4 หลักสูตร 10 สาขาวิชา ดังนี้


หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[4]
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาและเกษตรศึกษา[5]
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

ทำเนียบคณบดี

[แก้]

ทำเนียบคณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย วีระวัฒนานนท์ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี  นาวานุเคราะห์ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 – 1 เมษายน พ.ศ. 2556
3. รองศาสตราจารย์ ดร.สุนันท์ สายกระสุน 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – 10 กันยายน พ.ศ. 2556
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง 5 มกราคม พ.ศ. 2558 – 4 มกราคม พ.ศ. 2562
5. รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว 5 มกราคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน

สถานที่ตั้งและพื้นที่

[แก้]
อาคารเรียนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
อาคารปฏิบัติการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สุขภาพที่แต่เดิมเป็นของคณะสาธารณสุขศาสตร์ (ภายหลังคณะสาธารณสุขศาสตร์ได้ย้ายไปยังอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และปลีคลินิก) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์

อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สุขภาพ เดิมทีเป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ก่อสร้างอาคารเรียนคณะสาธารณสุขศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2546 ด้วยงบประมาณเงินแผ่นดินปี พ.ศ. 2546 รวมวงเงินงบประมาณที่ก่อสร้างทั้งสิ้น 32,100,000 บาท เลขที่สัญญาจ้าง จ.34/2546 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2547 บริษัทผู้รับจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุทัศน์วิศวการ โดยใช้เป็นอาคารเรียนคณะสาธารณสุขศาสตร์ ลักษณะของอาคาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 7,400 ตารางเมตร

จากนั้นได้มีการปรับผังอาคารในมหาวิทยาลัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ได้ย้ายที่ทำการไปอาคารใหม่ข้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ย้ายจากเขตพื้นที่ในเมืองคณาสวัสดิ์ ตำบลตลาด มาเป็นที่ทำการแทน

ปัจจุบันอาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประกอบด้วย

  • ชั้น 1
    • ห้องคณบดี
    • ห้องสำนักงานคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรสาสตร์
    • ติดต่อ สอบถาม
    • สโมสรนิสิต
    • ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา
    • ห้องผลิตสื่อสิ่งแวดล้อมศึกษา/ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
  • ชั้น 2
    • สำนักงานสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
    • สำนักงานสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรและสาขาวิชาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
    • หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและการปรับตัว
    • ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
    • ศูนย์วิจัยการจัดการสิ่งแวดล้อมนานาชาติ
  • ชั้น 3
    • ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
    • ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
  • ชั้น 4
    • สำนักงานสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    • สำนักงานสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
    • ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน
    • ศูนย์สหวิทยาการการวิจัยเพื่อความ ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
    • ห้องค้นคว้าด้วยตนเอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "ประวัติคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ประวัติคณะเทคโนโลยี. 16 มิถุนายน 2564.
  3. "รายงานข้อมูลพื้นฐาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2560" (PDF). กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. หลักสูตร
  5. กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. แผนหลักสูตรและแผนการรับนิสิต ปีการศึกษา 2566-2570. 20 มีนาคม 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]