ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน 2539 – 24 พฤศจิกายน 2539 | |
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 | |
ก่อนหน้า | เริงชัย มะระกานนท์ |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์จตุมงคล โสณกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 กันยายน พ.ศ. 2489 |
คู่สมรส | พวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์ |
ลายมือชื่อ | |
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2489 กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา [1] ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคนที่ 16[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รักษาการรัฐมนตรีว่าการฯ) และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
การศึกษา
[แก้]ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ หรือ ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เรียนชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ท.ศ. 9020 และจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโดยสอบได้คะแนนสูงเป็นอันดับ ที่ 3 ของประเทศแผนกวิทยาศาสตร์ ได้ทุนธนาคารแห่งประเทศไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา, ศึกษาขั้นปริญญาตรีที่ Williams College, ศึกษาขั้นปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ที่ M.I.T.
การทำงาน
[แก้]ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรวม 25 ปี ได้เป็น ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2540- พ.ศ. 2541 เคยดำรงตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2539 และช่วยงานบริหารนโยบายเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลหลายชุด
นอกจากนั้นยังทำงานด้านการเงินการธนาคาร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงไทย ( 2547-2553) และเป็นรองประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( 2549-2551) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการเงินบริจาคเพื่อพัฒนาโรงเรียนเทพศิรินทร์
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาประจำผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
งานด้านวรรณกรรม
[แก้]เป็นนักเขียนใช้นามปากกา “วินนี่ เดอะ ปุ๊” เขียนหนังสือสารคดีในแนวสาระบันเทิง มีผลงานมากกว่า 10 เล่ม เคยเป็นอุปนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรม เช่น ซีไรต์ นายอินทร์อะวอร์ด นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลนราธิป ในปี พ.ศ. 2564[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
- ↑ "ประวัติผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-18. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
- ↑ ประกาศ 3 รางวัลนักเขียน "นราธิปฯ-แม่น้ำโขง-ศรีบูรพา"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
ก่อนหน้า | ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
บดี จุณณานนท์ | รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (15 ตุลาคม - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) |
อำนวย วีรวรรณ | ||
เริงชัย มะระกานนท์ | ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541) |
หม่อมราชวงศ์จตุมงคล โสณกุล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- นักการธนาคารชาวไทย
- นักเขียนชาวไทย
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์