ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระทรวงวัฒนธรรม
Ministry of Culture
เครื่องหมายราชการ
ตราเปลวเพลิงภายในบุษบก
ตราพระพรหม
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้ง12 มีนาคม พ.ศ. 2495; 72 ปีก่อน (2495-03-12) (ครั้งแรก)
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545; 22 ปีก่อน (2545-10-03) (ครั้งที่ 2)
กระทรวงก่อนหน้า
  • กองวัฒนธรรม
ยุบเลิก29 สิงหาคม พ.ศ. 2501; 66 ปีก่อน (2501-08-29) (ครั้งแรก)[1]
ประเภทกระทรวง
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 10 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฎ์ ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
บุคลากร9,379 คน (พ.ศ. 2564)[2]
งบประมาณต่อปี8,821,777,300 บาท
(พ.ศ. 2568)[3]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารกระทรวง
  • ประสพ เรียงเงิน, ปลัดกระทรวง
  • ยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา, รองปลัดกระทรวง
  • โชติกา อัครกิจโสภากุล, รองปลัดกระทรวง
ต้นสังกัดกระทรวงรัฐบาลไทย
ลูกสังกัดกระทรวง
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

กระทรวงวัฒนธรรม (อังกฤษ: Ministry of Culture) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีอื่น ๆ

ประวัติ

การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติ มีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย รูปแบบของหน่วยงานเริ่มจากกองวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติและจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วย ใน พ.ศ. 2501 เนื่องจากสภาวะผันแปรทางการเมือง กระทรวงวัฒนธรรมจึงถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยโอนย้ายไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและอื่นๆ

ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถือเป็น 1 ใน 20 กระทรวงหลักของประเทศตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ 3) มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมต้อง���ป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย[4] โดยมีกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมคนแรกที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย

ตราสัญลักษณ์

ตราแรกของกระทรวงวัฒนธรรมนั้น[5]เป็นรูปพระพรหม 4 หน้า 4 หัตถ์ ประทับอยู่บนดอกบัวบานโผล่จากน้ำ หัตถ์ซ้ายบนถือสมุดดำ (หมายถึงศิลปวิทยา) หัตถ์ซ้ายล่างถือประคำ (เกี่ยวกับคะแนนนับ) หัตถ์ขวาบนถือช้อนตักเนย (แสดงว่าไม่มีอาวุธอย่างไร) หัตถ์ขวาล่างถือหม้อน้ำ (เกี่ยวกับน้ำอมฤต) ภายในกรอบวงกลมเบื้องล่างมีอักษร "กระทรวงวัฒนธรรม"

ตรากระทรวงวัฒนธรรมเมื่อแรกเริ่มใช้

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงประทีปภายในบุษบก เหนือหมู่ลายเมฆหมอก หมายถึง ปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบโดยศึกษาจากรูปแบบตราสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2485 และนำมาดัดแปลงปรับรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

หน่วยงาน

ส่วนราชการในสังกัด

องค์การมหาชน

โครงการสำคัญภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น