สถานีบางเขน
บางเขน RN04 Bang Khen | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | กำแพงเพชร 6 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°50′49″N 100°33′39″E / 13.846947°N 100.560729°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. (SRTET) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 | ||||||||||
ทางวิ่ง | 4 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ที่จอดรถ | มีบริการ | ||||||||||
สิ่งอำนวยความสะดวกจักรยาน | มีบริการ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | RN04 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 | (ยกระดับ)||||||||||
ปิดให้บริการ | 19 มกราคม 2566 (ระดับพื้นดิน) | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีบางเขน (อังกฤษ: Bang Khen Station; รหัสสถานี: RN04) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยายกระดับเหนือถนนกำแพงเพชร 6 ในพื้นที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ที่ตั้ง
[แก้]ถนนกำแพงเพชร 6 บริเวณหัวมุมแยกบางเขน (จุดตัดถนนงามวงศ์วาน ถนนกำแพงเพชร 6 และถนนวิภาวดี-รังสิต) ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ในพื้นที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สถานีบางเขนนั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่เขตบางเขน แต่ที่ใช้ชื่อว่า บางเขน เป็นเพราะในอดีต เขตจตุจักรเคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตบางเขน ทำให้ชื่อที่ใช้ในอดีตถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน และยังตั้งอยู่ติดกับสี่แยกบางเขน โดยในอดีตสถานีรถไฟบางเขนเป็นหนึ่งในสถานีที่มีอาคารที่ทำการแบบเก่าที่สวยงาม แต่ต่อมาได้ถูกรื้อถอนเนื่องจากมีการก่อสร้างตอม่อของโครงการโฮปเวลล์ ทำให้ต้องมีการรื้อสถานีเดิมลงและสร้างสถานีชั่วคราว พร้อมกับเปลี่ยนไปใช้ห่วงทางสะดวกแทนระบบอาณัติสัญญาณไฟสีอีกครั้ง
แผนผังสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 1 | สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า หัวลำโพง | |
ราง สายเหนือ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ||
ชานชาลา 2 | สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า รังสิต | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-8, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, โรงพยาบาลวิภาวดี, เรือนจำกลางคลองเปรม |
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐานยาว 230 เมตร ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา และออกแบบให้มีรางหลีกสำหรับรถไฟทางไกลที่ไม่จอดที่สถานี
ทางเข้า-ออก
[แก้]ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่
- 1, 3 ถนนงามวงศ์วาน, เรือนจำกลางคลองเปรม
- 2, 4 ซอยวิภาวดี-รังสิต 23, อาคารเบญจจินดา (ยูคอม)
- 5, 6 ถนนวิภาวดี-รังสิต ขาออก (มุ่งหน้าท่าอากาศยานดอนเมือง)
- 7, 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน (ประตูวิภาวดี-รังสิต)
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายธานีรัถยา | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
RN10 | รังสิต | จันทร์ - อาทิตย์ | 05:37 | 00:07 | ||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
RN01 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | จันทร์ - อาทิตย์ | 05:46 | 00:16 |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- โรงพยาบาลวิภาวดี
- วี-พลาซา
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่
- เรือนจำกลางคลองเปรม
- ฑัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง
- ฑัณฑสถานหญิงกลาง
- ฑัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
- เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
- โกลเด้นพาเลซ สาขาเรือนจำกลางคลองเปรม
- อาคารเบญจจินดา
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
- โรงเรียนอนุบาลวณลักษณ์
- วัดเทวสุนทร (สุนทริการาม)
- สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าในอนาคต
[แก้]ในอนาคต สถานีบางเขนแห่งนี้จะเชื่อมต่อกับสถานีบางเขนอีกแห่งหนึ่งของ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำตาล ที่จะตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน โครงการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสายสีแดง ข้ามไปยังพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนกลางค่อนเหนือตามแนวถนนงามวงศ์วานและถนนประเสริฐมนูกิจได้อย่างรวดเร็ว