ข้ามไปเนื้อหา

นีออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Neon)
นีออน, 00Ne
นีออน
รูปลักษณ์เป็นแก๊สไม่มีสีแต่จะเรืองแสงสีส้มแดงในสนามไฟฟ้าแรงดันสูง
Standard atomic weight Ar°(Ne)
  • 20.1797±0.0006
  • 20.180±0.001 (abridged)[1]
นีออนในตารางธาตุ
Hydrogen Helium
Lithium Beryllium Boron Carbon Nitrogen Oxygen Fluorine Neon
Sodium Magnesium Aluminium Silicon Phosphorus Sulfur Chlorine Argon
Potassium Calcium Scandium Titanium Vanadium Chromium Manganese Iron Cobalt Nickel Copper Zinc Gallium Germanium Arsenic Selenium Bromine Krypton
Rubidium Strontium Yttrium Zirconium Niobium Molybdenum Technetium Ruthenium Rhodium Palladium Silver Cadmium Indium Tin Antimony Tellurium Iodine Xenon
Caesium Barium Lanthanum Cerium Praseodymium Neodymium Promethium Samarium Europium Gadolinium Terbium Dysprosium Holmium Erbium Thulium Ytterbium Lutetium Hafnium Tantalum Tungsten Rhenium Osmium Iridium Platinum Gold Mercury (element) Thallium Lead Bismuth Polonium Astatine Radon
Francium Radium Actinium Thorium Protactinium Uranium Neptunium Plutonium Americium Curium Berkelium Californium Einsteinium Fermium Mendelevium Nobelium Lawrencium Rutherfordium Dubnium Seaborgium Bohrium Hassium Meitnerium Darmstadtium Roentgenium Copernicium Nihonium Flerovium Moscovium Livermorium Tennessine Oganesson
He

Ne

Ar
ฟลูออรีนนีออนโซเดียม
หมู่group 18 (noble gases)
คาบคาบที่ 2
บล็อก  บล็อก-p
การจัดเรียงอิเล็กตรอน[He] 2s2 2p6
จำนวนอิเล็กตรอนต่อชั้น2, 8
สมบัติทางกายภาพ
วัฏภาค ณ STPแก๊ส
จุดหลอมเหลว24.56 K ​(-248.59 °C, ​-415.46 °F)
จุดเดือด27.104 K ​(-246.046 °C, ​-410.883 °F)
ความหนาแน่น (ณ STP)0.9002 g/L
เมื่อเป็นของเหลว (ณ b.p.)1.207[2] g/cm3
Triple point24.556 K, ​43.37[3][4] kPa
Critical point44.4918 K, 2.7686[4] MPa
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว0.335 kJ/mol
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ1.71 kJ/mol
ความจุความร้อนโมลาร์5R/2 = 20.786 J/(mol·K)
ความดันไอ
P (Pa) 1 10 100 1 k 10 k 100 k
at T (K) 12 13 15 18 21 27
สมบัติเชิงอะตอม
เลขออกซิเดชัน0
รัศมีโคเวเลนต์58 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์154 pm
Color lines in a spectral range
Color lines in a spectral range
เส้นสเปกตรัมของนีออน
สมบัติอื่น
โครงสร้างผลึก ​รูปลูกบาศก์กลางหน้า
การนำความร้อน49.1×10−3  W/(m⋅K)
ความเป็นแม่เหล็กไดอะแมกเนติก[5]
Bulk modulus654 GPa
ความเร็วของเสียง(แก๊ส, 0 °C) 435 m/s
เลขทะเบียน CAS7440-01-9
ประวัติศาสตร์
การทำนายวิลเลียม แรมเซย์ (1897)
การค้นพบวิลเลียม แรมเซย์ & มอร์ริส ทราเวอร์[6] (1898)
การแยกให้บริสุทธิ์เป็นครั้งแรกวิลเลียม แรมเซย์ & มอร์ริส ทราเวอร์[7] (1898)
ไอโซโทปของนีออน
ไม่มีหน้า แม่แบบ:กล่องข้อมูลไอโซโทปของนีออน
หมวดหมู่ หมวดหมู่: นีออน
| แหล่งอ้างอิง

นีออน (อังกฤษ: neon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Ne และเลขอะตอม 10 นีออนเป็นก๊าซเฉื่อย เป็นสมาชิกหมู่ที่ 8 ของตารางธาตุ เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใด ๆ และเกิดแสงเรืองสีแดงเมื่อใช้ในหลอดสุญญากาศ (vacuum discharge tube) กับไฟนีออน และพบในปริมาณเล็กน้อยในอากาศ (หนึ่งใน 55,000 ส่วน) ได้จากการนำอากาศเหลวมากลั่นลำดับส่วนและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใด ๆ เลย

การค้นพบ

[แก้]

นีออนค้นพบโดย Sir William Ramsay และ M.W. Travers ถูกค้นพบที่ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1898 เป็นเศษส่วนที่ระเหยง่ายจากอาร์กอนเหลว ณ อุณหภูมิที่อากาศกลายเป็นของเหลว ส่วนอาร์กอนนั้นเป็นแก๊สเล็กน้อยที่เหลืออยู่เมื่อนำแก๊สไนโตรเจนจากอากาศมาทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมที่เผาจนร้อนแดง คำว่า Neon มาจากคำกรีก neos ตรงกับคำอังกฤษ new แปลว่าใหม่ และต่อมาพวกเขาค้นพบธาตุซีนอนโดยใช้วิธีการที่คล้ายกัน

การใช้ประโยชน์

[แก้]

การใช้ประโยชน์ของนีออนในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญที่สุดได้แก่ กลไกการทำให้เกิดแสงสว่าง และที่คุ้นเคยมากที่สุดคือหลอดนีออนที่ใช้เป็นไฟโฆษณา หลอดเรืองแสง (fluorescence lamp) หลอดนำแก๊ส (gaseous conduction lamp) หลอดไฟที่บรรจุด้วยนีออนที่ความดันต่ำมาก (เพียงไม่กี่ mm Hg) ให้แสงส้มแดงที่สว่าง ส่วนหลอดไฟนีออนที่ใช้เป็นไฟโฆษณาอาจบรรจุด้วยแก๊สอื่นด้วย เช่น ฮีเลียม อาร์กอนหรือปรอท และสีของแสงไฟขึ้นกับชนิดของแก๊สผสมและสีของแก้วของหลอดไฟ นอกจากนี้แล้วหลอด Geiger-Muller ที่ใช้ในการจับและนับอนุภาคนิวเคลียร์ ก็บรรจุด้วยของผสมของนีออนและโบรมีน หรือของผสมของนีออนและคลอรีน Ionization chambers, proportional counters, neutron fission counter, scintillation counters และ cosmic ray counters ก็อาจใช้นีออน อาร์กอน ฮีเลียม หรือของผสมของแก๊สเหล่านี้กับไฮโดรคาร์บอน เฮโลเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สเลเซอร์ (gas lasers) ก็ใช้ของผสมของฮีเลียมและนีออน นีออนที่ใช้ในหลอดสุญญากาศใช้เป็นตัวชี้วัดไฟฟ้าแรงสูง ดักฟ้าผ่าหลอดเมตรคลื่นหลอดโทรทัศน์ นีออนเหลวถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นสารทำความเย็น อุณหภูมิในการใช้งานไม่จำเป็นต้องอุณหภูมิต่ำ และทั้งก๊าซนีออนและนีออนเหลวค่อนข้างมีราคาแพง เนื่องจากธาตุนีออนค่อนข้างจะมีอยู่น้อยในธรรมชาติ

ความเป็นพิษ

[แก้]

นีออนไม่ติดไฟและไม่ปรากฏเป็นพิษแต่อย่างใด

ข้อเท็จจริง

[แก้]
  • คิดเป็นร้อยละ 0.0018 ของชั้นบรรยากาศของโลกเป็นนีออน
  • แม้ว่ามันจะเป็นธาตุที่ค่อนข้างหายากบนโลกของเรา แต่นีออนเป็นองค์ประกอบที่มีมากที่สุด ลำดับที่ที่ห้าในจักรวาล
  • ธาตุนีออนไม่มีสารประกอบที่มีเสถียรภาพ[9]

ออกซิเดชันสามัญ ของธาตุนีออน

[แก้]
ไอโซโทป มวลอะตอม ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ (%)
20Ne 19.992 90.48
21Ne 20.994 0.27
22Ne 21.991 9.25

[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Standard Atomic Weights: Neon". CIAAW. 1985.
  2. Hammond, C.R. (2000). The Elements, in Handbook of Chemistry and Physics 81st edition (PDF). CRC press. p. 19. ISBN 0849304814.
  3. Preston-Thomas, H. (1990). "The International Temperature Scale of 1990 (ITS-90)". Metrologia. 27: 3–10. Bibcode:1990Metro..27....3P. doi:10.1088/0026-1394/27/1/002.
  4. 4.0 4.1 Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 4.122. ISBN 1439855110.
  5. Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.
  6. Ramsay, William, Travers, Morris W. (1898). "On the Companions of Argon". Proceedings of the Royal Society of London. 63 (1): 437–440. doi:10.1098/rspl.1898.0057.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. "Neon: History". Softciências. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
  8. "HNe". NIST Chemistry WebBook. National Institute of Standards and Technology. สืบค้นเมื่อ 23 January 2013.
  9. http://www.webelements.com/neon/uses.html
  10. http://www.rsc.org/periodic-table/element/10/neon