เล่งทอง (หลิง ถ่ง)
หน้าตา
เล่งทอง | |
---|---|
凌統 | |
ขุนพลรอง (偏將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 215 – ค.ศ. 217 | |
ต้างโค่วจงหลางเจียง (蕩寇中郎將) | |
ดำรงตำแหน่ง 215 | |
ไพเซี่ยง (沛相) (ในนาม) | |
ดำรงตำแหน่ง 215 | |
เสี้ยวเว่ย (校尉) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 209 – ค.ศ. 215 | |
นายพันผู้มีพลังเกรียงไกร (承烈都尉) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 208 – ค.ศ. 209 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 189[a] เขตอฺวี๋หาง หางโจว มณฑลเจ้อเจียง |
เสียชีวิต | ค.ศ. 217(28 ปี)[a] |
บุตร |
|
บุพการี |
|
อาชีพ | ขุนพล |
ชื่อรอง | กงจี (公績) |
เล่งทอง ([a] ชื่อรอง กงจี เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก บุตรของเล่งโฉ เมื่อกำเหลงมาอยู่กับง่อ ทำให้เล่งทองไม่พอใจจนซุนกวนต้องส่งกำเหลงไปประจำยังที่ห่างไกลเพื่อกันสองคนทะเลาะกัน ซึ่งต่อมาได้เกิดศึกที่มีชื่อว่าศึกหับป๋าทหารของงักจิ้นยิงธนูใส่ตาม้าของเล่งทอง ทำให้หกล้มไป แล้วกำเหลงก็มายิงธนูใส่ศัตรูช่วยเล่งทองทำให้ทั้งสองเป็นมิตรกันในที่สุด เล่งทองมีผลงานที่โดดเด่นในการรบหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือการช่วยซุนกวนหนีในศึกหับป๋า เมื่อเล่งทองตาย ซุนกวนเสียใจมาก จัดงานศพให้อย่างสมเกียรติ ซึ่งนับว่าเป็นงานศพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หนึ่งในสามของง่อ เทียบเท่ากับของลิบอง และจูเหียน
; ค.ศ. 189–217)หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของเล่งทองในสามก๊กจี่บันทึกว่าเขาเสียชีวิตตอนอายุ 49 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] อย่างไรก็ตาม Lu (1982) และ Liang (2000) ชี้ให้เห็นว่ามีปัญหาตรงที่หมายเลข '49' และเลขนี้ควรเป็น '29' โดยชีวประวัติของเล่งทองในสามก๊กจี่ระบุว่า เล่งทอง (ลั่ว ถ่ง) เข้ายึดฐานที่มั่นทางทหารของเล่งทอง (หลิง ถ่ง) หลังจากเล่งทอง (หลิง ถ่ง) เสียชีวิต และเล่งทอง (ลั่ว ถ่ง) เข้าร่วมในยุทธการที่อิเหลงเมื่อ ค.ศ. 222[2] ข้อความนี้ไม่ค่อ��ตรงกับข้อความในชีวประวัติเล่งทอง (หลิง ถ่ง) ตรงที่ชีวประวัติของเขาไม่ได้ระบุว่าเขาทำอะไรหลังศึกหับป๋าใน ค.ศ. 215 ถ้าเขาเข้ารบในยุทธการที่อิเหลง ซึ่งเป็นหนึ่งในสงครามครั้งใหญ่ในยุคนั้น การมีส่วนร่วมของเขาจะถูกกล่าวถึงในชีวประวัติของเขาอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ชีวประวัติของเล่งทอง (หลิง ถ่ง) ยังระบุด้วยว่าบรรดาบุตรชายของเขายังอายุน้อยมากเมื่อบิดาของพวกเขาเสียชีวิต Lu (1982) และ Liang (2000) เชื่อว่ามีแนวโน้มสูงที่เล่งทอง (หลิง ถ่ง) เสียชีวิตเมื่ออายุ 29 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ใน ค.ศ. 217 มากกว่าเมื่ออายุ 49 ปีใน ค.ศ. 237[3][4]
อ้างอิง
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- Liang, Zhangju (2000). Yang, Yaokun (บ.ก.). 三國志旁證 (Circumstantial Evidence on the Sanguozhi) (ภาษาChinese). Beijing: Zhonghua Book Company. ISBN 978-7-211-03490-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - Lu, Bi (1982). 三國志集解 (Explanatory Commentary to the Sanguozhi) (ภาษาChinese). Beijing: Zhonghua Book Company. ISBN 978-7-101-01019-0.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- Sakaguchi, Wazumi, บ.ก. (2005). Seishi Sangokushi Gunyu Meimeiden 正史三國志群雄銘銘傳 (ภาษาJapanese). Tokyo: Kojinsha.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.