พูดคุย:รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
เพิ่มหัวข้อ
|
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
จุดลดระดับของเส้นทางบางใหญ่-บางซื่อ
[แก้](ถึงท่านผู้ใช้ที่เป็นไอพี เกรงว่าจะยังไม่ได้รับข้อความ จึงขอเอามาลงใหม่ในหน้านี้แทน)
ขอบคุณมากครับที่ช่วยเพิ่มเติมและแก้ไขหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง เพราะข่าวโครงการรถไฟฟ้าหลายสายมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอด และผู้คนที่ตื่นเต้นอยากรู้ข่าวคราวก็มีไม่น้อย แต่หน้าของ wikipedia บางครั้งยังตามไปไม่ค่อยทัน ถ้ามีคนมาช่วยกันมากๆ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีครับ
แต่ขอเรียนให้ทราบว่ามีข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่ตรงกันคือตำแหน่งที่เส้นทางรถไฟฟ้าจากบางใหญ่จะลดระดับลงดินเข้าสู่บางซื่อ หวังว่าถ้าคุณมีข้อมูลหรือข่าวอะไรเพิ่มเติมขอเชิญนำมาแบ่งปันกันได้ครับ ถ้าสามารถลงเป็น "อ้างอิง" ได้จะดีมากเพราะจะได้ช่วยกันตรวจทา��ได้
- ในแง่ของข้อมูล เท่าที่ตรวจสอบได้คือเส้นทางช่วงบางใหญ่-บางซื่อจะเป็นทางยกระดับตลอดสาย และจะคร่อมแยกเตาปูนด้วย เป็นสถานีเตาปูนที่เชื่อมเส้นทางบางใหญ่-บางซื่อ กับโครงการเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และโครงการสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) เมื่อไปตรวจสอบกับ EIA ของสายสีน้ำเงินที่มีอยู่ก็ตรงกัน คือสถานีเตาปูนเป็นสถานียกระดับ ชั้นชานพักผู้โดยสารสูงจากพื้น 7.85 เมตร ชั้นชานชาลาของสายสีน้ำเงินสูง 17.05 เมตร (เนื่องจากสายสีน้ำเงินเองเป็นทางยกระดับบนถนนประชาราษฎร์สาย 2 และถนนจรัญฯ ตลอดสายอยู่แล้ว สถานีเตาปูนของสายสีม่วงจึงเป็นสถานียกระดับด้วย)
ส่วนหน้าเว็บหน้านี้ [1] มีพิมพ์เขียวของสถานีเตาปูนอยู่ เป็นสถานียกระดับซ้อน 2 เส้นทางเป็นรูปกากบาทกลางแยก (สี่แยกรถไฟฟ้าบนสามแยกเตาปูน) แต่ที่ว่าโครงการบางซื่อ-บางใหญ่นั้น มันไม่ได้สร้างถึงบางซื่อครับ เพราะจะมีสายสีน้ำเงินจ��กบางซื่อที่ไปท่าพระมาตัดกัน
- ในแง่ความเห็นส่วนตัว พอจะทราบมาว่าจุดที่ "เขา" เตรียมการไว้แล้วคือทางระดับดินช่วงหน้าปูนซิเมนต์ไทย (อันนี้ตรงกับข้อมูลของ สนข.) โดยที่อุโมงค์รถใต้ดินปัจจุบันที่สถานีบางซื่อได้สร้างไว้ในระดับตื้นจากผิวดินกว่าสถานีอื่นๆ เพื่อให้เส้นทางที่จะสร้างต่อออกไปสามารถยกระดับได้ง่ายครับ
และจากกายภาพเท่าที่ลองสังเกต คิดว่าเส้นทางยกระดับที่มาจากนนท์ไม่สามารถลงใต้ดินที่เส้นกรุงเทพฯ-นนท์ได้ครับ เว้นแต่จะมีการเวนคืนตามแนวถนนแถวบางซ่อนเพิ่มเติม ซึ่งต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างยาวให้เหมาะสมกับความลาดชัน หมายความว่าสายสีน้ำเงินเองก็ไม่สามารถลงดินจากแถวบางโพเข้ามาเตาปูนได้เช่นกัน เว้นแต่จะเวนคืนที่ดินตามแนวถนนประชาราษฎร์สาย 2 เพิ่มอีก ซึ่งหากต้องเวนคืนเช่นนี้จะเป็นการเวนคืนครั้งใหญ่ไม่ต่างจากตอนประท้วงใหญ่ที่เตาปูนเมื่อปี 48 เลย และหลังจากประท้วงคราวนั้นก็ไม่เคยได้ข่าวว่า รฟม. จะยอมให้สถานีเตาปูนอยู่ใต้ดินเลยครับ จึงคาดว่าจุดที่รถไฟฟ้าจะลงดิน "เขา" ไม่น่าเปลี่ยนแปลงจากเดิมอีก
ดังนั้น ผมขอแก้ไขเนื้อหาในประเด็นนี้ล่วงหน้าเลยนะครับ เว้นแต่ถ้าคุณมีข้อมูลดีๆ มายืนยันก็สามารถย้อนการแก้ไขกลับไปได้อีก
ปล. ขอให้คงแม่แบบ "ลิงก์ไปภาษาอื่น" ไว้ด้วยครับ เพราะผมเอาหน้าของ สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ ซึ่งไม่มีในภาษาไทยมาลงไว้ เพื่อให้เข้าใจคำว่ามาตรฐาน NFPA มากขึ้น แม่แบบ "อนาคต" ก็ด้วยครับ อย่างที่เรียนไปแล้วว่าเขายังถกเถียงเรื่องราคากันอยู่ ยังไม่ได้ลงพื้นที่ตอกเสาเข็มแม้แต่ต้นเดียว ความไม่แน่นอนยังมีอยู่มากครับโครงการนี้ -- ส่วนเนื้อหาตรงไหนที่เอามาลงแล้วยังไม่มีแหล่งอ้างอิง ก็ขอให้คงแม่แบบ "ต้องการอ้างอิงตรงนี้" ไว้เถิดครับ อันไหนถ้าลงแล้วมันไม่มีข้อมูลอยู่ในนั้นจริงก็อย่าเพิ่งเอาลงเลย ส่วนตัวพอจะเข้าใจว่าแหล่งข้อมูลหาได้ไม่ง่ายนัก ก็เอาไว้เพื่อนๆ ท่านอื่นที่เขามีแหล่งอ้างอิงอยู่จะได้สังเกตเห็นแล้วช่วยเอามาลงให้เองเถิดครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ. Nomsen 17:06, 10 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ชื่อทางการของรถไฟฟ้าสายสีม่วง
[แก้]ชื่อทางการของรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นยังไม่มีการเผยแพร่เป็นทางการนะครับการที่นำข้อมูลมาเผยแพร่อย่างนี้จะเป็นการถูกต้องหรือไม่ เพราะข้อมูลยังคงเป็นความลับของทางราชการอยู่นะครับ Wsupadirekkul (พูดคุย) 08:43, 24 มิถุนายน 2559 (ICT)
- เข้าใจว่าชื่อที่แก้ไขกันเมื่อหลายวันก่อน เป็นชื่อที่ได้มาจากสปอตโฆษณาที่มีการออกอากาศผ่านช่องทางโทรทัศน์ไปแล้วนะครับ เพราะถ้ามันเป็นเช่นนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นความลับทางราชการ เนื่องจากช่องทางดังกล่าวเป็นการเปิดเผยต่อสาธารณชนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และส่วนตัวเข้าใจว่ามันมีลิงค์ YouTube ที่ถูกโพสต์ในเว็บไซต์ Skyscrapercity ซึ่งตอนแรกเป็น Public Video แต่ถูกเปลี่ยนมาเป็น Private Video ในตอนหลัง อันนี้ไม่รู้ว่าเป็นความผิดพลาดในองค์กรหรือไม่ และมันไม่ใช่หน้าที่ของผู้รับสารอย่างเราที่ต้องรับทราบถึงความผิดพลาดขององค์กรในครั้งนี้ครับ และถ้าเกิดว่ามันมีข้อผิดพลาดในการสื่อสารเรื่องชื่ออย่างเป็นทางการขึ้นมาจริง ผมเชื่อว่า รฟม. หรือ บ.ทางด่วนฯ ต้องมีการเปิดแถลงข่าวพิเศษเหมือนครั้งบีทีเอสที่มีข่าวปฏิเสธการเปลี่ยนชื่อสถานีพร้อมพงษ์เมื่อปีที่แล้วอย่างแน่นอนครับ แต่นี่ทุกอย่างกลับเงียบ เลยยิ่งทำให้มั่นใจเข้าไปได้อีกว่าชื่อดังกล่าวน่าจะเป็นชื่อที่ถูกพระราชทานจริง เพียงแต่เรายังไม่มีข้อมูลว่าพระองค์ใดเป็นผู้พระราชทาน และความหมายของนามมีความหมายว่าอย่างไรครับ--Magnamonkun (พูดคุย) 13:19, 26 มิถุนายน 2559 (ICT)
แต่สปอตตัวนั้นก็ไม่มีออกอีกเลยส่วนสปอตล่าสุดเป็นสปอตที่ไม่มีชื่อใช่ไหมครับผมเข้าใจดีว่าความผิดพลาดขององค์กรนั้นมันไม่ใช่หน้าที่ที่เราจะรับผิดชอบแต่การท่่เขาเปลี่ยนเนื้อหาในสปอตโฆษณาก็เป็นการท่่เขาแก้ไขไม่ใช่หรือและก็มีการแก้ไขพยายามไม่ให้มีการเผยแพร่ชื่อซึ่งทาง บริษัททราบตัวผู้เผยแพร่แล้วแต่ทางผู้เผยแพร่ไม่มีการแก้ไขนี่ครับ และการที่เขาแก้ไขอต่พวกคุณมาขุดและเผยแพร่ทำให้คนที่รับผิดชอบได้รับความเดือดร้อนกับหน้าที่การงานเนี่ยผมก็ไม่เข้าใจว่าทำแล้วมันจะได้อะไรที่ดีขึ้นนอกจากการที่คุณเป็นผู้ที่ทราบก่อนแล้วเผยแพร่คนแรก. อีกอย่างมันดูเหมือนการเหยียบคนที่ผิดพลาดซ้ำมากกว่า
ส่วนที่นำออกจากบทความ
[แก้]- สาเหตุ : เพราะเปิดให้บริการแล้ว รายละเอียดโครงการบางอย่างจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป --≠ Mr.GentleCN ≠ (พูดคุย) 21:39, 6 กันยายน 2559 (ICT)
เนื้อหาที่นำออกจากบทความ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ก่อสร้าง[แก้]โครงการนี้จะมีการเวนคืนที่ดินเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างโครงการ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดินจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ถูกเวนคืนถือว่าเป็นผู้เสียสละ จะมีการจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทางที่สถานีคลองบางไผ่และเตาปูน[1] อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นนทบุรี สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ได้มีมติเพื่อเสนอต่อไปยังรัฐบาลให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่นนทบุรีเป็นระบบใต้ดิน ต่อมาประชาชนส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีได้รวมตัวคัดค้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ายกระดับ และได้ขึ้นป้ายผ้าประท้วงหน้าอาคารพาณิชย์ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี โดยเฉพาะย่านการค้าบริเวณแยกเตาปูน ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากถนนมีความกว้างจำกัด เกรงจะมีผลกระทบต่อการค้าขาย ทัศนียภาพ และปัญหามลภาวะ จึงมีข้อเสนอให้ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี สร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินแทน[2] ในครั้งนั้น ทาง รฟม. ได้เจรจาและทำความเข้าใจกับผู้คัดค้านจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และยังคงยืนยันถึงข้อดีของการก่อสร้างในรูปแบบเส้นทางยกระดับ การปรับเปลี่ยนเส้นทาง[แก้]
สัญญาการก่อสร้าง[แก้]
หมายเหตุ : สัญญาที่ 5 ได้เปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งในส่วนต่อขยาย บางซื่อ - เตาปูน - ท่าพระ และเปลี่ยนจากใต้ดินเป็นยกระดับแทน การเวนคืนที่ดิน[แก้]“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น “ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่คลองบางไผ่ และเตาปูนด้วย ความคืบหน้าของโครงการช่วงเตาปูน (บางซื่อ) - บางบัวทอง[แก้]
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานีบางซื่อ และสถานีเตาปูน[แก้]ในอดีต โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-เตาปูนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เช่นเดียวกันกับช่วงเตาปูน-บางใหญ่ แต่ในภายหลังได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ทำให้เส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีม่วงแทน ขณะที่เส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูนกลายเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระ ดังนั้น สถานีบางซื่อในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปัจจุบัน ซึ่งเดิมได้เตรียมชานชาลาที่ 2 ไว้สำหรับเดินรถมุ่งหน้าสู่สถานีปลายทางคลองบางไผ่ (บางใหญ่) จึงเปลี่ยนไปเป็นสถานีปลายทางท่าพระแทน ขณะที่การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงระยะแรกนี้จะดำเนินการจากบางใหญ่มาสิ้นสุดเพียงแค่สถานีเตาปูนเท่านั้น ไม่ได้เข้าไปยังสถานีบางซื่อโดยตรง แต่ในการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นการก่อสร้างเส้นทางช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เนื่องจากในสัญญาที่ 1 ของการก่อสร้างได้รวมเอาเส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูน-บางใหญ่ไว้ด้วยกันทั้งหมด เพื่อให้เส้นทางที่สร้างขึ้นใหม่นี้สามารถให้บริการเชื่อมต่อกับการเดินรถในปัจจุบันได้ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Mr.BuriramCN (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 21:39, 6 กันยายน 2559 (ICT)
|
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (MRT Purple line)
[แก้]Hi! One of my articles need RTGS-transcription for "รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม". (Seems like no wikipedia-article has that yet.) Will the wiki-article in Thai-language, ever have that transcription also? Regards! Sju hav (คุย) 15:12, 17 กรกฎาคม 2563 (+07)
คัดค้านการลบ
[แก้]- เหตุผลที่ไม่ควรลบหน้านี้
เป็นการก่อกวนเพราะเหตุผลนั้นอ่อนเกินไและไม่มีเหตุผล
--Stirz117 (คุย) 09:47, 1 พฤศจิกายน 2565 (+07)Stirz117
การเตือน (0) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Stirz117 (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 09:47, 1 พฤศจิกายน 2565 (ICT)