ประเทศไทยใน พ.ศ. 2548
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 224 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 60 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น)
- นายกรัฐมนตรี: ทักษิณ ชินวัตร (ไทยรักไทย)
- สภาผู้แทนราษฎร:
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- อุทัย พิมพ์ใจชน (ไทยรักไทย) (จนถึง 5 มกราคม)
- โภคิน พลกุล (ไทยรักไทย) (ตั้งแต่ 8 มีนาคม)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 8
- ประธานวุฒิสภา: สุชน ชาลีเครือ (อิสระ)
- ประธานศาลฎีกา:
- ศุภชัย ภู่งาม (จนถึง 30 กันยายน)
- ชาญชัย ลิขิตจิตถะ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
มกราคม
- 2 มกราคม – ประเทศไทยยืนยันตัวเลขผู้เสียชีวิตจากคลื่นสึนามิหลังแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ถึง 5,000 คน โดยมีชาวต่างชาติมากกว่า 2,400 คน
- 9 มกราคม – อาคารพาณิชย์สูง 7 ชั้นในซอยวัดดวงแข ถนนพระรามที่ 6 ตัดใหม่ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน เกิดเพลิงไหม้และถล่ม ทำให้อาสาสมัครผจญเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย 4 คน ติดอยู่ภายในและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
- 17 มกราคม – ขบวนรถไฟฟ้าใต้ดินที่บรรทุกผู้โดยสาร 700 คนชนกับรถเปล่าจากศูนย์ซ่อม ที่บริเวณสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศ���ทย มีผู้บาดเจ็บ 200 คน ทำให้ต้องหยุดบริการเป็นเวลา 1 สัปดาห์
- 18 มกราคม – วันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ๙ แห่ง
- 25 มกราคม – เรือสปีดโบ๊ตที่นำนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ 40 คนจากเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดพลิกคว่ำ ทำให้มีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตอย่างน้อย 7 คน สูญหายราว 15 คน
กุมภาพันธ์
- 4 กุมภาพันธ์ – แอน ทองประสม จากภาพยนตร์เรื่อง เดอะเลตเตอร์ จดหมายรัก ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ จากภาพยนตร์เรื่อง ไอ้ฟัก และ ภาพยนตร์เรื่อง โหมโรง ได้รับรางวัล นักแสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม นักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ตามลำดับ จากงานประกาศผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ "สุพรรณหงส์ทองคำ" ครั้งที่ 14 ณ โรงภาพยนตร์สกาลา สยามสแควร์
- 6 กุมภาพันธ์ – พรรคไทยรักไทย ของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร
- 25 กุมภาพันธ์ – พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ "คลื่นยักษ์สึนามิ คลื่นอภิมหาภัย" ที่แปลจากหนังสือ 'Tsunami: The Great Waves' แจกจ่ายให้กับโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้อ่านได้รู้จักต้นเหตุของการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ และวิธีป้องกันภัยจากคลื่นยักษ์ดังกล่าว รวมทั้งสร้างความเข้าใจพื้นฐานแก่ประชาชนในการเตรียมตัวรับมือ กับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
มีนาคม
- 8 มีนาคม – ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ นำทีมบุกยื่นหนังสือประท้วงหน้าสถานทูตสหรัฐฯ ทวง “พระมาลาทองคำ” คืน จากสหรัฐฯ-อังกฤษ ตัวการขโมยทรัพย์สมบัติชาติต่างๆ พร้อมเรียกร้องให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในเมืองไทย เลิกฝันเฟื่องซื้อสโมสรฟุตบอลต่างประเทศ และหันมาตั้งกองทุนซื้อสมบัติของชาติคืน
เมษายน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2014) |
พฤษภาคม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2014) |
มิถุนายน
- 17 มิถุนายน – พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2014) |
กรกฎาคม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2014) |
สิงหาคม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (เมษายน 2024) |
กันยายน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (เมษายน 2024) |
ตุลาคม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2014) |
พฤศจิกายน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2014) |
ธันวาคม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2014) |
ผู้เกิด
มกราคม
- 26 มกราคม – วรินท์รัตน์ ยลประสงค์ นักร้อง
มีนาคม
- 28 มีนาคม – แอ้ม ชลธิชา นักร้อง
เมษายน
มิถุนายน
- 9 มิถุนายน – กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ นักร้อง
กรกฎาคม
- 3 กรกฎาคม – ชินารดี อนุพงษ์ภิชาติ นักแสดงชาวไทย
- 9 กรกฎาคม – ปานรดา คเชนทร์นุกูล นักแสดงชาวไทย
ผู้เสียชีวิต
มกราคม
- 21 มกราคม – พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ) พระราชาคณะชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2479)
- 29 มกราคม – หนู คลองเตย นักแสดงตลกชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2506)
กุมภาพันธ์
- 19 กุมภาพันธ์ – อำนวย กลัสนิมิ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2458)
- 20 กุมภาพันธ์ – บุญเรือง ชุ่มอินทรจักร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง (เกิด พ.ศ. 2470)
มีนาคม
- 11 มีนาคม – สนั่น เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (เกิด พ.ศ. 2458)
- 13 มีนาคม – เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ (ประสูติ พ.ศ. 2478)
- 17 มีนาคม – สุภาพร กิตติขจร ภริยาของณรงค์ กิตติขจร (เกิด พ.ศ. 2483)
- ไม่ทราบวัน – มัทนี เกษกมล นักเขียนชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2498)
เมษายน
- 6 เมษายน – สริ ยงยุทธ นักดนตรีชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2456)
พฤษภาคม
- 4 พฤษภาคม – ชูศรี สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2451)
- 15 พฤษภาคม – ศักดิ์ศรี ศรีอักษร นักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2480)
- 16 พฤษภาคม – สนั่น สุธากุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล (เกิด พ.ศ. 2500)
- 19 พฤษภาคม – สมศรี สุกุมลนันทน์ นักออกแบบเสื้อผ้าชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2462)
- 22 พฤษภาคม – พระมงคลสิทธิการ (พูล อตฺตรกฺโข) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2455)
มิถุนายน
- 12 มิถุนายน – มารยาท กระแสสินธุ์ นักเขียนชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2475)
- 18 มิถุนายน – พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2468)
- 22 มิถุนายน – อรรถพล สนิทวงศ์ชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี (เกิด พ.ศ. 2510)
กรกฎาคม
- 6 กรกฎาคม – ศิริสิน ศิริพรสมาธิกุล นักแสดงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2504)
- 9 กรกฎาคม – ปราจีน ทรงเผ่า นักดนตรีชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2489)
สิงหาคม
- 1 สิงหาคม – ศรีสุดา รัชตะวรรณ นักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2473)
กันยายน
- 6 กันยายน – หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2451)
- 16 กันยายน – สุนทร หงส์ลดารมภ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2455)
ตุลาคม
- 25 ตุลาคม – หม่อมเจ้าชมิยบุตร ชุมพล (ประสูติ พ.ศ. 2452)
พฤศจิกายน
- 8 พฤศจิกายน – บัวผัน จันทร์ศรี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2463)
- 9 พฤศจิกายน – จรัล บูรณพันธุ์ศรี กรรมการการเลือกตั้ง (เกิด พ.ศ. 2485)
- 17 พฤศจิกายน – จันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ อดีตหม่อมเจ้า (ประสูติ พ.ศ. 2480)
ธันวาคม
- 24 ธันวาคม – วีระ สุสังกรกาญจน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (เกิด พ.ศ. 2473)