ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุทธ���ฆษาจารย์

(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ชื่ออื่นสมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต
ส่วนบุคคล
เกิด12 มกราคม พ.ศ. 2481 (86 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษา- นักธรรมชั้นเอก
- เปรียญธรรม 9 ประโยค
- พุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดญาณเวศกวัน นครปฐม
บรรพชา10 พฤษภาคม พ.ศ. 2494
อุปสมบท24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
พรรษา64
ตำแหน่ง- ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม
- เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน
- อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
- อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์

ศาสตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือที่รู้จักในนามปากกา "ป. อ. ปยุตฺโต" เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษามหาเถรสมาคม ศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม

เป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวไทย ผู้ได้รับสมัญญาว่า "พระผู้ทำสงฆ์ให้งาม" และ "ตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่"

เป็นพระนักวิชาการ นักคิด นักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงาน เช่น พุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสน์ กาลานุกรม จาริกบุญ-จารึกธรรม ธรรมนูญชีวิต คู่มือชีวิต ฯลฯ

เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกที่เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ไม่ใช่พระอารามหลวง)

เป็นสามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยค นับเป็นรูปที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และเป็นรูปที่ 4 ในสมัยรัตนโกสินทร์

เป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยที่ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากสถาบันต่าง ๆ มากที่สุดในปัจจุบัน เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)[1] และได้รับถวายวุฒิฐานะจากสถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย ให้เป็น "ตรีปิฎกาจารย์" คือ ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นรูปที่ 2 ของโลก นับจากพระภิกษุเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) ประเทศจีน

นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา[2] และเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์อีกด้วย

ประวัติ

[แก้]

ชาติภูมิ

[แก้]

ชื่อ ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร ชาตะ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 (นับตามศักราชปัจจุบัน คือ พ.ศ. 2482) ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ณ บ้านร้านใบรัตนาคาร เลขที่ 49 ใกล้แม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ฝั่งตะวันออก ในตลาดศรีประจันต์ ตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 9 คน ของนายสำราญ อารยางกูร กับนางชุนกี อารยางกูร (นามสกุลเดิม สมบูรณ์วิทย์) ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เช่น ผ้าแพร ผ้าไหม ของชำ และธุรกิจโรงสีไฟ

วัยเยาว์

[แก้]

เมื่ออายุ 6 ขวบ เข้าเรียนชั้นอนุบาลในโรงเรียนอนุบาลครูเฉลียวที่ตลาดศรีประจันต์ แล้วจบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (โรงเรียนวัดยาง) ตลาดศรีประจันต์

จากนั้นบิดาได้พาเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนปทุมคงคา โดยพักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ ถนนวรจักร เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กเรียนเก่ง จึงได้รับทุนเรียนดีจากกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นผู้มีความใส่ใจในการเรียนมาก ช่วงเวลาปิดเทอมกลับมาอยู่ที่บ้าน ก็สามารถสอนภาษาอังกฤษแก่น้อง ๆ ได้ มีนิสัยรักการอ่านหนังสือ ชอบหนังสือต่าง ๆ โดยเฉพาะสารานุกรม แล้วยังฝึกเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง

เนื่องจากเป็นเด็กสุขภาพไม่ใคร่ดีตั้งแต่เล็กจนโต จากคำบอกเล่าของญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดเล่าว่า วัยเยาว์ของท่านควบคู่ไปกับการเจ็บป่วยเรื่อยมา เป็นเกือบทุกโรค เป็นต้นว่า หัวใจรั่ว ท้องเสีย ท้องอืด ต้องผ่าตัดถึงสองครั้ง หูเป็นน้ำหนวกอักเสบเข้าไปในกระดูกพรุนถึงโพรงศีรษะ แพ้อากาศ โรคปอด นิ่วในไต หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อแขนอักเสบ ไวรัสเข้าตา สายเสียงอักเสบ เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองข้างซ้ายเล็กลีบ เป็นต้น จากสุขภาพที่ไม่แข็งแรงเช่นนี้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนตามปกติ

บรรพชา

[แก้]

หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทางบ้านจึงสนับสนุนให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ด้วยเล็งเห็นว่าการอยู่ในเพศบรรพชิตจะเอื้ออำนวยต่อการศึกษาได้มากกว่า ไม่ต้องยุ่งยากเดินทางไปโรงเรียน และยังสามารถศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดได้

ท่านจึงบรรพชาที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้าน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 โดย พระครูเมธีธรรมสาร (ไสว ธมฺมสาโร) เจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระเมธีธรรมสาร) เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านกร่าง ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม สอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ.2495 ย้ายมาอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ในสมัยพระวิกรมมุนี (ผล อุปติสฺโส) เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเจ้าอาวาส ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม สอบได้นักธรรมชั้นโท และเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานจบแล้ว พระอาจารย์ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนากรรมฐาน แต่เกิดอาพาธจึงไม่ได้ไป

พ.ศ. 2496 บิดาพาเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร ฝากจำพรรษาอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ ซึ่งมีพระเทพคุณาธาร (ผล ชินปุตฺโต) เป็นญาติผู้ใหญ่และคนบ้านเดียวกับบิดา เป็นเจ้าอาวาส ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม สอบได้นักธรรมชั้นเอก แผนกบาลี สอบได้ชั้นเปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลย���ดชมหาราช บรมนาถบพิตร รับเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์

อุปสมบท

[แก้]

เป็นนาคหลวงได้รับการอุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2504 ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร โดย

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดเบญจมบพิตรฯ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระธรรมคุณาภรณ์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา (ภายหลังได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระเทพเมธี (กี มารชิโน) วัดทองนพคุณ (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า ปยุตฺโต [ปะ-ยุด-โต] จึงเป็นที่มาของนามปากกาว่า "ป.อ. ปยุตฺโต" ซึ่งย่อมาจากชื่อ ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร และฉายา ปยุตฺโต

แรงบันดาลใจ

[แก้]

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เคยให้สัมภาษณ์ว่าแรงบันดาลใจที่ทำให้ท่านบรรพชาสามเณรอยู่เป็นระยะเวลานานจนอุปสมบทเป็นพระภิกษุมาตลอด ส่วนหนึ่งเพราะได้อ่านนวนิยายอิงธรรมะของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ทำให้รู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกองทัพธรรม เช่น ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ กองทัพธรรม อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก

การศึกษา

[แก้]

ตำแหน่ง

[แก้]

งานปกครอง

[แก้]

งานเผยแผ่

[แก้]
  • เป็นผู้บรรยาย ปาฐกถา และธรรมเทศนา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • เป็นนักเขียน มีผู้ขอนำงานเขียนไปพิมพ์เป็นหนังสือแจกจ่าย (นับถึงปี พ.ศ.2550) กว่า 327 เรื่อง นอกจากนี้ยังมี CD ธรรม ที่จัดทำเผยแพร่ในระบบ MP3 เป็นจำนวนมาก

งานการศึกษา

[แก้]
  • พ.ศ. 2505 - 2507 เป็นอาจารย์สอนในแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2507 - 2517 เป็นอาจารย์สอนชั้นปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2507 - 2517 เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ และต่อมาเป็นรองเลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2515 เป็นผู้บรรยาย "พุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทย" ที่ University Museum, University of Pennsylvania
  • พ.ศ. 2519 - 2521 เป็นผู้บรรยายวิชาพระพุทธศาสนา ที่ Swarthmore College, Pennsylvania
  • พ.ศ. 2524 เป็น Visiting Scholar ที่ Center for the Study of World Religions, เป็นผู้บรรยายวิชาพระพุทธศาสนาที่ Divinity Faculty และ Arts Faculty, Harvard University

งานพิเศษ

[แก้]
  • พ.ศ. 2530 เป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ซึ่งสำเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรกของโลก
  • เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ประจำมูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์

สมณศักดิ์

[แก้]

เกียรติคุณ

[แก้]

ตลอดชีวิตของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้รับยกย่องว่าเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่เคยต้องอธิกรณ์ใด ๆ ท่านได้ใช้ความรู้พระไตรปิฎกแท้ ๆ เพื่อช่วยปกป้องสังฆมณฑลในประเทศไทยหลายกรณี ไม่ว่า กรณีสันติอโศกหรือกรณีวัดพระธรรมกาย ท่านได้ช่วยชี้แจงให้คนไทยได้รับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่ถูกต้องเอาไว้หลายครั้ง

ในขณะเดียวกัน ท่านยังมีบทบาทในการชี้แนะสังคมไทยในด้านการบริหารประเทศหลายครั้ง เช่น ในหนังสือ มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของระบบทุนนิยมเสรีในประเทศไทย และยังได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมตะวันตก หรืออเมริกา มีบางแง่มุมที่ไม่ควรเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศไทย ที่จะทำให้เน้นแต่พัฒนาวัตถุ ทำให้นักคิดไทยหลายคนตื่นตัวนำหลักพุทธธรรมเป็นแนวในการพัฒนา

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วุฒิฐานะ ประกาศเกียรติคุณและรางวัลต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังนี้

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2525 พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2529 ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2529 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2530 ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์ - การสอน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2531 อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2531 ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2533 การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ. 2536 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พ.ศ. 2537 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2538 อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2541 วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2544 ศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาพุทธศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2544 ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาพระพุทธศาสนา) สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พ.ศ. 2545 ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาการบริหารองค์กร) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พ.ศ. 2552 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา) มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พ.ศ. 2552 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พ.ศ. 2552 นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พ.ศ. 2553 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาทรัพยากรมนุษย์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พ.ศ. 2554 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • พ.ศ. 2561 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วุฒิฐานะ

[แก้]
  • พ.ศ. 2524 เป็น Research Fellow in World Religions, Faculty of Divinity, Harvard University
  • พ.ศ. 2538 เป็น ตรีปิฏกาจารย์ Navanalanda Mahavihara ประเทศอินเดีย
  • พ.ศ. 2538 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2539 เป็น Honorary Fellow, The Royal College of Physicians of Thailand
  • พ.ศ. 2544 เป็น ศาสตราจารย์พิเศษ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[2]
  • พ.ศ. 2547 เป็น เมธาจารย์ (Most Eminent Scholar) มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก (World Buddhist University)
  • พ.ศ. 2549 เป็น ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ราชบัณฑิตยสถาน[9]
  • พ.ศ. 2560 เป็น ผู้สูงอายุแห่งชาติ พุทธศักราช 2560 กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ประกาศเกียรติคุณ และรางวัล

[แก้]
  • พ.ศ. 2525 ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
  • พ.ศ. 2525 รางวัลวรรณกรรมชั้นที่ 1 ประเภทร้อยแก้ว สำหรับงานนิพนธ์พุทธธรรม จากมูลนิธิ ธนาคารกรุงเทพ
  • พ.ศ. 2532 โล่รางวัลพระราชทาน "มหิดลวรานุสรณ์"
  • พ.ศ. 2532 โล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา ในวาระครบรอบ 20 ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2533 รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ "สังข์เงิน" สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • พ.ศ. 2537 รางวัล "การศึกษาเพื่อสันติภาพ" จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
  • พ.ศ. 2541 รางวัล TTF Award สาขาสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา สำหรับผลงานทางวิชาการดีเด่น หนังสือการพัฒนาที่ยั่งยืน จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
  • พ.ศ. 2544 รางวัล "สาโรช บัวศรี ปราชญ์ผู้ทรงศีล" จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ. 2550 ประกาศเกียรติคุณ เป็น "ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ" ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2552 ประกาศเกียรติคุณ เป็น "ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย" จาก คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2552 โล่วัชรเกียรติคุณ จาก คณะกรรมการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม
  • พ.ศ. 2555 ประกาศเกียรติคุณสดุดี "พระสงฆ์ดีเด่นประจำปี" จาก ศูนย์ประสานงานองค์การเอกชนจังหวัดนครปฐม
  • พ.ศ. 2555 รางวัล “ศาสตรเมธี” จาก มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
  • พ.ศ. 2555 โล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ในวโรกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เจริญพระชนมายุ 99 พรรษา
  • พ.ศ. 2556 รางวัล "TTF AWARD เกียรติยศ ประจำปี 2556" จากผลงานเขียนหนังสือ พุทธธรรม
  • พ.ศ. 2556 รางวัล "บุคคลเกียรติยศของสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556"
  • พ.ศ. 2558 รางวัล "100 ปี ชาตกาล หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก"
  • พ.ศ. 2559 ประกาศเกียรติคุณ โดยประกาศคุรุสภา เป็น "ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2560"
  • พ.ศ. 2560 รางวัล "ผู้ทำ��ุณประโยชน์ดีเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์" (Human Resource Excellence Award) ในโอกาสครบรอบ 36 ปี การสถาปนาสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2562 รางวัล "นราธิปพงศ์ประพันธ์" จาก สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

ผลงานหนังสือ

[แก้]
  • พุทธธรรม
  • พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์
  • พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม
  • สถาบันสงฆ์กับสังคมไทยในปัจจุบัน
  • รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • จารึกอโศก
  • ธรรมนูญชีวิต
  • มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย
  • พระพุทธศาสนากับสังคมไทย
  • การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • นรก- สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
  • เมื่อธรรมดามาถึง รู้ให้ทันและทำให้ถูก
  • ลักษณะสังคมพุทธ
  • กรณีธรรมกาย:บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย
  • ตื่น กันเสียที จากความเท็จของหนังสือ "เหตุเกิด พ.ศ. 1" และสืบเนื่องจากภาพยนตร์เรื่อง กำเนิดพระพุทธเจ้า บทเรียนที่มักถูกลืม
  • ศึกษา ฝึกฝน พัฒนาตนให้สูงสุด
  • แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
  • ทำอย่างไร? จะพูดได้เต็มปากว่า...เรารักในหลวง
  • ฅนไทยใช่กบเฒ่า เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
  • นิติศาสตร์แนวพุทธ
  • การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน
  • การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์
  • กรณีเงื่อนงำ:พระพุทธเจ้าปรินิพานด้วยโรคอะไร
  • การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย
  • ศิลปศาสตร์แนวพุทธ
  • ธุดงค์ ทำอะไร ที่ใหน เพื่ออะไร
  • คู่สร้างคู่สม ชีวิตคู่ในอุดมคติ
  • คู่มือชีวิต
  • วิสัยธรรม เพื่อเบิกนำวิสัยทัศน์
  • ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
  • หลักสูตรอารยชน (ฉบับ ไทย-อังกฤษ )
  • ถ้าเชิดชูพระคุณแม่ขึ้นมาได้ สังคมไทยไม่สิ้นความหวัง
  • ทำอย่างไรจะหายโกรษ
  • เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
  • ร่าเริงสดใสสู่ความเกษมศานต์
  • ปัญหาขัดแย้งในโลก แก้ได้ด้วยกฐิน
  • กาลานุกรม
  • วิถีสู่สันติภาพ
  • บทนำสู่พุทธธรรม
  • สถาบันสงฆ์กับสังคมปัจจุบัน
  • สันติภาพเกิดจากอิสรภาพและความสุข
  • ถึงเวลา มารื้อปรับระบบพัฒนาคนกันใหม่
  • ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ใหน
  • ขอคำตอบจาก ผบ.ทหารสูงสุด
  • เกณฑ์วิฉัย ความหมายและคุณค่าของพุทธธรรม
  • คนไทยกับเทคโนโลยี
  • ข้อคิดชีวิตทวนกระแส
  • ก้าวใหม่ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • คติจตุคามรามเทพ
  • ของขวัญของชีวิต
  • คนไทยกับป่า
  • จาริกบุญ จารึกธรรม
  • มองธรรมถูกทาง มีสุขทุกที่
  • ครองเรือน ครองรัก จักเลิศแท้ด้วยครองธรรม
  • ถ้ารู้จักพระพุทธศาสนา ความสุขต้องมาทันที
  • รักษาโรคยามป่วยไข้
  • เมืองไทยจะวิกฤต ถ้าคนไทยมีศรัทธาวิปริต
  • รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง
  • การเกิดเป็นทุกข์ เกิดดีเป็นสุข
  • ตอบเรื่อง สีลัพพตปรามาส วินัย ดูใจ
  • หลักชาวพุทธ (ฉบับ ไทย-อังกฤษ )
  • ระลึกถึงความตาย และวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องต่อความตาย
  • ร่ำรวย ยิ่งใหญ่ เลื่อนลอย หรือเพื่ออะไร?
  • ตามทางพุทธกิจ
  • วันสำคัญของชาวพุทธไทย
  • สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ
  • หลักชาวพุทธ: จุดเริ่มจุดร่วมที่มารวมกันรุ่งโรจน์
  • สมาธิ:ฐานสู่สุขภาพจิตและสติปัญญาหยั่งรู้
  • เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม
  • ตอบดร.มาร์ติน พุทธวินัยถึงภิกษุณี
  • พรที่สัมฤทธิ์ผลแก่ผู้ดำเนินชีวิตที่ดี
  • พัฒนาสังคมไทย ด้วยความรู้เข้าใจไตรภูมิ
  • สถานการณ์พระพุทธศาสนา : ทวนกระแสไสยศาสตร์
  • ฯลฯ

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ .เว็บไซต์องค์การยูเนสโก
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ, เล่ม ๑๑๘, ตอน ๘๔ ง, ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๖, ตอน ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ, ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒, หน้า ๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๐, ตอน ๑๗๗, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖, หน้า ๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๔, ตอน ๒๕๓, ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐, หน้า ๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๐๒, ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๑, ตอน ๑๗ ข, ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์,เล่ม 133, ตอนที่ 42 ข, 5 ธันวาคม 2559, หน้า 1
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พระพรหมคุณาภรณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ถัดไป
พระครูวินัยธร ใช้เลี้ยง จารุวณฺโณ
เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์
(พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2521)
พระครูปลัด สมัย กิตฺติทตฺโต
เริ่มตำแหน่ง
เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน
(พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในสมณศักดิ์