จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ ถูกบดบังบางส่วนด้วยอาคารสิรินาถ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | |
ที่ตั้ง | 919/1 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ประเทศไทย |
---|---|
พิกัด | 13°43′22″N 100°31′12″E / 13.72278°N 100.52000°E |
เปิดให้บริการ | พ.ศ. 2539 |
ผู้บริหารงาน | สถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งเอเชีย |
สถาปนิก | เฮชโอเค |
จำนวนชั้น | 59 ชั้น |
ขนส่งมวลชน | ขสมก. สาย 15, 76, 77, 115, 504, 514, 1-32E, 3-45, 4-55, 4-68 |
เว็บไซต์ | www |
จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ (อังกฤษ: Jewelry Trade Center) คือตึกระฟ้าสูง 59 ชั้น ตั้งอยู่ในเขตอัญมณีของถนนสีลม กรุงเทพมหานคร ออกแบบโดย HOK สร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2539 ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) เป็นตึกที่สูงที่สุดอันดับ 18 ของประเทศไทย เคยเป็นอาคารที่สูงที่สุดในไ���ยในปี พ.ศ. 2539 - 2540 ก่อนถูกทำลายสถิติโดยอาคารใบหยก 2
จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ คือศูนย์กลางการขาย การให้ข้อมูล และการจัดจำหน่ายอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และหนึ่งในศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย อาคารประกอบด้วยห้องทดลองอัญมณีที่ครบครัน ดำเนินการโดยสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งเอเชีย (Asian Institute of Gemological Sciences : AIGS) ห้องแสดงอัญมณีสีลมตั้งอยู่บริเวณลานชั้นล่างของอาคาร ซึ่งเป็นพื้นที่จัดจำหน่ายงานศิลปะ ของโบราณ และอัญมณี ภายในอาคารยังมีธนาคาร ร้านอาหาร ชมรมสุขภาพ ร้านทำผม ไปรษณีย์ ศูนย์บริการศุลกากร และคอนโดมิเนียมพักอาศัย[1]
อาคารถูกสร้างบนพื้นที่ 9.5 ไร่ หรือประมาณ 4.5 เอเคอร์ (18,000 ตารางเมตร) หุ้นส่วนในโครงการนี้คือ เฮนรี่ โฮ (Bijoux Holdings) สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ (อดีต CEO ของกลุ่มเซ็นทรัล ต่อมาคือ วันชัย จิราธิวัฒน์) และวิชัย มาลีนนท์ (อดีตผู้บริหารบางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ของไทยทีวีสีช่อง 3) และชาตรี โสภณพนิช (อดีต CEO ของธนาคารกรุงเทพ)[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ The 20 Tallest Buildings in Bangkok archive.org
- ↑ From an Eighteen sq.m. Office to a 1.8 Million sq.m. Business Complex scottmurray.com
ก่อนหน้า | จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สินสาธร ทาวเวอร์ | อาคารที่สูงที่สุดในไทย (พ.ศ. 2539 - 2540) |
ใบหยก 2 |