ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครขอนแก่น

พิกัด: 16°26′N 102°50′E / 16.433°N 102.833°E / 16.433; 102.833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครขอนแก่น
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: ภาพถ่ายมุมสูงเมืองขอนแก่น, วัดกลางขอนแก่น, ประตูสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขอนแก่น, พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครขอนแก่น
ตรา
แผนที่
ทน.ขอนแก่นตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น
ทน.ขอนแก่น
ทน.ขอนแก่น
ที่ตั้งของเทศบาลนครขอนแก่น
ทน.ขอนแก่นตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.ขอนแก่น
ทน.ขอนแก่น
ทน.ขอนแก่น (ประเทศไทย)
พิกัด: 16°26′N 102°50′E / 16.433°N 102.833°E / 16.433; 102.833
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
อำเภอเมืองขอนแก่น
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด46.0 ตร.กม. (17.8 ตร.ไมล์)
ความสูง162 เมตร (531 ฟุต)
ประชากร
 (2567)[1]
 • ทั้งหมด100,221 คน
 • ความหนาแน่น2,178.71 คน/ตร.กม. (5,642.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03400102
สนามบินท่าอากาศยานขอนแก่น
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนประชาสำราญ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
เว็บไซต์www.kkmuni.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครขอนแก่น เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจาก เทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลนครนครราชสีมา และใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561 มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 118,080 คน[1] คิดเป็น 2,566.96 คน ต่อตารางกิโลเมตร โดยอาณาเขตทั้งหมด อยู่ในตำบลในเมือง

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลนครขอนแก่น เดิมได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง โดยพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งเทศบาลเมืองขอนแก่น มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2478 นายกเทศมนตรีคนแรก คือ พระเสนาราชภักดี เข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2478 ก่อนได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองตามพระราชกฤษฎีกา 2 เดือน ศาลาเทศบาลเมืองขอนแก่นตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุแปลงที่ตั้งศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในขณะนั้นอยู่ทางทิศใต้ด้านตะวันตกของถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ตรงข้ามกับสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2492 จึงได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ในที่ดินแปลงที่ตั้งสถานีอนามัยและสถานีดับเพลิงด้านตะวันออกของถนนกลางเมือง อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน มาจนถึง พ.ศ. 2508 เป็นเวลา 16 ปี ต่อมากระทรวงมหาดไทย ให้สำนักงานเทศบาลเมืองขอนแก่นใช้อาคารร่วมกับอำเภอเมืองขอนแก่น ซึ่งได้ย้ายมาอยู่ ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2508 จนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2527 รวมเป็นเวลา 19 ปี ใน พ.ศ. 2527 จึงได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบันและได้เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2527 เป็นต้นมา

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เทศบาลนครขอนแก่น มีพื้นที่เขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลพระลับและเขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลบ้านเป็ด​และเขตเทศบาล​เมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครขอนแก่น (2504-2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.2
(97.2)
41.0
(105.8)
41.1
(106)
42.6
(108.7)
41.2
(106.2)
39.4
(102.9)
38.0
(100.4)
37.0
(98.6)
36.3
(97.3)
35.4
(95.7)
35.0
(95)
35.8
(96.4)
42.6
(108.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.3
(86.5)
32.7
(90.9)
35.2
(95.4)
36.4
(97.5)
34.5
(94.1)
33.2
(91.8)
32.7
(90.9)
32.0
(89.6)
31.6
(88.9)
31.4
(88.5)
30.7
(87.3)
29.7
(85.5)
32.53
(90.56)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 22.8
(73)
25.5
(77.9)
28.4
(83.1)
29.9
(85.8)
29.0
(84.2)
28.5
(83.3)
28.0
(82.4)
27.5
(81.5)
27.0
(80.6)
26.4
(79.5)
24.7
(76.5)
22.6
(72.7)
26.69
(80.05)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.2
(61.2)
19.3
(66.7)
22.3
(72.1)
24.5
(76.1)
24.8
(76.6)
24.8
(76.6)
24.4
(75.9)
24.2
(75.6)
23.7
(74.7)
22.5
(72.5)
19.6
(67.3)
16.4
(61.5)
21.89
(71.41)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 5.7
(42.3)
10.4
(50.7)
11.1
(52)
16.4
(61.5)
19.8
(67.6)
20.7
(69.3)
20.9
(69.6)
21.0
(69.8)
19.3
(66.7)
15.9
(60.6)
9.4
(48.9)
5.6
(42.1)
5.6
(42.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 4.4
(0.173)
14.7
(0.579)
34.7
(1.366)
66.4
(2.614)
173.6
(6.835)
179.5
(7.067)
165.8
(6.528)
196.0
(7.717)
246.1
(9.689)
107.3
(4.224)
55.8
(2.197)
3.3
(0.13)
1,247.6
(49.118)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 1 2 4 7 14 15 16 18 18 10 2 1 108
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 279.0 248.6 251.1 252.0 238.7 180.0 182.9 164.3 171.0 232.5 255.0 266.6 2,721.7
แหล่งที่มา 1: NOAA (temperature data)[2]
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[3]

ประชากร

[แก้]
ประชากรเทศบาลนครขอนแก่น
ปีประชากร±%
2537 123,674—    
2540 133,182+7.7%
2543 129,290−2.9%
2546 132,750+2.7%
2549 120,957−8.9%
2552 116,157−4.0%
2555 110,686−4.7%
2558 119,537+8.0%
2561 118,080−1.2%
2564107,371−9.1%
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[4]

ประชากรในจังหวัดขอนแก่น มาจากเผ่าพันธุ์เดียวกันเป็นส่วนใหญ่ คนในพื้นที่เป็นชาวพื้นเมืองเดิมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์คาบเกี่ยวกับสมัยประวัติศาสตร์ มีร่องรอยทางโบราณคดีปรากฏ เช่น ชุมชนโบราณโนนนกทาบ้านนาดี ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ และที่โนนเมืองบ้านนาโพธิ์ อำเภอชุมแพมีอายุอยู่ประมาณ 3,000 ปีเศษ ต่อมาในสมัย และสมัยลพบุรีได้พบโครงกระดูก และเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคสมัยนั้นไม่ทราบว่าเป็นเผ่าพันธุ์หรือชาติพันธุ์ใดแน่นอน เพราะดินแดนที่ราบสูงกว้างใหญ่มีชนชาติโบราณเข้ามาอาศัยอยู่นานแล้วเช่นชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น

พื้นที่จังหวัดขอนแก่นเดิมเคยอยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนมีโบราณสถานศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ปรากฏอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ประชาชนลาวได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่ราบสูงการอพยพของประชากรปรากฏชัดยิ่งขึ้น ในสมัยธนบุรี และต้นสมัยรัตนโกสินทร์

การอพยพของประชากรเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่ในเขต จังหวัดขอนแก่น แบ่งเป็นเส้นทางใหญ่ได้สามทางคือ อพยพมาจากแขวงหลวงพระบาง, แขวงเวียงจันทน์ และแขวงจำปาศักดิ์[5]

นอกจากประชากรดั้งเดิมแล้ว ในเขตเมืองขอนแก่นยังมีชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นชุมชนใหญ่และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก รวมถึงชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม และชาวต่างชาติอื่น ๆ ซึ่งย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดขอนแก่น

ชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นมีทั้งสิ้น 95 ชุมชน แบ่งออกเป็น 4 เขต

ในปัจจุบันแนวโน้มของจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครขอนแก่นมีจำนวนลดลง เนื่องจากการขยายตัวของเขตที่อยู่อาศัยชิดเขตเทศบาลในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปี พ.ศ. 2546-2549 อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน เขตเมืองขอนแก่น (ในเขตเทศบาลนครรวมถึงพื้นที่ติดกับเขตเทศบาล ซึ่งได้แก่ เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลตำบลบ้านเป็ด เทศบาลตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลพระลับ) มีจำนวนประชากรจดทะเบียน รวมถึงประชากรแฝงรวมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและหนาแน่นประมาณ 450,000 คน โดยประมาณ


การขนส่ง

[แก้]

เทศบาลนครขอนแก่นมีเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกับเมืองอื่น ๆ หลายทางได้แก่ ทางบก และทางอากาศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ทางบก

[แก้]
ภาพมุมสูงของสถานีรถไฟขอนแก่น เป็นสถานีรถไฟทางคู่แบบยกระดับ โดยเปิดใช้งานอาคารหลังใหม่��น พ.ศ. 2562
ทางหลวงแผ่นดิน

ทางหลวงแผ่นดินในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ได้แก่

ทางรถไฟ
ระบบขนส่งมวลชน
  • รถโดยสารประจำทาง ขอนแก่นซิตี้บัส ท่าอากาศยานขอนแก่น - รอบเมือง -สถานีขนส่ง บขส.3 (อัตราค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย)
  • โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) ประเภทรถราง สายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) โดยบริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS)[6] มีทั้งหมด 16 สถานี เป็นโครงสร้างยกระดับ 6 สถานีและระดับดิน 10 สถานี รวมระยะทาง 22.8 กิโลเมตร กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานจัดสร้าง

ทางอากาศ

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

สถาบันอุดมศึกษา

[แก้]
ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น

โรงเรียนในสังกัด

[แก้]

วัฒนธรรม

[แก้]

งานประเพณีและงานเทศกาลท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่

  • งานประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
  • งานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูน – เสียงแคน และถนน ข้าวเหนียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 5 – 15 เมษายน ของทุกปี
  • งานประเพณีวันเข้าพรรษา โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันเข้าพรรษาของทุกปี
  • งานประเพณีออกพรรษา ไต้ประทีปบูชา พุทธกตัญญู โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันออกพรรษาของทุกปี
  • งานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด จัดขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม ของทุกปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "Climate Normals for Mae Hong Son". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  3. "Climatological Information for Khon Kaen, Thailand". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 29 March 2012.
  4. เทศบาลนครขอนแก่น. "เทศบาลนครขอนแก่น | ข้อมูลประชากร". www.kkmuni.go.th.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-23.
  6. http://www.kkts.co.th

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • คู่มือการท่องเที่ยว Khon Kaen จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)