อำเภอชุมแพ
อำเภอชุมแพ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chum Phae |
คำขวัญ: หลักเมืองเก่าชุมแพ แลผาพระนอนล้ำค่า อารยธรรมโนนเมือง ลือเลื่องเศรษฐกิจ ติดตาผานกเค้า เข้าชมถ้ำผาพวงบวงสรวงปู่หลุบ | |
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอชุมแพ | |
พิกัด: 16°32′39″N 102°5′59″E / 16.54417°N 102.09972°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ขอนแก่น |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 510.9 ตร.กม. (197.3 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 122,730 คน |
• ความหนาแน่น | 240.22 คน/ตร.กม. (622.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 40130, 40290 (เฉพาะตำบลโนนหัน นาหนองทุ่ม หนองเขียด และโนนสะอาด) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4005 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอชุมแพ หมู่ที่ 1 ถนนมลิวรรณ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ชุมแพ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น โดยนับว่าเป็นพื้นที่ 1 ใน 4 อำเภอที่มีเศรษฐกิจเติบโตรองจากตัวเมืองขอนแก่น เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภูเวียง โดยแยกออกมาตั้งเป็นอำเภอตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2486[1] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอชุมแพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นประมาณ 82 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 520 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอภูกระดึง (จังหวัดเลย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสีชมพู อำเภอเวียงเก่า อำเภอภูเวียงแ���ะอำเภอหนองเรือ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านแท่น อำเภอภูเขียว และอำเภอคอนสาร (จังหวัดชัยภูมิ)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอคอนสาร (จังหวัดชัยภูมิ) และอำเภอภูผาม่าน
ประวัติ
[แก้]บ้านชุมแพเริ่มก่อตั้งมาเมื่อประมาณพุทธศักราช 2270 ตามหนังสือที่นายเคน พุทธาศรี อดีตกำนันตำบลชุมแพสืบค้นเขียนไว้เมื่อพุทธศักราช 2520 แต่วัดโพธิ์ธาตุ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พุทธศักราช 2221 และมีเจ้าอาวาสรูปแรกคือ พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช (2221-2248) ตามหนังสือทะเบียนวัดภาคเก้า กรมการศาสนาและเว็บไซต์พระสังฆาธิการ พระพุทธศาสนา ซึ่งขัดต่อหนังสือที่นายเคน พุทธาศรีได้สืบค้นไว้ ซึ่งก็ยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้ ช่วงเวลาต่างกันประมาณ 49 ปี จึงได้สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นวัดและชุมชนเก่ามาก่อน มีหลักฐานคือเจดีย์(ธาตุ)เก่าและวัตถุโบราณต่างๆรอบบริเวณ คนยุคนั้นคงจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นด้วยเหตุผลใดนั้นก็ไม่ทราบปล่อยให้เป็นวัดร้างและชุมชนร้าง ก่อนที่กลุ่มของบรรพบุรุษบ้านชุมแพจะมาตั้งบ้านถิ่นฐาน
เมื่อนานมาแล้วมีพระธุดงค์รูปหนึ่ง นามว่า พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช ได้เดินธุดงค์มาพบเจดีย์(ธาตุ)โบราณ ทั้งหมด 3 องค์ องค์ใหญ่มีลักษณะรูปทรงคล้ายใบโพธิ์ สูงตั้งเด่นเป็นสง่าแลดูงามตายิ่งน่าเคารพเลื่อมใสและยังได้ค้นพบโบราณวัตถุต่างๆรอบบริเวณ จึงตั้งชื่อวัดว่า "วัดโพธิ์ธาตุ" (เพราะว่ามีธาตุที่มีลักษณะรูปทรงคล้ายใบโพธิ์) ประกอบกับโดยรอบมีพื้นที่เป็นโคกเป็นดอน(เนิน)ส่วนทางฝั่งทิศตะวันตกมีลำห้วย ทิศตะวันออกมีหนองน้ำขนาดใหญ่ ทางทิศตะวันตกเป็นที่ลุ่มเหมาะสำหรับทำการเกษตร โดยรอบอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับตั้งบ้านตั้งถิ่นฐาน พระญาคูหงส์จึงได้กลับไปชักชวนญาติพี่น้องญาติโยม ได้แก่ย่าขาว สามีชื่อศรีสุทอและเพื่อนบ้านย้ายถิ่นฐานตั้งบ้านใหม่(ย้ายออกมาจากกลุ่มบ้านกุดแห่ที่พึ่งตั้งหมู่บ้านได้ไม่นานในเวลาไล่เรี่ยกัน) โดยได้ตั้งบ้านเรือนที่แรกอยู่ที่คุ้มกลางฝั่งทางทิศตะวันตกของวัดโพธิ์ธาตุ ปีเริ่มแรกมีเพียง 6 หลังคาเรือน พื้นที่โดยรอบบ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์ นานเข้าจึงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นเรื่อยๆจากทั่วทุกสารทิศ
ทางฝั่งทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีลำห้วยขนาดใหญ่ ภาษาพื้นบ้านเรียก "กุด" กุดมีน้ำใสไหลเย็นและน้ำลึก ริมตลิ่งทั้งสองฝั่งมีต้นกอไผ่ขึ้นหนาแน่น มีจระเข้ชุกชุม โดยรอบเป็นพื้นที่ป่าทึบ มีสัตว์ป่ามากมาย อาทิ ควายป่า วัวป่า อง มั่ง อีเก้ง หมูป่า ฯลฯ และมีสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลามากมาย สมัยก่อนนั้นชาวบ้านจะจับปลาด้วยหอกแหลมหลาวไม่มีแหน้ำลึกเพราะไม่สะดวกในการจับปลา ชาวบ้านต้องตัดลำไผ่นำมาทำเป็นแพหลายๆลำแล้วตีวงล้อมเข้าหากันเป็นกลุ่ม ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า "ซุมแพ" (คือการรวมแพเข้าหากัน) นานเข้าจึงเรียกลำห้วยนี้ว่า กุดซุมแพ แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามยุคสมัยภาษาไทยกลางเป็น "กุดชุมแพ" และ บ้านชุมแพ จนถึงปัจจุบัน อีกตำราบ้างก็ว่าชาวบ้านตัดลำไผ่มาทำเป็นแพประมาณ 20-30 ลำ ทำเป็น 2 ชั้น 3 ชั้น แพลำหนึ่งคนสามารถบรรทุกคนได้ 3-4 คน เอาล่องลงไปตามลำห้วยเพื่อหาปลา หลายคนทำหลายแพแล้วนำมาพักมาจอดซุมกันเป็นจุด (คือการจอดรวมแพเป็นจุด) นานเข้าจึงเรียก "กุดซุมแพ" แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามยุคสมัยภาษาไทยกลางเป็น "กุดชุมแพ" และ "บ้านชุมแพ"
ทางฝั่งทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีหนองน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสและมีบัวขึ้นชุกชุม ใช้เป็นสถานที่จัดเทศกาลต่างๆในหมู่บ้าน เช่น เทศกาลลอยกระทง การจัดการแข่งขันพายเรือเนื่องในวันออกพรรษา การจัดมหรสพหมอลำกลอน หมอลำเพลิน รำวงย้อนยุค ชกมวย ฉายหนังกลางแปลง และอื่นๆ ชาวบ้านเรียกว่า หนองอีเลิง เหตุผลที่เรียกหนองอีเลิงก็เพราะว่า หนองน้ำมีลักษณะเป็นเลิ้งตามธรรมชาติทางฝั่งทิศตะวันออกเป็นป่าทึบ (ภาษาพื้นบ้านเรียก "หนองอี่เลิง" หรือ หนองอีเลิง ในปัจจุบัน เพี้ยนไปตามยุคตามสมัยภาษาไทยกลาง) ปีพุทธศักราช 2450 สมัยขุนราชาเป็นกำนันตำบลชุมแพ ได้เกณฑ์ชาวบ้านปิดกั้นเป็น���ันคูกักเก็บไว้บริโภคใช้สอย โดยนักธรณีวิทยาเคยมาสำรวจ พบว่าหนองอีเลิงและหนองน้ำในบริเวณใกล้เคียงเคยเป็นหลุมเกลือตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปัจจุบันหนองอีเลิงมีพื้นที่คับแคบลงเนื่องจากได้ทับถมเป็นพื้นที่ใช้สอยสาธารณะ
ทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดกลาง มักมีนกเป็ดน้ำอาศัยชุกชุมหากินมากมาย มีลักษณะเป็นโสกร่องน้ำใส เมื่อในยามหน้าแล้งน้ำลด พบว่าคูโสกยังมีหลุมน้ำลึกลงไปอีกชั้น เหมือนเป็นคูน้ำ 2-3 ชั้น พอหมู่บ้านชุมแพขยายไปยังทิศเหนือมากขึ้น บ้านเรือนก็หนาแน่นขึ้น ชาวบ้านทางคุ้มเหนือขาดน้ำใช้สอยจึงได้ไปตักน้ำที่คูโสกใช้อุปโภคบริโภค สมัยคุณราชาเป็นกำนันตำบลชุมแพได้เกณฑ์ชาวบ้านปิดกั้นเป็นคันคูน้ำน้ำกักเก็บไว้อุปโภคบริโภค
เดิมสุขาภิบาลชุมแพได้ตราประจำประกอบด้วยสัญญาลักษณ์เป็นเจดีย์ใบโพธิ์ และคลื่นฟองน้ำอยู่ภายในวงกลม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลชุมแพขึ้นอีก เปลี่ยนตราประจำสำนักงานเทศบาลตามที่กรมศิลปากรออกแบบให้ตราใหม่มีสัญลักษณ์เป็นวงกลม มีรูปเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีประทับอยู่บนแพ มือขวาถือลูกธนู มือซ้ายถือคันธนู มีนายทหารคนสนิท 2 นาย นั่งถือธงปลายหอกอยู่คนละข้าง (ประกาศเทศบาลตำบลชุมแพ วันที่ 23 มีนาคม 2530)สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปปราบฮ่อในเมืองพวนเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกดังนี้ 1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพฝ่ายใต้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองหนองคาย 2. เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เป็นแม่ทัพฝ่ายเหนือยกกองทัพขึ้นไปทางหลวงพระบาง โดยให้ยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2428 (ยงศิลป และโขมพัตร เรืองศุข 2540 : 180) จากประวัติการยกทัพครั้งนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองพิชัย เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ตลอดจนถึงเมืองสิบสองจุไทย แสดงว่าไม่ได้ยกกองทัพผ่านบ้านชุมแพเลย
บ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์จึงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ เดิมบ้านชุมแพเป็นชุมชนขนาดใหญ่ หมู่บ้านชุมแพแบ่งได้เป็น 3 คุ้มมี 3 วัด ได้แก่ วัดเหนือ โดยมี พระอาจารย์พุทธา นำพาชาวบ้านสร้างวัด(ปัจจุบันเป็นที่ทำการประปาส่วนภูมิภาคสาขาชุมแพและรอบบริเวณ) วัดกลาง(วัดโพธิ์ธาตุ) และ วัดใต้ โดยมี พระอาจารย์คล้อย(ฮ้อย) อาจารย์ซาจวงและพ่อพานสิงห์ นำพาชาวบ้านสร้างวัด (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนบ้านชุมแพ) วัดเหนือได้ถูกรื้อถอนไปนานแล้วส่วนวัดใต้ได้ถูกทิ้งร้างเหลือคงไว้แค่โบราณสถาน(โนนกู่) หรือ ศาลปู่ขาว ปัจจุบันอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านชุมแพ
การกระจายหมู่บ้านของบ้านชุมแพ ประมาณปีชวดพุทธศักราช 2455 ในวันเพ็ญเดือน 4 เวลาประมาณเที่ยงวันได้มีไฟไหม้ต้นกอไผ่บริเวณทิศใต้ของหนองอีเลิง ติดรังมดแดงใหญ่ลมพัดรังมดแดงไปติดปลายต้นไม้เชือกแห้งบริเวณร้านซินไล่ฮะในปัจจุบัน ลมได้พัดเศษไฟไปตกหลังคาเรือนหลังคายุ้งฉางที่มุงหญ้าของนายสีหาค้งหลังแรก ทำให้ไฟลุกลามไปทางคุ้มเหนือตลอดจนไปถึงวัดเหนือและลุกลามไปทางคุ้มใต้ ชาวบ้านที่ถูกไฟไหม้บ้านเรือนเดือดร้อนมากเพราะไม่มีที่อยู่อาศัย การที่จะสร้างบ้านเรือนใหม่ต้องใช้ทรัพยากรและเวลานาน จึงแยกไปอยู่ตามไร่นาของใครของมัน บ้างผู้ที่มีนาอยู่ทางบ้านโคกก็ไปอยู่บ้านโคก ผู้มีนาอยู่ทางบ้านวังหูกวางก็ไปอยู่บ้านวังหูกวางผู้มีนาอยู่ทางบ้านหนองหว้าก็ไปอยู่บ้านหนองหว้า ผู้มีนาอยู่ทางบ้านหนองใสก็ไปอยู่บ้านหนองใส ผู้มีนาอยู่ทางบ้านนาโพธิ์ก็ไปอยู่บ้านนาโพธิ์ ชาวบ้านชุมแพได้แตกแยกกันไปที่หัวไร่ปลายนาของตน บ้างก็ไปอยู่กับหมู่บ้านอื่นๆ เช่น บ้านวังหินลาด ฯลฯ บ้างก็แยกอยู่รวมกลุ่มใกล้กันจนตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ อาทิเช่น บ้านหนองไผ่ใต้ บ้านกุดเข้ บ้านสว่างวารี บ้านศรีมงคล บ้านหัวหนอง บ้านพรานราษฎร์ บ้านหนองตาไก้ เป็นต้น
ประมาณปี พ.ศ. 2470 เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น ปี พ.ศ. 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ต่อมา กำนันจาก 4 ตำบลของอำเภอภูเวียง ได้แก่ ตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลขัวเรียง และตำบลสีสุก (ศรีสุข) ได้ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ (ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น) ได้มาตรวจที่ ประกอบกับระยะนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ตั้ง อำเภอชุมแพ โดยยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่
การเสนอการจัดตั้งจังหวัดชุมแพ
[แก้]คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 มีมติเห็นชอบรายงานเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงมหาดไทยเสนอ แต่ก็ไม่ได้มีการจัดตั้งจังหวัด
ต่อมาประชาชนในพื้นทียื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดภูเวียง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อแยก อำเภอภูเวียง (ปัจจุบันแยกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภอภูเวียง และอำเภอเวียงเก่า) อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ อำเภอภูผาม่าน และอำเภอหนองนาคำ รวมกันขึ้นเป็น จังหวัดภูเวียง โดยมีผู้เข้าชื่อเสนอร่างจำนวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งเกินจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิจารณา
ก่อนหน้านี้ มึความพยายามผลักดันให้มีการก่อตั้งจังหวัดชุมแพ แต่เมื่อถึงขั้นตอนลงประชามติ พบว่ามีผู้ลงชื่อไม่ถึงจำนวน 5 หมื่นคน ทำให้ พรบ.จัดตั้งจังหวัดชุมแพตกไป[2] ในเวลาต่อมาจึงได้มีความพยายามผลักดันให้อำเภอภูเวียงเป็นศูนย์กลางของจังหวัดใหม่อีกครั้ง[3][4]
ในปี พ.ศ. 2555 นายสุชาย ศรีสุรพล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. ... ต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญในการยกฐานเป็นจังหวัดชุมแพ ประกอบด้วย อำเภอชุมแพ อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภอสีชมพู อำเภอหนองนาคำ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ[5] แต่ในปี 2563 กรมการปกครองได้ออกหนังสือชี้แจง กรณีการแชร์ข้อความการจัดตั้งจังหวัดใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางสังคมออนไลน์ ว่าการจัดตั้งจังหวัดใหม่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด กรมการปกครองขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด[6]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอชุมแพแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 12 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | ระยะทางจาก ที่ว่าการอำเภอ (กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนหมู่บ้าน (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|
ชุมแพ | Chum Phae | - | 21,708 | 18 |
โนนหัน | Non Han | 14 | 6,712 | 10 |
หนองเขียด | Nong Khiat | 20 | 7,075 | 10 |
โนนสะอาด | Non Sa-at | 12 | 8,327 | 9 |
ขัวเรียง | Khua Riang | 16 | 9,124 | 12 |
หนองไผ่ | Nong Phai | 4 | 21,752 | 19 |
ไชยสอ | Chai So | 3 | 9,058 | 10 |
วังหินลาด | Wang Hin Lat | 14 | 8,959 | 12 |
นาเพียง | Na Phiang | 20 | 8,547 | 14 |
นาหนองทุ่ม | Na Nong Thum | 32 | 9,295 | 13 |
หนองเสาเล้า | Nong Sao Lao | 26 | 31,353 | 10 |
โนนอุดม | Non Udom | 18 | 6,808 | 11 |
ทั้งหมด | 124,079 | 148 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอชุมแพประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองชุมแพ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลชุมแพ ตำบลหนองไผ่ และตำบลไชยสอ
- เทศบาลตำบลโนนหัน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโนนหันและตำบลโนนสะอาด
- เทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโนนอุดมและตำบลขัวเรียง[7]
- เทศบาลตำบลหนองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ (นอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)
- เทศบาลตำบลหนองเสาเล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเสาเล้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลนาเพียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเพียงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโนนสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสะอาด (นอกเขตเทศบาลตำบลโนนหัน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแพ (นอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนหัน (นอกเขตเทศบาลตำบลโนนหัน)
- องค์การบริหาร��่วนตำบลนาหนองทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหนองทุ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนอุดม (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลขัวเรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขัวเรียง (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไชยสอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยสอ (นอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหินลาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเขียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเขียดทั้งตำบล
ทำเนียบรายนามนายอำเภอชุมแพ
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายพิชญ์ พรหมนาท | 3 ส.ค.2486 - 4 ก.ย.2489 |
2 | นายสมัย เวชพันธุ์ | 1 ม.ค.2490 - 10 เม.ย.2495 |
3 | ร.ต.ท.มุข ประเสริฐวงษ์ | 8 ส.ค.2495 - 3 มี.ค.2498 |
4 | นายเติม สาสนะสิทธิ์ | 8 มี.ค.2498 - 1 มิ.ย.2505 |
5 | นายจอม แสงพันธุ์ | 1 มิ.ย.2505 - 1 ก.ค.2507 |
6 | นายเปรมศักดิ์ วิเชียรภักดี | 1 ก.ค.2507 - 23 ก.พ.2509 |
7 | นายบุญธรรม ใจรักพันธุ์ | 3 มิ.ย.2509 - 3 พ.ค.2512 |
8 | นายศานิต คำหงษา | 5 พ.ค.2512 - 28 พ.ค.2515 |
9 | นายเล็ก ราฃมณี | 28 พ.ค.2515 - 1 มิ.ย.2519 |
10 | ร.ต.ถวัลย์ พิทักษ์วงค์ | 1 มิ.ย.2519 - 30 พ.ย.2522 |
11 | นายจำนูญ กาวิละ | 1 ธ.ค.2522 - 31 พ.ค.2524 |
12 | ร.ท.วินัย บุณยรัตผลิน | 1 มิ.ย.2524 - 4 ต.ค.2527 |
13 | ร.ต.ทรงศักดิ์ คุณอุดม | 8 ต.ค.2527 - 19 เม.ย.2529 |
14 | นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ | 20 เม.ย.2529 - 2 ธ.ค.2531 |
15 | นายบุญเลิศ เนินทอง | 6 ธ.ค.2531 - 3 ธ.ค.2533 |
16 | นายประจญ ชนะโรค | 3 ธ.ค.2533 - 13 ต.ค.2539 |
17 | นายสงคราม สุขสะอาด | 14 ต.ค.2539 - 3 พ.ค.2541 |
18 | นายศิลป์ ชื่นนิรันดร์ | 4 พ.ค.2541 - 30 ก.ย.2546 |
19 | นายวีระพล สุพรรณไชยมาตย์ | 6 ต.ค.2546 - 23 ต.ค.2550 |
20 | นายสมชาย มีสิงห์ | 24 ต.ค.2550 - 30 ก.ย.2552 |
21 | นายปิยิน ตลับนาค | 25 ม.ค. 2553 - 12 ม.ค 2557 |
22 | นายอาทิตย์ นพคุณวงศ์ | 13 ม.ค. 2557 - 6 พ.ย. 2558 |
23 | นายพันธ์เทพ เสาโกศล | 7 พ.ย. 2558 - 14 พ.ย. 2561 |
24 | นางสุภาวดี ศรีสุขวัฒน์ | 15 พ.ย. 2561 - 30 ก.ย. 2566 |
25 | นางสาวอ้อยใจ คำบุญเรือง | ปัจจุบัน |
ภูมิศาสตร์
[แก้]ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]อำเภอชุมแพมีเนื้อที่ทั้งหมด 318,750 ไร่ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ทิศเหนือมีภูเขาสูงและที่ราบสูงลาดเอียงไปทางทิศใต้ บริเวณทางทิศใต้มีลำน้ำเชิญเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างอำเภอชุมแพกับอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ทางทิศเหนือบางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง พื้นที่ทางทิศตะวันตกบางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงลาน รวมพื้นที่ป่าสงวนในเขตอำเภอชุมแพทั้งหมด 90,250 ไร่
ลักษณะภูมิอากาศ
[แก้]ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอชุมแพ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30.13 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 845 มิลลิเมตร
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23.48 องศาเซลเซียส
แม้ฤดูฝนจะมีระยะเวลา 6 เดือนดังกล่าว แต่โดยทั่วไปจะมีสภาวะฝนทิ้งช่วงในราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และจะตกใหม่ในช่วงเดือนกันยายน เป็นเหตุให้การเพาะปลูกมักประสบปัญหาฝนแล้งอยู่เป็นประจำ
ทรัพยากร
[แก้]อำเภอชุมแพมีทรัพยากรที่สำคัญทางธรรมชาติ ดังนี้ ดิน ลักษณะของดินเป็นดินร่วน เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวนแหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอชุมแพคือ ลำน้ำเชิญ เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรในอำเภอชุมแพและอำเภอใกล้เคียง ชาวอำเภอชุมแพได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำเชิญที่บ้านดอนหัน ซึ่งเป็นเขื่อนที่เอื้อประโยชน์ให้ชาวชุมแพด้านการเกษตรและสาธารณูปโภค ป่าไม้ อำเภอชุมแพมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงลานที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงทั้งทางตรงและทางอ้อม สัตว์ ประชากรในอำเภอนิยมเลี้ยงสุกร โค กระบือ ไว้บริโภคและจำหน่าย บางครอบครัวยังได้ยึดเป็นอาชีพหลัก
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]เมืองโบราณโนนเมือง
[แก้]ตั้งอยู่บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 4 ตำบลชุมแพ โนนเมืองเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น เมืองชั้นในรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 420 เมตร เมืองชั้นนอกทรงยาวรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 600 เมตร หรือมีเนื้อที่ประมาณ 216 ไร่ เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) ในปี พ.ศ. 2513 หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้สำรวจพบเป็นครั้งแรก ต่อมาได้ดำเนินการขุดตรวจ ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ (อายุประมาณ 2,500-2,000 ปี) ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ เครื่องใช้ กระดูกสัตว์ จำนวน 13 หลุม จึงได้ทำหลังคาคลุมไว้ เพื่อแสดงในลักษณะพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้ง ให้ผู้สนใจได้เข้าชม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชุมแพ ไปทางชุมชนนาโพธิ์ (ผ่านโรงเรียนชุมชนชุมแพ) - บ้านโนนเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร หรือไปทางชุมชนพรานราษฎร์-บ้านโนนเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4324-2129, 0-4333-7629 ได้รับงบประมาณปรับปรุงจากปี 2546-2549 ประมาณ 30 ล้านบาท
ผาพระนอน (พระปางไสยาสน์)
[แก้]ตั้งอยู่บนยอดเขาภูเวียง บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 8 ตำบลหนองไผ่ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ศิลปสมัยทวาราวดีที่งดงาม สลักอยู่บนหน้าผายาวกว่า 3.75 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก และหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ นอนตะแคงพระเศียรหนุนแนบกับลำแขนขวา แขนซ้ายทอดไปตามลำพระองค์เป็นท่านอนแบบเก่าที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชุมแพไปตามถนนมลิวรรณ (ชุมแพ - ขอนแก่น) แยกซ้ายบ้านโนนสะอาด-วัดผาพระนอนพัฒนาราม ประมาณ 6-7 กิโลเมตร (รถยนต์ถึง) เดินเท้าขึ้นเขาภูเวียงต่อระยะเดินเท้าประมาณ 2-3 กิโลเมตร ความสูงจากพื้นดินประมาณ 450 เมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง บนผาพระนอนจะมองเห็นทิวทัศนียภาพเมืองชุมแพที่สวยงามมาก จะมีงานนมัสการในวันตรุษสงกรานต์ทุกปี
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
[แก้]อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ตั้งอยู่ที่ ที่ทำการอุทยานบ้านซำผักหนาม หมู่ที่ 12 ตำบลนาหนองทุ่ม " อุทยานแห่งชาติภูผาม่านมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 72 ( เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2543) มีเนื้อที่ประมาณ 350 กม.2 หรือประมาณ 218,750 ไร่ มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่งโดยเฉพาะถ้ำและน้ำตก เป็นแหล่งต้นกำเนิด " ลำน้ำพอง " ที่ทำการอุทยานฯ ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรับรองนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติ และเป็นอุทยาน ฯ นำร่อง 1 ใน 8 แห่ง ทั่วประเทศไทย มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เรือนรับรอง ห้องน้ำ ห้องสุขา ห้องประชุมสัมมนา บริเวณจัดแคมป์ไฟ กางเต๊นท์นอน ที่สะดวกสบาย มีทิวทัศน์สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างดียิ่งห่างจากอำเภอชุมแพไปทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (ชุมแพ - เลย) เลี้ยวซ้ายมือที่หลักกิโลเมตร ที่ 112 อีก 5 กิโลเมตร ถึงที่ตั้งที่ทำการ ระยะทาง 35 กิโลเมตร (สนใจสั่งจองที่พักหรือข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ โทรศัพท์ 0 - 4324 - 9050
ถ้ำปู่หลุบ
[แก้]อยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (ชุมแพ - เลย) ห่างจากอำเภอชุมแพประมาณ 35 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยเป็นห้อง ๆ นับได้ 5 ห้อง มีเกล็ดแวววาว ระยิบระยับสวยงาม และมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ด้านหน้าถ้ำมีศาลปู่หลุบเป็นที่เคารพสักการบูชาของผู้คนที่ผ่านไป - มา
วนอุทยานถ้ำผาพวง
[แก้]อยู่ในเขตตำบลนาหนองทุ่ม จากอำเภอชุมแพไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (ชุมแพ - เลย) ประมาณ 30 กิโลเมตร มีทางแยกขวามือเข้าสู่ถ้ำอีกประมาณ 5 กิโลเมตร (เป็นทางดินและทางเดินป่า) เดิมเรียกว่า " ถ้ำร้อยพวง "เป็นถ้ำบนภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีเสาหินเกิดจากหินย้อยลงมาลักษณะเป็นพวง จากเพดานถ้ำดูสวยและแปลกตา ปากถ้ำอยู่สูงและทะลุออกไปบนยอดเขาสามารถมองเห็นทัศนียภาพรอบๆ ได้สวยงามยิ่ง
ผานกเค้า
[แก้]เป็นภูเขาสูงตระหง่านอยู่ริมน้ำพองในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อำเภอชุมแพ อยู่ห่างจากอำเภอชุมแพ ประมาณ 40 กิโลเมตร ตามถนนมลิวรรณ ลักษณะของผานกเค้าเป็นภูเขาหินสีดำ บางส่วนกะเทาะออกเป็นเนื้อหินสีส้ม มองเห็นลักษณะคล้ายนกเค้าที่กางปีกออกสองข้างถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่งของอำเภอชุมแพ
สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของประชาชน
[แก้]- ขนมจีน
ขนมจีน ทำจากข้าวจ้าว กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลไชยสอ
- ขนมจีนอบแห้ง
ขนมจีนอบแห้ง(สินค้าพื้นเมือง) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลชุมแพ
- ข้าวหลาม
ผลิตภัณฑ์ข้าวหลาม รสชาติอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ไม่ใส่สารกันบูด เป็นการนำข้าวสารและส่วนประกอบการทำข้าวหลามมาผสมตามสูตรและขั้นตอน หวาน มัน อร่อย กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลหนองไผ่
- ตะกร้าไม้ไผ่
แข็งแรง ทนทาน รูปทรงสวยงาม กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลนาเพียง
- น้ำผลไม้พร้อมดื่ม
น้ำฝรั่ง น้ำกระเจี๊ยบ ไวน์กระเจี๊ยบ ข้าวหมาก มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลนาหนองทุ่ม
- ผลิตภัณฑ์จากกระบอกไม้ไผ่
ทำจากไม้ไผ่นำมาดัดแปลงเป็นแก้วน้ำ เหยือกน้ำ กระปุกออมสิน ที่เสียบปากกา แจกัน กาน้ำ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลโนนสะอาด
- ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่(สินค้าพื้นเมือง) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลโนนสะอาด
- ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่,ต้นหมาก
ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่,ต้นหมาก(สินค้าพื้นเมือง) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลชุมแพ
- ผ้าทอด้วยกี่กระตุก
มีหลายประเภท มีทั้ง ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าขิด ผ้าลายยกดอก ฯลฯ มีความปราณีต สวยงาม กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลโนนหัน
- ผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ
ผลิตภัณฑ์จากฝ้ายมาทอเป็นผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลชุมแพ
- ผ้ามัดหมี่ธรรมชาติ
ผ้ามัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ, ผ้าพื้นย้อมสีธรรมชาติ, ผ้าลายสก๊อตย้อมสีธรรมชาติ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลหนองเสาเล้า
- สุ่มไก่
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้ไผ่จักสานทั้งหมด มีความแข็งแรง ใช้งานได้นาน กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลวังหินลาด
การศึกษา
[แก้]สถานศึกษา
[แก้]" โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 รวม 61 แห่ง " โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 6 แห่ง " บุคลากรทางการศึกษา ครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 - ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 280 คน - ครูโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 220 คน - ครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 170 คน " โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12 แห่ง เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 " โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ 1 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาล 1(สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) " วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคชุมแพ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) " โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 2 แห่ง คือ โรงเรียนโนนหันวิทยายน และ โรงเรียนมัธยมหนองเขียด สถานศึกษาที่สำคัญได้แก่
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ศูนย์การศึกษาชุมแพ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแพไทย-เยอรมัน
- วิทยาลัยเทคนิคชุมแพ
- โรงเรียนชุมแพศึกษา
- โรงเรียนชุมแพพิทยาคม
- โรงเรียนชุมแพวิทยายน
- โรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร
- โรงเรียนขัวเรียงศึกษา
- โรงเรียนหนองเสาเล้าวิทยาคาร
- โรงเรียนโนนหันวิทยายน (สังกัด อบจ.)
- โรงเรียนมัธยมหนองเขียด (สังกัด อบจ.)
- การศึกษานอกโรงเรียน
- โรงเรียนชุมชนชุมแพ
- โรงเรียนชุมแพชนูปถัมภ์
- โรงเรียนหนองขามวิทยาคาร
- โรงเรียนชุมชนหนองคะเน
- โรงเรียนชุมชนโนนหันวันครู
- โรงเรียนหนองม่วงประชานุกูล
- โรงเรียนหนองกุงพิทยาคม
- โรงเรียนบ้านโคกสูง
- โรงเรียนบ้านนาหนองทุ่ม
- โรงเรียนบ้านวังยาว
- โรงเรียนบ้านธาตุ
- โรงเรียนบ้านแห่ประชานุเคราะห์
- โรงเรียนบ้านชุมแพ
- โรงเรียนหนองไผ่พิทยาคม
- โรงเรียนอนุบาลชุมแพ
- โรงเรียนชุมแพวิทยา
- โรงเรียนอนุบาลบ้านรักเรียน
- โรงเรียนอนุบาลณัฐพันธุ์ 2
- โรงเรียนรักเรียนพิทยา
- โรงเรียนเต็กก่าดรุณธรรม
- โรงเรียนอนุบาลราษฎร์อำนวยศิลป์
- โรงเรียนอนุบาลเดือนฉาย
- โรงเรียนอนุบาลอินทร
- โรงเรียนเอี่ยมอินทร
สถานพยาบาล
[แก้]มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการดังนี้
- โรงพยาบาล ขนาด 400 เตียง จำนวน 1 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 7 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 10 แห่ง
สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่สำคัญ
[แก้]- อ่างเก็บน้ำหัวภูชน ตั้งอยู่บ้านขามป้อม หมู่ที่ 4 ตำบลขัวเรียง
- อ่างเก็บน้ำภูนกยูง ตั้งอยู่บ้านนาดี หมู่ที่ 9 ตำบลวังหินลาด
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 8 (ค่าย ร.8 พัน.2)
- เขื่อนทดน้ำเชิญ กรมชลประทาน ตั้งอยู่ที่บ้านดอนหัน หมู่ที่ 9 ตำบลชุมแพ ห่างจากอำเภอชุมแพ ประมาณ 8 กิโลเมตร
- สวนสาธารณะหน้าอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองชุมแพ
- สวนสาธารณะโสกน้ำใส ใจกลางเมืองชุมแพ
- สวนสาธารณะหนองอีเลิง
- สวนสุขภาพหนองใส
- สวนสุขภาพ เทศบาลตำบลหนองไผ่
- สวนสาธารณะหนองคะเน
- สวนสาธารณะโนนแหลมทอง
สถานที่ราชการและหน่วยงานสำคัญ
[แก้]- ศาลจังหวัดชุมแพ
- ส���นักงานอัยการจังหวัดชุมแพ
- โรงพยาบาลชุมแพ
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชุมแพ
- ที่ว่าการอำเภอชุมแพ
- เทศบาลเมืองชุมแพ
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่ขอนแก่น สาขาชุมแพ
- สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ขอนแก่น สาขาชุมแพ
- สำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาชุมแพ
- สถานีตำรวจภูธรชุมแพ
- สถานีตำรวจทางหลวง
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 8 (ค่ายมหาศักดิพลเสพย์)
- สถานีขนส่งผู้โดยสารชุมแพ (บ.ข.ส.ชุมแพ) รถเล็ก
- สถานีขนส่งผู้โดยสารชุมแพ (บ.ข.ส.ชุมแพ) รถใหญ่ แห่งที่ 1
- สถานีขนส่งผู้โดยสารชุมแพ (บ.ข.ส.ชุมแพ) แห่งใหม่ที่ 2 (กำลังดำเนินการ)
- ที่ทำการไปรษณีย์ชุมแพ รหัสไปรษณีย์ 40130
- ที่ทำการไปรษณีย์โนนหัน รหัสไปรษณีย์ 40290 (เฉพาะตำบลโนนหัน โนนสะอาด หนองเขียด นาหนองทุ่ม )
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
- การประปาภูมิภาค สาขาชุมแพ
- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอชุมแพ
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคชุมแพ
- สถานีเครื่องช่วยเดินอากาศชุมแพ ต.หนองเขียด อ.ชุมแพ
- โครงการชลประทาน ลำน้ำเชิญ
- สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดขอนแก่น
- สำนักงานวิจัยกีฏวิทยา (แมลง)
- สำนักงานอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
- ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ
- สำนักงานขนส่งจังหวัดขอนแก่น สาขาชุมแพ
- แขวงทางหลวงขอนแก่นที่ 2 ชุมแพ
- หมวดทางหลวงชุมแพที่ 1 (หนองไผ่)
- หมวดทางหลวงชุมแพที่ 2 (โนนหัน)
- สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ดับเพลิง 1 หลังที่ว่าการอำเภอชุมแพ)
- สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ดับเพลิง 2 ข้างโรงเรียนชุมแพศึกษา)
ศาลเจ้าและสถานธรรมในพื้นที่
[แก้]- พุทธสมาคมเผยแผ่คุณธรรม"เต็กก่า"จีแชเกาะ
- ศาลเจ้าจอมชุมแพ (ปึงเถ้ากง)
- มูลนิธิชุมแพการกุศล"เต็กก่า"จีฮั่วเกาะ
- ชมรมศิษย์พระอรหันต์จี้กง (กู้ภัยเมืองชุมแพ) (ชุมแพฮุกถ่งซิมฉื่อเสี่ยงตั๊ว)
- ศาลเจ้าปึงเถ้ากง โนนหัน
- ศาลเจ้านาจาซาไท้จื้อ (หน่าจาซัวตั๊ว) โคกสูง
- ศาลเจ้าโพธิธรรมคุณธรรมสถาน (อิมเต็กตึ้ง)
- ศาลเจ้าภาวนาพุทธโพธิธรรมสถาน (ไต่เสี่ยฮุกตั้ว)
- คริสตจักรชุมแพ (หนองใส)
- คริสตจักรร่มเกล้าชุมแพ
วัดราษฏร์ในอำเภอชุมแพ
[แก้]วัดราษฏร์มหานิกาย
[แก้]- วัดราษี ตำบลขัวเรียง
- วัดสระแก้ว ตำบลขัวเรียง
- วัดหันสว่าง ตำบลขัวเรียง
- วัดอรัญญาวาส ตำบลขัวเรียง
- วัดโพธิ์ธาตุ (บ้านชุมแพ) ตำบลชุมแพ
- วัดดาวเรือง (บ้านดอนหัน) ตำบลชุมแพ
- วัดธาตุ (บ้านแห่) ตำบลชุมแพ
- วัดนาโพธิ์ (บ้านนาโพธิ์) ตำบลชุมแพ
- วัดบุญบาลประดิษฐ (บ้านหัวหนอง) ตำบลชุมแพ
- วัดพัฒนาราม (บ้านหนองจิก) ตำบลชุมแพ
- วัดสว่างหนองบัว (บ้านหนองบัว) ตำบลชุมแพ
- วัดชัยประดิษฐ (บ้านไผ่กุดหิน) ตำบลไชยสอ
- วัดโนนสะอาด ตำบลไชยสอ
- วัดบริบูรณ์ ตำบลไชยสอ
- วัดบ้านท่าเดื่อ ตำบลไชยสอ
- วัดสว่างหนองสังข์ ตำบลไชยสอ
- วัดสว่า��อินทร์แปลง (บ้านหนองใส) ตำบลไชยสอ
- วัดสามัคคีพัฒนาราม ตำบลไชยสอ
- วัดโกสุมภาราม ตำบลนาเพียง
- วัดโคกหย่อน ตำบลนาเพียง
- วัดบึงนาเพียง ตำบลนาเพียง
- วัดป่าหินลาด ตำบลนาเพียง
- วัดพนมไพร ตำบลนาเพียง
- วัดอิสาณ ตำบลนาเพียง
- วัดโกวสินธุ์วนาราม ตำบลนาหนองทุ่ม
- วัดบ้านห้วยอีเปาะ ตำบลนาหนองทุ่ม
- วัดอิสาณราษฎร์บำรุง ตำบลนาหนองทุ่ม
- วัดอุดมราษฏร์ประดิษฐ์ ตำบลนาหนองทุ่ม
- วัดโนนบุรุษ ตำบลโนนสะอาด
- วัดโนนสำราญ ตำบลโนนสะอาด
- วัดบึงสว่าง ตำบลโนนสะอาด
- วัดป่าโนนลาน ตำบลโนนสะอาด
- วัดสระแก้ว ตำบลโนนสะอาด
- วัดสว่างศรีบุญเรือง ตำบลโนนสะอาด
- วัดแจ้งสว่าง ตำบลโนนหัน
- วัดไตรรงค์ ตำบลโนนหัน
- วัดป่าหนองม่วง ตำบลโนนหัน
- วัดโพธิ์ศรี ตำบลโนนหัน
- วัดอัมพวัน ตำบลโนนหัน
- วัดอุดมวิทยาราม ตำบลโนนหัน
- วัดทาม ตำบลโนนอุดม
- วัดโนนสูง ตำบลโนนอุดม
- วัดโนนแห่โพธิ์ชัย ตำบลโนนอุดม
- วัดสระพัง ตำบลโนนอุดม
- วัดหินตั้ง ตำบลโน���อุดม
- วัดโนนศิลา ตำบลวังหินลาด
- วัดสว่างโนนคูณ ตำบลวังหินลาด
- วัดแสงจันทร์ ตำบลวังหินลาด
- วัดกลาง ตำบลหนองเขียด
- วัดมิ่งมงคล ตำบลหนองเขียด
- วัดศรีชมพู ตำบลหนองเขียด
- วัดศรีบุญเรือง ตำบลหนองเขียด
- วัดศิลาลำโจด ตำบลหนองเขียด
- วัดใหม่สามัคคี ตำบลหนองเขียด
- วัดกลางสว่าง ตำบลหนองไผ่
- วัดนาราม ตำบลหนองไผ่
- วัดโนนลาน ตำบลหนองไผ่
- วัดบูรพา ตำบลหนองไผ่
- วัดโพธิ์ก่อง (บ้านหนองขาม) ตำบลหนองไผ่
- วัดสว่างโนนงาม ตำบลหนองไผ่
- วัดสว่างวังบง ตำบลหนองไผ่
- วัดประดู่ทอง ตำบลหนองเสาเล้า
- วัดพงษาวาส ตำบลหนองเสาเล้า
- วัดศรีโกศลวนาราม ตำบลหนองเสาเล้า
- วัดสามัคคีชัย ตำบลหนองเสาเล้า
วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย
[แก้]- วัดแจ้งสว่างนอก ตำบลโนนสะอาด
- วัดโนนคูณ ตำบลขัวเรียง
- วัดสว่างอารมณ์ ตำบลขัวเรียง
- วัดป่าบ้านแห่ ตำบลชุมแพ
- วัดป่านาหนองทุ่ม ตำบลนาหนองทุ่ม
- วัดป่าหนองม่วง ตำบลโนนหัน
- วัดนาดี ตำบลวังหินลาด
- วัดประสิทธิ์ไพศาล ตำบลหนองไผ่
- วัดป่าหนองศาลา ตำบลหนองเสาเล้า
- วัดป่าโนนรัง ตำบลหนองเขียด
- วัดป่าโนนอุดม ตำบลโคกสูง
- วัดป่าใหม่นาคำ ตำบลหนองไผ่
- วัดป่าสุทธิไชยาราม ตำบลไชยสอ
- วัดป่าโนนลาน ตำบลโนนสะอาด
- วัดป่าโคกม่วงบุญญาราม ตำบลขัวเรียง
วัดราษฏร์มหายานนิกาย
[แก้]- พุทธสมาคมเผยแผ่คุณธรรม"เต็กก่า"จีแชเกาะ ตำบลชุมแพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอชุมแพและยุบอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (41 ง): 2423. 3 สิงหาคม 2486. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-09-05.
- ↑ http://www.ichumphae.com/description.aspx?q_sec=76075851
- ↑ http://www.oknation.net/blog/panuwat838084/2010/05/07/entry-1
- ↑ http://webboard.mthai.com/5/2005-12-13/176255.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ ปัดฝุ่นตั้ง “จ.ชุมแพ” หวัง “เกียรติสุรนนท์”ครองเมือง[ลิงก์เสีย]
- ↑ กรมการปกครอง สยบข่าวลือ ตั้ง 5 จังหวัดใหม่ในภาคอีสาน
- ↑ [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโคกสูงสัมพันธ์ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น