ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิการอแล็งเฌียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิการอแล็งเฌียง

ค.ศ. 800–ค.ศ. 888
จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ณ จุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน ค.ศ. 814
  •   อาณาจักรแฟรงก์และแนวเขตแดน
  •   รัฐบริวาร
เมืองหลวงแม็ส,[1] อาเคิน
ภาษาทั่วไป
การปกครองจักรวรรดิ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง
• ชาร์เลอมาญราชาภิเษก
ค.ศ. 800
• ถูกแบ่งโดยสนธิสัญญาแวร์เดิง
ค.ศ. 843
ค.ศ. 888
พื้นที่
[2]1,112,000 ตารางกิโลเมตร (429,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• [2]
10,000,000–20,000,000
สกุลเงินเดนารีอุส
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง
แฟรงเกียตะวันตก
แฟรงเกียกลาง
แฟรงเกียตะวันออก
ชาร์ล มาร์แตลในยุทธการที่ตูร์ที่ทรงหยุดยั้งการรุกรานของอุมัยยะห์เข้ามาในยุโรป

จักรวรรดิการอแล็งเฌียง (อังกฤษ: Carolingian Empire) เป็นคำประวัติศาสตร์ที่บางครั้งก็หมายถึงราชอาณาจักรแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ที่เห็นกันว่าเป็นราชวงศ์ที่ก่อตั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี จักรวรรดิการอแล็งเฌียงอาจจะถือว่าเป็นปลายสมัยจักรวรรดิแฟรงก์หรือต้นสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[3] ก็ได้

จักรวรรดิการอแล็งเฌียงเป็นการเน้นถึงการที่สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงราชาภิเษกชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมันในปี ค.ศ. 800[4] ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญและบรรพบุรุษของพระองค์เป็นประมุขของจักรวรรดิแฟรงก์ (พระอัยกาชาร์ล มาร์แตลเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ) การราชาภิเษกมิได้เป็นการประกาศการเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิใหม่ นักประวัติศาสตร์นิยมที่จะใช้คำว่า “กลุ่มราชอาณาจักรแฟรงก์” ("Frankish Kingdoms" หรือ "Frankish Realm") ในการเรียกดินแดนบริเวณที่ปัจจุบันคือเยอรมนีและฝรั่งเศส ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9

การขยายตัวและระบบการป้องกันของจักรวรรดิแฟรงก์

[แก้]

แม้ว่าจะมิได้เลือกใช้ตำแหน่ง “พระมหากษัตริย์” เช่น พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย พระราชโอรส หรือ “จักรพรรดิ” เช่นพระราชนัดดาชาร์เลอมาญ แต่ชาร์ล มาร์แตลก็เป็นประมุ��สูงสุดของบริเวณที่ทุกวันนี้คือยุโรปตะวันตกทางตอนเหนือของเทือกเขาพิเรนีสทั้งหมด บริเวณเดียวที่มิได้ปกครองคือบริเวณที่เป็นของแซ็กซอนที่พิชิตได้บางส่วน, ลอมบาร์ดี และ ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย (Marca Hispanica) ทางตอนเหนือของเทือกเขาพิเรนีส ซึ่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแฟรงค์หลังจากมาร์แตลเสียชีวิต

นอกจากนั้นมาร์แตลก็ยังเป็นผู้ก่อตั้งระบบศักดินาที่เป็นระบบที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียงและยุโรปโดยทั่วไปในระหว่างสมัยกลาง แต่ผู้ที่ได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้ก่อตั้งระบบที่ว่าคือพระราชโอรสและพระราชนัดดา และทรงเป็นผู้ที่สามารถหยุดยั้งการรุกรานของมุสลิมในยุโรปโดยอุมัยยะห์ในยุทธการที่ตูร์ในปี ค.ศ. 732 ซึ่งทำให้ได้รับสมญานามว่า “Martel” (ค้อน) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษเอ็ดเวิร์ด กิบบอน (Edward Gibbon) ผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่เกี่ยวกับโรมและหลังจากนั้นเรียกชาร์ล มาร์แตลว่า “ประมุขผู้เหนือกว่าผู้ใดทั้งหมดของยุค” (the paramount prince of his age)

พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยรับตำแหน่งเป็นกษัตริย์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาซาคารีราวปี ค.ศ. 751 จากนั้นชาร์เลอมาญก็ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 768 หลังจากเปแป็งเสด็จสวรรคต และได้รับราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโรมันในปี ค.ศ. 800 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3[5]

จักรวรรดิในรัชสมัยชาร์เลอมาญ (ค.ศ. 800–ค.ศ. 814)

[แก้]

จักรวรรดิการอแล็งเฌียงเมื่อชาร์เลอมาญเสด็จสวรรคตครอบคลุมยุโรปตะวันตกทั้งหมดเช่นเดียวกับที่อาณาเขตของจักรวรรดิโรมันก่อนหน้านั้น แต่ต่างจากโรมันตรงที่โรมันเกือบจะไม่ขยายดินแดนเกินไปกว่าบริเวณแม่น้ำไรน์หลังจากการพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในปี ค.ศ. 9 ในยุทธการที่ป่าท็อยโทบวร์ค (Battle of the Teutoburg Forest) แต่ชาร์เลอมาญขยี้ผู้ต่อต้านที่เป็นชาวเจอร์มานิคทั้งหมดและขยายดินแดนของจักรวรรดิไปจนถึงแม่น้ำเอลเบและมีอิทธิพลจนเกือบจะไปถึงทุ่งเสต็ปป์รัสเซีย

จักรวรรดิคาโรแล็งเชียงแบ่งระหว่างบรรดาสมาชิกในราชวงศ์การอแล็งเฌียง ตั้งแต่เมื่อเริ่มก่อตั้งจักรวรรดิ เมื่อมาถึงรัชสมัยของชาร์เลอมาญพระองค์ก็ทรงแบ่งดินแดนระหว่างพระราชโอรสสามพระองค์: ชาร์ลได้รับนอยสเตรีย, หลุยส์ได้รับอากีแตน และเปแป็งได้รับอิตาลี เปแป็งสิ้นพระชนม์โดยมีพระราชโอรสนอกกฎหมายเบอร์นาร์ด ในปี ค.ศ. 810 ชาร์ลสิ้นพระชนม์โดยไม่มีรัชทายาทในปี ค.ศ. 811 แม้ว่าเบอร์นาร์ดจะครองราชย์ต่อจากเปแป็งเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลี แต่หลุยส์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดิคู่กับชาร์เลอมาญในปี ค.ศ. 813 และทรงได้รับจักรวรรดิทั้งหมดเมื่อชาร์เลอมาญเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 814[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. McKitterick 2008, p. 23.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ McCormick
  3. Holy Roman Empire[1]
  4. "Carolingian Empire". A Dictionary of World History. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  5. Rosamond McKitterick, Charlemagne: The Formation of a European Identity, Cambridge University Press, 2008 ISBN 9780521886727
  6. Joanna Story, Charlemagne: Empire and Society, Manchester University Press, 2005 ISBN 9780719070891

ดูเพิ่ม

[แก้]