ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์หยวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้าหยวน

大元
ᠳᠠᠢ
ᠥᠨ
ᠤᠯᠤᠰ

(Dai Ön Ulus, "รัฐต้าหยวน" ในภาษามองโกเลียกลาง)
พ.ศ. 18141911
ธงชาติราชวงศ์หยวน
ธงชาติ
เขตแดนราชวงศ์หยวนประมาณ พ.ศ. 1837 (ค.ศ. 1294)
เขตแดนราชวงศ์หยวนประมาณ พ.ศ. 1837 (ค.ศ. 1294)
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงต้าตู (ปักกิ่ง)
ภาษาทั่วไปภาษามองโกล
ภาษาจีน
ศาสนา
ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อ ฯลฯ
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
กุบไลข่าน
เตมูร์ ข่าน
จักรพรรดิหยวนหวู่จง
ประวัติศาสตร์ 
• การสถาปนาราชวงศ์หยวน
พ.ศ. 1814 (ค.ศ. 1271) พ.ศ. 1814
• การล่มสลายของต้าตู (ปักกิ่ง)
14 กันยายน พ.ศ. 1911 1911
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ซ่ง
จักรวรรดิมองโกล
ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หยวนเหนือ
ราชวงศ์หยวนยังคงปกครองมองโกเลียต่อมาหลังการเปลี่ยนราชวงศ์ ภายใต้ชื่อว่า "หยวนเหนือ" (北元) [ต้องการอ้างอิง].
เขตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน
เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน

ราชวงศ์หยวน (จีน: 元朝; พินอิน: Yuáncháo; หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน

ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี ค.ศ. 1271 เมื่อมองโกลโค่นราชวงศ์ซ่งลงได้สำเร็จและยึดครองดินแดนจีนได้ทั้งหมด กุบไลข่านได้ประกาศตั้งราชวงศ์แบบจีนขึ้นอย่างเป็นทางการ[1] มีการตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (สมัยนั้นชื่อว่า เมืองต้าตู) ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี จึงปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน จึงสามารถชนะใจชาวจีนได้ และเป็นจักรพรรดิมองโกลพระองค์เดียว ที่ชาวจีนยอมรับ (เดิมทีนั้น พวกมองโกลขึ้นชื่อลือชามากในเรื่องความโหด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากวิถีชีวิตเดิม ที่อยู่ในทุ่งหญ้า ทะเลทราย เร่ร่อนไปเรื่อย ๆ) นอกจากนี้ กุบไลข่านยังพยายามใช้นโยบายขยายดินแดนครอบครองโลกและพาชาวจีนบุกยึดครองดินแดนต่างๆไปกว้างไกลมาก ถึงกับยกทัพเรือจะไปตีญี่ปุ่น แต่เรือถูกมรสุมจึงไม่สำเร็จ

กุบไลข่านสนใจทางอักษรศาสตร์และวรรณกรรมมาก จึงส่งเสริมบทประพันธ์ต่างๆ ปรากฏว่า บทงิ้วในสมัยกุบไลข่านดีมาก จนไม่มีบทงิ้วสมัยใดเทียบได้ การติดต่อกับต่างประเทศ ก็เป็นไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นมาร์โคโปโลและเอกอัครสมณทูตจากสันตะสำนักก็ได้มาเยือนแดนจีนในยุคของกุบไลข่านนี่เอง

พอสิ้นยุคของกุบไลข่าน ก็ไม่มีกษัตริย์มองโกลพระองค์ใดเด่นเหมือนพระองค์อีก ต่อมาจึงมีการพยายามโค่นล้มราชวงศ์หยวนอยู่ตลอดเวลา จักรพรรดิพระองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์หยวน ส่วนใหญ่ครองราชย์ได้ไม่นาน และได้ครองราชย์โดยการแย่งชิงอำนาจกัน สาเหตุก็มาจากสาเหตุที่ว่ามองโกลไม่มีกฎแน่นอนเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ จวบจนจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง ประมุขพระองค์สุดท้ายซึ่งครองราชย์นานกว่าองค์ก่อน ๆ ในยุคนี้ได้มีความวุ่นวายเกิดขึ้นมาก เกิดภัยพิบัติขึ้นหลายที่ เชื้อพระวงศ์กับขุนนางต่างร่วมกันข่มเหงชาวบ้าน จึงมีกบฏเกิดขึ้นทั่วไป

ครั้งนั้น มีชายผู้หนึ่งชื่อ จูหยวนจาง ตอนอายุได้ 17 ปี ครอบครัวได้ตายหมดจากโรคระบาด จึงไปบวชที่วัดหวงเจี๋ย ต่อมา ไปเร่ร่อนต่ออีก 3 ปี เนื่องจากเสบียงอาหารหมด แล้วจึงกลับมาที่วัดดังเดิม ครั้นสาวกลัทธิบัวขาวก่อกบฏโพกผ้าแดงขึ้น เขาก็เดินทางไปสมทบกับพวกกบฏ เริ่มนำทัพออกตีก๊กต่างๆ ในแผ่นดิน แล้วในที่สุดก็ได้ส่งแม่ทัพชื่อสีต๋า ไปตีเมืองปักกิ่งได้สำเร็จ เป็นการโค่นล้มราชวงศ์หยวนลงได้ จากนั้นเขาก็ได้ตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหงหวู่ ใช้เมืองหนานจิงเป็นเมืองหลวง

ชื่อ

[แก้]

ก่อนหน้านี้ชาวมองโกลมีจักรวรรดิของตนที่ชื่อ (อิค มองกูล อูลุส) (Ikh Mongol Uls) (ikh: ยิ่งใหญ่, uls: รัฐ, ประเทศ; รัฐมองโกลอันยิ่งใหญ่)[2] หรือ จักรวรรดิมองโกล ที่ยังไม่ได้ครอบครองดินแดนจีนของราชวงศ์ซ่ง จนในรัชสมัยของมองเกอ ข่าน (ค.ศ. 1251– 1259) พระเชษฐาของกุบไลข่าน นำกองทัพบุกดินแดนจีนตอนล่างของราชวงศ์ซ่งและประกาศอาณัติแห่งสวรรค์ มองเกอ ข่านได้รับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน มาใช้และตั้งชื่อเรียกจักรวรรดิว่า "จีน" (, จงกั๋ว; ที่แปลว่า อาณาจักรศูนย์กลางของโลก) ถือว่าเป็นอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ตรงกับภาษามองโกล คำว่า ดุมต้าตู อูลุส (Dumdadu ulus) มองเกอ ข่านได้พยายามประกาศใช้ภาษาจีนเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารในดินแดนที่ยึดได้ และเรียกราษฎรในจักรวรรดิว่า ชาวจีน (中國人 จงกั๋ว จื้อ เริน; ภาษามองโกล: ดุมต้าตูชูต) เพื่อความเป็นเอกภาพและหนึ่งเดียว ซึ่งทำให้ดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของมองโกลไม่พอใจและทำให้จักรวรรดิแตกแยกในเวลาต่อมา

ในปี ค.ศ. 1271 (พ.ศ. 1814) กุบไลข่านได้ประกาศตั้งชื่อจักรวรรดิใหม่ว่า ต้าหยวน (จีน: 大元; พินอิน: Dà Yuán; เวด-ไจลส์: Ta-Yüan) หรือ ราชวงศ์หยวน[3] "ต้าหยวน" (大元) มาจากประโยคหนึ่งของจีนที่ว่า "大哉乾元" (ดา ไจ๋ เคี้ยงหยวน / "เคี้ยงนั้นยิ่งใหญ่, เป็นปฐม") ใน ซึ่งคำว่า "เคี้ยง" () เป็นแฉกแรกของศาสตร์อี้จิง[4][5] ตรงกับภาษามองโกลที่ว่า ได ออน อูลุส (Dai Ön Ulus) นอกจากนี้คำว่า อิค หยวน อูลุส (Ikh Yuan Üls) หรือ เยเคอ หยวน อูลุส (Yekhe Yuan Ulus) ในภาษามองโกลคำว่า ไดออน (Dai Ön) เป็นคำทับศัพท์ภาษาจีนคำว่า ต้าหยวน มักจะใช้ร่วมกับคำว่า "เยเคอ มองกูล อูลุส" ("Yeke Mongghul Ulus") (ที่แปลว่า "รัฐมองโกลอันยิ่งใหญ่") บางครั้งมีการประสมเป็นคำว่า ได ออน เยเคอ มองกูล อุลุส (Dai Ön Yeke Mongghul Ulus)[6] (อักษรมองโกล: ), แปลว่า "รัฐหยวนมองโกลอันยิ่งใหญ่"[7]

ราชวงศ์หยวนเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกในฐานะ "ราชวงศ์มองโกล"[8] หรือ "ราชวงศ์มองโกลแห่งประเทศจีน",[9] ราชวงศ์หยวนมองโกลมักถูกมองว่าเป็นชนเผ่าคนเถื่อนที่เข้าปกครองประเทศจีน เหมือนราชวงศ์แมนจู ของชาวแมนจู[10] หรือ "ราชวงศ์แมนจูแห่งประเทศจีน"[11] ในเวลาต่อมาที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ราชวงศ์ชิง

ประวัติ

[แก้]

ภูมิหลัง

[แก้]

เจงกีสข่านได้รวบรวมเผ่าชาวมองโกลและชนเผ่าเตอร์กิค บริเวณทุ่งหญ้าสเตปป์เป็นหนึ่งเดียวและตั้งตนเป็นมหาข่าน ในปี ค.ศ. 1206[12] เขาและผู้สืบทอดของเขาขยายอาณาจักรมองโกลไปทั่วเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง อาณาจักรดังกล่าวได้กลายมาเป็นจักรวรรดิมองโกล ภายใต้การปกครองของบุตรชายที่สามของเจงกีสข่าน โอเกได ข่าน กองทัพมองโกลได้ทำลายและทำให้ราชวงศ์จินอ่อนแอลง ใน ปี ค.ศ. 1234 ทำให้ชาวมองโกลครอบครองดินแดนจีนตอนเหนือมากที่สุด[13] โอเกได ข่าน เสนอให้หลานชายของเขาชื่อ กุบไล ข่าน เข้ามาดำรงตำแหน่งที่เมือง ซิงโจว, บริเวณเหอเป่ย์ในปัจจุบัน กุบไลไม่สามารถอ่านภาษาจีนได้ แต่มีชาวจีนฮั่นหลายคนที่ตกเป็นเชลยอยู่กับเขาและได้ให้ความช่วยเหลือแก่เขาในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา กุบไลยังได้รับการดูแลควบคู่โดยมารดาของกุบไล ซอร์กาทานีเบกี เขาแสวงหาคำปรึกษาของที่ปรึกษาของชาวจีนและชาวบวชลัทธิขงจื้อ[14] และเริ่มสนใจอารยธรรมจีนมากกว่ามองโกล

มองเกอ ข่าน ได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากกูยัก ข่าน โอรสของโอเกได ข่าน และขึ้นเป็นมหาข่านในปี ค.ศ. 1251 เขาได้แต่งตั้งน้องชายของเขา กุบไล ข่าน ปกครองดินแดนที่มองโกลยึดครองในจีน[15] ในระหว่างที่ปกครองดินแดนจีน กุบไล ข่านได้สร้างโรงเรียนสำหรับศึกษาลัทธิขงจื้อ ผลิตเงินกระดาษขึ้นมาใช้ นอกจากนี้กุบไล ข่านยังฟื้นฟูพิธีกรรมจีนและรับรองนโยบายที่กระตุ้นการเติบโตทางการเกษตรและเชิงพาณิชย์[16] เขาได้ประกาศให้เมืองไคปิงเป็นเมืองหลวงราชธานี ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ชื่อเมืองถูกเปลี่ยนเป็นแซนาดู[17]

รุกรานญี่ปุ่น

[แก้]

จักรวรรดิมองโกลได้รุกรานญี่ปุ่นสองครั้ง ในปี ค.ศ. 1274 และ 1281 โดยมีเกาหลีและจีนเป็นแนวร่วม ในครั้งแรก ได้นำไพร่พลไปราวสองหมื่นนาย ญี่ปุ่นไม่อาจทัดทหารและยุทธวิธีการรบของมองโกลได้ และในภาวะเสียเปรียบของญี่ปุ่น แต่ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นขึ้นอย่างกะทันหัน พัดทำลายกองเรือของฝ่ายมองโกลอัปปางจนเกือบหมดสิ้น จนทหารมองโกล จีน และเกาหลี ต่างขวัญหนีดีผ่อ จมน้ำตายบ้าง ส่วนที่รอดชีวิตก็ถูกญี่ปุ่นประหารหรือเป็นเชลยมาก ชาวญี่ปุ่นจึงตั้งชื่อพายุนี้ว่า "คะมิกะเซะ" (วายุเทพ) ที่ช่วยปกป้องญี่ปุ่น

จากที่การรบคราวแรกรบแพ้ ศึกครั้งที่สอง กุบไล ข่าน จึงรับสั่งให้ต่อเรือรบ มากกว่า 4,000 ลำ และกำลังทหารนับ 140,000 นาย ซึ่งใช้เวลาตระเตรียมมากกว่า 6 ปี มองโกลหวังจะพิชิตญี่ปุ่นให้หมดสิ้น แต่ทั้งนี้ ญี่ปุ่นก็ได้เตรียมรับมือเป็นอย่างดี โดยมีการสร้างป้อมและกำแพงหิน ซึ่งมีความทนทานจนปืนใหญ่ของฝ่ายมองโกลไม่อาจพิชิตได้ การรบดำเนินต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าฝ่ายใดจะเพลียงพล้ำ แต่แล้ว ก็บังเกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ พัดเข้าสู่ที่ตั้งของกองเรือมองโกลจนพินาศย่อยยับเกือบทั้งหมด ทหารมองโกลเสียชีวิตจากการจมน้ำไปนับแสนนาย ส่วนที่รอดก็ถูกญี่ปุ่นประหารและจับเป็นเชลย โดยมีทหารรอดกลับเกาหลีเพียงไม่กี่พันนายจากที่ยกทัพมาเรือนแสน

จากการแพ้ครั้งยิ่งใหญ่นี้ทำให้กุบไลข่านทรงพิโรธเป็นอย่างมาก และในปี 1283 รับสั่งให้เตรียมการบุกญี่ปุ่นครั้งที่ 3 แต่เนื่องจากบรรดาขุนนาง ทหาร และราษฎรคัดค้านอย่างหนัก เพราะศึกสองครั้งที่ผ่านมา ได้สูญเสียทรัพย์สินและไพร่พลไปอย่างมหาศาลแล้ว ทำให้การบุกครั้งที่สาม ต้องล้มเลิกลงในปี 1286

การขยายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมองโกล

[แก้]

กุบไลข่านใช้วิธีการขยายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากการส่งทูตไปให้ยอมจำนนและยอมรับอำนาจกองทัพมองโกล หากไม่ยอมจำนนจะใช้สงครามเป็นทางเลือกสุดท้าย

อาณาจักรพุกาม

[แก้]
อาณาจักรพุกาม

ในปี พ.ศ. 1816 (ค.ศ. 1273) กุบไลข่านได้ทรงส่งคณะทูตสามชุดมายังอาณาจักรพุกาม (พม่า) เพื่อให้ยอมจำนนต่ออาณาจักรมองโกล แต่กษัตริย์พม่าในขณะนั้นทรงถือว่าพระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงโจมตีรัฐควนไกทางภาคเหนือของอาณาจักรพุกาม ทำให้ชาวมองโกลโกรธแค้น ต่อมากุบไลข่านจึงสั่งให้แม่ทัพนาเซอร์ อัลดินบุตรชายของขุนนางไซยิด อาจัลล์ ขุนนางมุสลิมซึ่งเป็นที่วางพระทัยของกุบไลข่านคนหนึ่ง นำทัพโจมตีอาณาจักรพุกาม ขณะเดียวกันพระเจ้านรสีหบดีของพม่า พระองค์ทรงวางกำลังช้างศึก 2000 เชือก นำหน้ากระบวนทัพ และวางกำลังกองทหารม้าไว้สองด้าน ตามด้วยกองกำลังทหารราบ ผลจากสงครามครั้งนี้กองทัพพม่าปราชัยอย่างย่อยยับ มองโกลได้ยึดเมืองที่มีประชากรกว่า 110,200 ครอบครัว ตามชายแดนพม่า

ต่อมาในปี พ.ศ. 1830 (ค.ศ. 1287) กุบไลข่านได้ส่งกองทัพเพื่อพิชิตอาณาจักรพุกาม ภายใต้การบังคับบัญชาโดยแม่ทัพอีเซน เตมูร์ พระราชนัดดาของพระองค์ แม่ทัพอีเซนได้นำทัพบุกไปถึงเมืองหลวงของอาณาจักรพุกาม และยึดเมืองหลวงอาณาจักรพุกามไว้ได้ พระเจ้านรสีหบดีของพม่าจึงได้ยอมจำนนต่อมองโกลและส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อมองโกลทุกปี มีข่าวว่ากษัตริย์พม่าได้ปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการเสวยยาพิษเพราะด้วยความเสียพระทัยอย่างใหญ่หลวง

อาณาจักรอันนัมและอาณาจักรจามปา

[แก้]

กุบไลข่านได้ส่งทูตเชิญพระเจ้าตรัน ถั่น ทอน กษัตริย์อาณาจักรอันนัม และพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 แห่งอาณาจักรจามปา เสร็จไปเยือนราชสำนักของพระองค์ที่เมืองต้าตูอาณาจักรมองโกล แต่ปรากฏว่าไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดเสร็จไป เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง ในปี พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) กุบไลข่านจึงตัดสินพระทัยที่จะปฏิบัติการโต้ตอบอย่างรุนแรง โดยให้แม่ทัพโซดูพร้อมด้วยทหาร 5,000 นาย เรือ 100 ลำ เดินทางถึงอาณาจักรจัมปา และยึดเมืองหลวง ซึ่งก็สามารถยึดได้อย่างรวดเร็ว และพบว่าพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 ได้นำทัพล่าถอยไปซ่อนอยู่ตามภูเขาภายในเขตตะวันตก ต่อมากุบไลข่านได้ส่งกำลังเสริมไปช่วยแม่ทัพโซดูอีก 15,000 นาย แต่ปรากฏว่าต้องประสบปัญหายุ่งยากหลายประการ เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศ ต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนชื้นและโรคภัยต่าง ๆ ทำให้การทำสงครามดำเนินไปได้น้อยมาก กุบไลข่านจึงส่งกองทัพที่แข็งแกร่งนำโดยเจ้าชายโตกอนเพื่อไปเสริมกับกองทัพของแม่ทัพโซดูโดยใช้เส้นทางของอาณาจักรอันนัมเป็นทางผ่านแต่พระเจ้าตรัน ถั่น ทอนทรงปฏิเสธไม่ยอมให้ใช้ดินแดนของอาณาจักรอันนัมเป็นทางผ่านไปบุกรุกอาณาจักรจัมปา ดังนั้นเจ้าชายโตกอนจึงต้องรวมทัพใหญ่ทำสงครามกับอาณาจักรอันนัม

การทำสงครามกับอาณาจักรอันนัมในช่วงแรก กองทัพมองโกลต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างเช่นอากาศร้อนชื้น ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 1830 (ค.ศ. 1287) พวกเขาได้รวมกันเข้าเป็นกองทัพใหญ่ นำโดยเจ้าชายโตกอน และมุ่งตรงไปกรุงฮานอย และพบว่ากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมและพระโอรสได้เสร็จหนีไปแล้ว ต่อมากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมก็ได้ตัดสินใจยอมจำนนโดยส่งทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวาย และปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อราชสำนักกุบไลข่านต่อไป ด้วยเหตุผลคล้ายกันทางพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 แห่งอาณาจักรจามปาก็ได้ยอมจำนนและส่งเครื่องราชบรรณาการไปสวามิภักดิ์ราชสำนักกุบไลข่านเช่นเดียวกัน

อาณาจักรสุโขทัย

[แก้]
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

กุบไลข่านทรงส่งกองทัพแผ่อำนาจลงทางใต้เพื่อล้มล้างราชวงศ์ซ่งทางตอนใต้ของจีน ซึ่งผลจากการยกทัพตามไล่ล่าพวกราชวงศ์ซ่งดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้กองทัพมองโกลรุกรานลงมายังเขตมณฑลยูนนานในปี พ.ศ. 1796 (ค.ศ. 1253)

หลังจากเคลื่อนกองทัพเข้ายึดมณฑลยูนนานและโจมตีอาณาจักรน่านเจ้าในยูนนานแตกแล้ว ตามข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ถือว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของชาวไท ที่ถูกกองทัพมองโกลโจมตีจึงได้อพยพลงมาทางใต้มาอยู่ในเขตแหลมทอง[ต้องการอ้างอิง] และได้ตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นแต่ข้อมูลดังกล่าวนี้ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า อาณาจักรน่านเจ้าเป็นของไทยจริงหรือไม่

สรุปได้ว่าช่วงที่กองทัพมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (1257)[ต้องการอ้างอิง]

หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่ากุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปรามแคว้นต่าง ๆ ทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่น ๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่าง ๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปราฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่าง ๆ กว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822 - 1825)

พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 12 เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ

พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 17 กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (ค.ศ. 1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยังนครหลวงข่านมาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของอาณาจักรต่าง ๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด

พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่นที่ 18 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน

อาณาจักรสิงหะส่าหรี

[แก้]
อาณาจักรสิงหะส่าหรี

พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวาทรงแข็งข้อต่อต้านมหาอำนาจของกุบไลข่าน เนื่องมาจากพระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการรวมดินแดนเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรใหญ่ จนทำให้พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงศาสนาไปเป็นศาสนาพุทธแบบตันตระ และได้สถาปนาสัมพันธไมตรีด้วยการอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อาณาจักรจัมปา พระองค์ทรงแสวงหาทางควบคุมการค้าขายเครื่องเทศที่มีกำไรงาม ซึ่งมีฐานอยู่ในเขตหมู่เกาะโมลุกกะ และต้องอนุรักษ์ให้ชาวชวาเป็นกลางเกี่ยวกับการค้าขายโดยเฉพาะ พระองค์ทรงเกรงว่ากุบไลข่านทรงตั้งพระทัยที่จะกำจัดการควบคุมการค้านี้

พระองค์ทรงมีพฤติกรรมต่อต้านขุนนางเม่ง จี หนึ่งในคณะทูตของกุบไลข่านที่เดินทางไปถึงชวาในปี พ.ศ. 1832 (ค.ศ. 1289) และได้กราบทูลให้พระองค์ทรงยอมจำนนแก่อาณาจักรมองโกล การตอบสนองของพระองค์อย่างหยิ่งยโสคือทรงใช้เหล็กประทับตราที่เผาไฟร้อนจัดประทับลงใบหน้าของทูตผู้โชคร้ายคนนี้อย่างโหดเหี้ยม เหตุร้ายแรงดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างของกุบไลข่าน ทรงเริ่มส่งกองทัพไปปราบปรามกษัตริย์ชวาทันที โดยให้แม่ทัพชี่ปี และแม่ทัพอิโก มู ซุ รวบรวมกำลังพลและเสบียงจากมณฑลฝูเจี้ยน กวางซี และหูกวาง เป็นทัพใหญ่ไปโจมตีชวา

แม่ทัพชี่ปีได้รับมอบหมายให้บังคับบัญชาทหารภาคพื้นดิน ส่วนแม่ทัพอิโก มู ซู ชาวอิกเกอร์ สายเลือกมองโกล ได้รับมอบหมายให้เตรียมเรือ และรวบรวมทหารเรือที่เชี่ยวชาญด้านยุทธนาวี ปลายปี พ.ศ. 1835 กองทัพใหญ่ได้เคลื่อนพลออกจากมณฑลจวนโจว พร้อมด้วยกำลังทหารจำนวน 20,000 นาย เรือลำเลียงพล 1,000 ลำเสบียงกรังสำหรับใช้ทั้งปี และแท่งเงินบริสุทธิ์น้ำหนักรวม 40,000 ออนซ์สำหรับใช้ซื้อหาสิ่งของเพิ่มเติม

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 1836 กองกำลังทหารราบของแม่ทัพชี่ปีได้ยกทัพขึ้นฝั่งส่วนแม่ทัพอิโก มู ซุ คุมกองเรือใกล้ชายฝั่ง พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวาทรงทราบข่าวการโจมตีของกองทัพมองโกลใกล้จะเกิดขึ้น ดังนั้นพระองค์จึงรีบส่งกองทัพขนาดใหญ่ไปยังอาณาจักรจามปาและบางส่วนในคาบสมุทรมลายู ซึ่งพระองค์ทรงคาดว่าเป็นจุดที่กองทัพข้าศึกจะยกพลขึ้นฝั่งก่อนที่จะเคลื่อนพลมุ่งหน้าไปชวา แต่การส่งกองทัพใหญ่ไปอยู่ห่างไกล กลายเป็นจุดอ่อนของพระเจ้าเกียรตินคร สำหรับผู้นำอีกหลายฝ่ายที่ต่อต้านพระองค์ หนึ่งในกลุ่มผู้นำที่เป็นปรปักษ์พระองค์ก็คือ พระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ผู้นำรัฐเคดิรี (ดาหา) ได้ก่อการปฏิวัติต่อต้านพระองค์โดยโจมตีกองทัพรักษาพระองค์จนแตกพ่าย และได้ปลงพระชนม์พระเจ้าเกียรตินครด้วยพระองค์เอง ในที่สุดอำนาจของพระเจ้าเกียรตินครก็ตกไปอยู่ในพระหัตถ์ของเจ้าชายวิชัยพระชามาดา (ราชบุตรเขย) ผู้ทรยศของพระองค์ ต่อมาพระองค์ทรงคิดหาทางแก้แค้นให้กับความพ่ายแพ้ของพระสัสสุระ (พ่อตา หมายถึง พระเจ้าเกียรตินคร) โดยพระองค์ได้ทรงเสนอยอมจำนนแก่กองทัพมองโกล ในทางกลับกันเพื่อให้ช่วยปราบปรามผู้ก่อการปฏิวัติอีกทอดหนึ่ง นายทหารคนสนิทของพระองค์เป็นคนนำความลับไปแจ้งแก่กองทัพมองโกลเกี่ยวกับการเข้าเมือง ท่าเรือ แม่น้ำ และแผนที่รัฐเคดิรี ทางกองทัพมองโกลตกลงร่วมปฏิบัติการโดยได้นำกองเรือแล่นตรงไปยังเมืองท่ารัฐเคดิรี ส่วนแม่ทัพชี่ปีนำกองทหารราบบุกขึ้นฝั่งแล้วเตรียมทัพโจมตี ภายในสัปดาห์เดียว กองทัพของเขาก็ได้เข้าปะทะกับกองทัพรัฐเคดิรี ผลการสู้รบกันอย่างหนักทำให้สังหารทหารรัฐเคดิรีได้ถึง 5,000 นายในที่สุดพระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ทรงยอมแพ้และถูกตัดสินให้ปลงพระชนม์ทันที

แม้ว่ากองทัพมองโกลจะประสบความสำเร็จดังกล่าว แต่ผู้นำทั้งสองถูกหลอกโดยไม่มีใครคาดคิด เมื่อเจ้าชายวิชัยได้ตรัสขอให้จัดกำลังทหารมองโกลไม่ต้องติดอาวุธจำนวน 200 นาย คอยอารักขาตามเสร็จพระองค์ไปยังเมืองมัชปาหิต ซึ่งทรงอ้างว่าที่เมืองนั้นพระองค์ทรงเตรียมพิธียื่นข้อเสนอยอมจำนนผู้แทนกุบไลข่านอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าผู้นำทั้งสองของกองทัพมองโกลได้กราบทูลตกลงและเห็นด้วย โดยมิได้สงสัยพฤติกรรมการหลอกลวงของเจ้าชายวิชัยเลยแม้แต่น้อย

เหตุการณ์ร้ายได้เกิดขึ้น ระหว่างทางมุ่งหน้าไปยังเมืองมัชปาหิตกองกำลังทหารของเจ้าชายวิชัยได้ลอบซุ่มโจมตีทหารมองโกลที่ตามเสด็จไป ส่วนกองทัพมองโกลภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพชี่ปีและแม่ทัพอิโก มู ซุ ซึ่งรออยู่ที่เมืองเคดิรี ถูกกองทัพใหญ่ของเจ้าชายวิชัยโอบล้อมโจมตีโดยที่ไม่มีใครคาดคิด แม่ทัพมองโกลทั้งสองได้นำกองกำลังตีฝ่าวงล้อมเพื่อมุ่งหน้าไปยังกองเรือที่จอดอยู่ท่าเรือ ในที่สุดแม่ทัพชี่ปีถึงกับต้องล่าถอย และตัดสินใจวิ่งหนีไปยังเรือที่จอดอยู่ที่ท่าเรือ แต่ปรากฏว่าเขาต้องสูญเสียชีวิตของทหารราบไปกว่าสามพันคน เมื่อกลับไปถึงมองโกล กุบไลข่านก็ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 1837 และก็ไม่มีผู้นำคนใดที่จะนำกองทัพไปปราบปรามอาณาจักรสิงหะส่าหรี (อินโดนีเซีย) อีกเลย

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

สื่อวีดีโอ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mote 1994, p. 624.
  2. Sanders. p. 300.
  3. "Civil Society in China: The Legal Framework from Ancient Times to the 'New Reform Era'", p39, note 69.
  4. "《易·乾·彖傳》". Commentaries on the Classic of Changes (《易傳》). 《彖》曰:大哉乾元,萬物資始,乃統天。
  5. Kublai Khan (December 18, 1271), 建國號詔 (collected in the Statutes of the Yuan (《元典章》))
  6. "The Early Mongols: Language, Culture and History" by Volker Rybatzki & Igor de Rachewiltz, p116
  7. "Kublai Khan Biography - Childhood, Life Achievements & Timeline". Thefamouspeople.com. สืบค้นเมื่อ 2016-05-27.
  8. Asian Nationalism, by Michael Leifer, Professor of International Relations Michael Leifer, p23
  9. A Military History of Japan: From the Age of the Samurai to the 21st Century: From the Age of the Samurai to the 21st Century, John T. Kuehn Ph.D., p61
  10. Voyages in World History, by Valerie Hansen, Ken Curtis, p53
  11. The Military Engineer, Volume 40, p580
  12. Ebrey 2010, p. 169.
  13. Ebrey 2010, pp. 169–170.
  14. Rossabi 1994, p. 415.
  15. Allsen 1994, p. 394.
  16. Rossabi 1994, p. 418.
  17. Rossabi 2012, p. 65.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Birge, Bettine (1995). "Levirate marriage and the revival of widow chastity in Yüan China". Asia Major. 3rd series. 8 (2): 107–146. JSTOR 41645519.
  • Brook, Timothy. The Troubled Empire: China in the Yuan and Ming Dynasties (History of Imperial China) (Harvard UP, 2010). excerpt
  • Chan, Hok-lam; de Bary, W.T., บ.ก. (1982). Yuan Thought: Chinese Thought and Religion Under the Mongols. New York, NY: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-05324-2.
  • Cotterell, Arthur (2007). The Imperial Capitals of China - An Inside View of the Celestial Empire. London, England: Pimlico. ISBN 9781845950095.
  • Dardess, John (1994). "Shun-ti and the end of Yuan rule in China". ใน Denis C. Twitchett; Herbert Franke (sinologist); John King Fairbank (บ.ก.). The Cambridge History of China: Volume 6, Alien Regimes and Border States, 710–1368. Cambridge University Press. pp. 561–586. ISBN 978-0-521-24331-5.
  • Ebrey, Patricia Buckley (2009-11-24). Chinese Civilization: A Sourcebook (2nd ed.). Simon and Schuster. ISBN 978-1-4391-8839-2.
  • Endicott-West, Elizabeth (1986). "Imperial governance in Yüan times". Harvard Journal of Asiatic Studies. 46 (2): 523–549. doi:10.2307/2719142. JSTOR 2719142.
  • Endicott-West, Elizabeth (1994). "The Yuan government and society". ใน Denis C. Twitchett; Herbert Franke (sinologist); John King Fairbank (บ.ก.). The Cambridge History of China: Volume 6, Alien Regimes and Border States, 710–1368. Cambridge University Press. pp. 587–615. ISBN 978-0-521-24331-5.
  • Langlois, John D. (1981). China Under Mongol Rule. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-10110-1.
  • Langlois, John D. (1977). "Report on the research conference: The Impact of Mongol Domination on Chinese Civilization". Sung Studies Newsletter. 13 (13): 82–90. JSTOR 23497251.
  • Paludan, Ann (1998). Chronicle of the China Emperors. London, England: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05090-3.
  • Saunders, John Joseph (2001) [1971]. The History of the Mongol Conquests. University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-812-21766-7.
  • Owen, Stephen, "The Yuan and Ming Dynasties," in Stephen Owen, ed. An Anthology of Chinese Literature: Beginnings to 1911. New York: W. W. Norton, 1997. pp. 723 743. ( เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  • “Directory of Scholars Working in Sung, Liao, Chin and Yüan”. 1987. “Directory of Scholars Working in Sung, Liao, Chin and Yüan”. Bulletin of Sung and Yüan Studies, no. 19. Society for Song, Yuan, and Conquest Dynasty Studies: 224–54. JSTOR 23497542.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Yuan Dynasty
ก่อนหน้า ราชวงศ์หยวน ถัดไป
ราชวงศ์ซ่ง
ราชวงศ์จิน
เหลียวตะวันตก
เซี่ยตะวันตก
อาณาจักรต้าหลี่
จักรวรรดิมองโกล
ส่วนหนึ่งของทิเบต
ราชวงศ์โครยอ
ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน
ประวัติศาสตร์มองโกเลีย / ทิเบต / เกาหลี

(ค.ศ. 1271–1368)
ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หยวนเหนือ
ราชวงศ์ Phagmodrupa
ราชวงศ์โครยอ