โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร
โลหะปราสาท | |
---|---|
โลหะปราสาท | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่ตั้ง | แขวงบวรนิเวศ, เขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
การสร้าง | |
สถาปนิก | สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)[1] |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมไทย |
ผู้สร้าง | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ปีที่เริ่ม | พ.ศ. 2389[2] (178 ปี) |
ขึ้นเมื่อ | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | วัดราชนัดดาราม |
เลขอ้างอิง | 0000039 |
โลหะปราสาท เป็นโลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร และอยู่ในบริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ยอดปราสาทประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
โลหะปราสาท ได้รับการปรับปรุงหลายครั้ง ภายหลังก่อสร้��งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ภายหลังพระองค์สวรรคตลง โลหะปราสาทก็มิได้ปรับปรุงแล้วเสร็จ จนกระทั่งได้บูรณะครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จในสมัยพระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี) ปี พ.ศ. 2506 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ร่วมกันปรับปรุงแล้วเสร็จ เป็นแบบก่อโบกปูนสีแดง มณฑปทาสีขาว
ในปี พ.ศ. 2539 พล.อ.ต.อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม (ในเวลาต่อมา) ได้ออกแบบวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ ทำให้ออกมาเป็นสีดำ และในปี พ.ศ. 2555 กรมศิลปากรได้ร่วมกับทางวัดบูรณะ มณฑปให้เป็นสีทองแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560
ประวัติ
[แก้]โลหะปราสาท ตั้งอยู่ ณ ด้านตะวันตกของพระอุโบสถ ก่อสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนการสร้างเจดีย์ โลหะปราสาทนี้ สร้างขึ้นตามประวัติพระพุทธศาสนา ถือเป็นโลหะปราสาทองค์ที่ 3 ของโลก โดยโลหะปราสาทหลังแรกนางวิสาขาบุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลโดย เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ ที่ชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท" ส่วนโลหะปราสาทหลังที่ 2 สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระลังกา ในราวปีพุทธศักราช 382 เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง
โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร มีลักษณะศิลปสถาปัตยกรรมไทยเป็นปราสาท 3 ชั้น มียอด 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ กลางปราสาทเป็นช่องกลวงจากฐานตลอดยอด มีซุงต้นใหญ่สูงถึงยอดปราสาทเป็นแกนกลาง เจาะลำต้นตอกเป็นบันไดเวียนขึ้น 67 ขั้น เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2394 นับจากปีที่เริ่มก่อสร้างวัดราชนัดดารามได้ 5 ปี แต่ก่อสร้างสำเร็จเป็นเพียงปราสาทโกลน ก็สิ้นรัชกาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้างโลหะปราสาท จนมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต) เจ้าอาวาส ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้งตามแต่กำลังทุนทรัพย์ที่หาได้ โดยบูรณะตั้งแต่ชั้นบนลงมา คือ ทำพื้น ก่อมณฑปโบกปูนสีแดง ยกฉัตร ยอดเจดีย์ที่ชั้นบนสุดและชั้นที่ 2 ทั้งหมด ยังเหลือแต่ชั้นล่างสุดที่��ม่ได้บูรณะ
การบูรณะโลหะปราสาทครั้งใหญ่ ดำเนินการในสมัยพระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในปี พ.ศ. 2506 ทั้งนี้ได้พยายามรักษาแบบแผนดั้งเดิมของโลหะปราสาทในสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้ให้มากที่สุด นับว่าโลหะปราสาทได้บูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ในครั้งนี้ โดยกรมโยธาเทศบาล เป็นผู้รับผิดชอบในครั้งนี้
เมื่อครั้งที่รัฐบาลจัดงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบกโลหะปราสาทเป็นพระราชพิธีแรก แห่งการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
สืบเนื่องจากโอกาสดังกล่าว โครงการบูรณะโลหะปราสาทครั้งล่าสุดจึงได้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2539 สาระสำคัญของโครงการนี้ประกอบด้วย งานบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท เริ่มจากยอดมณฑปกลาง เปลี่ยนวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ โดยมีนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น (ยศในขณะนั้น ปัจจุบันเป็นยศ พลอากาศตรี) ศิลปินแห่งชาติ เป็นสถาปนิก นายสุทิน เจริญสวัสดิ์ เป็นวิศวกรโยธา และ นายประพิศ แก้วสุริยาเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
ในปี พ.ศ. 2555 กรมศิลปากร ร่วมกับวัดราชนัดดารามวรวิหาร จัดโครงการบูรณะโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม โดยการปิดทองคำเปลวบนยอดทั้ง 37 ยอด โดยเริ่มดำเนินการจากชั้นบนสุดลงมาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ขณะกำลังบูรณะในปี พ.ศ. 2546 สังเกตมณฑปชั้นล่างยังเป็นสีขาว
-
ปี พ.ศ. 2551 มณฑปบูรณะเป็นทองแดงรมดำทั้งหมด
-
ปี พ.ศ. 2557 ยอดมณฑปกลางปิดทอง
-
ปี พ.ศ. 2558 ปิดทองมณฑปชั้น 2 และ 3
-
ปี พ.ศ. 2558 ปิดทองมณฑปชั้น 2 และ 3
-
เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ปิดทองมณฑปชั้น 2 และ 3
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอ���กาศของ โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°45′17″N 100°30′16″E / 13.754793°N 100.504568°E
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โลหะปราสาท เก็บถาวร 2015-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นานาสาระ .สืบค้นเมื่อ 12/12/2559
- ↑ บูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม, travel.mthai.com .วันที่ 24 มี.ค. 2557