จักรพรรดิ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฐานันดรศักดิ์ยุโรป |
---|
จักรพรรดิ / กษัตริย์-จักรพรรดิ / ไคเซอร์ / ซาร์ |
กษัตริย์สูงสุด / มหาราช |
กษัตริย์ / ราชินีนาถ |
อาร์ชดยุก / เซซาเรวิช |
แกรนด์พรินซ์ / แกรนด์ดยุก |
คัวร์เฟือสท์ / เจ้าชาย / เจ้าหญิง / มกุฏราชกุมาร / อินฟันเต / โดแฟ็ง |
ดยุก |
เฟือสท์ |
มาร์ควิส / มาร์คกราฟ / ลันท์กราฟ |
เคานต์ / เอิร์ล / กราฟ / บวร์คกราฟ |
ไวเคานต์ / วีดาม |
บารอน / ไฟรแฮร์ |
บารอเนต / อัศวินจักรวรรดิ |
อัศวิน / เดม / เซอร์ / แซร์ / มาดาม / ลอร์ด / เลดี |
เอ็สไควร์ / เอดเลอร์ / สุภาพบุรุษ / ยุงเคอร์ |
Ministerialis |
จักรพรรดิ (อังกฤษ: Emperor) หรือ พระราชาธิราช หมายถึง ประมุขชายผู้เป็นเจ้าครองจักรวรรดิ
รัฐหรืออาณาจักร (kingdom) ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยการปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิเยอรมัน อันประกอบด้วยหลายชนชาติ แต่ละชนชาติจะมีพระมหากษัตริย์ของตนเองปกครองอยู่ด้วย จึงอาจพูดได้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิคือกษัตริย์ผู้ปกครองกษัตริย์ หากเป็นสตรีเรียกว่า จักรพรรดินีนาถ (Empress Regnant) สำหรับพระมเหสีของจักรพรรดิจะเรียกว่า “จักรพรรดินี” (Empress Consort) ส่วนสำหรับพระสวามีของจักรพรรดินีนาถจะเรียกว่า “เจ้าชายพระราชสวามี” (Price Consort)” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “พระราชา”
ข้อแตกต่างระหว่างจักรพรรดิกับประมุขแบบอื่น
[แก้]ทั้งกษัตริย์และจักรพรรดิ ต่างเป็นพระประมุขของรัฐเหมือนกัน ยังไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่บ่งบอกถึงความแตกต่างในฐานันดรทั้งสองประเภทนี้โดยชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวของได้แก่ การตีความของนักประวัติศาสตร์ ขนาดและลักษณะของอาณาจักรที่ทรงปกครอง และชื่อตำแหน่งที่ราชวงศ์นั้น ๆ เลือกที่จะเรียกตนเอง ลักษณะเฉพาะที่อาจนับเป็นปัจจัยให้ใช้ฐานันดรจักรพรรดิอาจสรุปได้หลายทางดังนี้
- จักรพรรดิ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Emperor และ/หรือได้รับการยอมรับเป็น “จักรพรรดิ” จากความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศ
- จักรพรรดิ เป็นประมุขของรัฐราชาธิปไตยอื่นด้วยโดยที่ไม่ถอดถอนความเป็นราชาของรัฐอื่นที่ตนปกครอง
- เป็นจักรพรรดิที่ถือว่าสืบเชื้อสายจากเทพเจ้าหรือดำรงตำแหน่งสูงทางศาสนาโดยการแสดงตนโดย
- ทางพิธีการและความเชื่อมั่นทางศาสนา เช่น โรมโบราณ หรือจักรพรรดิญี่ปุ่น
- ฝ่ายบ้านเมืองหรือพระราชามีอำนาจสูงกว่าศาสนจักร (จักรพรรดิสันตะปาปานิยม (Caesaropapism)) พระราชาในยุโรปที่เป็นคริสต์ศาสนิกชนจะถือตนเองเป็นเพียงกษัตริย์ (King) ไม่เรียกตนเป็นจักรพรรดิ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ที่มีปัญหาขัดแย้งกับสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 ไม่ยอมลงรอยกับโรมก็ได้เรียกตำแหน่งของพระองค์โดยใช้คำว่า “อิมพีเรียม” (imperium) และพระราชาแห่งรัสเซียก็เรียกตนเองว่าซาร์ ซึ่งหมายถึงจักรพรรดิ เพราะถือพระองค์ว่าอยู่เหนือคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ แต่พระองค์จะอยู่ภายใต้พระเจ้าเท่านั้น
- เป็นประเพณียุโรป (คริสเตียน) ที่พระราชาสามารถสืบย้อนพระราชวงศ์ไปถึงสมัยจักรวรรดิโรมัน หรือที่ได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิโรมัน (ไบแซนไทน์) ในการสืบทอดอำนาจ
การเลือกใช้ชื่อตำแหน่งโดยพระราชาได้กลายเป็นแนวคิดที่ต่างไปจากเดิมในภาษาอังกฤษ กล่าวคือความต่างที่ว่าพระราชาควรเป็นพระมหากษัตริย์หรือเป็นพระจักรพรรดิไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวอีกต่อไป ต่างจากตำแหน่งพระราชาที่เป็น ฟาโรห์ เคาะลีฟะฮ์ สุลต่าน หรือข่าน ซึ่งยังมีการกำหนดแยกชัดเจนอยู่
จักรพรรดิในโลกตะวันตกและตะวันออก
[แก้]ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีการใช้ฐานันดรพระราชาในระดับ “จักรพรรดิ” ทั้งในโลกซีกตะวันตกซึ่งเริ่มจากยุคโรมันและต่อด้วยยุคคริสเตียน ทางซีกโลกตะวันออกมีประเพณีที่แตกต่างจากตะวันตก ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งจีนและญี่ปุ่นอ้างความเป็นจักรพรรดิว่าสืบเชื้อสายมาจากสรวงสวรรค์ เจงกิสข่านถือว่าพระองค์ได้อำนาจจากธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ จักรพรรดิญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์
รายพระนามของจักรพรรดิ
[แก้]จักรพรรดิโดยการเป็นจักรวรรดิแบบทั่วไป
[แก้]จักรวรรดิโบราณ
[แก้]- จักรวรรดิเปอร์เชีย (16 ปี ก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 213) ดูรายพระนามพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย
- จักรวรรดิแห่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (พ.ศ. 209 – พ.ศ. 262)
- จักรวรรดิโมริยะ (Mauryan Empire) (พ.ศ. 222 – พ.ศ. 358) ดู ราชวงศ์โมริยะ
- จักรวรรดิจีน (จักรวรรดิ พ.ศ. 322 – พ.ศ. 2454) ดู จักรพรรดิจีนและรายพระนามจักรพรรดิจีน
- จักรวรรดิโรมัน (พ.ศ. 516 – พ.ศ. 1019) ดู รายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน
สมัยกลาง
[แก้]ประเพณีตะวันตกและไบแซนไทน์
[แก้]- จักรวรรดิไบแซนไทน์ (พ.ศ. 938 – พ.ศ. 1996) ดู รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์
- จักรวรรดิละติน (พ.ศ. 1747 – พ.ศ. 1804)
- จักรวรรดิไนเซีย (Empire of Nicaea – พ.ศ. 1747 – พ.ศ. 1804) “จักรวรรดิไบแซนไทน์” ที่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นหลังจากถูก “จักรวรรดิละติน” ยึดคอนสแตนติโนเปิล ในสงครามครูเสดครั้งที่ 4
- จักรวรรดิเทรบิซอนด์ (Empire of Trebizond -พ.ศ. 1747 – พ.ศ. 2004) การแตกแยกออกจากจักรวรรดิไบแซนไทน์อีกอาณาจักรหนึ่ง
- ราชรัฐเอปิรุส (Despotate of Epirus – พ.ศ. 1747 – พ.ศ. 1902) ปกครองโดยจักรพรรดิทีโอดอร์ ดูกาส พ.ศ. 1770 – พ.ศ. 1773
- จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พ.ศ. 1343 และ พ.ศ. 1505 – พ.ศ. 2349) ดู จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- จักรวรรดิบัลแกเรีย (พ.ศ. 1456 – พ.ศ. 1965) ดู รายพระนามพระมหากษัตริย์บัลแกเรีย
- จักรวรรดิเซอร์เบีย (พ.ศ. 1888 – พ.ศ. 1914) ดู จักรพรรดิเซอร์เบีย
อื่น ๆ
[แก้]- เจ้าผู้ปกครองเวียดนามพระองค์แรกที่ใช้ฐานันดรจักรพรรดิ (หว่างเด๊) ได้แก่จักรพรรดิดิญ โบะ หลิญ ผู้สถาปนาราชวงศ์ดิญเมื่อ พ.ศ. 1509 ดู รายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม
- ญี่ปุ่น (พระจักรพรรดิที่เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบันว่า “เท็นโน” นับแต่ประมาณ พ.ศ. 1200 เป็นต้นมา) ดู จักรพรรดิญี่ปุ่นและรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
- จักรวรรดิมองโกล (พ.ศ. 1749 – พ.ศ. 1911) ดู ข่านแห่งมองโกลและรายพระนามพระมหากษัตริย์มองโกเลีย
- จักรวรรดิออตโตมัน (พ.ศ. 1842 – พ.ศ. 2465) ดู รายพระนามสุลต่านแห่งออตโตมัน
- จักรวรรดิเอธิโอเปีย (จักรวรรดิ พ.ศ. 1813 – พ.ศ. 2518) ดู รายพระนามจักรพรรดิเอธิโอเปีย
- จักรวรรดิแอซเท็ก (พ.ศ. 1918 – พ.ศ. 2064) ดู เฮวยี ตลาโทอานิ (Hueyi Tlatoani)
- จักรวรรดิอินคา (พ.ศ. 1981 – พ.ศ. 2076) ดู รายพระนามซาปา อินคา (Sapa Inca)
สมัยใหม่
[แก้]- จักรวรรดิเปอร์เชีย (อิหร่าน) (พ.ศ. 2044 – พ.ศ. 2522) ดู รายพระนามพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย
- จักรวรรดิโมกุล (พ.ศ. 2059 – พ.ศ. 2400) ดู รายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุล
- จักรวรรดิรัสเซีย (พ.ศ. 2264 – พ.ศ. 2460) ดู จักรพรรดิรัสเซีย
- จักรวรรดิดุรรานี (พ.ศ. 2290 – พ.ศ. 2366)
- ราชวงศ์ทาลเปอร์ (พ.ศ. 2326 – พ.ศ. 2386)
- จักรวรรดิซิกข์ (พ.ศ. 2342 – พ.ศ. 2392) ดู จักรพรรดิซิกข์
- จักรวรรดิฝรั่งเศส ดู จักรพรรดิฝรั่งเศส
- จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (พ.ศ. 2347 – พ.ศ. 2357 และ พ.ศ. 2358)
- จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง (พ.ศ. 2395 – พ.ศ. 2413)
- จักรวรรดิเฮติ ดู จักรพรรดิเฮติ
- จักรวรรดิเฮติที่หนึ่ง (พ.ศ. 2347 – พ.ศ. 2349)
- จักรวรรดิเฮติที่สอง (พ.ศ. 2392 – พ.ศ. 2402)
- จักรวรรดิออสเตรีย (ต่อมาจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี) (พ.ศ. 2347 – พ.ศ. 2461) ดู จักรพรรดิออสเตรีย
- จักรวรรดิเม็กซิโก ดู รายพระนามจักรพรรดิเม็กซิโก
- จักรวรรดิเม็กซิโกที่ 1 (พ.ศ. 2364 – พ.ศ. 2366)
- จักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 (พ.ศ. 2407 – พ.ศ. 2410)
- จักรวรรดิบราซิล (พ.ศ. 2365 – พ.ศ. 2432) ดู จักรพรรดิบราซิล
- จักรวรรดิเยอรมัน (พ.ศ. 2414 – พ.ศ. 2461) ดู จักรพรรดิเยอรมัน
- จักรวรรดิอินเดีย (ภายใต้จักรวรรดิบริติช) (พ.ศ. 2419 – พ.ศ. 2491) ดู จักรพรรดิอินเดียและจักรพรรดิอังกฤษ
- จักรวรรดิเกาหลี (พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2453) ดู จักรพรรดิเกาหลี
- จักรวรรดิจีน (พ.ศ. 2458 – พ.ศ. 2459) ดู จักรพรรดิจีน
- จักรวรรดิแมนจูเรีย (ภายใต้จักรวรรดิญี่ปุ่น) (พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2488) ดู จักรพรรดิแมนจูเรีย
สมัยปัจจุบัน
[แก้]- จักรวรรดิแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2522) ดู จักรพรรดิแอฟริกากลาง
รูปภาพ
[แก้]จักรพรรดิยุโรป
[แก้]-
อัลฟอนโซมหาราช กษัตริย์แห่งเลออน จักรพรรดิแห่งสเปน
จักรพรรดิอเมริกา
[แก้]-
มอกเตซูมาที่ 2 จักรพรรดิ (เฮวยี ตลาโทอานิ) แห่งแอซเท็ก
จักรพรรดิแอฟริกา
[แก้]จักรพรรดิเอเชีย
[แก้]-
คังเต๋อ จักรพรรดิแมนจูเรีย
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 438 หน้า. ISBN 978-616-7073-74-3
ดูเพิ่ม
[แก้]- ไคเซอร์ (โรมันอันศักดิ์สิทธิ์, ออสเตรีย, เยอรมนี)
- ซาร์ (รัสเซีย, เซอร์เบีย, บัลแกเรีย)
- พระเจ้าจักรพรรดิ (จักรพรรดิตามคติพุทธศาสนา)
- พระราชาธิราช
- คากาน (มองโกเลีย)
- ปาดีซะฮ์
- ชาฮันชาห์ (อิหร่าน, โมกุล)