ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์โจฬะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์โจฬะ

சோழர் குலம்
300 ก.ค.ศ.–ค.ศ. 1279
ธงชาติราชวงศ์โจฬะ
ธงชาติ
จักรวรรดิโจฬะในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดราว ค.ศ. 1050)
จักรวรรดิโจฬะในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดราว ค.ศ. 1050)
เมืองหลวงโจฬะตอนต้น: Poompuhar, Urayur,
โจฬะตอนกลาง: Pazhaiyaarai, Thanjavur
Gangaikonda Cholapuram
ภาษาทั่วไปทมิฬ
ศาสนา
ศาสนาฮินดู
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ 
• ค.ศ. 848-871
วิชัยลยะโจฬะ
• ค.ศ. 1246-1279
ราเชนทระโจฬะที่ 3
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ก่อตั้ง
300 ก.ค.ศ.
• การเรืองอำนาจของโจฬะ
848 ก.ค.ศ.
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1279
ถัดไป
ราชอาณาจักรปัณฑยะ

ราชวงศ์โจฬะ (อังกฤษ: Chola Dynasty, ทมิฬ: சோழர் குலம்) เป็นราชวงศ์ทมิฬทราวิฑที่ส่วนใหญ่ปกครองทางตอนใต้ของอินเดียมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถิ่นกำเนิดของราชวงศ์อยู่ที่ลุ่มแม่น้ำกาเวรี (Kaveri River) พระเจ้าการิกาลาโจฬะ (Karikala Chola) เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในยุคโจฬะตอนต้น ขณะที่จักรพรรดิองค์อื่น ๆ หลายองค์ทรงมีชื่อเสียงในยุคกลาง

ราชวงศ์โจฬะรุ่งเรืองตลอดมาตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13[1] ในรัชสมัยของพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรส ราชวงศ์โจฬะก็กลายเป็นมหาอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเอเชีย[2][3] ระหว่างปี ค.ศ. 1010 ถึงปี ค.ศ. 1200 ดินแดนของจักรวรรดิโจฬะก็ครอบคลุมตั้งแต่เกาะมัลดีฟส์ทางตอนใต้ขึ้นไปทางเหนือจนจรดแม่น้ำโคทาวารีในรัฐอานธรประเทศ[4] พระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 ทรงพิชิตคาบสมุทรอินเดียใต้ ผนวกดินแดนที่ปัจจุบันคือศรีลังกา และยึดครองมัลดีฟส์[3] ต่อมาพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ทรงรณรงค์ขึ้นไปทางเหนือของอินเดียจนไปถึงแม่น้ำคงคาและสามารถพิชิตนครหลวงปาฏลีบุตรแห่งจักรวรรดิปาละ นอกจากนั้นก็ยังทรงไปรุกรานราชอาณาจักรของกลุ่มเกาะมลายู และขยายดินแดนไปถึงพม่า และ เวียดนามและภาคใต้ของไทย [5][6]

ราชวงศ์โจฬะมาเริ่มเสื่อมโทรมลงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 และสลายตัวไปเมื่อราชอาณาจักรปัณฑยะและจักรวรรดิฮอยซาลาขึ้นมาเรืองอำนาจ[7]

สิ่งที่สำคัญของราชวงศ์โจฬะคือการเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณคดีทมิฬ และการก่อสร้างวัด[3] พระมหากษัตริย์ของราชวงศ์โจฬะทรงนิยมสร้างวัด ที่ไม่แต่จะเป็นสถานที่สำหรับการสักการะ แต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจการทางเศรษฐกิจด้วย[8][9] และ ยังริเริ่มระบบการปกครองจากศูนย์กลางและระบบราชการที่เป็นระเบียบแบบแผน

อ้างอิง

[แก้]
  1. K.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 5
  2. Kulke and Rothermund, p 115
  3. 3.0 3.1 3.2 Keay, p 215
  4. Majumdar, p 407
  5. The kadaram campaign is first mentioned in Rajendra's inscriptions dating from his 14th year. The name of the Srivijaya king was Sangrama Vijayatungavarman. K.A. Nilakanta Sastri, The CōĻas, pp 211–220
  6. Meyer, p 73
  7. K.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 192
  8. Vasudevan, pp 20-22
  9. Keay, pp 217-218

ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]