อาคารใบหยก 2
อาคารใบหยก 2 | |
---|---|
Baiyoke Tower II | |
อาคารใบหยก 2 ในช่วงเช้า | |
สถิติความสูง | |
เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งแต่ 2540 ถึง 2559[I] | |
ก่อนหน้านี้ | จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ |
หลังจากนี้ | คิง เพาเวอร์ มหานคร |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เสร็จสมบูรณ์ |
ประเภท | โรงแรม, เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ |
ที่อยู่ | 222 ซอยราชปรารภ 3 ถนนราชปรารภ |
เมือง | แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
พิกัด | 13°45′15″N 100°32′26″E / 13.754167°N 100.540556°E |
เริ่มสร้าง | พฤษภาคม พ.ศ. 2533 |
ค่าก่อสร้าง | 3.6 พันล้านบาท |
เจ้าของ | Land Development Co. Ltd. |
ความสูง | |
ตัวอาคาร | 309 m (1,014 ft) |
ปลายยอด | 328.4 m (1,077 ft) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
จำนวนชั้น | 88 ชั้น (ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น) |
พื้นที่แต่ละชั้น | 179,400 m2 (1,931,000 sq ft) |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | Plan Architects |
ผู้พัฒนาโครงการ | Land Development Corporation |
วิศวกรโครงสร้าง | อรุณ ชัยเสรี กรุป |
ผู้รับเหมาก่อสร้าง | Concrete Constructions |
ข้อมูลอื่น | |
จำนวนห้อง | 673 ห้อง |
ที่จอดรถ | 900 กว่าคัน |
เว็บไซต์ | |
www | |
อ้างอิง | |
[1][2][3][4] |
อาคารใบหยก 2 (อังกฤษ: Baiyoke Tower II) เป็นตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นตึกที่สูงเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศไทย เป็นตึกที่มีจำนวนชั้นมากที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวน 85 ชั้น เป็นโรงแรมที่สูงที่สุดในประเทศไทย และเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2540–2559 ก่อนถูกทำลายสถิติโดยตึกคิง เพาเวอร์ มหานคร[5] ซึ่งตึกใบหยก 2 เป็นตึกที่ครองตำแหน่งตึกที่สูงที่สุดในไทยนานที่สุดเป็นเวลา 19 ปี มีลิฟต์แก้วเพื่อขึ้นไปสู่ห้องอาหารชั้นที่ 77 ตั้งอยู่ในย่านประตูน้ำ ซอยราชปรารภ 3 ถนนราชปรารภ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]ใบหยก 2 เป็นอาคารในเครือใบหยก ซึ่งมี พันธ์เลิศ ใบหยก เป็นประธานและกรรมการผู้จัดการ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 โรงแรมเริ่มเปิดให้บริการใน 14 มกราคม พ.ศ. 2541 และในปีเดียวกันมีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง ไอทีวี ออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 ของตึกใบหยก 2 ที่ความสูง 54 เมตร (150 ฟุต) บนยอดตึก และหลังจากนั้น สทท. กรมประชาสัมพันธ์ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 / เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี (ชื่อในขณะนั้นของ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 / เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ช่อง 3 ได้เปลี่ยนระบบการส่งเป็นระบบยูเอชเอฟ ช่อง 32 ออกอากาศรวมกันโดยใช้เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่องไอทีวีออกอากาศ (ต่อมาใช้ชื่อว่า ทีไอทีวี และปัจจุบันใช้ชื่อว่า ไทยพีบีเอส) ซึ่งตึกใบหยก 2 นับว่าเป็น ตึกระฟ้า หลังแรกของ ประเทศไทย ที่มีความสูงเกิน 300 เมตร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการทดลองการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน จึงมีรายละเอียดการออกอากาศดังนี้ ททบ. ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 36 (ใช้โครงข่ายที่ 2) / บมจ. อสมท (หรือช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 40 (ใช้โครงข่ายที่ 3)[6] และในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นปีที่มีการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินอย่างเป็นทางการ จึงได้มีการเริ่มออกอากาศช่องความถี่โครงข่ายโทรทัศน์เพิ่มเติมคือ กรมประชาสัมพันธ์ (หรือ สทท.) ช่อง 26 (ใช้โครงข่ายที่ 1) / ไทยพีบีเอส ช่อง 44 (ใช้โครงข่ายที่ 4) / ททบ. ช่อง 52 (ใช้โครงข่ายที่ 5) เพราะด้วยความสูงของอาคาร ทำให้เสาส่งสัญญาณสามารถทำหน้าที่แพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ได้ทั่วถึงในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้อาคารฯ กลายเป็นที่ตั้งของสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์หลักของ กรุงเทพมหานคร[7]
รายละเอียดของอาคาร
[แก้]อาคารมีความสูง 304 เมตร (994 ฟุต) มีทั้งสิ้น 88 ชั้น (ถ้าไม่นับชั้นใต้ดินจะมี 85 ชั้น) พื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่ชื่อใบหยก สกาย
- ชั้น 1 และชั้น 6-12 เป็นที่จอดรถ
- ชั้น 17 เป็นห้องประชุมและห้องจัดเลี้ยง SKY ROOM และ RAINBOW HALL
- ชั้น 18 เป็นโถงโรงแรม
- ชั้น 19 เป็นห้องประชุมและห้องจัดเลี้ยง KONTENT SPACE
- ตั้งแต่ชั้น 22 ถึง 74 เป็นห้องพักโรงแรม มีทั้งหมด 673 ห้อง ประกอบด้วย สแตนดาร์ดโซน (STANDARD ZONE) ชั้น 22-45 / สกายโซน (SKY ZONE) ชั้น 46–63 และ สเปซโซน (SPACE ZONE) ชั้น 64-74
- ชั้น 22–45 สแตนดาร์ดโซน (STANDARD ZONE)
- ห้องซูพีเรีย (Superior Room) 73 ห้อง
- ห้องจูเนียร์สวีท (Junior Suite) 76 ห้อง
- ห้องซูพีเรียสวีท (Superior Suite) 111 ห้อง
- ชั้น 46-63 สกายโซน (SKY ZONE)
- ห้องดีลักซ์ (Deluxe Room) / ห้องดีลักซ์ สำหรับสุภาพสตรี (Deluxe Room Lady) 75 ห้อง
- ห้องจูเนียร์สวีท (Junior Suite) / ห้องจูเนียร์สวีท สำหรับสุภาพสตรี (Junior Suite Lady) 68 ห้อง
- ห้องซูพีเรียสวีท (Superior Suite) 16 ห้อง
- ชั้น 64-74 สเปซโซน (SPACE ZONE)
- ห้องดีลักซ์ (Deluxe Room) 48 ห้อง
- ห้องจูเนียร์สวีท (Junior Suite) 21 ห้อง
- ห้องซูพีเรียสวีท (Superior Suite) 4 ห้อง
- ห้องเพรซซิเดนเชิลสวีท (Presidential Suite) 5 ห้อง
- ชั้น 22–45 สแตนดาร์ดโซน (STANDARD ZONE)
- ชั้น 18, 76, 78, 79, 81 และ 82 เป็นห้องอาหาร (ชั้นที่ 75 ตลาดน้ำใบหยก (BAIYOKE FLOATING MARKET) ไม่สามารถใช้ได้ชั่วคราว) ชั้น 83 เป็นบาร์ดาดฟ้า (THE ROOF TOP BAR)
- ชั้นที่ 18 (SKY COFFEE SHOP / บุฟเฟต์ผลไม้)
- ชั้นที่ 76 (BANGKOK SKY RESTAURANT)
- ชั้นที่ 78 (BANGKOK SKY RESTAURANT)
- ชั้นที่ 79 (STELLA PALACE)
- ชั้นที่ 81 (BANGKOK BALCONY)
- ชั้นที่ 82 (CRYSTAL GRILL)
- ชั้น 77 และ 84 เป็นชั้นสำหรับชมทิวทัศน์ โดยที่ชั้น 84 เป็นดาดฟ้าหมุนได้รอบ ทั้งสองชั้นนี้เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 11.00 ถึง 23.00 น.
- ลิฟต์โดยสารอาคารนี้มีความเร็วสูงสุด 4.0 เมตร/วินาที (14.4 กิโลเมตร/ชั่วโมง) (ส่วนพื้นที่โรงแรม) ความเร็วสูงสุด 2.1 เมตร/วินาที (7.56 กิโลเมตร/ชั่วโมง) (ส่วนพื้นที่พลาซาและลานจอดรถ)
- ลิฟต์และบันไดเลื่อน ภายในอาคารส่วนใหญ่จะเป็นของบริษัทฮิตาชิ จากประเทศญี่ปุ่น
อุบัติเหตุ
[แก้]วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เกิดอุบัติเหตุกับพนักงานติดป้ายโฆษณาของบริษัทโตชิบากำลังปฏิบัติงานอยู่ที่ชั้น 68 ของตึกใบหยก 2 จนทำให้พนักงานตกลงมาเสียชีวิตทันที 3 รายและบาดเจ็บอีก 2 ราย[8]
ตึกใบหยก 1
[แก้]ตึกใบหยก 1 ตั้งอยู่เลขที่ 130 ถนนราชปรารภ มีชั้นทั้งหมด 43 ชั้น มีความสูง 151 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2530 และเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดใน ประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2536 ก่อนจะถูกตึก สินสาธร ทาวเวอร์ ทำลายสถิติในปี พ.ศ. 2536 ตัวตึกมีจุดเด่นคือยอดตึกมีลักษณะเป็นโครงสามเหลี่ยมยอดแหลมและทาสีไล่เฉดเป็นสีรุ้ง เป็นที่ตั้งของโรงแรมใบหยกสวีทและมีร้านอาหารบนยอดตึกชื่อสกายเลาจน์ ชั้นล่างเป็นศูนย์รวมส่งเสื้อผ้าและศูนย์การค้าขนาดเล็ก
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ตึกใบหยก 2
-
ตึกใบหยก 2
-
ยอดอาคารใบหยก 2
-
ตึกใบหยก 2 และพื้นที่โดยรอบ
-
ตึกใบหยก 2 ยามค่ำคืน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "อาคารใบหยก 2". CTBUH Skyscraper Center.
- ↑ "Emporis building ID 107136". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2015.
- ↑ "อาคารใบหยก 2". SkyscraperPage.
- ↑ อาคารใบหยก 2 ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae)
- ↑ Baiyoke Tower II. The Skyscraper Center.
- ↑ "ดูได้แล้ว !!! ทดสอบรับชม "ทีวีดิจิตอล" ด้วย "เสาหนวดกุ้ง" และ "เสาก้างปลา"". lcdtvthailand. 31 สิงหาคม 2013.
- ↑ "ปีนี้! เริ่มการเปลี่ยนถ่ายสู่ดิจิตอลทีวี จัดโดย กสทช. ThaiPBS". EnergyThai. 25 กรกฎาคม 2015.
- ↑ "ความคืบหน้า สลิงนั่งร้านขาด". Nation Channel. 7 พฤษภาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | อาคารใบหยก 2 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ | อาคารที่สูงที่สุดในไทย (พ.ศ. 2540–2559) |
คิง เพาเวอร์ มหานคร | ||
ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานสีลม | อาคารที่สูงที่สุดในไทย (พ.ศ. 2530–2536) |
สินสาธร ทาวเวอร์ |