ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

พิกัด: 13°46′03″N 100°32′00″E / 13.767608°N 100.533465°E / 13.767608; 100.533465
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Phramongkutklao Hospital
แผนที่
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย, โรงพยาบาลทหาร)
ที่ตั้ง315 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
สังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม
ผู้อำนวยการรศ.พล.ต.ดร.นพ.สุขไชย สาทถาพร
จำนวนเตียง1200 (ตามอัตราจัด)
1024 (เตียงจริง)[1]
แพทย์368 คน
บุคลากร1,060 คน
เว็บไซต์www.pmk.ac.th

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 1,200 เตียง ตามอัตราการจัดเฉพาะกิจที่ 3600 มีภารกิจดังต่อไปนี้ 1. ให้บริการทางการแพทย์แก่ทหาร รวมไปถึงครอบครัว และประชาชน 2. จัดฝึกศึกษา���ห้นักเรียนแพทย์ทหาร นักเรียนพยาบาล แพทย์ประจำบ้าน และตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ 3. ค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบริการทางการแพทย์ 4. ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยเหนืออย่างมีประสิทธิภาพ 5. ส่งเสริมและธำรงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีศูนย์การแพทย์เฉพาะทางระดับตติยภูมิชั้นสูง (Center of Excellence) ที่เปิดให้บริการ ได้แก่ ศูนย์มะเร็ง ศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์โรคหัวใจ (สิรินธร) ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ และศูนย์เวชศาสตร์ทหาร นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาศูนย์การแพทย์เฉพาะทางระดับตติยภูมิชั้นสูงเพิ่มเติม ได้แก่ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์วินิจฉัยและรักษาด้วยการส่องกล้อง ศูนย์โรคลมชัก และศูนย์วินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของการนอนหลับ

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์หลังปริญญา ซึ่งได้รับอนุมัติจากแพทยสภา จำนวน 42 หลักสูตร (หลักสูตรวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ ทั้งแพทย์ประจำบ้านสาขาหลักและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาต่างๆ) และเป็นโรงพยาบาลหลัก สำหรับการฝึกปฏิบัติในชั้นคลินิกของนักศึกษาแพทย์ (นศพ.) และนักเรียนแพทย์ทหาร (นพท.) ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (วพม.) รวมทั้งนักเรียนพยาบาล (นรพ.) ของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก (วพบ.) และนักศึกษาพยาบาลจากสถาบันอื่นๆ ที่เป็นสถาบันร่วมฝึก

ประวัติ

[แก้]
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พ.ต. หลวงธุรไวทยวิเศษ นายแพทย์ประจำกองทหารวังปารุสกวันพิจารณาเห็นว่า ควรจัดให้มีสถานพยาบาลเป็นแหล่งกลางของกองทัพบกขึ้นสักแห่งหนึ่ง ทำนองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งได้ขอยืมนายทหารกองทัพบกไปใช้ปฏิบัติงาน จึงได้นำความเรื่องนี้ปรึกษากับ พ.อ. พระยาทรงสุรเดช ท่านเห็นด้วยในหลักการและยินดีที่จะสนับสนุนสถานที่ ซึ่งอยู่ในข่ายพิจารณา 3 แห่ง คือ

  1. พระราชวังพญาไท
  2. วังบางขุนพรหม
  3. กรมแผนที่ทหารบก

เมื่อได้พิจารณากันแล้วในที่สุดเห็นว่าโฮเต็ลพญาไท เหมาะกว่าที่อื่น พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษจึงได้เรียน พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ให้ขอโฮเต็ลพญาไทสำหรับเป็นที่ตั้งโรงพยาบาลต่อไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชวังพญาไทนี้เป็นสถานพยาบาลของทหาร จากนั้นได้รวมกองเสนารักษ์ที่ 1 (ปากคลองหลอด) และกองเสนารักษ์ที่ 2 (บางซื่อ) เข้าด้วยกัน ใช้ชื่อใหม่ว่า กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ แล้วย้ายมาตั้ง ณ พระราชวังแห่งนี้ โดยมี พ.ท.หลวงวินิชเวชการเป็นผู้บังคับกอง และได้กระทำพิธีเปิดสถานพยาบาลแห่งนี้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดชและนายทหารชั้นผู้ใหญ่อีกหลายท่านได้มาร่วมในพิธีนี้ การดำเนินการเพื่อที่จะให้การรักษาพยาบาลของสถานที่แห่งนี้ได้เจริญก้าวหน้าไปตามลำดับทางกองทัพบกจึงได้โอนนายแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถอันดีเยี่ยมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับกระทรวงธรรมการจำนวน 3 นาย คือ

  1. รองอำมาตย์เอก หลวงวาทวิทยาวัฒน์ มาบรรจุในแผนกอายุกรรม
  2. รองอำมาตย์ตรี สงวน โรจนวงศ์ มาบรรจุแผนกศัลยกรรม
  3. รองอำมาตย์ตรี บุญเจือ ปุณโสนี มาบรรจุในแผนกสูตินรีเวชกรรม

ตั้งแต่นั้นมา กิจการก็ดำเนินมาด้วยดี ในตอนปลายปี พ.ศ. 2476 ทางราชการได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดจำหน่ายทหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขณะนั้นกองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 1

ตลอดเวลาสงครามเอเชียบรูพาและในระหว่างสงครามทางราชการทหารจำเป็นต้องระงับการช่วยเหลือประชาชนชั่วคราว ทั้งนี้เนื่องจากต้องจัดขยายสถานที่ไว้สำหรับรักษาพยาบาลทหารโดยเฉพาะ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2488 กองทัพบกได้พิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงสมรรถภาพของทหารให้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งในด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเจ็บ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ คือ แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ เทคนิคอื่น ๆ ตลอดการวิจัยในทางวิทยาวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 กองเสนารักษ์มลฑลทหารบกที่ 1 จึงแปรสภาพเป็นโรงพยาบาลทหารบกและโอนการบังคับบัญชาขึ้นตรงตรงต่อกรมการแพทย์สุขาภิบาล (กรมแพทย์ทหารบกในปัจจุบัน) โดยได้เปิดทำการรักษาพยาบาลประชาชนทั่วไปเช่นเดิมและในเวลาเดี่ยวกันก็ใช้โรงพยาบาลทหารบกแห่งนี้ เป็นแหล่งศึกษาสำหรับแพทย์ตลอดจนเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่น ๆ ด้วย

ในสมัย พล.ต.ถนอม อุปถัมภานนท์ เป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบก กองทัพบก พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งโรงพยาบาลทหารบกในขณะนั้น เดิมเป็นพระราชวังพญาไท และเป็นพระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับในรัชสมัยของพระองค์ สมควรจะได้รับการขนานชื่อ โดยเชิญพระปรมาภิไธยในพระองค์ท่านมาเป็นชื่อโรงพยาบาล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ผู้ทรงริเริ่มสถาปนา พระบรมราชานุสรณ์รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้รายงานกระทรวงกลาโหมเพื่อพิจารณาดำเนินการขอพระราชทานชื่อ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม ตามหนังสือแจ้งความกองทัพบก ที่ 16/13208 ซึ่งลงนาม ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2495 โดย พล.อ.ผิน ชุนหะวัน ผบ.ทบ.

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 จอมพลผิน ชุนหะวัน ผบ.ทบ. เป็นประธานในพิธีเปิดป้ายนามหน่วย “โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า”

เอกสารอ้างอิง 1. หนังสือ 100 ปี กรมแพทย์ทหารบก พลโท ดำรง ธนะชานันท์ บรรณาธิการ 2. หนังสือ 111 ปี กรมแพทย์ทหารบก พลตรี บุญลือ วงษ์ท้าว บรรณาธิการ 3. หนังสือ 50 ปี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พลตรี วทัญญญู ปรัชชานนท์ บรรณาธิการ

ปัจจุบันอยู่ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

อาคารสถานที่ที่สำคัญ

[แก้]

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา

เป็นอาคารสูง 22 ชั้น เปิดให้บริการตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2550 สำหรับทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยชั้นที่ 1-7 เปิดให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก (รวมแผนกรังสีวินิจฉัย แผนกพยาธิวิทยาสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ) และชั้นที่ 8-20 เป็นหอผู้ป่วยใน (ทั้งห้องผู้ป่วยสามัญและพิเศษ) ห้องผ่าตัด หออภิบาลผู้ป่วย ส่งผลให้การบริการตรวจรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

‘’’อาคารเฉลิมพระเกียรติสมพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (สก)’’’ เป็นอาคารฉุกเฉินหรืออาคารอุบัติเหตุที่ย้ายมาจาก——อาคารผู้ประภาศรีกําลังเอก—— ซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ข้างหน้าทางเข้าหน้าโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ส่วนอาคารสิริกิติ์ เป็นอาคารสูง19ชั้นซึ่งแต่ละชั้นเนื้ยเป็นอาคารว่าเห็นกระจกเกือบทั้งตึกเลยที่เดี่ยวผู้ที่กลัวสูงอย่าไปใกล้กระจกนะ ‘’’ความสะดวกภายในตัวอาคารสิริกิติ์’’’ มีลิฟต์โดยสาร,ลิฟต์สําหรับรถเข็น,บันใดและมีบันใดเลื่อนด้วย

ตึกสมเด็จย่า 90

เป็นอาคารสูง 9 ชั้น เปิดให้บริการตรวจรักษาแก่ผู้ป่วยใน (หอผู้ป่วย สย. 4, 5, 6, 7 หออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ (ซีซียู) ) และผู้ป่วยนอก (คลินิกผู้สูงอายุ)

ตึกพัชรกิติยาภา

เปิดให้บริการตรวจรักษาทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทางสูตินรีเวช (โดยมีห้องตรวจโรคหญิงตั้งครรภ์ โรคสตรี ห้องคลอด ห้องผ่าตัดสูติฯ หอผู้ป่วยหลังคลอด และห้องพิเศษ) และทางกุมารเวช (มีห้องตรวจโรคเด็ก หออภิบาลทารกแรกเกิด หออภิบาลผู้ป่วยเด็ก หน่วยไตเทียมเด็ก หอผู้ป่วยเด็ก (ทั้งห้องผู้ป่วยสามัญและพิเศษ)

ตึกอุบัติเหตุและเวชกรรมฉุกเฉิน

เปิดให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุแ��ะฉุกเฉิน ตลอด 24 ชม.

ตึกเวชศาสตร์ฟื้นฟู

เป็นอาคารสูง 6 ชั้น มีบันไดเวียนวนรอบตึก อยู่ทางด้านหลังโรงพยาบาลใกล้ศาลท้าวหิรัญพนาสูรและตึกจอดรถ เป็นตึกที่เมื่อแรกสร้างทำหน้าที่รองรับภารกิจให้การฟื้นฟูสภาพแก่เหล่าทหารหาญที่บาดเจ็บและพิการตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม ปัจจุบัน ให้บริการแก่คนไข้ทั้งทหารและพลเรือนที่มีปัญหาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูทั้งคนไข้ในและคนไข้นอก ให้บริการไฟฟ้าวินิจฉัย ออกกำลังกายเพื่อการรักษาและเพื่อสุขภาพ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีอาคารรังสีรักษา เปิดให้บริการตรวจรักษาทางรังสี ตึกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ บริการตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และห้องตรวจผู้ป่วยวัณโรค (แยกออกจากห้องตรวจโรคอื่นๆ) ที่บริเวณชั้น 1 อาคารสูตินรีเวชกรรมเดิม

อาคารตึก8ชั้น เป็นอาคารบริเวณชั้นที่1เป็นหน่วยประสาทวิทยาและจิตเวชบริเวณ ชั้น2เป็นสํานักงาน เช่น กองเภสัชกรรม แผนจัดหา แผนบก และอี่นๆๆ ชั้น3-8คือหอพักนักศึกษา

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา

[แก้]

กองทัพบก ได้กราบบังคมทูลขอพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามอาคารตามโครงการก่อสร้างอาคารตรวจและรักษาอเนกประสงค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา (His Majesty the King’s 6 Cycle Birthday Anniversary Building) เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2545 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา เสด็จพระราชดำเนิน เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เวลา 15:40 น. อาคารแห่งนี้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น มีดำริให้ พลตรี จุลเทพ ธีระธาดา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในขณะนั้น เสนอโครงการอาคารตรวจและรักษาอเนกประสงค์ ในปีพุทธศักราช 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ และเพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลให้ทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพตอบสนองต่อภารกิจของกองทัพบกและประเทศชาติ เป็นอาคาร 25 ชั้น มีชั้นใต้ดิน พื้นที่ใช้ประโยชน์ 123,902 ตารางเมตร สร้างบนบริเวณที่ตั้งของตึกลักษมีนุสรณ์ ตึกอายุรกรรมธนะรัชต์ ตึกศัลยกรรมธนะรัชต์ และตึกตรวจโรคกิตติขจร พุทธศักราช 2544 กองทัพบก โดย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ในขณะนั้น ให้ดำเนินการก่อสร้างด้วยงบประมาณ 2,598,659,868 บาท บริษัท เบ็ญจมาศ จำกัด เป็นผู้ก่อสร้าง พลตรี ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในขณะนั้น ได้เริ่มย้ายหน่วยงานต่างๆ เข้ามาปฏิบัติงานตามจุดมุ่งหมาย เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550

รายนามผู้บังคับบัญชา

[แก้]

ผู้บังคับกองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ

[แก้]
1. พันโท หลวงวินิจเวชการ (นายแพทย์เหมง สงวนสุข) พ.ศ. 2475-2476

ผู้บังคับกองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 1

[แก้]

พันโท หลวงวินิจเวชการ (นายแพทย์เหมง สงวนสุข) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2479

2. พันเอก หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ (นายแพทย์วาด แย้มประยูร) 1 เมษายน พ.ศ. 2479 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481
3. พันเอก หลวงบำรุงรสระงับพยาธิ (นายแพทย์ฟุ้ง ปิณฑบุตร) 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 - 27 กันยายน พ.ศ. 2486
4. พันเอก นายแพทย์ วิบูลชีพ บุญ-หลง (พลตรี) 28 กันยายน 2486 - 3 มิถุนายน 2488
5. พันเอก หลวงรักษ์ โยธี (นายแพทย์หลี ศรทัตต์) 4 มิถุนายน พ.ศ. 2488 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบก

[แก้]
6. พันเอก นายแพทย์ ถนอม อุปถัมภานนท์ (พลตรี) 1 มกราคม พ.ศ. 2489 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2489
7. พลจัตวา นายแพทย์ พิมล นพรัตน์ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

[แก้]
พลจัตวา นายแพทย์ พิมล นพรัตน์ (พลตรี) รักษาการ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 - ธันวาคม พ.ศ. 2497
8. พันเอก หลวงมงคลแพทยาคม (นายแพทย์มงคล มังคละศิริ) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2494 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2497
9. พลจัตวา นายแพทย์ ประภาคาร กาญจนาคม (พลโท) ธันวาคม พ.ศ. 2497 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2503
10. พันเอก นายแพทย์ ประดิษฐ์ ตู้จินดา (พลตรี) มกราคม พ.ศ. 2504 - กันยายน พ.ศ. 2506
11. พันเอก นายแพทย์ ชม ศรทัตต์ (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - 30 กันยายน พ.ศ. 2507
12. พลตรี นายแพทย์ สมุท ชาตินันท์ (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 - 30 กันยายน พ.ศ. 2512
13. พลตรี นายแพทย์ ประเดิม พีชผล (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 - 30 กันยายน พ.ศ. 2515
14. พลตรี นายแพทย์ ยง วัชระคุปต์ (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 - 30 กันยายน พ.ศ. 2518
15. พลตรี นายแพทย์ สอาด ประเสริฐสม (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 - 30 กันยายน พ.ศ. 2524
16. พลตรี นายแพทย์ สิงหา เสาวภาพ (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 - 30 กันยายน พ.ศ. 2527
17. พลตรี นายแพทย์ อมฤต ณ สงขลา (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 - 30 กันยายน พ.ศ. 2531
18. พลตรี นายแพทย์ ปัญญา อยู่ประเสริฐ (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532
19. พลตรี นายแพทย์ ธรรมนูญ ยงใจยุทธ (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2535
20. พลตรี นายแพทย์ สุจินต์ อุบลวัตร (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 30 กันยายน 2536
21. พลตรี นายแพทย์ ปรียพาส นิลอุบล (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2538
22. พลตรี นายแพทย์ จุลเทพ ธีระธาดา (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 - 30 กันยายน พ.ศ. 2540
23. พลตรี นายแพทย์ ประวิชช์ ตันประเสริฐ (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541
24. พลตรี นายแพทย์ บุญเลิศ จันทราภาส (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544
25. พลตรี นายแพทย์ อิสสระชัย จุลโมกข์ (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2546
26. พลตรี นายแพทย์ สหชาติ พิพิธกุล (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - 27 เมษายน พ.ศ. 2549
27. ศาสตราจารย์คลินิก พลตรี นายแพทย์ ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ (พลโท) 28 เมษายน พ.ศ. 2549 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2550
28. พลตรี นายแพทย์ กิตติพล ภัคโชตานนท์ (พลเอก) 1 เมษายน พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552
29. พลตรี นายแพทย์ กฤษฎา ดวงอุไร (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553
30. พลตรี นายแพทย์ ดิตถ์ สิงหเสนี (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
31. รองศาสตราจารย์ พลตรี นายแพทย์ ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557
32. พลตรี นายแพทย์ สาโรช เขียวขจี (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558
33. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พลตรี นายแพทย์ ชาญณรงค์ นาคสวัสดิ์ (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
34. พลตรี นายแพทย์ นิมิตร์ สะโมทาน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562
35. พลตรี นายแพทย์ สุพัษชัย เมฆะสุวรรณดิษฐ์ (พลโท) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
36. พลตรี นายแพทย์ สุรศักดิ์ ถนัดศีลธรรม (พลเอก) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
37. พลตรี นายแพทย์ ธำรงโรจน์ เต็มอุดม 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2567
38. รองศาสตราจารย์ พลตรี ดร.นายแพทย์ สุขไชย สาทถาพร 1 ตุลาคม 2567 ถึง ปัจจุบัน

เหตุระเบิด

[แก้]

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ที่ห้องวงษ์สุวรณ จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 21 คน[2] ส่วนมือวางระเบิด ทราบตัวในเวลาต่อมาคือนายวัฒนา ภุมเรศ อดีตวิศวกรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยศาลอาญาได้พิพากษาให้จำคุกนายวัฒนาเฉพาะคดีนี้ 27 ปี[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/infoequip.php?maincode=11481&id=125235[ลิงก์เสีย]
  2. [1] ข่าวเหตุระเบิด
  3. เอ็มไทย (6 ธันวาคม 2560). "คุก 26 ปี 12 เดือน 'วัฒนา' มือบึ้ม รพ.พระมงกุฎเกล้า". news.mthai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

13°46′03″N 100°32′00″E / 13.767608°N 100.533465°E / 13.767608; 100.533465