แอร์ฟรานซ์

สายการบินแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส

แอร์ฟรานซ์ (อังกฤษ: Air France; ฝรั่งเศส: Air France เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɛːʁ fʁɑ̃s]) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฝรั่งเศส ที่มีสำนักงานใหญ่ในรัวซีโพล ทรอมบีย์-อ็อง-ฟรองซ์[6]และมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกลในปารีส สายการบินเป็นบริษัทลูกของแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม และเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีม แอร์ฟรานซ์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 184 แห่งใน 78 ประเทศ (93 หากรวมดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส) และขนส่งผู้โดยสาร 46,803,000 คนในปี 2019

แอร์ฟรานซ์
IATA ICAO รหัสเรียก
AF AFR AIRFRANS[1]
ก่อตั้ง8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 (105 ปี) (ในชื่อ ซอซีเยเตเฌเนราลเดทรานสปอร์แอรีแย็ง)
เริ่มดำเนินงาน30 สิงหาคม ค.ศ. 1933 (91 ปี) (ในชื่อ แอร์ฟรานซ์)
ท่าหลักปารีส–ชาร์ล เดอ โกล
ท่ารอง
เมืองสำคัญ
สะสมไมล์ฟลายอิงบลู
พันธมิตรการบินสกายทีม
บริษัทลูกแอร์ฟรานซ์โฮป
เซอร์แวร์ (50.01%)
ทรานเซเวียฟรานซ์ (95.5%)
ขนาดฝูงบิน225
จุดหมาย184
บริษัทแม่แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม
สำนักงานใหญ่ฝรั่งเศส รัวซีโพล ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล ทรอมบีย์-อ็อง-ฟรองซ์ ฝรั่งเศส
บุคลากรหลักเบนจามิน สมิธ (ซีอีโอแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม)
อาน ริกาอิล (ซีอีโอแอร์ฟรานซ์)[5]
เว็บไซต์www.airfrance.com

แอร์ฟรานซ์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1933[7] จากการควบรวมกิจการระหว่างแอร์โอแร็ง แอร์อูว์นียง อาเอโรปอซตาล กงปาญีแองเตอร์นาซิอองนาลเดนาวิกาซียงแอรีแย็ง และซอซีเยเตเฌเนราลเดทรานสปอร์แอรีแย็ง ในช่วงสงครามเย็น สายการบินเป็นหนึ่งในสามสายการบินพันธมิตรที่ทำการบินสู่เยอรมนีที่ท่าอากาศยานเท็มเพิลโฮฟและท่าอากาศยานเทเกิลในเบอรลินตะวันตก ในปี ค.ศ. 1990 สายการบินเข้าควบคุมกิจการของแอร์อินเตร์และอูว์เตอา – อูว์นียงเดทรานสปอร์แอรีแย็ง แอร์ฟรานซ์เป็นสายการบินหลักและสายการบินประจำชาติของประเทศเป็นเวลาเจ็ดทศวรรษ จดกระทั่งการควบรวมกิจการกับเคแอลเอ็มในปี 2003

ในปี 2018 แอร์ฟรานซ์และสายการบินลูกระดับภูมิภาค โฮป ได้ขนส่งผู้โดยสาร 51.4 ล้านคน[8] ฝูงบินของแอร์ฟรานซ์ประกอบด้วยเครื่องบินของทั้งแอร์บัสและโบอิง แอร์ฟรานซ์เริ่มให้บริการเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างแอร์บัส เอ380 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ในเที่ยวบินจากปารีสสู่นครนิวยอร์กก่อนที่จะปลดประจำการไปเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2020 แอร์ฟรานซ์โฮป (หรือชื่อเดิม โฮป!) ให้บริการเที่ยวบินระดับภูมิภาคด้วยเครื่องบินไอพ่นระดับภูมิภาค[9]

ประวัติ

แก้

ช่วงแรก

แก้

แอร์ฟรานซ์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1933 โดยการรวมตัวกันของหลายหน่วยงานในฝรั่งเศส สายการบินได้ขยายเส้นทางไปทั่วยุโรป เมืองขึ้นของฝรั่งเศส แอฟริกาเหนือ และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แอร์ฟรานซ์ได้ย้ายฐานการปฏิบัติการไปที่กาซาบล็องกา ในประเทศโมร็อกโก ทำให้สายการบินนี้เป็นที่โดดเด่นในภาพยนตร์เรื่องคาซาบลังกา

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

แก้

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทก็กลายเป็นของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 70% และลดลงเหลือ 54% ในกลางปีค.ศ. 2002 และในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1948 ทางสายการบินได้แต่งตั้งให้ Max Hymans เป็นประธานของแอร์ฟรานซ์ โดยเขาได้ใช้เวลา 13 ปีที่ดำรงตำแหน่งในการสนับสนุนนโยบายด้านความทันสมัยของเครื่องบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การนำเครื่องบิน Sud Aviation Caravelle ที่มีเครื่องยนต์เจ็ตแบบแฝดมาให้บริการในปีค.ศ. 1959
สายการบินได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินปารีส-นิวยอร์ก โดยใช้เครื่องบินคองคอร์ดที่มีความเร็วเหนือเสียงในปี ค.ศ. 1976 โดยใช้เวลาในการเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง โดยใช้ความเร็วเหนือเสียงประมาณ 2 เท่า
ในปี ค.ศ. 1994 สายการบินทั้งหมดของรัฐบาลฝรั่งเศสได้ถูกรวมเข้ากับแอร์ฟรานซ์เพียงบริษัทเดียว รัฐบาลฝรั่งเศสนำแอร์ฟรานซ์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1999 และได้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีมในปี ค.ศ. 2000 และสายการบินได้ยกเลิกเที่ยวบินที่ให้บริการโดยเครื่องบินคองคอร์ดในปี ค.ศ. 2003 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนที่สูง

การควบรวมกิจการกับเคแอลเอ็ม

แก้

ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2003 แอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม ได้ประกาศว่าจะมีการควบรวมสายการบินทั้งสองในชื่อแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มในวันที่ 5 พฤษภาคม[10] เมื่อผู้ถือหุ้นทั่วไปของแอร์ฟรานซ์ เข้าถือครองหุ้น 81% ของเคแอลเอ็ม (รัฐบาลฝรั่งเศสครอบครองหุ้น 44% และอีก 37% เป็นของผู้ถือหุ้นเอกชน) โดยที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นทั่วไปของสายการบินเคแอลเอ็ม โดยส่วนแบ่งของรัฐบาลฝรั่งเศสในแอร์ฟรานซ์ ลดลงจาก 54.4% (เดิมถือในนามแอร์ฟรานซ์) เหลือ 44% (ปัจจุบันถือในนาม แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม) ด้วยเหตุของการรวมตัวนี้เอง ทำให้ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลฝรั่งเศสก็แถลงการขายหุ้น 18.4% ให้กับแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม จนทำให้รัฐบาลเองเหลือหุ้นต่ำกว่า 20%

ในกลางปี ค.ศ. 2007 แอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม จะนำคุณสมบัติของแท่นเสียบเครื่องเล่นเพลงและวิดีโอพกพาไอพอด ติดตั้งในเครื่องบิน ซึ่งนอกจากจะทำให้มีการชาร์จแบตเตอรี่ของอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว ยังมีการรวมคุณสมบัติของไอพอด และระบบความบันเทิงภายในเครื่องบิน ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถเล่นเพลง, ดูรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่เก็บไว้ในไอพอดผ่านทางระบบความบันเทิงภายในเครื่องบินได้

กิจการองค์กร

แก้

บริษัทลูก

แก้
  • แอร์ฟรานซ์คอนเซาลท์ติ้ง
    • ควอลิ-ออดิต[11]
  • บลูลิงค์
  • แอร์ฟรานซ์ ฮอป (ชื่อเก่า: โฮป!)
  • เซอร์แวร์
  • Société de construction et de réparation de matériel aéronautique (CRMA)
  • โซเด็กซี
  • ทรานซาเวียฟรองซ์

แอร์ฟรานซ์และสายการบินทรานส์เวียได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัททรานส์ซาเวียฟรองซ์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนต้นทุนต่ำในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติออร์ลี่[12] Air Corsica, CityJet และ Air France Hop ให้บริการเที่ยวบินในนามของแอร์ฟรานซ์

 
แอร์บัส เอ340-200 ในลวดลายแอร์ฟรานซ์อาซีย์

แอร์ฟรานซ์อาซีย์และแอร์ฟรานซ์คาร์โก้อาซีย์

แก้

จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไต้หวัน แอร์ฟรานซ์ไม่สามารถที่จะดำเนินเที่ยวบินไปยังไต้หวันได้ ในปีค.ศ. 1993 สายการบินแอร์ชาร์เตอร์ เริ่มให้บริการเที่ยวบินระหว่างปารีส-ฮ่องกง-ไทเป[13] หลังจากแอร์ชาร์เตอร์เลิกดำเนินงานในปีค.ศ. 1998, แอร์ฟรานซ์จึงได้สร้างแอร์ฟรานซ์อาซีย์ขึ้นมาทดแทน[14] โดยใช้เครื่องบินแอร์บัส เอ340-200 สองลำ และโบอิง 747-400M อีกสองลำ สายการบินนี้เป็นหนึ่งในสายการบินที่ดำเนินเที่ยวบินไปยังไต้หวันภายใต้ชื่อ"เอเชีย"เช่นเดียวกับเจแปนเอเชียแอร์เวย์, เคแอลเอ็มเอเชีย, บริติชเอเชียแอร์เวย์, สวิสแอร์ เอเชีย, และออสเตรเลียเอเชียแอร์ไลน์ (บริษัทลูกของควอนตัส) แอร์ฟรานซ์อาซีย์เลิกดำเนินการในปีค.ศ. 2004

หลังจากแอร์ฟรานซ์อาร์ซีย์เลิกดำเนินงานในปี 2004, โบอิง 747-200 ในฝูงบินก็ยังคงดำเนินขนส่งสินค้าในเส้นทางบินเดิมภายใต้ชื่อ แอร์ฟรานซ์คาร์โก้อาซีย์ก่อนเลิกดำเนินการในปีค.ศ. 2007

สำนักงานใหญ่

แก้

สำนักงานใหญ่ของแอร์ฟรานซ์ตั้งอยู่ที่รัวซีโพล คอมเพล็กซ์ ในบริเวณท่าอากาศยานปารีส-ชาลส์เดอโกล, ปารีส[15][16][17][18][19]

จุดหมายปลายทาง

แก้

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 แอร์ฟรานซ์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 36 แห่ง และจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ 175 แห่ง ใน 93 ประเทศ (รวมรัฐและดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส) ใน 6 ทวีป ซึ่งรวมถึงบริการและจุดหมายปลายทางของ แอร์ฟรานซ์คาร์โก้ ที่ให้บริการโดยบริษัทลูก ​​แอร์คอร์ซิก้า, ซิตี้เจ็ต และ แอร์ฟรานซ์ โฮป

ข้อตกลงการบินร่วม

แก้

แอร์ฟรานซ์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[20]

ข้อตกลงระหว่างสายการบิน

แก้

แอร์ฟรานซ์มีข้อตกลงกับสายการบินดังต่อไปนี้:[37]

ฝูงบิน

แก้
 
แอร์บัส เอ220-300 ของแอร์ฟรานซ์
 
แอร์บัส เอ320 ของแอร์ฟรานซ์
 
แอร์บัส เอ330-200 ของแอร์ฟรานซ์
 
แอร์บัส เอ350-900 ของแอร์ฟรานซ์
 
โบอิง 777-300อีอาร์ของแอร์ฟรานซ์
 
โบอิง 787-9 ของแอร์ฟรานซ์

ฝูงบินปัจจุบัน

แก้

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 แอร์ฟรานซ์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[38]

ฝูงบินของแอร์ฟรานซ์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
F J W Y รวม
แอร์บัส เอ220-300 36 24[39] 20 128 148 สั่งซื้อพร้อม 30 ตัวเลือกและ 30 สิทธิการสั่งซื้อ[39]
จะทดแทนแอร์บัส เอ318 และเอ319
แอร์บัส เอ318-100 6 18 113 131 ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น[40]
จะทดแทนด้วยแอร์บัส เอ220
แอร์บัส เอ319-100 10 20 122 142 จะปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ220
123 143
แอร์บัส เอ320-200 36 20 154 174
18 160 178
แอร์บัส เอ321-100 4 212 212
แอร์บัส เอ321-200 11 200 200
212 212
แอร์บัส เอ330-200 15 36 21 167 224 จพปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350-900[41]
แอร์บัส เอ350-900 34 7[42][43] 34 24 266 324[44] สั่งซื้อทั้งเอ350-900 และเอ350-100 จำนวน 50 ลำพร้อม 40 ตัวเลือกผ่านแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม โดยคำสั่งซื้อจะแบ่งกับเคแอลเอ็มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2026[45][42][46]
จะทดแทนแอร์บัส เอ330-200 และโบอิง 777-200อีอาร์[41][47]
48 32 212 292
แอร์บัส เอ350-1000 รอประกาศ
โบอิง 777-200อีอาร์ 18 40 24 216 280 จะปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350[41]
28 260 312
โบอิง 777-300อีอาร์ 43 4 58 28 206 296 ลูกค้าเปิดตัว[48]
48 48 273 369
14 28 430 472[49]
โบอิง 787-9[50] 10 30 21 228 279
ฝูงบินของแอร์ฟรานซ์คาร์โก
แอร์บัส เอ350เอฟ 4[51] สินค้า
โบอิง 777เอฟ 2 สินค้า
รวม 225 35

แอร์ฟรานซ์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 12.7 ปี

อากาศยานลำตัวกว้าง

แก้

เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2011 แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มประกาศคำสั่งซื้อสำหรับแอร์บัส เอ350 จำนวน 50 ลำและสั่งซื้อโบอิง 787 เป็นตัวเลือกการสั่งซื้อ 60 ตัวเลือก โดยที่จะแบ่งไปประจำการกับทั้งแอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม[52] ต่อมาแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มสั่งซื้อโบอิง 787 จำนวน 37 ลำ แบ่งเป็นที่สั่งซื้อโดยตรง 25 ลำและเช่า 12 ลำ โดยจะเป็นของแอร์ฟรานซ์อย่างน้อย 16 ลำเพื่อจะใช้ทดแทนแอร์บัส เอ340-300 และจะถูกทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350 ตั้งแต่ปี 2019 โบอิง 787-9 ลำแรกเข้าประจำการกับเคแอลเอ็มในปี 2015 และกับแอร์ฟรานซ์ในช่วงต้นปี 2017[53] แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มมีคำสั่งซื้อเอ350 28 ลำ[54] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 กลุ่มสายการบินได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างฝูงบินใหม่ โดยแอร์ฟรานซ์จะให้บริการแอร์บัส เอ350 เท่านั้น และเคแอลเอ็มจะให้บริการเฉพาะโบอิง 787 รวมหกลำที่เดิมจะให้บริการโดยแอร์ฟรานซ์ แอร์ฟรานซ์รับมอบแอร์บัส เอ350-900 ลำแรก (ชื่อ ตูลูซ) เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2019[55]

อากาศยานลำตัวแคบ

แก้

แอร์ฟรานซ์ให้บริการเครื่องบินทุกรุ่นของเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320 ทั้งหมด 67 ลำ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 แอร์ฟรานซ์ได้ประกาศคำสั่งซื้ออากาศยานที่จะทดแทนเครื่องบินลำตัวแคบเหล่านี้ โดยแอร์บัส เอ318 และเอ319 จะถูกทดแทนด้วยแอร์บัส เอ220-300 จำนวน 60 ลำ โดยเริ่มส่งมอบในปี ค.ศ. 2021[56] สายการบินจะลดการปลดปล่อยมลภาวะลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2024 สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศฝรั่งเศส เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสมูลค่า 7 พันล้านยูโร[57] ด้วยเหตุนี้แอร์ฟรานซ์จึงมีแผนที่จะนำแอร์บัส เอ220 เพิ่มเติมเข้ามาในเครือข่ายภายในประเทศ[58]

คองคอร์ด

แก้
 
เครื่องบินคองคอร์ดของแอร์ฟรานซ์จัดแสดงในบริเวณท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล

แอร์ฟรานซ์ปลดประจำการเครื่องบินคองคอร์ดทั้งห้าลำเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ภายหลังความต้องการที่น้อยลงซึ่งมีผลจากอุบัติเหตุการตกของคองคอร์ดทะเบียน F-BTSC ในปารีสเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 และราคาเชื้อเพลิงและการซ่อมบำรุงที่สูงขึ้น ในขณะที่บริติชแอร์เวย์ ผู้ให้บริการคองคอร์ดอีกราย ทำการบินเที่ยวบินคองคอร์ดเที่ยวบสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003[59] คองคอร์ดทะเบียน F-BVFA was transferred to the ถูกย้ายไปจัดแสดงที่สตีเวน เอฟ. อุดวาร์-เฮซี เซนเตอร์ในท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตันดัลเลส[60] F-BVFB ถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์รถยนต์และเทคโนโลยีซินส์ไฮม์ในเยอรมนี[61] F-BTSD ถูกจัดแสดงที่มุเซเดแลร์เอเดเลซปาซที่ท่าอากาศยานเลอบูร์เกตในปารีส[62] และ F-BVFC ได้กลับไปจัดแสดงที่สถานที่ผลิตในตูลูซในบริเวณโรงงานแอร์บัส[63] F-BVFF เป็นลำเดียวที่ยังคงอยู่ที่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล โดยได้ถูกจัดแสดงในบริเวณท่าอากาศยาน[64]

โบอิง 747

แก้

แอร์ฟรานซ์เริ่มให้บริการโบอิง 747 ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1970 หลังรับมอบโบอิง 747-100 ลำแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม[65] สายการบินยังให้บริการโบอิง 747-200 -300 และ -400 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 แอร์ฟรานซ์ปลดประจำการโบอิง 747-400 ลำสุดท้าย โดยได้ทดแทนด้วยแอร์บัส เอ380 และโบอิง777-300อีอาร์ รุ่นขนส่งสินค้าถูกทดแทนด้วยโบอิง 777เอฟ[66][67]

อ้างอิง

แก้
  1. "Designators for Aircraft Operating Agencies, Aeronautical Authorities and Services" (PDF). ICAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 August 2021. สืบค้นเมื่อ 20 October 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Infographie #34 - Quel avenir pour le réseau domestique d'Air France ?". 25 May 2020.
  3. "Air France renforce progressivement son programme de vols". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2024-07-30.
  4. "Air France, un acteur régional majeur dans la Caraïbe, Septembre 2013" (PDF). Corporate.airfrance.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 August 2014. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  5. "Air France names Anne Rigail as new head of airline". Reuters. 12 December 2018. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  6. "Air France – Company Overview". Hoover's. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2009. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  7. "Notre histoire : Legend". corporate.airfrance.com. สืบค้นเมื่อ 2 July 2023.
  8. "Record traffic in 2018 for Air France-KLM: more than 100 million passengers carried". Air France-KLM Group. 9 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2021. สืบค้นเมื่อ 20 December 2019.
  9. "regional.com". www.regional.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2006.
  10. "History". Air France KLM (ภาษาอังกฤษ). 2014-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
  11. "ISO Album" (PDF). quali-audit.aero. Archived from the original (PDF) on 23 June 2010. Retrieved 21 June 2010.
  12. Airliner World (2007)
  13. "French plans for Taipei". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). Invalid Date. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. http://www.sciencespo.fr/ceri/sites/sciencespo.fr.ceri/files/jpcabest.pdf
  15. "Head Office" Archived 10 February 2010 at the Wayback Machine, Air France. Retrieved on 9 February 2010.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  20. "Air France Airline Profile | CAPA". centreforaviation.com.
  21. "Aeroflot code sharing". Aeroflot. สืบค้นเมื่อ 6 April 2024.[ลิงก์เสีย]
  22. "New codeshare agreement between Air France". www.copaair.com. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
  23. "Air France / Eastern Airways Begins Codeshare Partnership in NW23". AeroRoutes.
  24. "Air France / El Al Begins Reciprocal Codeshare Partnership in NS24". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 11 March 2024. สืบค้นเมื่อ 11 March 2024.
  25. "Air France / Etihad Expands Codeshare Partnership From late-Oct 2023". AeroRoutes.
  26. "Air France-KLM and GOL sign agreement to extend and enhance their commercial partnership | AIR FRANCE KLM". www.airfranceklm.com.
  27. Hannah Brandler (26 December 2021). "Air France-KLM signs codeshare agreement with Indigo Airlines". Business Traveller. London: Perry Publications.
  28. "ITA Airways, accordo di codeshare con Air France" [ITA Airways, codeshare agreement with Air France]. borsaitaliana.it (ภาษาItalian). 9 December 2021.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  29. "KM Malta Airlines and Air France sign codeshare deal". AeroTime. 28 February 2024. สืบค้นเมื่อ 4 March 2024.
  30. "QANTAS AND AIR FRANCE RENEW PARTNERSHIP TO OFFER CUSTOMERS MORE TRAVEL OPTIONS BETWEEN AUSTRALIA AND FRANCE". Qantas News Room.
  31. "AIR FRANCE EXPANDS SAUDIA CODESHARE SERVICE FROM MID-JULY 2023". Aeroroutes. 21 July 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2023.
  32. "SAS / Air France launches codeshare service from Sep 2024". aeroroutes.com. 9 July 2024.
  33. "Air France-KLM Signs Codeshare Agreement with Singapore Airlines and SilkAir" (Press release). Paris: Air France–KLM. 13 April 2017.
  34. "Singapore Airlines And SilkAir Sign Codeshare Agreement With Air France-KLM". www.singaporeair.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 29 April 2019.
  35. Silk, Robert (4 March 2019). "Virgin Atlantic starts codesharing with Air France and KLM". Travel Weekly. Secaucus: Northstar Travel Group.
  36. "Air France/Widerøe begins codehare-service from July 2018". Routesonline.
  37. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  38. "Air France Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-08-02.
  39. 39.0 39.1 "Evolution of the Air France-KLM fleet". Air France KLM (ภาษาอังกฤษ). 30 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
  40. Airbus Orders and Deliveries (XLS), monthly updated, accessed via "Orders & deliveries". Airbus. Airbus SAS. 3 April 2024.
  41. 41.0 41.1 41.2 "The Air France-KLM Group will place an order for 50 Airbus A350 family aircraft - with purchase rights for 40 additional aircraft - to accelerate the renewal of its long-haul fleet | AIR FRANCE KLM". www.airfranceklm.com (Press release). สืบค้นเมื่อ 2023-09-26.
  42. 42.0 42.1 Schlappig, Ben (2023-07-19). "Air France's New A350 Cabins & Configuration (Now Flying)". One Mile at a Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
  43. "KLM to invest in cleaner, quieter and more fuel-efficient long-haul aircraft with an order of new Airbus A350s". KLM to invest in cleaner, quieter and more fuel-efficient long-haul aircraft with an order of new Airbus A350s (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  44. "Air France takes delivery of its first A350 XWB". Airbus. สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
  45. "Air France-KLM orders 50 Airbus A350s". Business Travel News Europe. 26 September 2023. สืบค้นเมื่อ 26 September 2023.
  46. Kaminski-Morrow2023-09-25T17:36:00+01:00, David. "Air France-KLM to order 50 A350s including -1000s". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-25.
  47. "Air France-KLM passe une commande géante de 50 Airbus A350". La Tribune (ภาษาฝรั่งเศส). 25 September 2023. สืบค้นเมื่อ 26 September 2023.
  48. flightglobal.com - Air France set for first 777-300ER 19 November 2002
  49. "Boeing 777-300 map - 472 seats". Air France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.
  50. "The Air France-KLM Group takes a next step in optimization of the long-haul fleet". Air France-KLM (Press release). 28 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 2019-07-27.
  51. "Air France-KLM orders 4 Airbus A350F full freighter aircraft – with purchase rights for an additional 4, for Air France". Air France-KLM Group (Press release). 12 April 2022.
  52. "Air France KLM announces the order of 110 Airbus A350 and Boeing 787 aircraft" (PDF) (Press release). Air France-KLM. 16 September 2011.
  53. "Air France plans 787-9 debut in Jan 2017". 2016. สืบค้นเมื่อ 1 October 2016.
  54. Jens Flottau (20 April 2017). "Air France Anticipates 2018 Narrowbody Aircraft Decision". Aviation Daily. Aviation Week.
  55. "Air France takes delivery of its first A350 XWB". Airbus.com (ภาษาEnglish). Airbus. 27 September 2019. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  56. "Air France orders 60 A220s and announces retirement of A380". 11 November 2019. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  57. Thomas, Leigh (29 April 2020). "Air France must cut emissions, domestic flights for aid: minister". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 May 2020.
  58. Hepher, Tim; Frost, Laurence (7 May 2020). "Planemakers delay deliveries as crisis hits manufacturing – Air France-KLM CEO". Reuters (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-14. สืบค้นเมื่อ 22 May 2020.
  59. "Celebrating Concorde". สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  60. "When Concorde First Flew, It Was a Supersonic Sight to Behold". สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  61. "Concorde F-BVFB". สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  62. "Aérospatiale-BAe Concorde Sierra Delta 213 F-BTSD Air France". สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  63. "Air France Concorde F-BVFC & F-WTSB". สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  64. "Concorde F-BVFF – De Gaulle International Airport – Paris, France". สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  65. "Orders and Deliveries: Boeing 747." เก็บถาวร 28 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Boeing Company. Retrieved: 1 March 2018.
  66. "Air France retires 747". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2016.
  67. "Air France Accelerates Boeing 747 Retirement Schedule". Routes. สืบค้นเมื่อ 10 October 2016.