โรงเรียนมัญจาศึกษา
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (มิถุนายน 2021) |
โรงเรียนมัญจาศึกษา | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
205 ถนนกลางเมือง ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น 40160 | |
พิกัด | 16°07′54″N 102°31′58″E / 16.1315798°N 102.5327769°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ม.ศ. (M.C.) |
ประเภท |
|
คำขวัญ | "ขยัน สามัคคี มีระเบียบ" |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2515 (52 ปี) |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
สหวิทยาเขต | อุดมคงคาคีรี |
รหัส | 1010460101 |
ผู้อำนวยการ | นาย ชัยสิทธิ์ ผาจันทร์ |
ระดับชั้น |
|
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่ทำการเรียนการสอน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน |
สี | น้ำเงิน-ชมพู |
เพลง | มาร์ชน้ำเงินชมพู |
ปรัชญา | ปญฺโญ เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ (ผู้มีปัญญา เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์) |
เว็บไซต์ |
โรงเรียนมัญจาศึกษา (อังกฤษ : Manchasuksa School,อักษรย่อ: ม.ศ. ,M.C.) เป็นสถานศึกษาแห่งแรกของจังหวัดขอนแก่นที่ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 10[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติโรงเรียนมัญจาศึกษา
[แก้]โรงเรียนมัญจาศึกษา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 90 คน เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านไผ่ (ขก5) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ปีแรกที่เปิดทำการสอนได้อาศัยที่เรียนชั่วคราวของโรงเรียนชุมชนบ้านหันมัญจา คีรี อำเภอมัญจาคีร ี(โรงเรียนประถม) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราวมี นายสุวรรณ พิริยะอนันตกุล ศึกษาธิการอำเภอมัญจาคีรี รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ในปีเดียวกันนั้น ได้แต่งตั้ง นายอุดม ภักดี ให้มาดำรงค์ตำแหน่งครูใหญ่ ใน ปี พ.ศ. 2516 โรงเรียน อำเภอและจังหวัดร่วมกันทำเรื่องขอโรงบ่มใบยาขององค์การยาสูบขององค์การยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งได้เลิกกิจการไป กระทรวงการคลังได้อนุเคราะห์มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมสามัญศึกษา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ มีเนื้อที่ประมาณ 23 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ อีก แต่ค่อนข้างชำรุด ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ตั้งของอาคารเรียน โรงฝึกงาน แปลงเกษตร โรงอาหาร หอประชุม สนามกีฬาบางส่วนเนื่องจากสถานที่ของโรงเรียนคับแคบ ต่อมาจังหวัดได้อนุมัติให้โรงเรียนใช้ที่ดินราชพัสดุอีก 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา และปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่รวม 2 แปลง เป็นเนื้อที่ 38 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา
รายนามผู้บริหารโรงเรียนมัญจาศึกษา
[แก้]โรงเรียนมัญจาศึกษา | ||
---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | นายอุดม ภักดี | พ.ศ. 2515 - 2526 |
2 | นายวิไล รู้ปัญญา | พ.ศ. 2526 - 2530 |
3 | นายเจริญ เลื่อนธรรมรัตน์ | พ.ศ. 2530 - 2532 |
4 | นายสมศักดิ์ ตันประเสริฐ | พ.ศ. 2532 - 2534 |
5 | นายสมพงษ์ สมภักดี | พ.ศ. 2534 - 2539 |
6 | นายรัฐวุฒิ ชัยวิศิษฏ์ | พ.ศ. 2539 - 2540 |
7 | นายสังวาลย์ ไชยช่วย | พ.ศ. 2540 - 2543 |
8 | นายสวาท นาทอง | พ.ศ. 2543 - 2550 |
9 | นายสมศักดิ์ บ้านเหล่า | พ.ศ. 2551 - 2551 |
10 | นางณิชารัตน์ ศิริพรรณ | พ.ศ. 2552 - 2555 |
11 | นายธนัท ไชยทิพย์ | พ.ศ. 2556 - 2558 |
12 | นายสุพจน์ แสงสุข | พ.ศ. 2559 - 2561 |
13 | ดร.สายสมร ศักดิ์คำดวง | พ.ศ. 2561 - 2563 |
14 | นายสมนึก เรื่องลือ | พ.ศ. 2564 - 2566 |
15 | นายชัยสิทธิ์ ผาจันทร์ | พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
แผนการเรียนการสอนของทางโรงเรียน/หลักสูตร
[แก้]- แผนการเรียนห้องเรียนหลักสูตรทั่วไป
- แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม GIFTED GTEP , (GEFTED AND TALENTED EDUCATION PROGRAM)
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- พิมศิริ ศิริแก้ว (นักยกน้ำหนักเหรียญเงินโอลิมปิก2012)
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนมัญจาศึกษา
- โรงเรียนมัญจาศึกษา ที่เฟซบุ๊ก
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนมัญจาศึกษาในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน