สยามใน พ.ศ. 2476
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ประเทศไทยใน พ.ศ. 2476)
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) ในประเทศสยาม
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นายกรัฐมนตรี:
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (อิสระ) (จนถึง 21 มิถุนายน)
- พระยาพหลพลพยุหเสนา (คณะราษฎร) (ตั้งแต่ 21 มิถุนายน)
- สภาผู้แทนราษฎร:
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- เจ้าพระยาพิชัยญาติ (แต่งตั้ง) (จนถึง 10 ธันวาคม)
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 15 ธันวาคม)
- อธิบดีศาลฎีกา:
- พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (จนถึง 1 มกราคม)
- พระยาศรีสังกร (ตั้งแต่ 1 มกราคม)
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครเชียงใหม่: เจ้าแก้วนวรัฐ
- นครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เหตุการณ์
[แก้]มีนาคม
[แก้]- 15 มีนาคม – หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เสนอ "เค้าโครงร่างเศรษฐกิจ" ("สมุดปกเหลือง")[1][2]
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน – รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476: พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรี ออกพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา[3] บ้างอธิบายว่าพฤติการณ์ดังกล่าวว่าเพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่ โดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี
- 2 เมษายน – มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
- 12 เมษายน – หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากความ���ห็นของปรีดีถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ภายหลังการเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ[4]
มิถุนายน
[แก้]- 10 มิถุนายน – พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์ ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก
- 20 มิถุนายน – รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476: นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) โดยให้เหตุผลว่าการปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นเผด็จการ จากนั้นมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
กรกฎาคม
[แก้]- 2 กรกฎาคม – ศาลาเฉลิมกรุง เปิดฉายเป็นครั้งแรกและภาพยนตร์เรื่องแรก คือ เรื่อง "มหาภัยใต้สมุทร"
กันยายน
[แก้]- 29 กันยายน – หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เดินทางกลับประเทศไทย
ตุลาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน – มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 นับเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย
- 11 ตุลาคม – สงครามกลางเมือง พ.ศ. 2476:
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล โดยระบุเหตผลว่ารัฐบาลปล่อยให้มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปล่อยให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ - 25 ตุลาคม – หลังทราบว่าคณะกบฏแพ้ต่อรัฐบาลแน่แล้ว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส
พฤศจิกายน
[แก้]- 7 พฤศจิกายน – มีการออก พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2476 อันเป็นเครื่องมือที่จะตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
ธันวาคม
[แก้]- 16 ธันวาคม – พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 (1 ตุลาคม - 15 พฤษภาคม 2476)
- 25 ธันวาคม – หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ทรงเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่ปรีดี พนมยงค์ เป็นคอมมิวนิสต์ ได้มีการลงมติว่าปรีดีมิได้เป็น
วันเกิด
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ – ชรินทร์ นันทนาคร ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
เมษายน
[แก้]- 2 เมษายน – วิเชษฐ การุณยวนิช นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 18 กันยายน พ.ศ. 2565)
- 21 เมษายน – เจริญ คันธวงศ์ นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565)
พฤษภาคม
[แก้]- 26 พฤษภาคม – หม่อมหลวงเสรี ปราโมช (ถึงแก่กรรม 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537)
มิถุนายน
[แก้]- 1 มิถุนายน – เชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ถึงแก่อนิจกรรม 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544)
- 2 มิถุนายน – หม่อมราชวงศ์เพ็ญพิไชย เพ็ญพัฒน์
- 18 มิถุนายน – วิจิตร สุขมาก นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566)
- 19 มิถุนายน – อนันต์ กลินทะ นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562)
กรกฎาคม
[แก้]- 25 กรกฎาคม – พิทยา บุณยรัตพันธุ์ นักร้อง (ถึงแก่กรรม 14 เมษายน พ.ศ. 2553)
สิงหาคม
[แก้]- 4 สิงหาคม – พันธุ์วโรภาส เศวตรุนทร์
- 6 สิงหาคม – สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี
- 30 สิงหาคม – ประยูร ยมเยี่ยม ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)
กันยายน
[แก้]- 3 กันยายน – หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี (ถึงแก่อนิจกรรม 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
- 5 กันยายน – ชัชชม กันหลง นักการเมือง
- 13 กันยายน – อุดร ตันติสุนทร นักการเมือง
- 24 กันยายน – พันธุ์สวลี กิติยากร
ตุลาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม – ไพโรจน์ ไชยพร นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544)
- 20 ตุลาคม – มรกต กรเกษม นักการเมือง
- 24 ตุลาคม – หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์
พฤศจิกายน
[แก้]- 20 พฤศจิกายน – อิสระพงศ์ หนุนภักดี นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)
ธันวาคม
[แก้]- 7 ธันวาคม – วิโรจน์ เปาอินทร์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 19 ธันวาคม
- หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี (ถึงแก่อนิจกรรม 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562)
- อมเรศ ศิลาอ่อน นักการเมือง
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]- 6 มกราคม – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม (ประสูติ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2419)
พฤษภาคม
[แก้]- 25 พฤษภาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ (ประสูติ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428)
ธันวาคม
[แก้]- 9 ธันวาคม – เจ้าดารารัศมี พระราชชายา (ประสูติ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416)
- 20 ธันวาคม – หม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์ (ประสูติ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2431)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "www.pridi-fo.th.com ปฏิทินชีวิต นายปรีดี พนมยงค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-20.
- ↑ อนุสรณ์ ธรรมใจ, ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ พุทธศักราช 2547 เก็บถาวร 2016-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 24 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร
- ↑ บทความ เมรุคราวกบฏบวร: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง ชาตรี ประกิตนนทการ - นิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย. 2550
- ↑ "geocities.com/siamintellect ชีวประวัติ ปรีดี พนมยงค์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-23. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.