ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:ลายเซ็น

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การลงชื่อเวลาพูดคุยหรือแสดงความเห็นในหน้าอภิปรายหรือหน้าโครงการ เป็นมารยาทที่ดีในการสื่อสารกับผู้อื่น โดยช่วยให้ผู้อื่นสามารถแบ่งแยกข้อความของบุคคลอื่น ๆ ได้ วิธีลงชื่อสามารถทำได้โดย พิมพ์ชื่อและวันที่ต่อท้ายข้อความของคุณ หรือสามารถทำได้อัตโนมัติ โดยการพิมพ์ --~~~~ ต่อท้ายข้อความ ซึ่งทางระบบจะใส่ชื่อและวันที่ให้แทนที่โดยอัตโนมัติ หมายเลขไอพีจะแสดงแทนชื่อผู้ใช้หากคุณไม่ได้ล็อกอิน

ข้อควรระวัง

ในบทความ หมวดหมู่ แม่แบบจะไม่มีการลงชื่อ การลงชื่อใช้สำหรับการพูดคุยในหน้าอภิปราย หน้าคุยกับผู้ใช้ หรือการพูดคุยอื่น ๆ แต่ไม่ใช่สำหรับหน้าบทความ หรือสำหรับเนื้อหาที่ไม่ใช่สำหรับการอภิปราย

รูปแบบการลงชื่อ

แบบที่แนะนำ

~ สี่ครั้ง

มี 2 วิธีในการพิมพ์:

  1. เมื่อจบความคิดเห็น พิมพ์ ~ สี่ครั้ง ตามนี้: ~~~~
  2. ถ้าคุณใช้แถบช่วยการแก้ไข (เหนือช่องการแก้ไข)[1] คลิกไอคอนลายเซ็น: เพื่อเติม ~ สี่ครั้ง

ลายเซ็นของคุณจะแสดงหลังจากคุณบันทึก ปรากฏเป็นรายการผู้ที่บันทึก และวันเวลาที่บันทึก ตามลำดับ

รหัส โค้ดทีได้ การแสดงผล
~~~~ [[ผู้ใช้:ตัวอย่าง|ตัวอย่าง]] 16:58, 19 ธันวาคม 2567 (ICT) ตัวอย่าง 16:58, 19 ธันวาคม 2567 (ICT)

ตัวเลือกอื่น

~ สามครั้ง

ทิลเดอสามครั้งเป็นการลงรายการเฉพาะผู้ที่บันทึก

รหัส โค้ดที่ได้ การแสดงผล
~~~ [[ผู้ใช้:ตัวอย่าง|ตัวอย่าง]] ตัวอย่าง

~ ห้าครั้ง

ทิลเดอห้าครั้งเป็นการลงรายการเฉพาะวันเวลาที่บันทึก การปรับเวลาขึ้นอยู่กับการตั้งค่าเขตเวลาของคุณด้วย

รหัส โค้ดที่ได้ เมื่อเสร็จแล้ว
~~~~~ 16:58, 19 ธันวาคม 2567 (ICT) 16:58, 19 ธันวาคม 2567 (ICT)

การปรับแต่งลายเซ็น

ผู้ใช้สามารถปรับแต่งลายเซ็นได้ที่ พิเศษ:การตั้งค่า ควรระลึกไว้เสมอว่าลายเซ็นบางแบบอาจส่งผลกระทบกับผู้ใช้คนอื่นๆ เช่น อาจรบกวนการอ่านการอภิปราย หรือการแก้ไข

ลายเซ็นไม่ควรจะเลียนแบบหรือทำให้คิดว่าเป็นผู้ใช้อื่น (เช่น ลายเซ็นไม่ควรจะตรงกับชื่อผู้ใช้ที่มีอยู่แล้ว) โดยทั่วไปลายเซ็นควรแสดงถึงชื่อผู้ใช้นั้น ๆ ในระดับหนึ่ง

หากต้องการขอร้องให้ผู้อื่นเปลี่ยนลายเซ็น อย่าลืมทำอย่างสุภาพ หากคุณถูกร้องขอให้เปลี่ยนลายเซ็น กรุณาอย่าตีความการขอร้องอย่างสุภาพเป็นการโจมตี

  • โค้ด - ระมัดระวังการใช้โค้ดที่อาจส่งผลกับข้อความรอบข้างได้ เช่น สี ตัวหนา ตัวยกตัวห้อย ฯลฯ
  • กะพริบ - ลายเซ็นไม่ควรมีลักษณะกะพริบ
  • ภาพ - ห้ามใช้ภาพในลายเซ็น พิจารณาใช้สัญลักษณ์ในยูนิโคดแทนการใช้ภาพ
  • ตัวอักษร - ลายเซ็นควรมีอักษรไทยหรือละตินประกอบอยู่บ้าง เนื่องจากอักษรอื่น ๆ อาจไม่แสดงผลบนหน้าจอของผู้ใช้บางคน
  • ความยาว - ควรดูแลไม่ให้ลายเซ็นมีความยาวมากเกินไป ทั้งในการแสดงผลและในโค้ด
  • ลิงก์ไปหน้าผู้ใช้ - โดยทั่วไปลายเซ็นควรจะมีลิงก์ภายในไปยังหน้าผู้ใช้หรือหน้าพูดคุยของคุณ
  • ลิงก์ไปที่อื่น - ลายเซ็นไม่ควรมีลิงก์ไปยังบทความในวิกิพีเดีย หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น

หมายเหตุ

  1. ถ้าการตั้งค่าเบราว์เซอร์ไม่ให้ใช้จาวาสคริปต์ ไอคอนจะแสดงต่อเมื่อการตั้งค่าถูกเปลี่ยน