จักรวรรดิจีน (ค.ศ. 1915–1916)
จักรวรรดิจีน 中華帝國 Zhōnghuá Dìguó | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1915–ค.ศ. 1916 | |||||||||
แผนที่แสดงเหตุการณ์ในประเทศจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1911–1916 | |||||||||
เมืองหลวง | เป่ย์จิง 39°54′N 116°23′E / 39.900°N 116.383°E | ||||||||
ภาษาทั่วไป | จีน | ||||||||
ศาสนา | พุทธ คริสต์ | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||
• ค.ศ. 1915–16 | จักรพรรดิหงเซียน | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• ค.ศ. 1915–16 | ลู่ เจิงเซียง | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่ 1 | ||||||||
• สถาปนา | 12 ธันวาคม ค.ศ. 1915 | ||||||||
25 ธันวาคม ค.ศ. 1915 | |||||||||
• เริ่มสมัยขุนศึก | 22 มีนาคม ค.ศ. 1916 | ||||||||
• ยฺเหวียน ชื่อไข่ เสียชีวิต | 6 มิถุนายน ค.ศ. 1916 | ||||||||
สกุลเงิน | หยวน | ||||||||
รหัส ISO 3166 | CN | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | จีน ไต้หวัน มองโกเลีย รัสเซีย ทาจิกิสถาน พม่า อัฟกานิสถาน อินเดีย ปากีสถาน ภูฏาน |
จักรวรรดิจีน (จีน: 中華帝國; พินอิน: Zhōnghuá Dìguó; อังกฤษ: Empire of China) เป็นการปกครองซึ่งดำรงอยู่ในช่วงสั้น ๆ ในประเทศจีนตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 1915 ถึงต้น ค.ศ. 1916 หลังจากขุนพลยฺเหวี���น ชื่อไข่ (袁世凱) ยุบสาธารณรัฐ แล้วจัดตั้งจักรวรรดิขึ้นแทน ก่อนตั้งตัวเป็นจักรพรรดิ การรื้อฟื้นราชาธิปไตยนี้ทำให้การวางรากฐานสาธารณรัฐต้องล่าถอยไปหลายปี ทั้งนำพาบ้านเมืองเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการแก่งแย่งชิงดีของแม่ทัพนายกอง
การเตรียมจัดตั้ง
[แก้]หลังยฺเหวียน ชื่อไข่ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวคนที่สองของสาธารณรัฐจีน เขาดำเนินการหลายอย่างเพื่อรวบอำนาจและกำจัดผู้นำฝ่ายค้าน เขาร่วมมือกับมหาอำนาจยุโรปหลายชาติกับทั้งชาติบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างญี่ปุ่นเพื่อให้อำนาจของตัวมั่นคง ราวเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1915 เขาสั่งให้หยาง ตู้ (楊度) และคนอื่น ๆ ออกหาเสียงหนุนการรื้อฟื้นราชาธิปไตย ครั้นวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1915 สภานิติบัญญัติของสาธารณรัฐจีนลงคะแนนเสียงเอกฉันท์เลือกตั้งเขาเป็นจักรพรรดิ เขาทำทีปฏิเสธ สภาจึงร้องขอเขาอีกครั้ง และครั้งนี้เขายินยอม[1]
วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1915 ยฺเหวียน ชื่อไข่ เคียงคู่มากับลูกชายของตัว คือ ยฺเหวียน เค่อติ้ง (袁克定) ก็ประกาศตนเป็นจักรพรรดิจีน เรียกขานตัวว่า "มหาจักรพรรดิจักรวรรดิจีน" (中華帝國大皇帝) และใช้นามรัชศกว่า "หงเซี่ยน" (洪憲; "ธรรมนูญสมบูรณ์พร้อม") แต่ยฺเหวียน ชื่อไข่ เลื่อนราชาภิเษกออกไปจนวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1916 เขาสั่งให้ถอดเครื่องแบบแมนจูออกจากวัฒนธรรมของชาติ แล้วให้นำชุดชาวฮั่นกลับมาใช้โดยดัดแปลงบางประการ เขาสวมชุดชาวฮั่นในงานซ้อมใหญ่ราชาภิเษก แต่อนุภริยาชาวเกาหลีของเขาสร้างความปั่นป่วนในงานดังกล่าว เมื่อเป็นจักรพรรดิแล้ว เขาตั้งญาติสนิทมิตรสหายเป็นราชวงศ์ทรงศักดิ์ต่าง ๆ ทั้งยังหว่านยศศักดิ์ให้แก่บุคคลทั้งหลายที่เขาคิดว่าซื้อได้ด้วยลาภยศ
เวลานั้น สกุลอ้ายซินเจว๋หลัว (愛新覺羅) ของราชวงศ์ชิงที่ล่มสลายลง ยังพำนักอยู่ ณ พระราชวังต้องห้ามในฐานะราชวงศ์ต่างประเทศ ราชสกุลอ้ายซินเจว๋หลัวยอมรับการครองราชย์ของยฺเหวียน ชื่อไข่ และยังมีการเสนอให้อดีตจักรพรรดิผู่อี๋ (溥儀) สมรสกับธิดาของยฺเหวียน ชื่อไข่
ความสั่นคลอน
[แก้]ค.ศ. 1916 นับเป็นปีที่ 1 แห่งรัชกาลหงเซี่ยนของยฺเหวียน ชื่อไข่ แทนที่จะได้เป็นปีที่ 5 ของยุคสาธารณรัฐ[1] ยฺเหวียน ชื่อไข่ จึงถูกต่อต้านทั้งจากนักปฏิวัติ และแม่ทัพนายกองใต้บังคับบัญชาของเขาเอง เพราะเชื่อว่า เขารื้อระบอบกษัตริย์ขึ้นเพื่อจะได้ครองอำนาจโดยไม่ต้องอาศัยแรงหนุนจากฝ่ายทหารอีกต่อไป
นับแต่เขาประกาศตัวเป็นจักรพรรดิ เกิดกบฏต่อต้านเขาจากมณฑลหนึ่งไปสู่มณฑลหนึ่ง เริ่มจากหยุนหนาน ซึ่งมีผู้นำ คือ ไช่ เอ้อ (蔡鍔) ผู้ว่าการมณฑลที่เขาแต่งตั้งเอง กับถัง จี้เหยา (唐繼堯) นายทัพของเขา ตามด้วยเจียงซี ซึ่งมีผู้นำ คือ หลี่ เลี่ยจวิน (李烈钧) ผู้ว่าการมณฑล กลุ่มผู้ต่อต้านรวมตัวกันเป็นทัพคุ้มชาติ (護國軍) ก่อให้เกิดสงครามคุ้มชาติ (護國戰爭) และส่งผลให้มณฑลอื่น ๆ ประกาศไม่ขึ้นตรงต่อจักรวรรดิ ฝ่ายทหารทัพเป่ย์หยาง (北洋軍) ของเขา ซึ่งไม่ได้รับค่าตอบแทนจากรัฐบาลจักรวรรดิเขามาครั้งหนึ่งแล้ว ก็ไม่นำพาต่อสถานการณ์ และที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ทัพคุ้มชาติ แม้ฝึกหัดมาดีและมียุทโธปกรณ์ดีกว่า
เมื่อเห็นว่า ยฺเหวียน ชื่อไข่ อ่อนแอและไม่เป็นที่นิยม มหาอำนาจต่างชาติก็ถอนความช่วยเหลือจากเขา แม้ยังไม่เลือกข้างก็ตาม จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มด้วยขู่เข็ญว่าจะรุกราน แล้วปฏิญาณว่า จะโค่นล้มจักรวรรดิของเขา ทั้งถือว่า "มีสถานะสงคราม" ระหว่างประเทศคู่ขัดแย้งทั้งสอง พร้อมยินยอมให้พลเมืองญี่ปุ่นเข้าช่วยเหลือฝ่ายสาธารณรัฐได้[1]
เพราะต้องเผชิญการต่อต้านถ้วนหน้า ยฺเหวียน ชื่อไข่ จึงเลื่อนราชาภิเษกออกไป เพื่อบรรเทาความไม่พอใจของฝ่ายตรงข้าม ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1916 เขาประกาศตัดงบงานราชาภิเษกลง ครั้นวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1916 เขาหารือเรื่องล้มเลิกจักรวรรดิกับเหลียง ชื่ออี๋ (梁士詒) รัฐมนตรีของตัว แล้วจึงประกาศยุติจักรวรรดิในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1916 รัชศกหงเซี่ยนของเขาสิ้นสุดลงในวันที่ 23 มีนาคม ��.ศ. 1916 และมีการรื้อฟื้นสาธารณรัฐ เขาอยู่ในราชสมบัติ 83 วัน[1]
เมื่อยฺเหวียน ชื่อไข่ เสียชีวิตในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1916 หลี ยฺเหวียนหง (黎元洪) รองประธานาธิบดี ก็ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และตั้งตวั้น ฉีรุ่ย (段祺瑞) ขุนพลทัพเป่ย์หยาง เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมรื้อฟื้นสมัชชาแห่งชาติกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่อำนาจส่วนกลางของรัฐบาลในกรุงเป่ย์จิงนั้นอ่อนแอนัก ทั้งการตายของยฺเหวียน ชื่อไข่ ก็ทำให้ประเทศจีนเข้าสู่สมัยขุนศึก (軍閥時代) ซึ่งแม่ทัพนายกองช่วงชิงอำนาจกัน
สัญลักษณ์ประจำชาติ
[แก้]แม้เปลี่ยนชื่อประเทศในภาษาจีน จาก "สาธารณรัฐจีน" เป็น "จักรวรรดิจีน" (หรือ "หงเซี่ยน" ในเอกสารราชการ) แต่ยฺเหวียน ชื่อไข่ ยังคงใช้คำว่า "สาธารณรัฐจีน" เป็นชื่อประเทศในภาษาอังกฤษต่อไป[1]
ยฺเหวียน ชื่อไข่ ตั้งกรมพิธีการ (禮制館) เพื่อกำหนดเพลงชาติอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐจีนเสียใหม่ เพลงดังกล่าวออกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1915 ชื่อ "จงกั๋วสฺยงลี่-อฺวี่โจ้วเจียน" (中國雄立宇宙間; "เมืองจีนยืนแกร่งกลางพิภพ") ผู้เขียนเนื้อร้อง คือ อิ้น ชาง (廕昌) ผู้แต่งทำนอง คือ หวัง ลู่ (王露) เมื่อยุบสาธารณรัฐและตั้งจักรวรรดิขึ้นแทนแล้ว มีการแก้เนื้อร้องเล็กน้อยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1915 โดยเปลี่ยน "ก้งเหออู่จู๋" (共和五族; "ห้าชนหลอมรวม") เป็น "ซฺวินหฺวาอีร่าง" [勳華揖讓; ชื่อเรียกระบอบการปกครองโบราณสมัยจักรพรรดิเหยา (尧) และจักรพรรดิชุ่น (帝舜)]
เนื้อร้องจีน | คำอ่าน | คำแปล |
---|---|---|
|
|
|
ธงชาติยังเปลี่ยนจากแบบเดิมที่มี 5 ริ้ว เป็นแบบใหม่มีริ้วสีแดงอยู่กลาง ปรกติริ้วดังกล่าวเป็นกากบาททแยง แต่บางทีก็เป็นกากบาทตั้ง
ตราแผ่นดิน คือ ตราแผ่นดินสิบสองสัญลักษณ์ (十二章國徽)
รายการยศศักดิ์ที่แต่งตั้งในสมัยนี้
[แก้]ต่อไปนี้เป็นรายการยศศักดิ์ที่ ยฺเหวียน ชื่อไข่ แต่งตั้ง พร้อมด้วยรายชื่อผู้ได้รับแต่งตั้ง
หฺวางไท่จื่อ
[แก้]- หฺวางไท่จื่อ (皇太子; "รัชทายาท")
- ยฺเหวียน เค่อติ้ง (袁克定)
อู่อี้ชินหวัง
[แก้]- อู่อี้ชินหวัง (武義親王; "เจ้าชายสายพระโลหิตแห่งอู่อี้")
- ข่ง ลิ่งอี๋ (孔令貽) บรรดาศักดิ��หยั่นเชิ่งกง (衍聖公)[3]
- หลี ยฺเหวียนหง (黎元洪)
อีเติ่งกง
[แก้]- อีเติ่งกง (一等公; "กงชั้น 1")
- จาง ซฺวิน (張勳)
- เจียง กุ้ยถี (姜桂題)
- ตวั้น จือกุ้ย (段芝貴)
- เฝิง กั๋วจาง (馮國璋)
- หนี ซื่อชง (倪嗣衝)
- หลง จี้กวัง (龍濟光)
- หลิว กวันสฺยง (劉冠雄)
อีเติ่งโหฺว
[แก้]- อีเติ่งโหฺว (一等侯; "โหฺวชั้น 1")
- จ้าว ที่ (趙倜)
- จู รุ่ย (朱瑞)
- เฉิน อี๋ (陳儀)
- ถัง จี้เหยา (唐繼堯)
- ทัง เซียงหมิง (湯薌銘)
- ลู่ หรงถิง (陸榮廷)
- หยัน ซีชาน (閻錫山)
- หลี่ ฉุน (李純)
- หวัง จั้น-ยฺเหวียน (王占元)
อีเติ่งปั๋ว
[แก้]- อีเติ่งปั๋ว (一等伯; "ปั๋วชั้น 1")
- จาง ซี-ลฺหวัน (張錫鑾)
- จาง หมิงฉี (張鳴岐)
- จิ้ง หยุนเผิง (靳雲鵬)
- จู เจียเป่า (朱家寶)
- ฉี เย่าหลิน (齊耀琳)
- เฉา คุน (曹錕)
- ชู อิ้งกวัง (屈映光)
- เถียน เหวินเลี่ย (田文烈)
- เมิ่ง เอิน-ยฺเหวี่ยน (孟恩遠)
- ลู่ เจี้ยนจาง (陸建章)
- หยาง เจิงซิน (楊增新)
- หยาง ช่านเต๋อ (楊善德)
อีเติ่งจื่อ
[แก้]- อีเติ่งจื่อ (一等子; "จื่อชั้น 1")
- จาง กวั่นเจี้ยน (張廣建)
- จู ชิ่งหลัน (朱慶瀾)
- หลิว เสี่ยนชื่อ (劉顯世)
- หลี โฮ่วจี (李厚基)
อีเติ่งหนาน
[แก้]- อีเติ่งหนาน (一等男; "หนานชั้น 1")
- จาง หฺวายจือ (張懷芝)
- จิน หย่ง (金永)
- ฉี หยาง (戚揚)
- เฉิ่น จินเจี้ยน (沈金鑑)
- เฉิน ปิ่งคุน (陳炳焜)
- ไช่ หรูไข่ (蔡儒楷)
- ตวั้น ชู-ยฺหวิน (段書雲)
- พัน จู่อิ๋ง (潘矩楹)
- เริ่น เค่อเฉิง (任可澄)
- ลฺหวี่ เตี้ยว-ยฺเหวียน (呂調元)
- สฺวี่ ชื่ออิง (許世英)
- เหอ จงเหลียน (何宗蓮)
- หม่า อันเหลียง (馬安良)
- หลง จิ้นกวัง (龍覲光)
- หลง เจี้ยนจาง (龍建章)
- หลู หย่งเสียง (盧永祥)
- หวัง อีถัง (王揖唐)
ซานเติ่งหนาน
[แก้]- ซานเติ่งหนาน (三等男; "หนานชั้น 3")
- เฝิง ยฺวี่เสียง (馮玉祥)