สุวัฒน์ ม่วงศิริ
สุวัฒน์ ม่วงศิริ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 33 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มกราคม พ.ศ. 2507 เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) ภูมิใจไทย (2561–2565) สร้างอนาคตไทย (2565–2566) พลังประชารัฐ (2566) ประชาธิปัตย์ (2566–ปัจจุบัน) |
สุวัฒน์ ม่วงศิริ (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2507) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[1] และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[2]
ประวัติ
[แก้]นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ เกิดวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนายปลิว ม่วงศิริ หรือ กำนันปลิว อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับสากล ม่วงศิริ และสามารถ ม่วงศิริ[3]
งานการเมือง
[แก้]นายสุวัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตที่ 33 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือก โดยสามารถชนะรัตนา อนันต์นาคินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบัน ณ ขณะนั้น ที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ลงได้[4] และเขาสามารถรักษาที่นั่งได้อีกครั้งในเขตพื้นที่เดิมในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[5]
ต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคไทยรักไทย นายสุวัฒน์จึงย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชนเช่นเดียวกับสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ และลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตพื้นที่เดิมแต่แพ้ให้กับนางนันทพร วีรกุลสุนทร จากพรรคประชาธิปัตย์[6] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาลงในนามพรรคเพื่อไทยแต่แพ้ให้กับนางนันทพรอีกครั้ง[7]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ผลปรากฎว่านายสุวัฒน์ ได้รับคะแนนไปราว 2,000 คะแนนเท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2565 เขาย้ายไปสังกัดพรรคสร้างอนาคตไทย แต่ในปีต่อมาแกนนำพรรคสร้างอนาคตไทยได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐโดยนายสุวัฒน์ได้ย้ายไปด้วยเช่นกัน และในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคพลังประชารัฐได้เปิดตัวนายสุวัฒน์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร เขต 26[8] หลังจากนั้นเพียง 5 วัน ในวันที่ 23 มีนาคม เขาได้ไปเปิดตัวกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายสุวัฒน์ ชี้แจงถึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ว่า ครอบครัวม่วงศิริ ได้มีการพูดคุยเพื่อไม่ให้���รอบครัวส่งผู้สมัครทับซ้อนกัน เนื่องจากการแบ่งเขตใหม่ ทั้งจอมทอง บางขุนเทียน บางบอน ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องมีการตัดสินใจจัดพื้นที่ใหม่ เพื่อรวมพลังในพื้นที่นำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยมีนายสากล, นายสาทร, นายสารัช และ นางสาววณิชชา ม่วงศิริ ร่วมเปิดตัวด้วย[9] แต่ถึงกระนั้นผลการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ปรากฎว่านายสุวัฒน์ยังคงไม่ได้รับเลือก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๕๐/๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง [จำนวน ๑๒ ราย ๑. นางฐิติมา ฉายแสง ฯ]
- ↑ คำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๑๑๕/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์ นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ)
- ↑ https://www.facebook.com/bangkokbiznews (2023-04-13). "เดิมพัน 3 ตระกูล 'บ้านใหญ่' -'พรรคส้ม' ล้มแชมป์ฝั่งธนฯ ?". bangkokbiznews.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. ��ืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
- ↑ "พปชร. เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ทั้ง 33 เขต". prachatai.com.
- ↑ ปชป.เปิดรับ ‘สุวัฒน์’ หลังทิ้งพปชร. ‘ตระกูลม่วงศิริ’ ผนึก สู้ศึกชิงส.ส.ฝั่งธนฯ https://www.matichon.co.th/politics/news_3889904