ข้ามไปเนื้อหา

วัลลภ ยังตรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ว่าที่เรือโท นายแพทย์ วัลลภ ยังตรง (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2496) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ 4 สมัย อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังธรรม อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย รวมถึงเป็นกรรมการและเหรัญญิกในมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย

ประวัติ

[แก้]

นายแพทย์วัลลภ ยังตร��� เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2496[1] สำเร็จการศึกษาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สมรสกับอนุสรา ยังตรง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ มีบุตร 2 คน

การทำงาน

[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี นายแพทย์วัลลภ เข้ารับราชการเป็นทหารเรือที่กรมการแพทย์ทหารเรือ สังกัดโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า จนได้ติดยศเป็นว่าที่เรือตรี จากนั้นเขาลาออกจากราชการมาเปิดคลินิกส่วนตัวที่จังหวัดสมุทรปราการ วัลลภรักษาคนไข้ในราคาถูกโดยจะคิดราคาครึ่งหนึ่งของค่าแรงขั้นต่ำ ณ เวลานั้น[2]

งานการเมือง

[แก้]

วัลลภ ยังตรง เริ่มอาชีพทางการเมืองด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสมุทรปราการ และได้รับเลือกตั้งด้วย 19,200 คะแนน วัลลภมีชื่อเสียงจากการทำใบปลิวต่อต้านการซื้อเสียงและการอัญเชิญพระราชดำรัสมาเผยแพร่ ในช่วงการณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง[2] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ต่อมาเขาตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคพลังธรรม เนื่องจากพรรคพลังธรรมมีสโลแกนต่อต้านการซื้อเสียง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาลงสมัครอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 แต่ยังไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 เขาลงสมัครอีกครั้ง สังกัดพรรคพลังธรรมเช่นเดิม และได้รับเลือกตั้ง มีคะแนนเป็นอันดับที่ 2 ในการทำหน้าที่ผู้แทนเขาได้สนับสนุนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ต่อมาใน พ.ศ. 2537 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (อาทิตย์ อุไรรัตน์)[3] วัลลภ ได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (วันมูหะมัดนอร์ มะทา)[4]

ต่อมาวัลลภได้ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย ที่ก่อตั้งโดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรม เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการอีก 2 สมัย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 เขาถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ภายหลังการยุบพรรค[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2548
  2. 2.0 2.1 บทสัมภาษณ์วัลลภ ยังตรง จาก รายงานการวิจัยโครงการ สํารวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น : จังหวัดสมุทรปราการ The Survey Project for Compilation of Data on Locally Based Politicians : Samutprakan Province.
  3. คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๘๒๗/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [นายวัลลภ ยังตรง]
  4. คำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ ๒๓๖/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี (นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์, นายพูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร, ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง, นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร)
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖