ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  บทความนี้อยู่ที่ระดับคุณภาพ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  บทความนี้อยู่ที่ระดับคุณภาพ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  บทความนี้อยู่ที่ระดับคุณภาพ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

รูปภาพ

[แก้]

รูปในบทความนี้ ผมย้ายไปวางไว้ที่ย่อหน้าที่กล่าวถึงภาพ ซึ่งพ��้นที่ก็มีเหลือเพียงพอที่จะย้ายตำแหน่งได้ ไม่ต้องกองรูปเอาไว้ด้านบนอย่างเดียวครับ --Octra Dagostino 10:05, 19 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ควรจะจัดรูปภาพให้ชิดซ้ายหรือขวาครับ --Horus 18:34, 26 ธันวาคม 2551 (ICT)

ข่าว?

[แก้]

เนื้อหาละเอียดมากเกินไปจนดูเหมือนข่าว มากกว่าจะเป็นสารานุกรม และยังเป็นข่าวที่ไม่เป็นกลางด้วย (ไม่มีเนื้อหามุมมองในด้านอื่น) มีการ quote คำพูดมามากเกินไปเหมือนการปราศรัย ควรปรับปรุง --Tinuviel | พูดคุย 11:23, 26 กรกฎาคม 2551 (ICT)

เนื้อหาในหัวข้อ "ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญในระหว่างการชุมนุม" เหมือนการรายงานข่าวอย่างมาก รบกวนผู้พัฒนาบทความช่วยปรับปรุงวิธีเขียนให้เป็นสารานุกรมด้วยค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 00:19, 29 สิงหาคม 2551 (ICT)

เอาเรื่องที่ไม่สำคัญออกไปบ้างแล้วครับ นอกจากนั้นก็ลบข้อความไม่เป็นกลาง รูปไม่เป็นกลาง และคำพูดที่ผิดนโยบายแท่นปราศรัย --Octra Dagostino 22:34, 30 สิงหาคม 2551 (ICT)

เนื้อหาไม่เป็นสารานุกรมเลยครับ และเนื้อหายังไม่เป็นกลางด้วย 202.28.78.33 15:16, 3 กันยายน 2551 (ICT)

ผมพยายามที่จะแก้ไขเนื้อหาข่าวให้เป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปยังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เหตุการณ์บางอย่างที่ละเอียดลึกเกินไปก็จะทยอยเอาออก แต่บางเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ส่วนคำพูดที่เสียดสีก็ทยอยลบออกไปบ้างแล้วครับ หากใครมีไอเดียจะเสนอการปรับปรุงอย่างไรก็ให้เสนอมาเลยนะครับ ที่สำคัญต้องรู้จักให้โอกาสคนอื่นเขาแก้ไขปรับปรุงเสียก่อน ไม่ใช่เอะอะก็จะแจ้งลบบทความท่าเดียว อันนี้ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

หากใครที่ยังต่อต้านบทความนี้ โดยการก่อกวนต่างๆนาๆนั้น ผมถือว่าเป็นศัตรูกับระบอบประชาธิปไตยนะครับ คนประเภทนี้จะอยู่ในสังคมลำบาก --NBALIVE2551 19:46, 3 กันยายน 2551 (ICT)

ไม่ควรจะมีการเสียดสีกันในภาพนะครับ --Piazza del Duomo 20:03, 3 กันยายน 2551 (ICT)

ปรับปรุงเนื้อหาบทความ

[แก้]

เนื่องด้วยที่ผ่านมานั้น บทความนี้ดูเหมือนว่าจะมีลักษณะเป็นข่าวมากกว่าเป็นสารานุกรมนั้น บัดนี้ผมได้ปรับปรุง/เรียบเรียง/แก้ไข เนื้อหาในบทความเกือบทั้งหมดแล้ว ถ้าหากใครอยากจะร่วมกันปรับปรุงเนื้อหาบทความ ก็เชิญตามสบายเลยนะครับ หรือหากใครมีความเห็นเป็นอย่างไรก็ช่วยเสนอแนะได้เลย จะได้ช่วยกันพัฒนาบทความ ขอบคุณครับ --นักรบมือตบ 21:57, 11 ตุลาคม 2551 (ICT)

การเรียงลำดับเนื้อหา

[แก้]

การเรียงลำดับเนื้อหายังขาดความถูกต้อง และไม่เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์ จึงเห็นว่าควรจะมีการเก็บกวาดบทความดังกล่าวด้วยครับ --Horus 19:07, 27 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ส่วนที่ไม่จำเป็น

[แก้]

นอกจากนี้ นาวาอากาศตรีคฑาทอง สุวรรณทัต กัปตันเครื่องบินโบอิง 737-400 เที่ยวบินในประเทศ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางมาขึ้นเวทีปราศรัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในบริเวณทำเนียบรัฐบาล หลังจากเสร็จภาระกิจการขับเครื่องบิน[1]

เนื่องจากการชุมนุมครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องการจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ค่าถ่ายทอดสัญญาณ รวมถึงเงินเดือนของพนักงานเอเอสทีวี ทำให้กลุ่มพันธมิตรขอรับบริจาคเงินช่วยกลุ่มพันธมิตรฯในการชุมนุมครั้งนี้ ยอดเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนมียอดเงินหลายสิบล้านบาท[2][3][4]

สถานที่ชุมนุม

[แก้]

ด้าน พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าวว่า การที่พันธมิตรฯ สามารถยึดพื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาลสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะของประชาชนทุกคน เพราะถือว่าตำรวจไม่ได้แพ้และประชาชนก็ไม่ได้แพ้ และทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นประชาชนเช่นเดียวกัน พร้อมยืนยันจะไม่มีการสลายการชุมนุมหรือการใช้แก๊สน้ำตาแต่อย่างใด[5]

กิจกรรมหลังยุติการชุมนุม

[แก้]

งานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ฉลองชัยประชาชน

กิจกรรมงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ฉลองชัยประชาชนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

งานโรงเรียนผู้นำ จ.กาญจนบุรี

จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 10 มกราคม 2552

คอนเสิร์ตการเมือง

ครั้งที่ 1 จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 17 มกราคม 2552 ที่สนามกีฬาจังหวัดชลบุรี

ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 31 มกราคม 2552 ที่สนามกีฬาจังหวัดสระบุรี

ครั้งที่ 3 จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลก

ครั้งที่ 4 จัดขึ้นในวันพุธที่ 4 มีนาคม 2552 ที่ เลควิว เฉวง เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

ครั้งที่ 5 จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2552 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

ครั้งที่ 6 จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2552 ที่ปลายแหลมสะพานหิน อ.เมือง ภูเก็ต

ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 ที่สวนศรีเมือง อ.เมือง จังหวัดระยอง

ครั้งที่ 8 จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2552 ที่สนามกีฬาม.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

รำลึก 193 วัน แห่งการต่อสู้

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่ขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

[แก้]

บุลคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

นักวิชาการ

[แก้]

นักพูด นักคิด นักเขียน

[แก้]

(โดยมากไม่ได้ขึ้นเวทีแต่จะส่งบทกวีหรือคำกลอนมา)

ดารา นักร้อง

[แก้]

(มีทั้งที่ขึ้นเวทีและไม่ได้ขึ้นเวที)

ตำแหน่งที่ตั้ง

[แก้]

แผนที่แสดงจุดที่ตั้งเวทีชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ตั้งแต่ 25 พ.ค. 51 เป็นต้นไป) ดูที่เว็บไซต์ ครป. [1] หลังจากนั้นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้มาตั้งเวทีที่ทำเนียบรัฐบาลอีกจุดหนึ่ง แผนที่ --Horus | พูดคุย 18:19, 3 กรกฎาคม 2552 (ICT)

สาเหตุของการชุมนุม

[แก้]

เรื่องนี้ทางสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวว่า เป็นการ "ตีวัวกระทบคราด", นายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวแสดงปฐกถาในเรื่อง "ระบบอุปถัมป์ในสังคมไทย" ต่อสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทยและที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ซึ่งพันธมิตรฯ บอกว่าเป็นการเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[6], น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ขึ้นเวที นปช.ที่ท้องสนามหลวง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกเช่นเดียวกัน[7], นิตยสาร "ฟ้าเดียวกัน" ที่นำพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นหน้าปกเป็นลักษณะของคนยืนเหมือนในเหล้ายี่ห้อ "แบล็ก เลเบิ้ล" แต่สิ่งที่พันธมิตรเรียกร้องมาทั้งหมดนี้กลับไม่ได้รับความสนใจจากทางฝ่ายรัฐบาลเลย --18:19, 3 กรกฎาคม 2552 (ICT)

ย้ายมาชั่วคราว

[แก้]
สนธิ ลิ้มทองกุล แฉ มีการสร้างพระพุทธรูป "ชินวัตรมุณี"
ไฟล์:รูปเหมือน.JPG
ภาพบุคคลปริศนาใต้ฐานพระพุทธรูป
ภาพกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดินขบวนประท้วงญัตติการคว่ำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่บริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ไฟล์:พันธมิตร.jpg
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมใหญ่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีประชาชนมาร่วมฟังการปราศรัยนับหมื่นคน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ประกาศก้อง (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:07, 16 กันยายน 2552 (ICT)

ไฟล์:PAD in front of the Royal Thai Goverment.JPEG
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนขบวนไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2551 เพื่อขับไล่ สมัคร สุนทรเวช ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Horus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 18:30, 20 กันยายน 2552 (ICT)

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้เล่าย้อนอดีตประวัติศาสตร์ในช่วงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยที่ฝ่าวงล้อมข้าศึกนำไพร่พลแค่ 500 คน ตีฝ่าออกไปทางตะวันออกบ่ายหน้าไปทางจันทบุรี ระหว่างทางได้รวบรวมไพร่พลที่บางละมุง ชลบุรี และทรงปลูกต้นสนใหญ่ต้นหนึ่งเพื่อเป็นหลักของชาติไว้ที่วัดบางละมุง ขณะเดียวกัน ได้หล่อพระศรีอารยเมตรัยเพื่อเป็นหลักธรรมตั้งตรงกัน แต่ปรากฏว่าเมื่อปี 2544 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยสร้างพระขึ้นมาใหม่ เรียกว่า พระชินวัตรมุณี ทรงหน้าเหลี่ยม มาวางเอาไว้ระหว่างกลางเพื่อเอาเคล็ด ขณะเดียวกัน ได้นำรูปจำลองพระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของพระมหากษัตริย์มาวางไว้ข้างล่างพระชินวัตรมุณี

นอกจากนี้ นายสนธิได้ชี้ให้เห็นอีกว่า ยังมีการหล่อพระพุทธรูปชินวัตรมุณีองค์ใหญ่ เพื่อรับพลังจากหลักชาติ และใต้ฐานของพระพุทธรูปดังกล่าวยังหล่อเป็นรูปนักการเมืองหลายคน เช่น นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายเนวิน ชิดชอบ เทพเจ้ากวนอู และรูปของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในรูปของเศรษฐีมีทรัพย์ นายสนธิกล่าวว่า "...และที่น่าสังเกตก็คือ มีรูปหล่อที่ลักษณะหมิ่นเหม่ เนื่องจากแต่งองค์ทรงเครื่องผิดไปจากบุคคลทั่วไป ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีก็จะรู้เป็นใคร..." (ในภาพ) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการเอาเคล็ดในลักษณะฝังรูปฝังรอย

นายสนธิยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ใต้ฐานของพระพุทธรูปยังมีตราพระราหูซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตำรวจ เพื่อให้ตำรวจอยู่ใต้พระชินวัตรมุณีตลอดไป แล้วยังนำลายของเหรียญพิฆาตไพรี ซึ่งเป็นเหรียญที่ปลุกเสกที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อมอบให้กับนักรบในสมัยโบราณออกศึก มีเป้าหมายเพื่อเสริมอำนาจของสาวกไปทำลายฝ่ายตรงข้าม

จากนั้น นายสนธิได้เชื่อมโยงเหตุการณ์ที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และภรรยาและญาติใกล้ชิดไปทำพิธีบวงสรวงที่นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2551 ราว 5 เดือนก่อน ซึ่งขณะที่ไปทำพิธีที่ศาลหลักเมืองก็ได้นำผ้าแพรไปผูกทับกับผ้าแพรที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงผูกเอาไว้เดิม จากนั้นก็ได้ไปทำพิธีบวงสรวงพระเจ้าตากที่วัดเขาพนม โดยมีการยิงปืน 21 นัดเหมือนกับพิธีของพระมหากษัตริย์ และต่อมาเมื่อวันที่ 21 เดือนเดียวกันก็บังเอิญเกิดเหตุการณ์ทุบเทวรูปและย้ายศิวลึงก์ที่ปราสาทพนม��ุ้ง ซึ่งเชื่อกันว่าต้องการทำลายอำนาจของพระอาทิตย์และเอาเคล็ดบางอย่าง[8] --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ประกาศก้อง (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:02, 13 กันยายน 2552 (ICT)

การชุมนุมสัญจร
ไฟล์:Pad at grandpalace.gif
ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พันธมิตรฯประกาศให้เป็นการการชุมนุมใหญ่เพื่อเป็นการ ซ้อมใหญ่ ก่อน รับปริญญา มีผู้เข้าร่วมชุมนุมเป็นหลักแสน จนแถวยาวเหยียดเกือบถึงลานพระบรมรูปทรงม้า[9]

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 09.00 น. พันธมิตรฯได้จัดการเดินชุมนุมไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและอ่านแถลงการณ์ไม่ยอมให้รัฐบาลทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด หากรัฐบาลยื่นกระทู้ขอแก้ไขวันใด ภายในระยะเวลา 7 วัน จะ เป่านกหวีด เรียกชุมนุมใหญ่ทันที จากนั้นจึงเดินไปที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ทำการระลึกถึงวีรชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา และได้เดินไปถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อทำการสักการะพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และตั้งจิตอธิษฐานต่อพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ขอให้ผู้ไม่ประสงค์ดีต่อประเทศชาติจงพบกับความหายนะ[10] --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ประกาศก้อง (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:48, 15 กันยายน 2552 (ICT)

ต่อต้านแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 15.00 น. พลตำรวจเอกวิโรจน์ พหลเวช รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติฝ่ายความมั่นคง พร้อมด้วย พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร ที่ปรึกษา(สบ 10)เรียกประชุมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความสงบเรียบร้อยรักษาความปลอดภัยกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ปักหลักบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมวางแนวทางแก้ไขปัญหาการจราจรพร้อมทั้งยืนยันว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีนโยบายการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด เพราะการกระทำเช่นนั้นภาพที่ปรากฏออกไปคงถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ส่วนกำลังเจ้าหน้าที่นั้นจะมีการเตรียมกำลังเพิ่มเติมประมาณ 2 กองร้อย หรือ 300 นาย เพื่อป้องกันหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด กรณีการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยมี พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็น รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ ควบคุมกำลังดูแลพื้นที่โดยรอบรัฐสภา โดยเน้นไม่ให้มีการบุกรุกเข้ามาในพื้นที่รัฐสภาอย่างเด็ดขาด[11] --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ประกาศก้อง (พูดคุยหน้าที่เขียน) 18:54, 19 กันยายน 2552 (ICT)

ผู้ชุมนุม

ก่อนที่จะมีงานพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้มีการยิงอาวุธสงครามเข้าใส่ที่ชุมนุมของพันธมิตรฯที่ทำเนียบรัฐบาลอยู่เป็นระยะ ๆ และทุกครั้งต้องมีผู้บาดเจ็บถึงขั้นสาหัสและจนถึงแก่ชีวิตหลายคน จนกระทั่งถึงคืนวันที่ 19 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 20 พฤศจิกายน มีการยิงด้วยเครื่องยิงระเบิด M-79 ตกลงกลางที่ชุมนุมที่ทำเนียบ ทำให้นายเจนกิจ กลัดสาคร ชาวชุมพรถึงแก่ชีวิตทันที --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ประกาศก้อง (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:36, 20 กันยายน 2552 (ICT)

ผลกระทบ
  • การซื้อขายหลักทรัพย์ภาคเช้าวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ดัชนีปิดที่ระดับ 391.28 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 0.36 จุด เปลี่ยนแปลง 0.09% มูลค่าการซื้อ-ขายทั้งสิ้น 6,386.18 ล้านบาท สำหรับ5 อันดับ หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูง คือPTTEP ปิดที่ 93.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาทPTT ปิดที่ 145.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท BANPU ปิดที่ 183.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท ADVANC ปิดที่ 73.00 บาท ลดลง -2.00 บาท[12]
  • นายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิลมล ผู้อำนวยการสายงานจัดการกองทุน บลจ. เอสซีบี ควอนท์ กล่าวว่า สำหรับ จีดีพีของประเทศทั้งปีน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 5% แต่ไม่น่าที่จะปรับตัวไปถึง 6%ได้ เนื่องจากปัญหาภายในประเทศที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมืองที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มองว่า หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีจะสามารถเรียกความมั่นใจจากนักลงทุนได้ ซึ่งหากมีการเลือกนายกฯคนเก่ากลับมา จะทำให้การเมืองที่กำลังจะยุติยิ่งยืดเยื้อขึ้นไปอีก[13]
  • นายวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารจะช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งกลุ่มลูกค้าส่งออกทางเครื่องบินและธุรกิจโรงแรม ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ทั้งนี้ ธนาคารอาจพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยตั๋วพีเอ็น ที่ใช้สั่งซื้อ วัตถุดิบให้กับลูกค้าที่ได้รับความเสียหาย เพื่อลดภาระด้านดอกเบี้ย ขณะเดียวกันก็อาจพิจารณายืดระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไป ซึ่งขณะนี้ธนาคารก็เริ่มช่วยให้ลูกค้าบางรายผ่อนชำระน้อยลง เพราะธนาคารก็เข้าใจว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดปัญหาจากตัวลูกค้า [14]
การเผยแพร่ทางสื่อ
  • สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีฟรีทีวีผ่านดาวเทียม ช่องนิวส์วัน รวมไปถึงช่องที่สังกัดเอเอสทีวี และ วิทยุคลื่นยามเฝ้าแผ่นดิน FM 97.75 MHz ได้ทำการถ่ายทอดสดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม เวลา 15:00 น. จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10:00 น. รวม 193 วัน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่อ้างว่าเป็นจริงและเป็นธรรม และป้องกันการสืบตรวจจากตำรวจ ที่จะจ้องดำเนินคดีหรือ กระทำการใดๆก็แล้วแต่กับพันธมิตร เป็นต้น และเป็นครั้งแรกของโลกที่ถ่ายทอดการชุมนุมลักษณะ เรียลลิตี้การเมือง ทั้งที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์, ทำเนียบรัฐบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น และเมื่อถึงที่สุดหรือจบการถ่ายทอดแล้ว การออกอากาศของเอเอสทีวี และ คลื่นยามเฝ้าแผ่นดิน ก็คงจะต้องกลับคืนสู่สภาพปกติ หลังจากที่ไม่ได้ออกอากาศมาตั้งนานเกือบ 6 เดือน
ทำเนียบรัฐบาล

เช้าวันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีกลุ่มผู้คนประมาณ 80 คนอ้างตัวว่าเป็นพันธมิตรฯ บุกเข้าไปที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) แล้วยึดไว้ ในช่วงเวลาประมาณ 05.30 น.[15] แต่หลังจากนั้นก็ถูกจับกุมและสถานีก็สามารถออกอากาศได้ตามปกติ ต่อมากลุ่มพันธมิตรฯได้บุกเข้าไปในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) อีกครั้ง โดยมีเป้าหมายในการนำสัญญาณโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี มาออกอากาศในคลื่นความถี่โทรทัศน์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยแทน แต่ทำไม่สำเร็จ โดยทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยต้องย้ายไปออกอากาศที่กองบังคับการตำรวจจราจร และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5แทน ต่อมากลุ่มพันธมิตรฯ ได้ประกาศเป่านกหวีดเผด็จศึกกับรัฐบาล และเคลื่อนตัวออกจากสะพานมัฆวานรังสรรค์ มุ่งหน้าไปที่กระทรวงหลายแห่งรวมทั้งทำเนียบรัฐบาล จนสามารถบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลได้ ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องไปประชุมกันที่กองบัญชาการกองทัพไทย และที่นั่นเอง นายสมัคร สุนทรเวช ได้มอบอำนาจการจัดการกับผู้ชุมนุมให้กับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมต.มหาดไทย ซึ่ง พล.ต.อ.โกวิท ประกาศว่า จะสลายการชุมนุมในเวลา 18.00 น. ของวันนั้น แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ช่วงค่ำทางรัฐบาลจะขอศาลออกหมายจับ 5 แกนนำ และผู้ประสานงานในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดตกลงกันแล้วว่าจะยอมให้จับโดยดีและมีความเป็นไปได้ที่ศาลจะไม่ให้ประกันตัว[16]

ผู้ร่วมชุมนุม

วันอังคารที่17 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ประกาศเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ[17][18] เวลา 20:58 น. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา และ นายวสันต์ พานิชย์ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่ง ได้ประกาศนโยบายการประกาศสงครามปราบปรามยาเสพติดว่า นโยบายนี้มีการใช้วิธีการฆ่าตัดตอน ที่ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,800 ราย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง จากนั้นมีการเปิดเทปบันทึกภาพเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส ในยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่แสดงให้เห็นถึงการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง และโหดเหี้ยมทำให้มีผู้เสียชีวิตต่อเนื่องกันถึงกว่า 70 ราย[19] เวลา 21.20 น. หลังจากที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ประกาศจะนำมวลชนเคลื่อนไปชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลในเวลา 13.00 น.ของวันที่ 20 มิถุนายน[20]

หมายจับสนธิ ลิ้มทองกุล

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศาลอาญามีคำสั่งอนุมัติหมายจับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องด้วยนายสนธิได้เผยแพร่คำปราศรัยที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพของ นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่ปราศรัยที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งนายสนธิได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 9.00 น.[21]

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร.พร้อมด้วย พล.ต.ท.ภานุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผช.ผบ.ตร. พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. พร้อมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และพนักงานสอบสวนร่วมกันสอบปากคำนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยมีแกนนำพันธมิตรฯ คนสำคัญ เช่น นายสุริยะใส กตะศิลา นายพิภพ ธงไชย เข้าให้ปากคำในฐานะพยานร่วมกับ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด แต่งเครื่องแบบนายทหารที่เดินทางสมทบในภายหลัง ซึ่งนายสนธิได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อหากล่าวหา พร้อมให้ทนายความส่วนตัวยื่นเรื่องขอประกันตัวโดยใช้ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ของนายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นหลักประกันตัวออกไป

กลุ่มผู้สนับสนุน

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย สาขานครราชสีมา พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ทุกหน่วยทุกฝ่าย ทั้งพนักงานรถจักร คนขับ ช่างเครื่อง หน่วยซ่อมบำรุง และเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานทุกสถานีใน จ.นครราชสีมา ประมาณ กว่า 100 คน ในจำนวนนี้เป็นพนักงานขับรถกว่า 40 คน ได้แจ้งขอลาป่วยหยุดทำงานตั้งแต่ 2-3 วันขึ้นไป พร้อมกันกับพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ จึงทำให้ขาดแคลนพนักงานในการทำงาน ส่งผลให้ขบวนรถไฟขาขึ้นอีสานมาจากกรุงเทพฯ เที่ยวต่าง ๆ ทยอยยกเลิกการเดินทาง ตั้งแต่เวลา 15.00 น.เป็นต้นมา มีเพียงรถไฟขาล่องเข้ากรุงเทพฯ สำหรับวันที่ 28 ส.ค. เท่านั้นที่ยังเดินรถตามปกติ แต่ในวันที่ 29 ส.ค. จะส่งผลให้ต้องหยุดเดินรถไฟทั้งขาล่องและขาขึ้น เหมือนกันหมด การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งตามมติของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย[22]

ฝ่ายต่อต้าน

ต่อมา วันที่ 29 สิงหาคม ตำรวจ่พยายามเข้าไปสลายการชุมนุมจึงเกิดการปะทะกันกับผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ภายในทำเนียบรัฐบาลเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บก่อนเหตุการณ์จะคลี่คลายลงในช่วงบ่าย หลังจากนั้นจึงเกิดการกระทบกระทั่งอีกครั้งที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลเมื่อมีการใช้แก๊สน้ำตากับกลุ่มผู้ชุมนุม จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 คน เป็นชาย 11 คน หญิง 7 คน และเด็ก 1 คน[23][24][25]

กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมโดยใช้กระบองตีและใช้โล่ผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมและรื้อค้นเวที จำนวน 45 คน ได้เดินทางเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม เพื่อให้ดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้สั่งการ และผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดย พ.ต.อ.สมชาย เชยกลิ่น ผกก.สน.ดุสิต จัดสถานที่ห้องประชุมชั้น 3 และพนักงานสอบสวนไว้รับแจ้งความ[26]

เหตุการณ์ระเบิด

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลา 3.00 น. มีคนร้ายลอบปาระเบิดสังหารเข้าใส่การ์ดกลุ่มพันธมิตรฯ บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบผู้ถูกยิงเสียชีวิตอีก 1 รายบริเวณใกล้จุดเกิดเหตุ คือนายสังเวียน รุจิโมระ ซึ่งเป็นการ์ดพันธมิตรฯ อายุ 46 ปี ถูกยิงท้ายทอยนอนเสียชีวิตอยู่ใต้ต้นหูกวางด้านหลัง บช.น. โดยตำรวจเองยังไม่ทราบว่าฝ่ายไหนลงมือยิง ระหว่างเกิดเหตุชุลมุน คนร้ายปาระเบิดสังหารเอ็ม 87 เข้าใส่การ์ดพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานฯ ทำให้มีผู้รับบาดเจ็บนับสิบคน โดยมีอาการถึงขั้นโคม่าถึง 2 ราย ต่อมาได้เกิดเหตุที่บริเวณข้างเต็นท์นอนของการ์ดพันธมิตรฯ พบหลุมลึกประมาณ 3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร กระเดื่องระเบิดสังหารชนิดเอ็ม 87 ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ นอกจากนี้ยังมีรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับความเสียหาย อีก 2 คัน เวลา 3.40 น. มีชายฉกรรจ์ 2 คนขับขี่รถจักรยานยนต์มาจากแยกนางเลิ้ง มุ่งหน้าเข้ามายังสะพานชมัยมรุเชฐ พร้อมกับชักปืนยิงปืนขึ้นฟ้า 1 นัด แล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาเวลา 4.00 น.มีเสียงปืนดังขึ้นอีกประมาณ 10 นัด บริเวณแยกมิกสวันฝั่งประตูหลัง บช.น. ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ ภายหลังเกิดเหตุทางการ์ดพันธมิตรฯ ประมาณ 20 คนได้ตรึงกำลังพื้นที่บริเวณแยกมิสกวัน เพื่อรอดูสถานการณ์จนถึงช่วงเช้า โดยการ์ดของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุถูกปาระเบิดและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลวชิรพยาบาลมีจำนวน 6 ราย [27]

ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร

[แก้]

รวมทั้ง รัฐบาลยังปล่อยให้รัฐบาลกัมพูชายื่นเรื่องให้เขาพระวิหารเป็นแหล่งมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากการเข้าร่วมยื่นบริเวณรอบเขาพระวิหารจากฝ่ายไทย กลุ่มพันธมิตรฯเห็นว่าเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการเสียอธิปไตยของชาติอย่างชัดเจน และการที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แอบทำข้อตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชา ทั้ง ๆ ที่ไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารให้กับประชาชนคนไทยได้รับรู้อย่างเพียงพอ ดังนั้น พันธมิตรฯ จึงเคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน[28][29][30]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เอเอสทีวีผู้จัดการ, เซอร์ไพรส์! กัปตันการบินไทยขึ้นเวทีพันธมิตรฯ, 28 สิงหาคม 2551
  2. สนธิขอบคุณผู้บริจาคเงิน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
  3. พันธมิตรฯปัดรับเงินหนุนจากธนาคารใหญ่ ชี้มีแต่เงินบริจาค, มติชน
  4. จำลอง ขอพันธมิตรฯบริจาคช่วย ASTV อีก เหตุค่าใช้จ่ายไม่พอ ผู้จัดการ
  5. เอเอสทีวีผู้จัดการ, ตร.ยอมรับชัยชนะยึดทำเนียบฯ เป็นของประชาชนทุกคน!, 20 มิถุนายน 2551
  6. เอเอสทีวีผู้จัดการ, “เจ๊เพ็ญ” ดิ้นหนีตายหมิ่นสถาบัน โหยหาขอสอบพยานเพิ่ม 18 ปาก!, 16 กันยายน 2551
  7. PUBLIC HOT COMMUNITY,เปิดโปง “ดา ตอร์ปิโด”จอมด่าแห่งนรกป่วนกรุง เข้าถึงข้อมูลวันที่ 22 กรกฎาคม 2551
  8. เอเอสทีวีผู้จัดการ, “สนธิ” แฉสัตว์นรกทำทุกทางเอาเคล็ดสร้าง “พระหน้าเหลี่ยม” เพิ่มพลัง, 28 ตุลาคม 2551
  9. แนวหน้า, พันธมิตรฯโชว์พลังซ้อมใหญ่ รอนกหวีดเคลื่อนทัพแตกหัก , 2 สิงหาคม 2551
  10. เอเอสทีวีผู้จัดการ, คารวะน้ำใจมวลชน ผนึกกำลังขับไล่ทรราช (1) , 2 สิงหาคม 2551
  11. เอเอสทีวีผู้จัดการ, ตำรวจยันไม่ใช้ความรุนแรงสลายพันธมิตรฯ ชัวร์, 25 มิถุนายน 2551
  12. กรุงเทพธุรกิจ, หุ้นไทยภาคเช้าปิดที่391.28จุดบวก0.36จุด, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  13. เอเอสทีวีผู้จัดการ,"บลจ."เชื่อไทยน่าลงทุน เหนือเพื่อนบ้านทุกด้าน, 12 กันยายน 2551
  14. โพสต์ทูเดย์, เอกชนเซ็งหมดทางพึ่งรัฐ, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  15. รวบกลุ่มชายฉกรรจ์บุกเข้าไปในสถานีเอ็นบีที โดย ไทยรัฐ
  16. เอเอสทีวีผู้จัดการ, “สนธิ” เปิดโปงวิชามารจับ 5 แกนนำพรุ่งนี้ ลั่นเป็นกบฏรัฐบาลชั่ว, 26 สิงหาคม 2551
  17. เอเอสทีวีผู้จัดการ, รัฐวิสาหกิจลั่นเคียงข้างพันธมิตรฯร่วมศึกใหญ่ 17 พฤษภาคม 2551
  18. The Nation, State Enterprise workers joins PAD protest, June 18, 2008.
  19. เอเอสทีวีผู้จัดการ, นักสิทธิมนุษยชนชี้ “แม้ว” ฆ่าตัดตอนต้องคุกสถานเดียว 17 มิถุนายน 2551
  20. Wassana Nanuam & Penchan Charoensuthipan, The Bangkok Post, PAD targets major rally on Friday to oust the govt, June 18, 2008.
  21. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, ศาลอาญามีคำสั่งอนุมัติหมายจับ "สนธิ ลิ้มทองกุล" ในความผิดฐานหมิ่นสถานบันเบื้องสูง, 24 กรกฎาคม 2551
  22. เอเอสทีวีผู้จัดการ, สหภาพแรงงานรถไฟฯ ลาป่วย! - หยุดเดินรถพร้อมกันทั่วประเทศแล้ว, 28 สิงหาคม 2551
  23. เอเอสทีวีผู้จัดการ, *อำมหิตผิดมนุษย์! ตร.ตีคนแก่ สกัดห้ามเข้าสมทบพันธมิตรฯที่ทำเนียบฯ, 29 สิงหาคม 2551
  24. BBC News, Pressure mounts on Thailand's PM, 29 August 2008
  25. The Bangkok Post, Playing the foreign card, August 29, 2008.
  26. เอเอสทีวีผู้จัดการ, แจ้งจับตำรวจรัฐเถื่อน! รุมทำร้ายประชาชน, 31 สิงหาคม 2551
  27. แนวหน้า, "จำลอง"ซัดรบ.สั่งฆ่าปชช. ปาระเบิดพธม. สาหัส2-บาดเจ็บอีกนับสิบ, 30 ตุลาคม 2551
  28. The Nation , PAD begins rallying in front of MFA building to protest Preah Vihear Temple map, June 18, 2008.
  29. Saritdet Marukatat, The Bangkok Post,This land is my land! June 18, 2008.
  30. เอเอสทีวีผู้จัดการ, พันธมิตรฯ ทั่ว ปท.บุกกรุง!ฮือขับไล่“นพดล”ย่ำยีหัวใจไทย!! 18 มิถุนายน 2551

ข้อสงสัย

[แก้]

ต้องการทราบว่า:

  • จะติดสัญลักษณ์ของ พธม. ไว้บนส่วนแรกสุดของบทความทำไม เพราะไม่ใช่หน้าหลักที่อธิบายถึง พธม.
    • เพราะเป็นการชุมนุมของ พธม. ทำไมจะใส่ไม่ได้???
      • บทความ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ก็มี ทำไมไม่ไปหาดู
        • ดูไร บทความนี้เป็นส่วนย่อยของ บทความนั้น ทำไมจะใส่ไม่ได้???
          • งง ถ้าเขาอยากรู้เรื่องของกลุ่มก็น่าจะไปบทความนั้นอยู่แล้ว ถ้าอยากมาดูเรื่องการชุมนุมก็มาบทความนี้ คนที่คลิกเข้ามาดูมีความสามารถพอ --Horus | พูดคุย 20:21, 21 มีนาคม 2553 (ICT)
            • ไม่เกี่ยว เพราะบทความนี้ก็คือ พธม แล้วทำไมจะใส่ภาพ พธม ไม่ได้???
              • ผมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องใส่เพราะจะทำให้รกเกินไป ส่วนนำมีรูปอยู่แล้ว --octahedron80 17:36, 26 มีนาคม 2553 (ICT)
  • ทำไมจะต้องแยกส่วน ยุทธศาสตร์การชุมนุม ในเมื่อมันดำเนินเป็นขั้นเป็นตอน พอจะเขียนในลักษณะ ลำดับเหตุการณ์ ได้
    • เพราะเป็นหัวข้อที่ต้องการสื่อถึงยุทธศาสตร์ที่ พธม. ใช้ในการชุมนุม โดยสามารถแยกออกมาเป็นหัวข้อได้เลย
      • ไม่จำเป็น เพราะไม่ใช่การวางแผนการอย่างทหาร เป็นเพียง "รหัส" ที่สามารถใช้เรียกเป็น "ช่วงเวลา" ได้ เช่น
        • จำเป็น เพราะจัดเป็นการเขียนแบบย่อยข่าวมาสรุป ไม่ใช่เขียนตามลำดับเวลาแบบการเขียนข่าวเหมือนบทความวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553 เขียนข่าวชัดๆ
          • เหรอครับ เขียนตั้งแต่ก่อนไปหลังไม่ดีกว่าหรือ ผมสงสัยว่าถ้าจะบรรยายว่าวันๆ ผมนอนหลับ อาบน้ำแปรงฟัน กินข้าวเย็น ดูทีวี ไปห้าง กินข้าวเที่ยง อยู่บ้าน อาบน้ำแปรงฟัน ตื่นนอน อย่างนี้เหรอ
            • ถึงได้ใส่กล่องลำดับเหตุการณ์ไว้ไง เห็นหรือเปล่า???
              • เห็น แต่ในบทความก็เรียงลำดับไปด้วยไม่ได้เหรอไง
                • ไม่เห็นด้วย ถ้าเขียนแบบนั้น คือ การรายงานข่าว หาอ่านตามหน้าหนังสือพิมเอา ที่นี่ไม่ได้เป็นที่สำหรับเขียนข่าว
  • ทำไมต้อง quote คำพูดของจำลอง ศรีเมือง ในเรื่องสะพานมัฆวานรังสรรค์
    • เพราะต้องการสื่อถึงเหตุที่เขาเลือกมาชุมนุมที่นี่
      • ไม่จำเป็น เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่ที่รายงานข่าว ไม่ใช่ผู้สื่อข่าว ไสหัวเป็นวิกิข่าวโน่น ถูกทิ้งร้างไปนานแล้ว
        • จำเป็น เพราะแสดงถึงสาเหตุที่เขาเลือก
          • ก็อธิบายประยคเดียวก็ได้ ทำไมต้องยกมาทั้งย่อหน้า
            • แล้วทำไมจะเอามาไม่ได้ ในเม��่อเป็นคำพูดที่สำคัญ
              • งั้นก็น่าจะยกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาด้วยเลยนะ สำคัญกว่าอีก --Horus | พูดคุย 20:20, 21 มีนาคม 2553 (ICT)
                • ไปอ่านชื่อบทความใหม่ จะได้เข้าใจว่าสิ่งที่สำคัญคืออะไร
  • ในอ้างอิงที่ 57 [2] ระบุว่า "ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวันนี้ (26พ.ย.) นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยได้กล่าวกับผู้ชุมนุมว่า การบกยืดสนามบินสุวรรณภูมิเป็นปฏิบัติการขั้นที่สามเรียกว่าปฏิบัติการฮิโรชิม่าและในวันพรุ่งนี้(27พ.ย.)จะเป็นปฏิบัติการขั้นสุดท้ายเรียกว่าปฏิบัติการนางาซากิ" จึงสงสัยว่าทำไมจึงไม่เขียนว่า พธม. เรียกปฏิบัติการดังกล่าวว่า "ปฏิบัติการฮิโรชิมากับนางาซากิด้วย แต่กลับเขียนในทำนองว่าหนังสือพิมพ์เรียกเอง --Horus | พูดคุย 11:25, 20 ธันวาคม 2552 (ICT)
  • กลับไปอ่านประโยคเดิมที่เอ็งเขียน "สำหรับชื่อของ ปฏิบัติการ หนังสือพิมพ์มติชนได้รายงานว่า การบุก ยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเรียกว่า "ปฏิบัติการฮิโระชิมะ" (26 พฤศจิกายน) และในวันรุ่งขึ้น (27 พฤศจิกายน) เรียกว่า "ปฏิบัติการนะงะซะกิ"" คำถามนี้ถามเอง ก็ตอบเองไปนะ--ประกาศก้อง 19:47, 21 มีนาคม 2553 (ICT)
    • โง่หรือเปล่า พธม.เรียกยึดสุวรรณภูมิเป็นปฏิบัติการฮิโรชิม่า นี่มันแปลว่าอะไรวะ --Horus | พูดคุย 19:56, 21 มีนาคม 2553 (ICT)
      • เอ็งอะความ เอ็งเขียนประโยคแบบนี้เอง เอ็งก็รับผิดชอบว่าทำไมเอ็งไม่เขียนตั้งแต่แรกว่า พธม. เรียก เสือกมาถามคนอื่นอีกว่าทำไมไม่เขียน โถ่ ควายว่ะ--ประกาศก้อง 20:00, 21 มีนาคม 2553 (ICT)
        • ประทานโทษ เอ็งแก้ไม่ใช่เหรอวะ มาด่าทำซากอะไร --Horus | พูดคุย 20:05, 21 มีนาคม 2553 (ICT) ประจานความใจแคบ จะ ๆ --Horus | พูดคุย 20:07, 21 มีนาคม 2553 (ICT)
          • ประทานโทษ ข้อความนี้เอ็งเขียนคนแรกโว้ย ข้าก็แก้จากประโยคที่เอ็งเขียน ตลกว่ะ เขียนเอ็ง ด่าตัวเอง เสร็จสรรพ ควายว่ะ [ประจานควายความจำสั้น มัวแต่โทษคนอื่น เสือกไม่ดูตัวเอง ชัดเจนเปลี่ยน] --ประกาศก้อง 20:13, 21 มีนาคม 2553 (ICT)
              • "มติชนรายงานว่าพันธมิตรเรียก" กับ "มติชนยังเรียกว่า" มันความหมายเดียวกันตรงไหนวะ โง่ชิบ แถมมารยาทถ่อยเถื่อนอีก --Horus | พูดคุย 20:19, 21 มีนาคม 2553 (ICT)
                • โฮ่ ๆ ๆ เอ็งเขียนว่า "หนังสือพิมพ์มติชนได้รายงานว่า การบุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเรียกว่า "ปฏิบัติการฮิโระชิมะ" (26 พฤศจิกายน) และในวันรุ่งขึ้น (27 พฤศจิกายน) เรียกว่า "ปฏิบัติการนะงะซะกิ" " ตรงไหนที่เอ็งเขียนว่า "พันธมิตรเรียก" อย่ามาแปลงสารว่ะ หลักฐานมันเห็น ๆ อยู่ ควายว่ะ เจ็บสีข้างไหมว่ะ แถอย่างแร็งเลยฮิ อ้อ ๆ ๆ เคยบอกไปแล้ว พูดกับคนถ่อยก็ต้องใช้ข้อความถ่อยว่ะ แปลกเหรอ--ประกาศก้อง 20:23, 21 มีนาคม 2553 (ICT)

แจ้งไม่เป็นกลาง

[แก้]

แจ้งไม่เป็นกลางในส่วน คดีความ เพราะอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการมากเกินควร อาจมีปัญหาเรื่องส่วนได้เสียกับประเด็นดังดล่าว --Horus | พูดคุย 19:54, 18 พฤษภาคม 2554 (ICT)