ข้ามไปเนื้อหา

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ นิยมระบุตามปฏิทินจันทรคติ โดยปกติจะเป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งพุทธกาล หรือเมื่อถึงกำหนดต้องปฏิบัติประเพณีสำคัญตามธรรมเนียมในศาสนาพุทธ

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ มีดังนี้

  • วันโกน
  • วันวิสาขบูชา: วันประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในวันสำคัญที่สุดของปี จัดในช่วงขึ้น 15 ค่ำแรก เดือน 6 หากปีใดเป็นปีอธิกมาสจะเลื่อนไปเป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ในเดือนพฤษภาคม หรือเดือน 4 ซึ่งมักเกิดในช่วงพฤษภาคมหรือมิถุนายนในช่วงปีอธิกสุรทินจันทรคติ ในบางประเทศไม่เป็นเพียงแค่วันประสูติเท่านั้น แต่ยังเป็นวันตรัสรู้และปรินิพพานด้วย[1]
  • วันปรินิพพาน: หรือวันนิพพาน เป็นวันหยุดของศาสนาพุทธนิกายมหายานที่ฉลองในเอเชียตะวันออก มักจัดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์[2]
  • วันมาฆบูชา: เป็นที่เกิดเหตุการณ์ 4 อย่างโดยมิได้นัดหมาย (จาตุรงคสันนิบาต) และเป็นวันสำคัญในประเทศไทย กัมพูชา ศรีลังกา และลาว จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มักอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม) แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
  • พุทธชยันตี: จัดในเกาหลีใต้และจีน��นวันที่ 8 เมษายน ตามจันทรคติ มีอีกชื่อว่า "ฮานามัตสึริ"[1] ในประเทศญี่ปุ่นจะมีการใช้น้ำชาล้างพระพุทธรูปในวัยทารก[1]
  • วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน 6) หากปีใดเป็นอธิกมาสจะเลื่อนไปเป็นวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7
  • วันอาสาฬหบูชา: หรือ "วันธรรม" ฉลองในเรื่องการสั่งสอนครั้งแรกของพระพุทธเจ้า จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ประมาณเดือนกรกฎาคม[3] หากปีใดเป็นปีธิกมาสจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8-8 (เดือน 8 หลัง)
  • วันพระ: มีอีกชื่อว่าวันประชุม มีอยู่ 4 ช่วง คือ ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และแรม 15 ค่ำของทุกเดือน[3]
  • วันทอดกฐิน: จัดในช่วงสิ้นสุดวันเข้าพรรษา
  • วันอภิธรรม: รายงานจากธรรมเนียมพม่า มีการฉลองในช่วงที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่สวรรค์ชั้นดุสิตเพื่อสอนพระอภิธรรมให้กับพระมารดา ฉลองในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติพม่า ซึ่งเริ่มต้นในเดือนเมษายน[3][4]
  • วันลอยกระทง: เมื่อแม่น้ำและคลองเอ่อล้นไปด้วยน้ำ เทศกาลนี้จัดในทุกภาคของประเทศไทยในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ในกระทงมีใบไม้ เทียน และธูป แล้วนำไปลอยบนน้ำ สื่อถึงการปัดโชคร้ายออกไป[3]
  • Madhu Purnima: จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน Bhadro (สิงหาคม/กันยายน) จัดขึ้นเนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากป่าปาริเลยยกะเพื่อนำสันติสุขมายังเหล่าศิษย์ที่ขัดแย้งกัน[3]
  • แรกนาขวัญ: ในช่วงพระจันทร์ครึ่งดวงในเดือนพฤษภาคม จะมีโคสองตัวลากคันไถทอง ตามมาด้วยสตรีชุดขาวที่โปรยเมล็ด โดยเป็นวันฉลองที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ครังแรก[3]
  • เทศกาลช้าง: พระพุทธเจ้ายกตัวอย่างถึงช้างป่าที่ไม่ถูกฝึกกับช้างที่ถูกฝึก พระองค์ตรัสว่าผู้ที่เพิ่งนับถือศาสนาพุทธควรมีความสัมพันธ์กับชาวพุทธที่นับถือมาก่อน เทศกาลนี้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน[3]
  • เทศกาลฟัน: ในประเทศศรีลังกา มีวัดที่เก็บฟันของพระพุทธเจ้า จัดขึ้นทุก ๆ ขึ้น 15 ค่ำ ในเดือนสิงหาคมทุก ๆ ปี[3]
  • วันสารทจีน: "วันบรรพบุรุษ" ฉลองในวันแรกถึงวันที่ 15 ของเดือน 8 ตามจันทรคติ โดยเป็นวันที่สามเณรสำเร็จจากการเข้าพรรษา[3]
  • วันประสูติของอวโลกิเตศวร: จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ ในเดือนมีนาคม ตามแบบมหายานที่ประเทศทิเบตเกาหลี และจีน
  • วันโพธิ์: เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้รับการตรัสรู้[5][1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Buddhist Holidays 2013". About.com. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
  2. "Why Buddhists Celebrate Nirvana Day - World Religion News". World Religion News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-12.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "Festivals and Special Days". Buddhanet. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
  4. Melton, J. Gordon (13 September 2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations. ABC-CLIO. p. 4. ISBN 9781598842050.
  5. "Buddhist Holidays". Family Dharma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.