คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Economics, Thammasat University | |
สถาปนา | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 |
---|---|
คณบดี | ผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ |
ที่อยู่ | ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 |
วารสาร | วารสารเศรษฐศาสตร์ |
สี | สีเขียว |
มาสคอต | ฟันเฟืองและรวงข้าว |
เว็บไซต์ | www.econ.tu.ac.th |
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นหนึ่งในสี่ของมหาวิทยาลัยภายหลังที่ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และนับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นคณะเศรษฐศาสตร์คณะแรกที่มีการเริ่มใช้หลักสูตรนานาชาติทั้งในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญา ปัจจุบันมีการผลิตนักเศรษฐศาสตร์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเศรษฐกิจต่างๆ ไปพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
ประวัติ
[แก้]พ.ศ. 2477 เมื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาตรีเพียงสาขาเดียวคือ สาขานิติศาสตร์ ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ธ.บ. โดยในภาคที่ 5 และ 6 ของหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต มีวิชาเศรษฐศาสตร์อยู่ 2 วิชา คือ "เศรษฐศาสตร์" และ "ลัทธิเศรษฐกิจ" ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นท่านแรก และศาสตราจารย์ฮัจ เจสสัน เป็นผู้สอนวิชาลัทธิเศรษฐกิจ[1] นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนด้านเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย
ทั้งนี้การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระยะแรก เป็นการสอนตามแนวฝรั่งเศสแบบเก่า อาศัยผู้สอนที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส ยังไม่มีผู้สอนที่จบเศรษฐศาสตร์โดยตรง
ต่อมาเปิดมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาโทและเอก โดยมีศาสตราจารย์แอล ดูปลาตร์ ซึ่งมีตำแหน่งคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
พ.ศ. 2492 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และเปลี่ยนโครงสร้างเป็นคณะต่างๆ โดยได้ประกาศจัดตั้งคณะ 4 คณะ ได้แก่คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 จึงถือเป็นการกำเนิดขึ้นของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นคณบดีคนแรก
พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ารับตำแหน่งคณบดี โดยมีภารกิจสำคัญคือ การสร้างบุคลากร ได้ขอเพิ่มอัตราตำแหน่งอาจารย์ ติดต่อหาทุนเรียนต่อต่างประเทศให้อาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่รับเข้า หาอาจารย์ชาวต่างประเทศมาช่วยปูพื้นความรู้ของอาจารย์ที่จะส่งไปเรียนต่อ และช่วยวางหลักสูตรเศรษฐศาสตร์โดยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ทำให้คณะเศรษฐศาสตร์มีอาจารย์ประจำเพิ่มขึ้นจาก 6 คน เป็น 59 คน ในเวลาเพียง 6 ปี[2]
พ.ศ. 2508 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีภาคค่ำ
พ.ศ. 2509 มีการประกาศใช้หลักสูตรปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ที่ได้มาตรฐานหลักสูตรแรกของไทย ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ สถิติเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร และเศรษฐศาสตร์ประยุกต์[3]
พ.ศ. 2512 ได้เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรแรกในไทย การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษและเรียนเต็มเวลา
พ.ศ. 2536 เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) หลักสูตรและหลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ)
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพของบัณฑิตของคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นที่ยอมรับของทั้งในและนานาประเทศ ซึ่งย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงค��ามมุ่งมั่นและความสามารถของคณาจารย์และบุคลากรในคณะเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บัณฑิตของคณะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศในระดับนโยบายและปฏิบัติ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในองค์กรระหว่างประเทศอีกด้วย
หลักสูตร
[แก้]ปริญญาตรี
[แก้]- เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศบ.) (Bachelor of Economics: B.Econ.) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- เศรษฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศบ.ภาคภาษาอังกฤษ) (Bachelor of Economics, English Programme: B.Econ., English Programme) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ปริญญาโท
[แก้]- เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศม.) (Master of Economics: M.Econ.) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
- เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศม.ภาคภาษาอังกฤษ) (Master of Economics, English Programme: M.Econ., English Programme) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
- เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (ศม.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) (Master of Business Economics,: M.Econ., Business Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติเ���รษฐศาสตร์ (ศศ.ม.นิติเศรษฐศาสตร์)(Master of Arts,: M.A., International Trade Laws and Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเป็นโครงการร่วมกับคณะนิติศาสตร์
ปริญญาเอก
[แก้]- ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หรือ Philosophy of Economics Programme (Ph.D., Economics) ภาคภาษาอังกฤษ ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ทำเนียบคณบดี
[แก้]คณบดีและรักษาการคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4]
รายชื่อ | ตำแหน่ง | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค | รักษาการในตำแหน่งคณบดี | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – XX ตุลาคม พ.ศ. 2492 |
ศาสตราจารย์ ขุนประเสริฐศุภมาตรา | คณบดี | XX ตุลาคม พ.ศ. 2492 – XX กรกฎาคม พ.ศ. 2499 |
ศาสตราจารย์ ดร.สมทบ สุวรรณสุทธิ | คณบดี | XX กรกฎาคม พ.ศ. 2499 – XX กันยายน พ.ศ. 2507 |
ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ | คณบดี | XX กันยายน พ.ศ. 2507 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2514 |
ดร.วิญญู วิจิตรวาทการ | รักษาการแทนคณบดี | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2514 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 |
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี | รักษาการในตำแหน่งคณบดี | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 18 มกราคม พ.ศ. 2517 |
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี | คณบดี | 19 มกราคม พ.ศ. 2517 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม | รักษาการในตำแหน่งคณบดี | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 14 มกราคม พ.ศ. 2518 |
รองศาสตราจารย์ ดร.ลิลี่ โกศัยยานนท์ | คณบดี | 15 มกราคม พ.ศ. 2518 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 |
รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย จรรย์ศุภรินทร์ | คณบดี | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 |
รองศาสตราจารย์ ดร.ลิลี่ โกศัยยานนท์ | รักษาการในตำแหน่งคณบดี | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 – 14 เมษายน พ.ศ. 2521 |
ดร.โฆษะ อารียา | คณบดี | 15 เมษายน พ.ศ. 2521 – 4 เมษายน พ.ศ. 2523 |
ดร.โฆษะ อารียา | รักษาการในตำแหน่งคณบดี | 5 เมษายน พ.ศ. 2523 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 |
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้ว | คณบดี | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 |
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้ว | รักษาการในตำแหน่งคณบดี | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 |
ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม | คณบดี | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 |
อาจารย์ ศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข | คณบดี | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 |
รองศาสตราจารย์ ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ | คณบดี | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 |
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ จุนอนันตธรรม | คณบดี | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 |
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ | คณบดี | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 |
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร | คณบดี | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 |
รองศาสตราจารย์ ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ | คณบดี | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 – 30 เมษายน พ.ศ. 2543 |
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ จุนอนันตธรรม | รักษาการแทนคณบดี | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 |
รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา นิธังกร | คณบดี | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 เมษายน พ.ศ. 2546 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร เลียวไพโรจน์ | รักษาการในตำแหน่งคณบดี | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2546 |
ศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ทินกร | คณบดี | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 |
รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร | คณบดี | 1 เมษายน พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551 |
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี (โพชนุกูล) ซูซูกิ | คณบดี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 |
รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ นิธิประภา | คณบดี | 1 เมษายน พ.ศ. 2554 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 |
ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา | คณบดี | 1 เมษายน พ.ศ. 2557 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 |
รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ | คณบดี | 1 เมษายน พ.ศ. 2560 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 |
รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ | รักษาการแทนคณบดี | 1 เมษายน พ.ศ. 2563 – 30 เมษายน พ.ศ. 2563 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ | คณบดี | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน |
ประธานคณะกรรมการนักศึกษา
[แก้]คณะกรรมการนักศึกษาคณะได้มาโดยการเลือกตั้งทั่วไปภายในคณะ เป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะและรับผิดชอบบริหารกิจกรรมทั้งปวงเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ [5]
รายชื่อ | ตำแหน่ง | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
อรรถกร โพธิ์ใย | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2553 |
ศิรวัฒน์ ภาษาเวทย์ | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2554 |
อุทิศ ถีระแก้ว | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2555 |
วิจิร์ ผสมทรัพย์ | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2556 |
ชุลี กอบวิทยาวงศ์ | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2557 |
โยธิน กิตติธร | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2558 |
กาจบัณฑิต บัณฑิตสกุลพร | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2559 |
จิตชนก ลิ่มสิริตรังค์ | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2560 [6] |
มัธยะ บุญฤทธิ์ลักขณา | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2561 |
กฤตภาส ลิมป์สีสวรรค์ | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2562 |
วีรภัทร แพรสมบูรณ์ | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2563 |
ธีรพงศ์ ชาญจิรกิตติ | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2564 |
ปพนธีร์ สิทธิโชค | ประธานกนศ.ศ. | ปีการศึกษา 2565 |
บุคคลมีชื่อเสียง
[แก้]- ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (คณบดี) ผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" ในปี พ.ศ. 2558 สมาชิกขบวนการเสรีไทย, อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ
- ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม (คณบดี, อธิการบดี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ผศ.ทวี หมื่นนิกร (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) 1 ใน 13 ขบถรัฐธรรมนูญ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา (อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2529, ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศ.ดร.นริศ ชัยสูตร (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศ.ดร.ปราณี ทินกร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศ.ดร.ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ (อาจารย์) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
- ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว (อดีตอาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง (ศิษย์เก่า) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2558, ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (อดีตอาจารย์) นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
- ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ศิษย์เก่า) นักเศรษฐศาสตร์, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประธานกรรมการ ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น
- ดร.วิรไท สันติประภพ (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- ชวรัตน์ ชาญวีรกูล (ศิษย์เก่า) รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นักธุรกิจผู้ก่อตั้ง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (STECON)
- อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- สมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- ศิริกัญญา ตันสกุล (ศิษย์เก่า) นักวิจัยนโยบาย นักการเมือง อดีตประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจของสภาผู้แทนราษฎร รองหัวหน้าพรรคประชาชน
- ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- รศ.ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภาสาขาเศรษฐศาสตร์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ (ศิษย์เก่า) อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน
- รศ.ดร.กนกศักดิ์ แก้วเทพ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตกรรมการ ThaiPBS
- รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อธิการบดีสถาบันปัญญาภิวัฒน์
- รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้อำนวยศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาฯ
- ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ (ศิษย์เก่าปริญญาโท) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย (อดีตอาจารย์) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (อดีตอาจารย์, ศิษย์เก่าปริญญาโท) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัญญาชนสาธารณะ
- ศาสตราภิชาน ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (ศิษย์เก่า) สมาชิกวุฒิสภา, ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์, นักจัดรายการวิทยุ
- รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ผู้เขียนหนังสือ “พระพรหมช่วยอำนวยให้ชุ่มฉ่ำ” งานวิชาการที่ศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- รศ.วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.วิทยากร เชียงกูล (ศิษย์เก่า) นักเขียน, ผู้อำนวยการวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
- ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
- รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรณาธิการนิตยสารวิภาษา
- ผศ.ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) ผู้ก่อตั้งบริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์ จำกัด
- เรวัต พุทธินันทน์ (เต๋อ) (ศิษย์เก่า) ผู้ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด จำกัด
- ผศ.(พิเศษ)ดร.สมชาย หาญหิรัญ (ศิษย์เก่า) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- สมชาย กรุสวนสมบัติ (ศิษย์เก่า) ประธานการสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อดีตรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คอลัมนิสต์เจ้าของนามปากกา "ซูม"
- อดิสร จรณจิตต์ (ศิษย์เก่า) ผู้บริหารในบริษัทเครืออิตัล–ไทย
- ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน), นายกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย
- ดร.กิริฎา เภาพิจิตร (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง พ.ศ. 2553
- กมล กมลตระกูล (ศิษย์เก่า) นักหนังสือพิมพ์
- กรพจน์ อัศวินวิจิตร (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน นักธุรกิจด้านค้าข้าว
- เกษมสันต์ วีระกุล อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิธีกรรายการโทรทัศน์ นักวิชาการด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประธานกรรมการบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
- คำสิงห์ ศรีนอก (ศิษย์เก่า) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- ชนินทร์ ว่องกุศลกิจ (ศิษย์เก่า) ประธานบริหารบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)
- ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช (ศิษย์เก่า) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ (ศิษย์เก่า) นักแต่งเพลง
- สุภชัย ปิติวุฒิ (ศิษย์เก่า) เจ้าของแฟนเพจชาวนาวันหยุด เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว
- ศิริพล ยอดเมืองเจริญ (ศิษย์เก่า) ปลัดกระทรวงพาณิชย์
- อรัญ ธรรมโน (ศิษย์เก่า) ปลัดกระทรวงการคลัง
- ดร.อภิชาติ ดำดี (ศิษย์เก่า) วิทยากร, นักพูด, นักจัดรายการ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549, อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
- สุรางคณา สุนทรพนาเวศ (ศิษย์เก่า) รองนางสาวไทย พ.ศ. 2534, นักแสดง, พิธีกร
- ธีรภัทร์ สัจจกุล (ศิษย์เก่า) นักแสดง, นักร้อง
- รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ (คณบดี) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
- สันติสุข มะโรงศรี (ศิษย์เก่า) ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์
- วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (ศิษย์เก่า) พิธีกร นักผจญภัย นักเขียน นักดนตรี
- วุฒิธร มิลินทจินดา (ศิษย์เก่า) พิธีกร, ประธานบริษัท วู้ดดี้ เวิลด์ จำกัด
- ผศ.ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง พ.ศ. 2554
- โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์ (โอบ) (ศิษย์เก่า) นักแสดงสังกัด จีดีเอช ห้าห้าเก้า
- ณัฐวุฒิ เจนมานะ (ศิษย์เก่า) ผู้เข้าประกวดรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 1, นักดนตรี, นักเขียน
- ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร (ศิษย์เก่า) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2554
- เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร (วิน) (ศิษย์เก่า) นักแสดงสังกัด จีเอ็มเอ็มทีวี
- พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน (ศิษย์เก่า) พระอุปัฏฐากพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด
- ดุสิตา กิติสาระกุลชัย (แนทเธอรีน) นักร้อง, นางแบบ, นักแสดง, อดีตสมาชิกวง BNK48 รุ่นที่ 2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศาสตราจารย์เดือน บุนนาค. (2508). ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์จนมาตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ อนุสารเศรษฐศาสตร์ ฉบับต้อนรับเพื่อนใหม่ ปี 2508 ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- ↑ วรวุฒิ หิรัญรักษ์.(2537) 45 ปีของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- ↑ วรากรณ์ สามโกเศศ. วิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย. เศรษฐสาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 (ธันวาคม 2530). คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- ↑ [1] ทำเนียบคณบดี
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-11. สืบค้นเมื่อ 2018-04-05.
- ↑ http://www.econ.tu.ac.th/?action=&type=content&menu=8&pgmenu=83&lang=th&link=#cnt439