เผ่าภูมิ โรจนสกุล
เผ่าภูมิ โรจนสกุล | |
---|---|
เผ่าภูมิ ใน พ.ศ. 2567 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | พิชัย ชุณหวชิร |
ก่อนหน้า | สันติ พร้อมพัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ บอสตัน มหาวิทยาลัยอิลลินอย ชิคาโก |
ชื่อเล่น | อ๊อฟ |
เผ่าภูมิ โรจนสกุล (เกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526) ชื่อเล่น อ๊อฟ เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ผลักดันโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ประวัติ
[แก้]เผ่าภูมิ โรจนสกุล เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทใบที่ 1 จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ บอสตัน, ปริญญาโทใบที่ 2 และปริญญาเอก ด้านจากคณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอย ชิคาโก[1]
กา���ทำงานในพรรค
[แก้]หลังจบการศึกษาจากต่างประเทศ เผ่าภูมิได้เข้ารับราชการที่สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ[2] แต่พบปัญหาในการผลักดันนโยบายภายในองค์กรจึงลาออกในเวลาต่อมา ก่อนจะมีบุคคลชักชวนให้เข้ามาทำงานการเมืองในพรรคเพื่อไทย โดยเข้ามาเป็นทีมงานของภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรค ตั้งแต่สมัยเป็นเลขาธิการพรรค และในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[3] จากนั้นในปี พ.ศ. 2561 ได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการพรรค[4] และดำรงตำแหน่งนี้ติดต่อกัน 4 สมัย (พ.ศ. 2561[4], พ.ศ. 2562[5], พ.ศ. 2563[6] และ พ.ศ. 2564[7]) ก่อนจะขยับขึ้นมาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2566[8]
ตำแหน่งในพรรค
[แก้]- รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
- รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (4 สมัย)
- ผู้อำนวยการศูนย์นโยบาย พรรคเพื่อไทย
- กรรมการและเลขานุการกรรมการนโยบายและวิชาการพรรคเพื่อไทย
- ประธานกรรมการนโยบายด้านแรงงานพรรคเพื่อไทย
- เลขาธิการคณะกรรมการพรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน (ฝ่ายค้านเพื่อประชาชน)
- กรรมการ เลขานุการ และโฆษกคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย
การทำงานทางการเมือง
[แก้]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เผ่าภูมิได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 33[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เผ่าภูมิได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออีกครั้ง โดยขยับไปอยู่ในลำดับที่ 89[10] ซึ่งก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งเผ่าภูมิดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เศรษฐา ทวีสิน)[11]
เผ่าภูมิเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ผลักดัน สื่อสาร และประชาสัมพันธ์นโยบายต่าง ๆ ของพรรคเพื่อไทย ที่ถูกผลักดันเป็นนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน รวมถึงเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท[1]
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เผ่าภูมิเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[12]
ดูเพิ่ม
[แก้]- เศรษฐา ทวีสิน
- กระทรวงการคลัง
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประวัติ "เผ่าภูมิ โรจนสกุล" มือปั้น "เงินดิจิทัล 10,000" พรรคเพื่อไทย". ฐานเศรษฐกิจ. 26 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เผ่าภูมิ โรจนสกุล โฆษกคณะกรรมการเศรษฐกิจ พท". มติชน. 13 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""เผ่าภูมิ" ลูกหม้อ "ภูมิธรรม" "เพื่อไทย" ผนึกกำลัง…ฝ่ามรสุมขาลง". ประชาชาติธุรกิจ. 27 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "ไม่พลิก "เพื่อไทย" เลือก "วิโรจน์" นั่งหัวหน้าพรรค". พีพีทีวี. 28 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.
ส่วนรองเลขาธิการพรรค นายดนุพร ปุณณกันต์, น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์, นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล และ นาย ธวัชชัย สุทธิบงกช
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'สมพงษ์' หัวหน้า-'อนุดิษฐ์'มือขวาเจ๊หน่อย นั่งเลขาฯพท". โพสต์ทูเดย์. 12 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.
ขณะที่ รองเลขาธิการพรรค 7 คน 1. น.ส.ละออง ติยะไพรัช 2. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ 3. นายสุรชาติ เทียนทอง 4. น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล 5. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล 6. นายจตุพร เจริญเชื้อ 7. นายศราวุธ เพชรพนมพร
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรรคเพื่อไทย : สมพงษ์ ยังรั้งเก้าอี้หัวหน้าพรรค ชูภารกิจเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ". บีบีซีไทย. 1 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.
รองเลขาธิการพรรค ทั้งหมด 5 คน ได้แก่ นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม, นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์, ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล, นายคุณากร ปรีชาชนะชัย, นายนพ ชีวานันท์
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรรคเพื่อไทย เมื่อหัวหน้าใหม่ชื่อชลน่าน ศรีแก้ว และลูกสาวทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษา". บีบีซีไทย. 28 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.
13. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรค
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิด 23 รายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". ทีเอ็นเอ็น 16. 27 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2023.
7. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองหัวหน้าพรรค
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". พีพีทีวี. 4 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เศรษฐา ตั้ง "เผ่าภูมิ" นั่งเก้าอี้เลขานุการ รมว.คลัง". ประชาชาติธุรกิจ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ครม. "เศรษฐา 1/1"". บีบีซีไทย. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | เผ่าภูมิ โรจนสกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ตนเอง |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 64) สมัยที่ 2 (3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
สันติ พร้อมพัฒน์ | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 63) สมัยที่ 1 (27 เมษายน พ.ศ. 2567 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567) |
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ตนเอง |